Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาและทารกที่ มีภาวะติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การพยาบาลมารดาและทารกที่
มีภาวะติดเชื้อขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อระบบขับถ่ายปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะในขณะตั้งครรภ์
มีการเปลี่ยนแปลงทางหน้าที่ของไต ในไตมีระบบการหมุนเวียนของเลือดเพิ่มจึ้นประมาณร้อยละ 70-85 ทําให้ไตต้องปรับตัว และเพิ่มหน้าที่การกรองของไตขึ้นประมาณร้อยล45 ทําให้ระดับ creatinine และBUN ในเลือดลดต่ําลง ส่วนหน้าที่ของ tubule ในการดูดซึมกลับของโซเดียม กรดอมิโนส่วนใหญ่ วิตามินชนิดที่ละลายน้ําได้ และกลูโคสสูงขึ้น
มีการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคที่สําคัญของระบบทางเดินปัสสาวะ ตั้งแต่ภายในกรวยไตจนถึงท่อไต โดยจะมีขนาดใหญ่ขึ้นมากโดยเฉพาะด้านขวา ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ร่วมกับการถูกกดทับของมดลูกที่มีขนาดโตขึ้นขณะตั้งครรภ์ ทําให้มีการคั่งของน้ําปัสสาวะในไต ท่อไต ค้างอยู่นาน
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนขณะตั้งครรภ์ทําให้ท่อไตตึงตัว ทําให้การเคลื่อนไหวและการหดรัดตัวของท่อไตลดลง ประสิทธิภาพในการดูดซึมกลับลดลง ทําให้ปัสสาวะค้างอยู่ในทางเดินปัสสาวะ
การที่มดลูกมีการขยายขนาดใหญ่ขึ้นและกดเบียดกระเพาะปัสสาวะทําให้รูเปิดของหลอดไตที่กระเพาะปัสสาวะเกิดการบิดงอ ขับปัสสาวะออกไม่สะดวก ปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
พยาธิสรีรวิทยา
กิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณปากช่องคลอดหรือทวารหนักใกล้ท่อปัสสาวะ ย้อนกลับขึ้นไป (ascending infection) ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทํางานของ ระบบทางเดินปัสสาวะขณะตั้งครรภ์ จากผลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) และการขยายตัวของขนาดมดลูก
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (Lower UTI) เช่น ท่อปัสสาวะอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น สตรีตั้งครรภ์จะมีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด กระปิดกระปรอย กลั้นปัสสาวะไม่ได้ บางรายอาจพบปัสสาวะเป็นเลือดหรือสีน้ําล้างเนื้อ ปวดบริเวณหัวหน่าว
อาการและอาการแสดงติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน (Upper UTI) ได้แก่ กรวยไตอักเสบ โดยจะพบปัสสาวะเป็นสีขุ่น หรือสีน้ําล้างเนื้อ เจ็บบริเวณชายโครงปวดหลังบริเวณตําแหน่งของไต มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน หากอาการรุนแรงอาจมีอาการของการติดเชื้อในกระแสเลือด และหากไม่ได้รับการรักษาอาจช็อกและเสียชีวิต
ชนิดของการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและระบบขับถ่ายปัสสาวะขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อเฉียบพลันที่กรวยไต (Acute pyelonephritis) เป็นการตรวจพบแบคทีเรียในปัสสาวะ มากกว่า 105 cfu/ml ร่วมกับปัสสาวะเป็นหนอง มีไข้ หนาวสั่น และปวดบริเวณบั้นเอว
กลุ่มอาการโรคไตรั่ว หรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ(Nephrotic syndrome)เป็นพบโปรตีนในปัสสาวะมากประมาณ 5 กรัมต่อวัน โปรตีนในเลือดต่ํา ไขมันในเลือดสูง และมีอาการบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ
การติดเชื้อเฉียบพลันที่กระเพาะปัสสาวะ (Acute cystitis) เป็นการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ ร่วมกับมีอาการเจ็บปวดขณะถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย
ภาวะไตวาย (renal failure)
ไตวายเรื้อรัง (chronic renal failure) มักมีสาเหตุมาจากโรคหลายอย่าง เช่น DM, SLE, glomerulonephritis ส่วนใหญ่มักจะไม่มีการตั้งครรภ์
ตวายเฉียบพลัน (acute renal failure)มักมีสาเหตุจากการแท้งติดเชื้อ (septic abortion), preeclampsia with severe feature, hemolytic uremia syndrome ปัจจุบันสามารถดูแลภาวะนี้ได้ดี
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะแต่ไม่แสดงอาการ (Asymptomatic bacteriuria: ASB)เป็นการตรวจพบแบคทีเรียในปัสสาวะมากกว่า 105 colony forming unit/ml (cfu/ml) จากการเก็บปัสสาวะอย่างสะอาด 2 ครั้งติดต่อกัน โดยไม่มีอาการแสดงของการติดเชื้อ
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะจะกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว ทําให้เกิดการแท้ง การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด และ/หรือถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด ส่วนในรายที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดอาจเกิด septic shock
ผลต่อทารก
ทารกคลอดก่อนกําหนด ทารกน้ําหนักตัวน้อย ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ และทารกตายคลอด
การประเมินและวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย จะตรวจพบปัสสาวะขุ่น หรือพบปัสสาวะเป็นสีน้ําล้างเนื้อ มีไข้ ปวดบริเวณท้องน้อยเหนือหัวหน่าว หากกดบริเวณcostovertebral angle จะปวดมาก (positiveGoldflam sign or kidney punch)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจ urine analysis จะพบไข่ขาว เม็ดเลือดขาย ตรวจ urine culture จะพบเชื้อแบคทีเรียมากกว่า105 dfu/ml ในรายที่มีการติดเชื้อที่กรวยไต ควรตรวจ urine culture เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรกทุกรายและตรวจซ้ําเมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์
การซักประวัติ ซักประวัติเกี่ยวกับการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ หรือการติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์
แนวทางการป้องกันและรักษา
การป้องกัน
แนะนําให้ดื่มน้ําอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
ทําการคัดกรองการติดเชื้อตั้งแต่ต้น โดยตรวจเพาะเชื้อปัสสาวะ (urine culture) ในสตรีที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกทุกรายหรือทําเฉพาะในรายที่มีความเสี่ยง
แนะนําให้ทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังขับถ่าย
การรักษา
รายที่มีการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะที่มีความไวต่อเชื้อและปลอดภัยต่อมารดาและทารกมากที่สุด
รายที่เป็นกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ต้องรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อให้สารละลายทางหลอดเลือดดํา และให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดํา พร้อมทั้งส่งตรวจ Urine culture เมื่อตรวจไม่พบเชื้อในปัสสาวะจึงเปลี่ยนมาเป็นยาชนิดรับประทาน
รายที่มีการติดเชื้อแบบ ASB จําเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาทุกราย เพื่อป้องกันการเกิด upper UTI โดยให้ยาปฏิชีวนะได้แก่ ampicillin, cephalexin, amoxicillin และ nitrofurantoin หลังจากได้รับการรักษา 7 วัน ควรตรวจ urine culture เพื่อตรวจหาเชื้อโรคซ้ํา
การพยาบาล
