Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
febrile convulsion ภาวะชักจากไข้สูง - Coggle Diagram
febrile convulsion
ภาวะชักจากไข้สูง
ข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้ป่วยเด็กชาย อัษฎาวุธ ทองลี เพศชาย อายุ 3 ปี 1 เดือน 14 วัน เชื้อชาติไทย ศาสนา พุทธ
อาการสำคัญ
มีไข้ชัก 1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติเจ็บป่วยในปัจจุบัน
4 วันก่อนมาโรงพยาบาลมีไข้ไอมีเสมหะสีขาว มีน้ำมูกใสมารดาได้เช็ดตัวลดไข้
3 วันไข้ไม่ลดญาติให้ยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลด
1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาลมีอาการไข้สูงชักเกร็งตาลอยมารดารีบนำตัวส่งโรงพยาบาล
พยาธิสภาพ
การเกิดอาการชักจากไข้พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมจะพบได้สูงขึ้นในเเฝดไข่ใบเดียวกันพบบ่อยในวัยเด็กเนื่องจากมีไข้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเผาผลาญของเซลล์ประสาทสมองทำให้เซลล์ประสาทไวต่อการที่จะเกิดการชักมากขึ้น ขึ้นกับอายุและการเจริญของสมอง สมองที่มีการเจริญมากการเปลี่ยนแปลงจากการมีไข้จะน้อยโอกาสที่จะเกิดอาการชักก็น้อยลงในขณะที่ความสูงของไข้ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการชักซึ่งยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอนว่าเท่าไหร่จึงชักแต่ยอมรับกันได้ว่าไข้ที่ 38 องศาเซลเซียส เป็นจุดต่ำสุดที่เด็กเริ่มมีอาการชักได้และพบว่าบ่อยครั้งของเด็กที่ชักมีอุณหภูมิสูงถึง 39 องศาเซลเซียสหรือมากว่า
สาเหตุ
การติดเชื้อ -เชื้อไวรัส ไข้หวัดใหญ่
-เชื้อแบคทีเรีย
พันธุกรรม
-ในครอบครัวเคยมีภาวะชักจากไข้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะชักต่อไข้มากขึ้น
การวินิจฉัย
1.การซักประวัติ-ประวัติไข้สูงตัวร้อนมีอาการติดเชื้อที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกายเช่นอาการเจ็บคอกลืนไม่ได้ในเด็กที่มีการติดเชื้อที่ต่อมทอลซิลถ่ายอุจจาระเหลวหลายครั้งมีไข้ไอหายใจไม่สะดวก
2.การตรวจร่างกาย
จะพบว่าเด็กมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติหน้าแดงตัวแดงพบการติดเชื้อเช่นต่อมทอลซิลบวมแดงมีเสมหะสีเหลืองคลำพบต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ
3.การตัวทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจนับเม็ดเลือด Complete blood count
การเพาะเชื้อหรือการตัวปัสสาวะเพื่อค้นหาการติดเชื้อในระบบต่างๆ
การรักษา
-Cefuroxime 105 mg+5% DW up to 3 ml v drip in 30 min g 12 hr.
-Paracetamol syr (120 mg / 5 cc)
1.5 ts pc. prn g 4-6 hr.
-Ceftriaxone 1 g
1 v OD
-Air-x 0.6 syr. po q 4 hr
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.เสี่ยงต่อเซลล์สมองถูกทำลายจากการชักนาน
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
1.ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งโดยจัดให้เด็กนอนตะแคงหน้าเพื่อป้องกันการสำลักน้ำลายเข้าทางเดินหายใจและลิ้นไปปิดกั้นทางเดินหายใจพร้อมกับดูแลเสหะออกจากปากและจมูกและอาจพิจารณาให้ออกซิเจนขณะที่มีอาการชักร่วม ส่วนการใช้วัตถุใส่เข้าไปในช่องปากเพื่อป้องกันเด็กกัดลิ้นไม่จำเป็นเนื่องจากการพยายามอ้าปากเด็กและใส่ไม้กดลิ้นอาจทำให้เด็กได้รับอันตรายจากฟันหักและหลุดไปอุดหลอดลมได้
