Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์ ( Urinary system Infection…
การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์ ( Urinary system Infection during pregnancy)
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะ
กายวิภาค
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนทำให้ภายในกรวยไตจนถึงท่อไตมีขนาดใหญ่ขึ้นมากโดยเฉพาะด้านขวา
มีการปัสสาวะคั่งของน้ำปัสสาวะในไต ท่อไต
เกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ เชื้อย้อนกลับเข้าสู่ไต ทำให้เกิดภาวะ pyelonephritis
หน้าที่ไต
ระบบการหมุนเวียนเลือดเพิ่มขึ้น
หน้าที่การกรองของไตเพิ่มขึ้น ทำให้ระดับ creatinine และ BUN ในเลือดลดต่ำลง
tubule ดูดกลับโซเดียม กรดอมิโน วิตามินชนิดที่ละลายในน้ำ และกลูโคสสูงขึ้น เพื่อรักษาสมดุลกรด-ด่าง ทำให้ความเข้มข้นของสารต่างๆในปัสสาวะลดลง
โปรตีนดูดซึมกลับได้น้อย ทำให้ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะได้ หากพบ > 300 มิลลิกรัมใน 24 ชม. ควรตรวจภาวะแทรกซ้อนอื่นร่วมด้วย
ชนิดของการติดเชื้อ
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะแต่ไม่แสดงอาการ (Asymptomatic bacteriuria : ASB
แบคทีเรียในปัสสาวะมากกว่า 105 colony forming unit/ml (cfu/ml)
ขณะตั้งครรภ์มีการยืดขยายของทางเดินปัสสาวะ เชื้อโรคอาจแพร่กระจายไปยังกรวยไต ทำให้เกิดการอักเสบ
การติดเชื้อเฉียพลันที่กระเพาะปัสสาวะ ( Acute cystitis)
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ
มีอาการเจ็บปวดขณะถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย สีขุ่นหรือสีแดงจากเม็ดเลือด ไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดบริเวณท้องน้อย
การติดเชื้อเฉียบพลันที่กรวยไต (Acute pyelonephritis)
พบแบคทีเรียในปัสสาวะ > 105 cfu/ml
มีอาการปัสสวะเป็นหนอง มีไข้ หนาวสั่น ปวดบริเวณบั้นเอว
โรคไตรั่วหรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ (Nephrotic syndrome)
พบโปรตีนในปัสสาวะมาก ประมาณ 5 กรัมต่อวัน
โปรตีนในเลือดต่ำ ไขมันในเลือดสูง และมีอาการบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ
ส่งผลในทารกมีน้ำหนักน้อย คลอดก่อนกำหนด หากแม่มีความดันโลหิตสูงจะทำให้ทารกแย่ลง ถึงขึ้นเสียชีวิตได้
ภาวะไตวาย (renal failure)
ไตวายเรื้อรัง (chronic renal failure )
สาเหตุจากโรคหลายชนิด เช่น DM SLE glomerulonephritis
อาจพิจารณายุติการตั้งครรภ์
ไตวายเฉียบพลัน (acute renal failure )
สาเหตุการการแท้งติดเชื้อ,preeclampsia with severe feature , hemolytic uremia syndrome
สามารถดำเนินการตั้วครรภ์ต่อไปได้
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
สาเหตุ
การติดเชื้อ Esherichia Coli (E.Coli)
ปัจจัยส่งเสริม
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้น ทำให้ท่อไตตึงตัว
การเคลื่อนไหวและการหดรัดตัวของท่อไตลดลง ประสิทธิภาพในการดูดกลับลดลง ทำให้ปัสสาวะค้างในทางเดินปัสสาวะมากขึ้น
มดลูกขยายใหญ่ขึ้น กดเบียดกระเพาะปัสสาวะทำให้รูเปิดของหลอดไตที่กระเพาะปัสสาวะบิดงอ ปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการอักเสบเฉียบพลัน
อาการและอาการแสดง
Lower UTI
ปัสสาวะแสบขัด กระปิดกระปรอย
กลั้นปัสสาวะไม่ได้
ปัสสาวะบ่อย
บางรายมีเลือดหรือน้ำล้างเนื้อ
เช่น ท่อปัสสาวะอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ปวดบริเวณหัวหน่าว
Upper UTI
เช่น กรวยไต
ปัสสาวะมีสีขุ่นหรือสีน้ำล้างเนื้อ
เจ็บบริเวณชายโครง
ปวดหลังบริเวณตำแหน่งของไต
หากติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรง และไม่ได้รับการรักษา อาจช็อกและเสียชีวิตได้
มีไข้ หนาวสั่น
คลื่นไส้อาเจียน
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
พบปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ มีไข้ ปวดบริเวณท้องน้อยหรือหัวเหน่า
กดปวดบริเวณ Costovertebral angle
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจ urine analysis พบไข่ขาว เม็ดเลือดขาว
ตรวจ urine culture พบเชื้อแบคทีเรีย > 105 dfu/ml ในรายที่มีการติดเชื้อที่กรวยไต
หญิงตั้งครรภ์ทุกราย ควรตรวจ urine culture และตรวจซ้ำเมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์
ผลกระทบ
ผลกระทบต่อสตีตั้งครรภ์
การติดเชื้อจะกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว
แท้ง
เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด หรือ ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
ในรายที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดอาจเกิด septic shock
ผลกระทบต่อทารก
ทารกคลอดก่อนกำหนด
ทารกน้ำตัวน้อย
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
ทารกตายคลอด
แนวทางการป้องกันและรักษา
การป้องกัน
แนะนำให้ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ุทุกครั้งหลังขับถ่าย
แนะนำให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
ตรวจ urine cultuer เพื่อคัดกรองการติดเชื้อ
การรักษา
รายที่ติดเชื้อ ASB จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการเกิด upper UTI เช่น ampicillin,cephalexin,amoxicillin,nitrofurantoin
รายที่ติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ รักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะที่มีความไวต่อเชื้อและปลอดภัยต่อมารดาและทารกมากที่สุด
รายที่กรวยไตอักเสบ ต้องรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อให้สารละลายและยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ พร้อมตรวจ urine culture เมื่อตรวจไม่พบเชื้อในปัสสาวะให้เปลี่ยนมาเป็นยาชนิดรับประทาน
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้ความสำคัญของการมาตรวจครรภ์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
แนะนำปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์
พักผ่อนอย่างเพียงพอ แนะนำให้นอนตะแคงเพื่อไม่ให้มดลูกไปกดทับท่อไต
ดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว หรือ 2,000-3,000 มิลลิลิตร และไม่กลั้นปัสสาวะ
แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะแสบขัด มีไข้ อาเจียน ปวดบั้นเอว เป็นต้น
รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะอวัยวะสืบพันธ์ุภายนอก
รักษาด้วยยาปฏิชีวะนะ และสังเกตอาการผิดปกติขณะรับประทานยา
รักษาตัวในโรงพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
ประเมินเสียงหัวใจของทารกและการดิ้นของทารก
ประเมิน I/O
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนรักษา
ประคบร้อนบริเวณที่ปวด
ระยะคลอด
เน้นเรื่องการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ุภายนอก
สังเกตอาการผิดปกติต่างๆ
ระยะหลังคลอด
เน้นเรื่องการป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และการป้องกันการกับมาเป็นซ้ำ
ให้คำแนะนำการป้องกันการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์
เน้นการคุมกำเนิดในรายที่เป็นโรคไตติดเชื้อรัง