ระยะคลอด
ให้การพยาบาลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป และเน้นเรื่องการทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกทุกครั้งหลังการขับถ่ายเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ระยะหลังคลอด
การป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และการป้องกันการกลับเป็นซ้ํา
ให้คําแนะนําเช่นเดียวกับคําแนะนําเพื่อป้องกันการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ โดยเน้นการคุมกําเนิด ในรายที่มีบุตรเพียงพอแล้วหรือเป็นโรคไตติดเรื้อรังควรคุมกําเนิดแบบถาวร เพราะการตั้งครรภ์จะทําให้โรครุนแรงมากขึ้น และเป็นอันตรายต่อชีวิตของมารดาได้
ระยะตั้งครรภ์
แนะนําการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ หรือป้องกันการกลับเป็นซ้ํา
ดื่มน้ําวันละ 8-10 แก้ว หรือ 2,000-3,000 มิลลิลิตร และไม่กลั้นปัสสาวะ
ในรายที่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ให้ความรู้แก่สตรีตั้งครรภ์ถึงความจําเป็นของการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นขณะรับประทานยา
พักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยแนะนําให้นอนตะแคงเพื่อไม่ให้มดลูกไปกดทับท่อไต
ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายโดยเฉพาะอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
แนะนําให้สังเกตอาการผิดปกติที่ต้องรีบาพบแพทย์ เช่น ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะออกน้อย มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องน้อย ปวดบั้นเอว เจ็บครรภ์ ถุงน้ำคร่ําแตก
กรณีที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและได้รับการรักษา ติดตามการเปลี่ยนแปลงของโรค รวมทั้งสังเกตอาการผิดปกติ เช่น อาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด ไตวาย
น้นความสําคัญของการมาตรวจครรภ์ตามนัดอย่างต่อเนื่องและสม่ําเสมอ เพื่อประเมินภาวะสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์ และทุกครั้งที่มากครรภ์ต้องประเมินภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์เพื่อคัดกรองการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ
กรณีที่ต้องรับเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ให้การพยาบาลดังนี้
ประเมินเสียงหัวใจของทารกและการดิ้นของทารกเพื่อประเมินสภาวะของทารกในครรภ์ รวมทั้งเตรียมการตรวจและติดตามผลการตรวจต่าง ๆ
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาลดไข้ ยากลุ่มสเตียรอยด์ เป็นต้น
ดูแลให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ แนะนําให้นอนตะแคงเพื่อไม่ให้มดลูกกดทับท่อไต
ให้การพยาบาลเพื่อบรรเทาความไม่สุขสบาย เช่น อาการปวดหลังและปวดบั้นเอว เป็นต้น โดยให้นอนตะแคงด้านที่ไม่ปวด การประคบร้อนบริเวณที่ปวด การเช็ดตัวลดไข้ เป็นต้น
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าในถึงความจําเป็นในการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินการติดเชื้อในร่างกาย
สังเกตและบันทึกปริมาณสารน้ําเข้าและออกจากร่างกาย และติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินการทํางานของไต
ดูแลประคับประคองจิตใจ ในรายที่มีอาการรุนแรง ได้แก่ กรวยไตหรือไตอักเสบเฉียบพลัน จนกระทั่งไตวาย แพทย์อาจพิจารณาทําแท้งเพื่อการรักษา จึงควรเตรียมร่างกายและจิตใจของสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวให้พร้อม
ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการดําเนินของโรค ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับสตรีตั้งครรภ์และทารก และแผนการรักษาพยาบาล เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์คลายความวิตกกังวล และให้ความร่วมมือในการดูแลรักษาพยาบาล
การติดเชื้อที่มาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การตกขาวผิดปกติ
1.1การตกขาวจากการติดเชื้อรา (Vulvovaginal candidiasis)
ปัจจัยและปัจจัยเสี่ยง
การรับประทานยาคุมกําเนิดชนิดที่มีปริมาณฮอร์โมนมาก (high dose)
ภูมิต้านทานของร่างกายถูกกดจากการเป็นโรคเอดส์ หรือการได้รับเคมีบําบัด
การได้รับฮอร์โมนสเตียรอยด์
การควบคุมภาวะเบาหวานไม่ดี มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง น้ําตาลเป็นอาหารที่ดีของเชื้อรา
การรับประทานยาปฏิชีวนะ
การใช้น้ำยาล้างทําความสะอาดช่องคลอด และปากช่องคลอดบ่อยๆ
การสวมใส่ชุดชั้นในที่แน่นเกินไป ทําให้เกิดความอับชื้น เชื้อราเจริญได้ง่าย
ความเครียด การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ
การตั้งครรภ์พบว่าขณะตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น ทําให้ระดับ glycogen ในช่องคลอดสูงขึ้นตาม
บวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตขณะตั้งครรภ์ ภาวะความเป็นกรด-ด่าง
อาการและอาการแสดง
อาจมีอาการเจ็บขณะร่วมเพศ (dyspareunia)
มีอาการปัสสาวะลําบาก และแสบขัดตอนสุด (external dysuria)
มีอาการคันและระคายเคืองมากในช่องคลอดและปากช่องคลอด ปากช่องคลอดเป็นผื่นแดง ช่องคลอดอักเสบ และบวมแดงแต่ปากมดลูกปกติ
ประมาณร้อยละ 20 ของผู้ติดเชื้อราจะไม่มีอาการ
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ทำให้อาการของการติดเชื้อราในช่องคลอดเป็นมากขึ้นเป็น 2 เท่า มีความระคายเคือง คันช่องคลอดมากขึ้น การติดเชื้อราในช่องคลอดทั้งแบบไม่มีอาการและมีอาการ ไม่มีผลเสียต่อการตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อทารก
จะเป็นเชื้อราในช่องปาก (oral thrush) ได้มากกว่าปกติ 2-35 เท่า
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจด้วยวิธีแกรมสเตน (gram stain) จะพบลักษณะเป็นเหมือนเส้นด้าย (gram positive pseudomycelial threads) และมีรูปร่างเหมือนยีสต์ (yeast-like form)
การตรวจด้วยวิธี wet mount smear จะพบเซลล์ของยีสต์ (yeast cell) และเส้นใยของเซลล์เชื้อรา (mycelium) pH น้อยกว่า 4.5
การซักประวัติ
แนวทางการรักษา
Miconazole 100 มิลลิกรัม 1 เม็ด เหน็บช่องคลอดก่อนนอนเป็นเวลา 7 วัน
Clotrimazole 100 มิลลิกรัม 1 เม็ด เหน็บช่องคลอดก่อนนอนเป็นเวลา 6วัน
2% Miconazole cream 5 กรัม ทาช่องคลอด 7วัน
1% Clotrimazole cream 5 กรัม ทางช่องคลอด 6 วัน
การพยาบาล
ระยะคลอด
สามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ
ระยะหลังคลอด
เน้นการดูแลความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาดและแห้งเสมอ ชุดชั้นในต้องสะอาดและแห้ง ไม่อับชื้น
สามารถเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยต้องล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
การดูแลมารดาหลังคลอดเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
ทารกแรกเกิดอาจมีการติดเชื้อในช่องปาก ซึ่งจะพบมีฝ้าขาวในช่องปาก ให้ปรึกษากุมารแพทย์เพื่อการดูแลทารกต่อไป
ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเทอโรนลดลง อาการของการติดเชื้อราในช่องคลอดจะดีขึ้น
ระยะตั้งครรภ์