2.ดูแลให้ยากันชักตามแผนการรักษาคือ diazepam 0.3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/ครั้ง ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำช้าๆไปเรื่อยเรื่อยจนหยุดชัก เป็นลักษณะ titrate dose ขณะฉีดต้องสังเกตลักษณะการหายใจของเด็กด้วยเพราะอาจมีผลข้างเคียงของยากดศูนย์หายใจรายที่ยังฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำไม่ได้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาให้ diazepam สวนเก็บทางทวารหนักโดยใช้ diazepam ชนิดฉีดผสมน้ำมันพืชเพิ่มเป็น 2 เท่าของปริมาณยาที่คำนวณได้หลังสวนเสร็จให้ยกก้นและหนีบรูทวารหนักนานประมาณ 2 นาทีเพื่อไม่ให้ยาไหลออก
3.ลดไข้ทันทีที่พบว่าเด็กมีไข้ด้วยการเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นนานประมาณ 15 นาทีหรือจนกว่าใครจะลดและพิจารณาให้ยาลดไข้พาราเซตามอลร่วมขนาด 10-20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/ครั้ง ซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง
2.เสี่ยงต่อการได้รับอุบัติเหตุหรืออันตรายจากการชัก
กิจกรรมพยาบาลและเหตุผล
1.จับเด็กให้นอนราบใช้ผ้านิ่มๆเช่นผ้าห่มผ้าเช็ดตัวหนุนบริเวณใต้ศีรษะเพื่อป้องกันไม่ให้ศีรษะกระแทกพื้นเตียงระวังแขนขากระแทกกับของแข็งของมีคมขณะชักไม่ควรเคลื่อนย้ายเด็ก
2.ขายเสื้อผ้าเด็กออกให้หลวมโดยเฉพาะโรคคอเพื่อให้หายใจสะดวกและไม่ควรผูกยึดเด็กขณะมีอาการชักเพราะอาจทำให้กระดูกหักได้
3.หลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการชักซ้ำโดยการลดไข้จัดสิ่งแวดล้อมให้เด็กได้พัก
4.สังเกตและบันทึกลักษณะรายละเอียดของการชักลักษณะการชักระดับการรู้สติของเด็กหลังการชักระยะเวลาที่ชัก จำนวนครั้งหรือความถี่ของการชักพฤติกรรมหลังการชัก
3.บิดามารดามีข้อจำกัดในการดูแลเด็กเนื่องจากขาดความรู้
กิจกรรมพยาบาลและเหตุผล
1.เปิดโอกาสให้บิดามารดาได้มีส่วนร่วมในการดูแลเด็กขณะรับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อสร้างความมั่นใจในการ กลับไปดูแลเด็กต่อที่บ้านและส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างเด็กกับบิดามารดา
2.แนะนำและสาธิตวิธีเช็ดตัวลดไข้การเช็ดตัวที่ถูกต้องต้องเช็คทุกส่วนของร่างกายเช็คอย่างต่อเนื่องใช้เวลา 15-20 นาที หรือจนกว่าใครจะลดเช็ดหมุนเวียนตั้งแต่ศรีษะจรดเท้าเน้นบริเวณที่เป็นข้อพับต่างๆใช้น้ำอุณหภูมิห้องในการเช็ดตัวแต่ถ้าอากาศเย็นหรือเด็กรู้สึกหนาวให้ใช้น้ำอุ่นแทนไม่ควรใช้น้ำเย็นหรือน้ำแข็งเพราะจะทำให้หลอดเลือดหดตัวไม่สามารถระบายความร้อนได้และยังอาจทำให้เด็กหนาวสั่นได้หลังเช็ดตัวใส่เสื้อผ้าบางบางไม่ควรกุมภาทันทีถ้าเช็ดตัวถูกใข้จะลดภายใน 15-30 นาที เร็วกว่าการใช้ยาลดไข้ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมง
3.การช่วยเหลือเด็กขณะมีอาการชักให้ตั้งสติให้ดีจัดให้เด็กนอนตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันการสำลักและลิ้นตกไปอุดทางเดินหายใจพร้อมทั้งเช็ดตัวลดไข้และสังเกตลักษณะการของการชักห้ามใช้นิ้วหรือวัตถุใดๆ งั้นปากเด็กขณะกำลังชักเพราะอาจเกิดอันตรายต่อเด็กและผู้ช่วยเหลือได้
อาการและอาการแสดง
-อาการชักแบบเหม่อลอย
เด็กจะมีอาการกระตุกเฉพาะส่วนของร่างกายหรือทุกส่วนอาจมีพฤติกรรมเปลี่ยนชั่วขณะอาจมีอาการเหม่อ เรียกแล้วไม่รู้สึกตัว
-อาการชักทั้งตัว
โดยเวลาชาร์ตจะมีอาการเกร็งกระตุกโดยไม่รู้ตัวและจำไม่ได้ว่าตัวเองชัก
1.Simple febrile seizure ประเภทของการชักจากไข้สูง
มีไข้ร่วมกับมีอาการชักในเด็กอายุระหว่าง 6เดือนถึง 5ปี
การซักแบบทั้งตัว (generalized seizure)
ก่อนและหลังการชักไม่พบความผิดปกติทางระบบประสาท
ระยะเวลาของการชักจะเกิดช่วงสั้นไม่เกิน 15 นาที
ไม่มีอาการชักซ้ำในการเจ็บป่วยครั้งเดียวกัน
2.Complex Febrile seizure
เด็กมีความผิดปกติทางสมองเช่น
มีประวัติการเจริญเติบโตช้า
มีศีรษะเล็กหรือโตกว่าปกติ
มีประวัติการเจริญเติบโตช้า
การชักเป็นแบบเฉพาะที่หรือทั้งตัว
ระยะเวลาของการชักจะเกิดนานมากกว่า 15 นาที
เกิดการชักซ้ำในการเจ็บป่วยครั้งเดียวกัน