แนะนําการใช้ยาทา และยาเหน็บช่องคลอดตามแพทย์สั่ง โดยการเหน็บยาในช่องคลอดอย่างมีประสิทธิภาพ และรักษาติดต่อกันจนยาหมด หากอาการยังไม่ดีขึ้น หรือยังมีอาการหลงเหลืออยู่ ให้ไปพบแพทย์ เพื่อการรักษาอย่างต่อเนื่อง
การทําความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และการทําความสะอาดชุดชั้นในต้องซักให้สะอาดและตากแดดให้แห้งเสมอ ชุดชั้นในควรเป็นผ้าฝ้ายไม่ควรใช้ไนลอนเพราะจะทําให้อับชื้น
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์ เข้าใจสาเหตุของการติดเชื้อ และการดูแลตนเองให้มีอาการสุขสบายขึ้นจากอาการคันในช่องคลอด และปากช่องคลอด
หากอาการติดเชื้อเป็นซ้ําๆ หรือสามีมีอาการแสดง ควรพาสามีให้มารักษาพร้อมกัน
1.2 การตกขาวจากการติดเชื้อพยาธิ (Vaginal trichomoniasis)
การพยาบาล
ระยะคลอด
ให้การพยาบาลผู้คลอดในระยะคลอด โดยให้คลอดทางช่อคลอดได้ตามปกติ
ระยะหลังคลอด
แนะนําให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
หากอาการยังไม่ดีขึ้น ให้พบแพทย์และดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเสมอ
ให้การพยาบาลเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
การติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด ต้องได้รับการรักษาทั้งสามีและภรรยาให้หาย ในช่วงที่มีอาการ อาจต้องงดการมีเพศสัมพันธ์ และรักษาให้หาย รวมถึงแนะนําการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยโดยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
ระยะตั้งครรภ์
แนะนําให้สามีมารับการรักษาพร้อมกัน
แนะนําการรักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้แห้งสะอาดเสมอ และซักชุดชั้นในให้สะอาดตากแดดให้แห้ง
แนะนําการเหน็บยา หรือการรับประทานยาตามแผนการรักษาอย่างถูกต้องและสม่ําเสมอ
แนะนําการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยโดยการสวมถุงยางอนามัย
ให้คําแนะนําและการดูแลเหมือนสตรีตั้งครรภ์ทั่วไป
อาการและอาการแสดง
มีอาการระคายเคืองที่ปากช่องคลอด ในช่องคลอด ปากช่องคลอดบวมแดง และอาจทําให้ปากมดลูกอักเสบ มีจุดเลือดออกเป็นหย่อม ๆ (strawberry spot หรือ flea bittencervix)
อาจมีอาการปัสสาวะแสบขัดหรือบ่อย ปวดแสบปวดร้อนบริเวณต้นขาด้านใน
ลักษณะของตกขาวมีสีขาวปนเทา หรือสีเหลืองเขียว ตกขาวเป็นฟอง (foamy discharge) มีกลิ่นเหม็น
เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
ผู้ติดเชื้อร้อยละ 10 ไม่แสดงอาการ ผู้ติดเชื้อร้อยละ 50 มักจะพบโรคคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นร่วมด้วยเช่น หนองใน (gonorrhea) ปากมดลูกอักเสบแบบมูกปนหนอง (mucopurulent cervicitis) หูดหงอนไก่ (condyloma acuminata) เชื้อราในช่องคลอด (vulvovaginal candidiasis)
แนวทางการรักษา
หลังไตรมาสแรกไปแล้ว จะรักษาด้วย metronidazole โดยให้รับประทาน 2 กรัม ครั้งเดียว
ให้การรักษาสามีไปด้วย โดยให้ metronidazole หรือ tinidazole รับประทาน 2กรัม ครั้งเดียว หรือ ornidazole 1.5 กรัม ครั้งเดียว
ยาที่ใช้ได้ผลดีที่สุดต่อการติดเชื้อพยาธิ คือ metronidazole แต่ห้ามใช้ในไตรมาสแรก
การประเมินและวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย การตรวจภายในช่องคลอด พบตกขาวเป็นฟองสีเหลือเขียว อาจพบจุดเลือดออกเป็นหย่อมๆ ที่ผิวปากมดลูก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วย wet mount smear จะพบเม็ดเลือดขาวจํานวนมาก อาจพบตัวเชื้อพยาธิเคลื่อนไหวไปมา ตกขาวมีฤทธิ์เป็นด่าง ค่า pH มากกว่า 4.5
การซักประวัติ ได้แก่ประวัติการมีตกขาวจํานวนมาก เป็นฟอง มีกลิ่นเหม็น ร่วมกับอาการคัน ประวัติการตกขาวจากการติดเชื้อพยาธิและการรักษา
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด มีความสัมพันธ์กับภาวะถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกคลอดก่อนกําหนด และทารกแรกเกิดมีน้ําหนักตัวน้อย
1.3 การตกขาวจากการติดเชื้อแบคทีเรีย(Bacterial vaginosis)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
อาจทําให้เกิดการแท้งติดเชื้อ (septic abortion)ถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนดและเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด
มารดาหลังคลอดอาจมีไข้ ปวดท้องมากและมีอาการแสดงของเยื่อบุมดลูกอักเสบ (endometritis) ทั้งหลังการคลอดปกติและหลังการผ่าตัดคลอด
ถ้าไม่ได้รักษา อาจทําให้มีการติดเชื้อราได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้เชื้อแบคทีเรียยังจะคืบคลานเข้าสู่โพรงมดลูก ท่อนําไข่ ทําให้มีการติดเชื้อในมดลูก (chorioamnionitis) ปีกมดลูกอักเสบ (salpingitis) และเกิดการอักเสบในอุ้งเชิงกราน (pelvic inflammatory disease: PID) ได้
ผลกระทบต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ําหนักตัวน้อย และทารกคลอดก่อนกําหนด ซึ่งอาจตรวจพบว่ามีเชื้อแบคทีเรียในหลอดลมทําให้มีภาวะหายใจลําบาก มีแบคทีเรียในเลือด ซึ่งต้องรีบรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ เป็นเวลา 72 ชั่วโมง
การประเมินและวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย การตรวจทางช่องคลอดและการทําpap smear จะพบเชื้อแบคทีเรียตรวจความเป็นกรด-ด่างในช่องคลอด จะได้ผลมีฤทธิ์เป็นด่าง ค่า pH มากกว่า 4.5
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจ Wet smear โดยการหยด 10% Potassium Hydroxide(KOH) ลงไปบนตกขาว 2 หยดแล้ว คนให้เข้ากันจะได้กลิ่นเหม็นเน่าเหมือนคาวปลา
การเพาะเชื้อ (culture) ตกขาวใน columbia agar ที่มีเลือดเป็นส่วนผสมหรือมี 5%CO2ใช้เวลา 3 วันเชื้อแบคทีเรียจะโตขึ้นเป็นกลุ่มเล็ก
การซักประวัติ ได้แก่ประวัติการมีตกขาวจํานวนมาก ปวดแสบปวดร้อนบริเวณปากช่องคลอดและในช่องคลอด ถ่ายปัสสาวะลําบา เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ประวัติการตกขาวจากการติดเชื้อแบคทีเรียและการรักษา
อาการและอาการแสดง
มีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อนปากช่องคลอด ในช่องคลอด ถ่ายปัสสาวะลําบาก แสบขัด เจ็บขณะร่วมเพศ ตกขาวสีขาว สีเทา หรือสีเหลือง ข้นเหนียว มีกลิ่นเหม็นเน่าเหมือนคาวปลา (fishy smell) โดยเฉพาะหลังการมีเพศสัมพันธ์
การพยาบาล
ระยะคลอด
ผู้คลอดสามารถคลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ โดยให้การพยาบาลเหมือนผู้คลอดทั่วไป
ระยะหลังคลอด
สามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยเน้นเรื่องการล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
เน้นการทําความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ให้สะอาดและแห้งเสมอ
ให้การดูแลเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
หากมีอาการผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์ทันที
ระยะตั้งครรภ์
รักษาความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกไม่ให้อับชื้นโดยใช้น้ําธรรมดา หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ซึ่งอาจไปทําลายเชื้อโรคประจําถิ่นได้
แนะนําให้พาสามีไปตรวจและรักษาโรคพร้อมกัน
รับประทานยาตามแพทย์สั่งให้ครบ และเน้นย้ําให้เห็นความสําคัญของการมาตรวจตามนัด
แนะนําการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
ให้คําแนะนําและการดูแลเหมือนสตรีตั้งครรภ์ทั่วไป
หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้อง ท้องแข็งบ่อย มีเลือดออกทางช่องคลอด ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาจเป็นอาการของการคลอดก่อนกําหนดได้
แนวทางการรักษา
ให้ยา metronidazole 250 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง หรืออาจให้ metronidazole 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 7-10 วัน
ให้ampicillin 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน
ซิฟิลิส (Syphilis)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ทําให้ผิวหนังและเนื้อเยื่ออักเสบ คลอดก่อนกําหนด และแท้งบุตร
ผลต่อทารก
ทารกคลอดก่อนกําหนด ตายคลอด ทารกแรกเกิดติดเชื้อซิฟิลิส(neonatalsyphilis)ทารกพิการแต่กําเนิดโดยอาจพบความพิการของตับม้ามโต ทารกตัวบวมน้ํา ตัวเหลือง เยื่อบุส่วนต่างๆของร่างกายเกิดการอักเสบ ผิวหนังที่ฝ่ามือฝ่าเท้าอักเสบและลอกเป็นขุย ปัญญาอ่อน เป็นโรคหัวใจแต่กําเนิด
การประเมินและวินิจฉัย
การตรวจร่างกายกรณีที่มีอาการและอาการแสดงอาจตรวจพบไข้ต่ํา ๆครั่นเนื้อครั่นตัว ตรวจอวัยวะสืบพันธ์ภายนอกพบแผลที่มีลักษณะขอบแข็ง กดไม่เจ็บ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
หากไม่มีแผลหรือผื่น การวินิจฉัยทําโดยการตรวจเลือด
ระยะที่เป็นแผลสามารถวินิจฉัยโดยการตรวจหาเชื้อ T. Pallidum จากแผล chancre
การซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อซิฟิลิส
อาการและอาการแสดง
ซิฟิลิสระยะที่สอง (secondary stage)ขณะที่แผลกําลังจะหาย หรือหลังจากแผลหายจะพบผื่นกระจายทั่วร่างกาย ฝ่ามือฝ่าเท้า เยื่อบุรวมทั้งอวัยวะสืบพันธุ์ โดยผื่นที่พบบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์จะยกนูน ร่วมกับมีอาการไข้ ต่อมน้ําเหลืองโต เจ็บคอ ผมร่วงเป็นหย่อมๆ ปวดศีรษะ น้ําหนักลด
ระยะแฝง (latent syphilis)ระยะนี้จะไม่มีอาการใดๆ แต่กระบวนการติดเชื้อยังดําเนินอยู่และสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ รวมถึงอาจมีการกําเริบของโรคได้ ซึ่งระยะแฝงของซิฟิลิสจะอยู่ได้นานเป็นปี หากยังไม่ได้รับการรักษาจะพัฒนาไปเป็นซิฟิลิสระยะที่ 3
ซิฟิลิสระยะแรก หรือระยะที่หนึ่ง (primary stage)หลังจากได้รับเชื้อ 10-90 วัน หรือประมาณ 3 สัปดาห์ จะเกิดแผล กลม นิ่ม ขอบนูนแข็ง ไม่เจ็บ
ซิฟิลิสระยะที่ 3 หรือระยะท้ายของโรคซิฟิลิส (tertiary syphilis) ระยะนี้เชื้อจะเข้าไปทําลายระบบหัวใจและหลอดเลือด ทําให้เกิด aortic aneurysm และ aortic insufficiency ถ้าเชื้อเข้าสู่ระบบประสาทจะเกิดผิวหนังอักเสบ กระดูกผุ เยื่อบุสมองอักเสบ และเสียชีวิตในที่สุด เกิดรอยโรคที่อวัยวะภายในและกระดูกที่มีลักษณะเฉพาะเรียกว่า gumma lesion และอาจตรวจพบรูม่านตาที่ค่อนข้างเล็ก และหดเล็กลงได้เมื่อมองใกล้ แต่ไม่หดเล็กลงเมื่อถูกแสง เรียกว่า Argyll Robertson Pupil
แนวทางการรักษา
ให้ยา Penicillin Gซึ่งเป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาซิฟิลิสในสตรีตั้งครรภ์ และป้องกันการติดเชื้อของทารก
การรักษาในระยะ primary, secondary และ early latent syphilisรักษาด้วยBenzathine Penicillin G Sodium 2.4 ล้านยูนิต ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะโพกครั้งเดียว
การรักษาเป็นแนวทางเดียวกับสตรีที่ติดเชื้อซิฟิลิสขณะไม่ตั้งครรภ์ โดยยึดหลักการรักษาให้หาย ครบถ้วน และต้องให้สามีมารับการตรวจและรักษาพร้อมกัน
การรักษาในระยะ late latent syphilis จะรักษาด้วย Benzathine Penicillin G Sodium 2.4 ล้านยูนิต ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะพก 3 สัปดาห์ติดต่อกัน และภายหลังการรักษาควรตรวจ VDRL title
พยาธิสรีรภาพ
เชื้อสู่ร่างกายทางผิวหนังที่เป็นแผลถลอก หรือทางเยื่อบุต่างๆของร่างกาย ประมาณ 10-14 วัน ร่างกายจะสร้างantibody ต่อเชื้อชนิด IgM และ IgG ขึ้นมา ขณะที่ร่างกายกําลังสร้างantibodyเชื้อจะแบ่งตัวทําให้บริเวณผิวหนังหรือบริเวณเนื้อเยื่อที่เชื้อผ่านเข้าไปจะเกิดการระคายเคือง เกิดปฏิกิริยา lymphocyte และ plasma cell reaction มาล้อมรอบเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบทําให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวและบวม เชื้อจะแทรกเข้าไปอยู่ระหว่างผนังหลอดเลือดและทําให้หลอดเลือดอุดตัน ส่งผลให้เนื้อเยื่อที่มีการอักเสบมีเลือดมาเลี้ยงลดลง
หนองใน (Gonorrhea)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มีบุตรยาก กรณีที่มีอาการขณะตั้งครรภ์จะทําให้ถุงน้ําคร่ําอักเสบและติดเชื้อ ถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด แท้งบุตร และการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อทารก
ทารกแรกเกิดที่คลอดปกติผ่านทางช่องคลอดมีการติดเชื้อหนองในที่ปากมดลูก ช่องคลอด หรืออวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก โดยเฉพาะบริเวณเยื่อเมือกที่ตาของทารก ทําให้เกิดตาอักเสบ (gonococcal
ophalmia neonatorum) และอาจเป็นสาเหตุให้ตาบอดได้ หากทารกแรกเกิดกลืนหรือสําลักน้ําคร่ําที่มีเชื้อหนองในเข้าไปจะทําให้ช่องปากอักเสบ หูอักเสบ กระเพาะอาหารอักเสบได้
การประเมินและวินิจฉัย
การตรวจร่างกายตรวจทางช่องคลอดจะพบหนองสีขาวขุ่น บางรายอาจพบเลือดปนหนอง หากมีการอักเสบมากขาหนีบจะบวม กดเจ็บบริเวณต่อมบาร์โธลิน หรือต่อมข้างท่อปัสสาวะ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการตรวจขั้นต้นโดยการเก็บน้ําเหลืองหรือหนองจากส่วนที่มีการอักเสบมาย้อมสีตรวจ gram stain smear หากมีการติดเชื้อจะพบintracellular gram negative diplocooci ส่วนการตรวจเพื่อยืนยันผลทําได้โดยการเพาะเชื้อ (culture) หรือการตรวจ Nucleic acid test (NAT) เพื่อยืนยันผล หากผล positive ต่อ Neiseria gonorrheaeจะแปลผลว่ามีการติดเชื้อ
การซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อหนองใน
อาการและอาการแสดง
มีการอักเสบของปากมดลูกและช่องคลอดทําให้ตกขาวเป็นหนองข้น
หากมีการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างจะพบอาการปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกระปิดกระปรอย เป็นหนองข้น และปัสสาวะเป็นเลือด
กดเจ็บบริเวณต่อมบาร์โธลิน (bartholin’s gland)
แนวทางการรักษา
ทารกแรกเกิดทุกรายควรได้รับยาป้ายตาคือ 1% tetracycline ointment หรือ 0.5% erythromycin ointment หรือ 1% Silver nitrate (AgNO3)หยอดตาตาทารก หลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตา
ทารกที่พบว่ามีการติดเชื้อหนองในควรได้รับยาปฏิชีวนะceftriaxone ตามแผนการรักษาของกุมารแพทย์
หากพบว่ามีเชื้อให้ยา ceftriaxone, azithromycin, penicillin ได้ทั้งรับประทานและฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ทั้งนี้ควรระวังเรื่องของการเพิ่มของ blood level ระหว่างที่ได้รับยาเนื่องจากจะมีผลต่อการทํางานของหัวใจของสตรีขณะตั้งครรภ์
การรักษาในสตรีตั้งครรภ์ควรคํานึงว่ามีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น ซิฟิลิส HIV เป็นต้น หากมีควรรักษาพร้อมกัน รวมถึงต้องตรวจและรักษาคู่นอนด้วยเช่นกัน
ตรวจคัดกรองขณะตั้งครรภ์ตามปกติ (VDRL)
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อเชื้อ Neiseria gonorrheaeเข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปเกาะติดกับเซลล์เยื่อบุและเซลล์ขับเมือก โดยจะพยายามผ่านเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเข้าไปเพิ่มจํานวนเซลล์ในชั้น subepithelial tissue จากนั้นเชื้อ Neiseria gonorrheaeจะทําปฏิกิริยากับภูมิต้านทานของร่างกาย ทําให้เกิดสารเคมีที่เป็นพิษต่อเซลล์และเนื้อเยื่อ ส่งผลให้เนื้อเยื่ออักเสบเป็นหนอง
การติดเชื้อเริม (Herpes simplex)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อครั้งแรกขณะตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้ง การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด ส่วนการติดเชื้อซ้ําขณะตั้งครภร์มีผลกระทบค่อนข้างน้อย
ผลกระทบต่อทารก
ทารกมีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกคลอดก่อนกําหนด หากทารกมีการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ จะทําให้เกิดความพิการแต่กําเนิดสูง ส่งผลให้ทารกเสียชีวิตได้ และหากให้คลอดทางช่องคลอดทารกอาจติดเชื้อขณะคลอดได้
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกายจะพบตุ่มน้ําใส หากตุ่มน้ําแตกจะพบแผลอักเสบ แดง ปวดแสบปวดร้อนบริเวณขอบแผลค่อนข้างแข็ง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การขูดเนื้อเยื่อจากแผลมาทําการย้อมและดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ (exfoliative cytology หรือ pap smear) วิธีนี้ทําได้ง่าย แต่ความไวในการตรวจพบเชื้อค่อนข้างต่ํา
การทําให้ตุ่มน้ําแตกแล้วขูดบริเวณก้นแผลมาป้ายสไลด์แล้วย้อมสี (Tzanck’s test) สามารถพบเชื้อร้อยละ 70-85
การเพาะเชื้อใน Hank’s medium โดยนําของเหลวที่ได้จากตุ่มน้ําหรือจากก้นแผลมาทําการเพาะเชื้อ เป็นวิธีที่มีความแม่นยําสูงและมีความไวมาก
การซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการเคยติดเชื้อเริมมาก่อนหรือไม่ หรือเคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นเริมที่อวัยวะสืบพันธ์หรือไม่
อาการและอาการแสดง
อาการปวดแสบปวดร้อน และคันบริเวณที่สัมผัสโรค จากนั้นจะกลายเป็นตุ่มน้ําใสๆ แล้วแตกกลายเป็นแผลอยู่ 2 สัปดาห์ ก่อนจะตําสะเก็ด บางรายอาจมีอการคล้ายหวัด ได้แก่ ไข้ต่ําๆ อ่อนเพลัย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมน้ําเหลืองที่ขาหนีบโต
แนวทางการรักษา
ให้ Acyclovir 200 mg รับประทานวันละ 5 ครั้ง นาน5-7 วัน แต่หากมีอาการของระบบอื่นที่รุนแรงร่วมด้วยอาจให้ Acyclovir 5 mg/kg ฉีดเข้าหลอดเลือดดํา ทุก 8 ชั่วโมง นาน 5-7 วัน
การรักษาในระยะคลอด มีดังนี้
กรณีที่เคยติดเชื้อเริมมาก่อน แต่ขณะคลอดตรวจไม่พบรอยโรคหรือไม่มีอาการของการติดเชื้อ ให้คลอดทางช่องคลอด และเฝ้าระวังทารก เพื่อดูอาการของการติดเชื้อเริม
กรณีที่พบรอยโรคขณะคลอดไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อครั้งแรก หรือติดเชื้อซ้ํา ให้คลอดโดยการผ่าตัดคลอด และเฝ้าระวังทารกเพื่อดูอาการของการติดเชื้อเริม แต่หากว่ารอยโรคอยู่ห่างจากอวัยวะสืบพันธุ์มากและรอยโรคไม่แตกอาจให้คลอดทางช่องคลอดได้
ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษา herpes simplex ให้หายขาดได้ การรักษาจึงเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะในรายที่มีการติดเชื้อซ้ําเติม ล้างแผลด้วย NSS ในรายที่เป็นการติดเชื้อเริมที่อวัยวะเพศครั้งแรกและมีอาการรุนแรง
พยาธิสรีรภาพ
ภายหลังจากเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะทําให้ผิวหนังเป็นตุ่มน้ําใส เล็กๆจํานวนมาก เมื่อตุ่มน้ําแตก หนังกําพร้าจะหลุดพร้อมกับทําให้เกิดแผลตื้น ทําให้รู้สึกปวดแสบปวดร้อนที่แผล ขณะเดียวกันเชื้อก็จะเดินทางไปแฝงตัวที่ปมประสาท และกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ
หูดหงอนไก่ (Condyloma acuminate)
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกายจะพบรอยโรคเป็นติ่งเนื้อสีชมพูคล้ายหงอนไก่ ผิวขรุขระคล้ายดอกกะหล่ําบริเวณปากช่องคลอด ในช่องคลอด หรือบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการควรวินิจฉัยแยกโรคออกจากซิฟิลิสและgenital cancer (CA vulva)โดยการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา หรือตรวจ Pap smear หรือตรวจหาเชื้อ HPV โดยวิธี Polymerase Chain Reaction (PCR) หรือการตรวจ DNA (DNA probe)
การซักประวัติ ประวัติเคยติดเชื้อหูดหงอนไก่มาก่อน หรือเคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นหูดหงอนไก่ รวมถึงอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อหูดหงอนไก่
แนวทางการรักษา
ใช้ยาท่าร่วมกับการจี้ laser หรือ cryosurgery หรือ electrocoagulation with curettage
แนะนําการรักษาความสะอาด หลีกเลี่ยงการอับชื้นบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ทาบริเวณรอยโรคด้วย 85% trichlorracetic acid หรือ bichloroacetic acid ทุก 7-10 วัน
ระยะคลอดหากหูดหงอนไก่มีขนาดใหญ่ อาจพิจารณาผ่าตัดคลอด เพื่อหลีกเลี่ยงการคลอดติดขัดและการตกเลือดหลังคลอด เพื่อป้องกันการติดเชื้อในทารกแรกเกิด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
หากเกิดรอยโรคใหญ่อาจขัดขวางช่องทางคลอด หรือทําให้เกิดการตกเลือดหลังคลอด และมารดาหลังคลอดมีโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกได้
ผลต่อทารก
ทารกอาจติดเชื้อหูดหงอนไก่ระหว่างตั้งครรภ์และขณะคลอด บางรายอาจเกิด laryngeal papillomatosis ทําให้เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจส่วนบนเสียงเปลี่ยน (voice change) เสียงร้องไห้แหบผิดปกติ (abnormal cry)
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส หนองใน เริม และหูดหงอนไก่
ระยะคลอด
ดูแลให้ผู้คลอดและทารกได้รับยาตามแผนการรักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ผู้คลอดที่มีการติดเชื้อหนองใน ทารกแรกเกิดต้องได้รับการป้ายตาด้วย 1% Tetracyclin ointment หรือ 0.5% Erythromycin ointment หรือ หยอดตาทารกแรกเกิดด้วย 1% Silver nitrate (1%AgNO3)
หากไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ เตรียมผู้คลอดให้พร้อมสําหรับการผ่าตัดนําทารกออกทางหน้าท้องทั้งทางร่างกาย จิตใจ และกฎหมาย
หลีกเลี่ยงการทําหัตถการทางช่องคลอด เช่น การตรวจทางช่องคลอด การเจาะถุงน้ําคร่ำ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรทําอย่างระมัดระวังและไม่ทําให้ถุงน้ําคร่ําแตก
ดูแลผู้คลอดโดยยึดหลัก universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ระยะหลังคลอด
ประเมินอาการติดเชื้อของทารกแรกเกิด ได้แก่ มีไข้ อ่อนเพลีย ดูดนมไม่ดี ตัวเหลืองชัก หรือมีแผล herpes ตามร่างกาย ซึ่งหากทารกสัมผัสกับเชื้อเริมควรแยกทารกออกจากทารกรายอื่น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับทารก
แนะนําการเลี้ยงบุตร โดยล้างมือให้สะอาดก่อนจับทารกทุกครั้ง และหากไม่มีแผลบริเวณหัวนมหรือเต้านมสามารถให้นมมารดาได้ และหากสงสัยว่าทารกอาจมีตาอักเสบ ควรรีบมาพบแพทย์
แนะนํามารดาหลังคลอดเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย เครื่องใช้ส่วนตัว การกําจัดสิ่งปนเปื้อนสารคัดหลั่งอย่างถูกต้อง เพื่อการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ดูแลให้มารดาหลังคลอดและทารกได้รับยาป้องกันการติดเชื้อตามแผนการรักษา
ให้การพยาบาลมารดาหลังคลอดโดยยึดหลัก universal precautionเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเช่นเดียวกับระยะคลอด
แนะนําและดูแลมารดาหลังคลอดปกติ หรือหลังการผ่าตัดคลอด เช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดทั่วไป และเน้นการกลับมาตรวจตามนัดหลังคลอด รวมถึงอาการผิดปกติที่ควรมาตรวจก่อนวันนัด
ระยะตั้งครรภ์
แนะนําให้นําสามีมารับการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค และหากมีการติดเชื้อแนะนําให้รักษาพร้อมกัน และติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง
อธิบายให้เข้าใจถึงการดําเนินของโรค อันตรายของโรคต่อการตั้งครรภ์ แผนการรักษาพยาบาล การป้องกันสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
คัดกรองและประเมินภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ โดยการซักประวัติโดยละเอียด ตรวจร่างกาย หากสงสัยว่ามีการติดเชื้อควรส่งพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับวินิจฉัยตั้งแต่เริ่มฝากครรภ์
แนะนําการปฏิบัติตัวของสตรีตั้งครรภ์และสามีดังนี้
หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลและหนอง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังการสัมผัสแผลหรือหนอง
กรณีมีแผลที่อวัยวะสืบพันธุ์แนะนําให้ทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังการขับถ่ายและอาบน้ํา รวมทั้งดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งจนกว่าจะรักษาจนหายขาด
แนะนําเกี่ยวกับความสําคัญของการมาตรวจตามนัด การสังเกตอาการผิดปกติ รวมถึงอาการผิดปกติที่ต้องมาตรวจก่อนวันนัด
รับประทานยา ฉีดยา หรือทายาตามแผนการรักษา
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการรักษาของสตรีตั้งครรภ์และสามีอย่างสม่ำเสมอ
อาการและอาการแสดง
มีรอยโรคเป็นติ่งเนื้อสีชมพูคล้ายหงอนไก่ ขนาดแตกต่างกัน มักเกิดบริเวณอับชื้น เช่น ปากช่องคลอด หรือในช่องคลอด เป็นต้น การติดเชื้อขณะตั้งครรภ์รอยโรคจะขยายใหญ่ มีผิวขรุยระคล้ายดอกกะหล่ําและยุ่ยมาก
การติดเชื้อเอชไอวีในสตรีตั้งครรภ์
การแพร่เชื้อจากมารดาสู่ทารก
การติดเชื้อ HIV ระหว่างตั้งครรภ์ เชื้อไวรัสสามารถผ่านทางรก
การติดเชื้อ HIV ระหว่างคลอด การติดเชื้อในทารกเกิดขึ้นขณะคลอดหรือใกล้คลอด
การติดเชื้อ HIV ระยะหลังคลอด ภายหลังคลอดทารกจะติดเชื้อได้จากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของมารดา
พยาธิสรีรภาพ
ภายหลังการติดเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกาย เชื้อ HIV จะใช้ส่วน GP120 ที่ผิวของเชื้อ HIV จับกับ CD4 receptor ของเซลล์เม็ดเลือดขาว จากนั้นเชื้อ HIV จะเข้าไปในเซลล์เม็ดเลือดขาวเหล่านั้น แล้วใช้ enzyme reverse transcriptaseสร้างviral DNA แทรกเข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์เม็ดเลือดขาวแล้วเพิ่มจํานวนเม็ดเลือดขาวที่มีเชื้อไวรัส HIV ทําให้ร่างกายมีเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ HIV จํานวนมาก
อาการและอาการแสดง
ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการระยะนี้ร่างกายจะแข็งแรงเป็นปกติเหมือนคนทั่วไป แต่หากตรวจเลือดจะพบเชื้อ HIV และ antibody ต่อเชื้อHIV และสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้
ระยะติดเชื้อที่มีอาการอาจพบอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่ มีอุณหภูมิร่างกายสูงมากกว่า 37.80C เป็นพักๆ หรือติดต่อกันทุกวัน ท้องเดินเรื้อรังหรืออุจจาระร่วงเรื้อรัง
ระยะเริ่มแรกของการติดเชื้อ HIVระยะนี้เริ่มตั้งแต่ติดเชื้อ HIV จนกระทั่งร่างกายเริ่มสร้าง antibody กินเวลาประมาณ 1-6 สัปดาห์หลังติดเชื้อ
ระยะป่วยเป็นเอดส์จะมีอาการดังต่อไปนี้ คือ ไข้ ผอม ต่อมน้ําเหลืองโตหลายแห่ง ซีด อาจพบลิ้นหรือช่องปากเป็นฝ้าขาวจากเชื้อรา แผลเริมเรื้อรัง ผิวหนังเป็นแผลพุพอง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV และมีปริมาณ CD4 ต่ำ มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่ายขึ้น
ผลกระทบต่อทารก
มีโอกาสที่ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกคลอดก่อนกําหนด ทารกแรกเกิดน้ําหนักตัวน้อย ทารกมีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์ และทารกตายคลอด
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกายโดยการตรวจร่างกายทั่วไป ซึ่งหากเป็นระยะที่แสดงอาการอาจพบว่ามีไข้ ไอ ต่อมน้ำเหลืองโต มีแผลในปาก มีฝ้าในปาก ติดเชื้อราในช่องคลอด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการปัจจุบันสามารถวินิจฉัยการติดเชื้อได้ภายหลังการสัมผัสเชื้อ 1 เดือน โดยวิธีที่ใช้ในประเทศไทย
การซักประวัติเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ หรือสงสัยว่าจะติดเชื้อ ประวัติการใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดํา รวมทั้งซักประวัติอาการและอาการแสดงของโรคเอดส์
การตรวจพิเศษการตรวจพิเศษอื่น ๆ เช่น ตรวจเสมหะและเอกซเรย์ ในรายที่สงสัยจะเป็นวัณโรคปอด หรือปอดอักเสบแทรก
การป้องกันและการรักษา
การให้ยาต้านไวรัสแก่สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV เพื่อลดปริมาณของเชื้อ HIV ในเลือดให้ต่ําที่สุด คือน้อยกว่า 50 copies/ml และเพิ่มปริมาณCD4 ให้สูงที่สุด
การให้ยาเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสระหว่างตั้งครรภ์ หาก CD4 < 200 cells/mm3ป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาส PCP โดยให้ยา TMP-SMX (80/400 mg)ให้กินครั้งละ 2 เม็ด ทุก 24 ชั่วโมง
พิจารณาระยะเวลาที่จะให้คลอดและวิธีการคลอด
หลังคลอดหลีกเลี่ยงการให้ยากลุ่ม ergotamine เช่น methergine เป็นต้น กับมารดาที่ได้รับยาต้านไวรัสกบุ่ม protease inhibitors (PIs)
หลีกเลี่ยงการใส่สายยางสวนอาหารในกระเพาะทารกโดยไม่จําเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดบาดแผล
หลีกเลี่ยงการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา โดยระยะเวลาที่ทารกจะติดเชื้อจากการได้รับนมมารดาส่วนใหญ่จะเกิดใน 6 สัปดาห์แรกหลังคลอด
ทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อ HIV ทุกรายควรได้รับการดูแลรักษาโดยกุมารแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการให้ยาต้านไวรัส และสามารถติดตามการได้รับยาอย่างต่อเนื่อง
การพยาบาล
ระยะคลอด
ดูแลให้ผู้คลอดและทารกได้รับยาต้านไวรัสตามแผนการรักษา เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากมารดาไปสู่ทารก
ให้คําแนะนําแก่มารดาหลังคลอดเพื่อป้งอกันการแพร่กระจายเชื้อ
ระยะตั้งครรภ์
แนะนําให้มาฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อประเมินสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ รวมทั้งประเมินอาการของโรคเอดส์
ให้ความรู้แก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับหลักมาตรฐานในการควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ให้ข้อมูลแก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับการดําเนินของโรค ความแตกต่างระหว่างการติดเชื้อ HIV กับการเป็นเอดส์
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์และสามีที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยให้คําปรึกษาก่อนและหลังการตรวจเลือด โดยสตรีตั้งครรภ์ทุกรายควรได้รับการตรวจหาการติดเชื้อ HIV จํานวน 2 ครั้ง
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ผลการตรวจ CD4 หากน้อยกว่า 200 copies/mL
ประเมินภาวะแทรกซ้อนจากการได้รัยยาต้านไวรัส ซึ่งภาวะแทรกซ้อนต่อมารดา
แนะนําการปฏิบัติตัวของสตรีตั้งครรภ์ ดังนี้
รักษาความสะอาดของร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์
หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับบุคคลที่ติดเชื้อ เนื่องจากหากสตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อจะทําให้ภูมิต้านทานลดลง
รับประทานยาตามแผนการรักษา
หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทําให้ร่างกายอ่อนแอ เช่น การอดนอน การทํางานหนัก
แนะนําเกี่ยวกับความสําคัญของการมาตรวจตามนัด การสังเกตอาการผิดปกติ รวมถึงอาการผิดปกติที่ต้องมาตรวจก่อนวันนัด
ดูแลผู้คลอดโดยยึดหลัก universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป ได้แก่ ประเมินสัญญาณชีพ และเสียงหัวใจทารกอย่างใกล้ชิด
หากปริมาณ viral load ≤ 50 copies/mL แพทย์อาจพิจารณาเจาะถุงน้ำคร่ำเพื่อชักนําการคลอด
ทําคลอดด้วยวิธีที่ทําให้เกิดการบาดเจ็บต่อผู้คลอดกและทารกน้อยที่สุด และหลีกเลี่ยงการใช้สูติศาสตร์หัตถการที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
ดูแลให้ผู้คลอดและทารกได้รับยาต้านไวรัสตามแผนการรักษา เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากมารดาไปสู่ทารก
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อไวรัสรับอักเสบชนิดเอ (hepatitis A virus: HAV)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
การตั้งครรภ์ไม่มีผลทําให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น หากมีการติดเชื้อHAV ขณะตั้งครรภ์นั้น ร่างกายมารดาจะสร้าง antibody ต่อเชื้อ HAV ซึ่งสามารถผ่านไปยังทารกในครรภ์ได้
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย ตรวจพบลักษณะอาการทางคลินิกของการติดเชื้อ HAV เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด และอาจมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจหา antibody-HAV และ IgM-antiHAV และตรวจการทํางานของตับ
การซักประวัติ เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การขับถ่าย การสัมผัสเชื้อโรค
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และปวดศีรษะ มักไม่มีอาการของดีซ่าน
มีอาการตับเหลือง ตาเหลือง ตรวจพบalkaline phosphatase เพิ่มขึ้น
การป้องกันและการรักษา
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาการติดเชื้อ HAV ให้หายได้อย่างเด็ดขาด ส่วนใหญ่เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการที่ปรากฏ
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเองที่เหมาะสม และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเพื่อลดความวิตกกังวลและให้ความร่วมมือในการรักษา
แนะนําเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว ดังนี้
บประทานอาหารที่สุก สะอาด และย่อยง่าย และดื่มน้ําให้เพียงพอ
มาตรวจตามนัดเพื่อประเมินสภาวะของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
พักผ่อนอย่างเพียงพอ
หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อตับ ได้แก่ acetaminophen และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี(Hepatitis B virus)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
หากมีการติดเชื้อ Hepatitis B virus ในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกําหนด
ผลต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ําหนักตัวน้อย ทารกตายในครรภ์ หรือเสียชีวิตแรกเกิด และทารกที่คลอดมามีโอกาสที่จะติดเชื้อได้
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ การเป็นพาหะของโรคตับอักเสบจากไวรัสบี หรือเคยมีอาการแสดงของโรคตับอักเสบจากไวรัสบี
การตรวจร่างกาย พบอาการและอาการแสดง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ตับโต ตัวเหลืองตาเหลือง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการตรวจการทํางานของตับ และตรวจหา antigen และ antibody ของไวรัส ได้แก่ HBsAg, Anti-Hbs, Anti-HBc, HBeAg และ Anti-HBe
อาการและอาการแสดง
มีไข้ต่ํา ๆ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง อาจปวดทั่วไปหรือปวดบริเวณชายโครงขวา คลําพบตับโต กดเจ็บ ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชาแก่ ในปลายสัปดาห์แรกจะเริ่มมีตาเหลืองตัวเหลือง
แนวทางการป้องกันและรักษา
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกราย โดยตรวจหา HBsAg เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก
กรณีได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ Hepatitis B virus ให้การรักษาดังนี้
ในรายที่มีอาการเบื่ออาหารและอาเจียน อาจให้สารน้ําทางหลอดเลือดดํา ให้ยาแก้อาเจียน รักษาประคับประคองตามอาการ
แนะนําให้พาสมาชิกในครอบครัวและสามีมาตรวจเลือด
แนะนําให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูง
ห้พักผ่อนอย่างเพียงพอ งดการออกแรงทํางานหนัก หรือออกกําลังกาย
หลีกเลี่ยงการทําหัตถการที่จะทําให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
พยาธิสรีรภาพ
ระยะที่สองประมาณ 2-3 เดือนหลังจากได้รับเชื้อ Hepatitis B virus จะเข้าสู่ระยะที่สองผู้ติดเชื้อจะมีอาการอ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด คลื่นไส้อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงจากตับโต ปัสสาวะเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง ตับเริ่มมีการอักเสบชัดเจน
ะยะที่สามเป็นระยะที่ anti-HBe ทําลาย HBeAg จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL (20,000 IU/mL) อาการตับอักเสบจะค่อย ๆ ดีขึ้น ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน
ระยะแรกเมื่อได้รับเชื้อHepatitis B virus เข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว แต่ผู้ที่ได้รับเชื้อจะยังไม่มีอาการแสดงของการได้รับเชื้อและเอนไซม์ตับปกติซึ่งแสดงว่ายังไม่มีการอักเสบของตับ
ระยะที่สี่เป็นระยะที่เชื้อกลับมามีการแบ่งตัวขึ้นมาใหม่ (re-activation phase) ทําให้เกิดการอักเสบของตับขึ้นมาอีก หากตรวจเลือดเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลลบ และ anti-HBe ให้ผลบวก
การพยาบาล
ระยะคลอด
เมื่อศีรษะทารกคลอด ดูดมูก เลือดและสิ่งคัดหลั่งต่างๆออกจากปากและจมูกของทารกให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงการทําให้เกิดรอยถลอกหรือบาดแผลบริเวณผิวหนังของทารก
ทําความสะอาดทารกทันทีที่คลอด เพื่อลดการสัมผัสกับเชื้อที่อยู่ในเลือดและสารคัดหลั่ง
หลีกเลี่ยงการเจาะถุงน้ําคร่ํา และการตรวจทางช่องคลอดเพื่อป้องกันถุงน้ําคร่ําแตกก่อนเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการคลอด
แลให้ทารกได้รับภูมิคุ้มกันภายหลังคลอด โดยฉีดHepatitis B immunoglobulin (HBIG) ให้เร็วที่สุดหลังเกิด และให้ Hepatitis B vaccine (HBV) 3 ครั้ง
ให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียงและให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป
ให้การดูแลผู้คลอดโดยยึดหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออย่างเคร่งครัด
ระยะหลังคลอด
แนะนําการปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดทั่วไป โดยเน้นการรักษาความสะอาดของร่างกาย การป้องกันการปนเปื้อนของเลือดหรือน้ําคาวปลา
แนะนําให้นําทารกมารับวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และนําบุตรมาตรวจตามนัดเพื่อติดตามอาการและป้องกันการติดเชื้อ
ไม่จําเป็นต้องงดให้นมมารดาแก่ทารก เนื่องจากอัตราการถ่ายทอดเชื้อจากมารดาสู่ทารกผ่านน้ํานมพบได้น้อยมาก
ระยะตั้งครรภ์
ให้คําแนะนําแก่สตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับสาเหตุ การติดต่อ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การดําเนินของโรค
อธิบายแก่สตรีตั้งครรภ์เข้าใจและตระหนักถึงความสําคัญของการมาตรวจตามนัด
ตรวจคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกคนว่าเป็นพาหะของโรคหรือไม่ หากผลการตรวจพบ HBsAg และ HBeAg เป็นบวก แสดงว่ามีการติดเชื้อ
ในรายที่มีการติดเชื้อเรื้อรัง แนะนําการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
3.หัดเยอรมัน (Rubella/German measles)
พยาธิสรีรภาพ
กลุ่มไม่มีอาการทางคลินิก โดยกลุ่มนี้จะตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหัดเยอรมันอย่างเดียว และจะกลายเป็นพาหะของโรคต่อไป
กลุ่มที่มีอาการทางคลินิก คือมีผื่นที่ใบหน้า ลามไปที่ลําตัวและแขนขา ลักษณะของผื่นจะเป็นตุ่ม เกิดได้ตั้งแต่วันที่ 7-10 หลังได้รับเชื้อ และจะคงอยู่ 4 สัปดาห์ อาจมีอาการปวดข้อ ปวดเข้า พบต่อมน้ําเหลืองโต ทั้งสองกลุ่มสามารถทําให้ทารกเกิดการติดเชื้อได้
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกายอาจพบผื่นสีแดงคล้ายหัด ตาแดง ไอ จาม เจ็บคอ ปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว ต่อมน้ําเหลืองโต
. การตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยตรวจ Hemagglutination inhibition test (HAI) เพื่อหา titer ของ antibody ของเชื้อหัดเยอรมันหากผล HAI titer น้อยกว่า 1:8 หรือ 1:10 แสดงว่าไม่ติดเชื้อ และไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ
การซักประวัติการสัมผัสผู้ติดเชื้อหัดเยอรมัน หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ อาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ ได้แก่ มีผื่นคล้ายหัด เป็นไข้หวัด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ไม่ทําให้อาการของโรครุนแรงขึ้น และไม่ทําให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น จึงไม่เกิดผลกระทบต่อมารดา แต่อาจรู้สึกไม่สุขสบายเล็กน้อยเท่านั้น
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ความผิดปกติถาวร ได้แก่ หูหนวก หัวใจพิการ ตาบอด (ต้อกระจก, ต้อหิน) สมองพิการ และปัญญาอ่อน
ความผิดปกติที่ไม่พบขณะแรกเกิด แต่ปรากฏภายหลัง เช่น ภาวะเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ สูญเสียการได้ยิน ลิ้นหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตสูง สมองอักเสบ
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราว เช่น ตับม้ามโต ตัวเหลือง โลหิตจาง เกล็ดเลือดต่ํา ปอดบวม กระดูกบาง
การป้องกันและการรักษา
ให้ภูมิคุ้มกันเนื่องจากเป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง คุ้มกับค่าใช้จ่าย และควรเน้นการฉีดวัคซีนในเด็กหญิง สตรีวัยเจริญพันธุ์ และคัดกรองหารายที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันเพื่อให้วัคซีน
ทารกแรกเกิดที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมัน ภายหลังคลอดต้องเก็บเลือดจากสายสะดือส่งตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อและตรวจร่างกายอย่างละเอียด
อาการและอาการแสดง
มีไข้ต่ํา ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ตาแดง ไอ เจ็บคอ และต่อน้ําเหลืองบริเวณหลังหูโต อาจมีอาการปวดข้อ
การพยาบาล
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึกและซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับผลของการติดเชื้อต่อสุขภาพของตนเองและทารกในครรภ์
กรณีที่ตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ เตรียมร่างกายและจิตใจของสตรีตั้งครรภ์ให้พร้อมสําหรับการทําแท้งเพื่อการรักษา
ประเมินสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับการได้รับภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน การสัมผัสกับผู้ที่เป็นโรค และอาการแสดงของโรค
อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจ การดําเนินของโรค ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์และต่อทารกในครรภ์และการรักษาพยาบาล เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวตัดสินใจเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์
แนะนําให้มาฝากครรภ์อย่างสม่ําเสมอ และมารับการตรวจที่โรงพยาบาลทันทีที่สงสัยส่ามีการติดเชื้อหัดเยอรมัน
รายที่ตัดสินใจดําเนินการตั้งครรภ์ต่อ และคลอดทารกที่มีความพิการ ดูแลด้านจิตใจของมารดาและครอบครัวโดยเปิดโอกาสให้มารดาหลังคลอดและครอบครัวได้ระบายความรู้สึกและซักถามเกี่ยวกับอาการของทารก เพื่อลดความวิตกกังวล
ในสตรีที่มาฝากครรภ์ควรตรวจดูว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่ หากยังไม่มีภูมิคุ้มกันแนะนําให้สตรีตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการเข้าชุมชนในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อหัดเยอรมัน หรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นพาหะของเชื้อหัดเยอรมัน โดยเฉพาะในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
สตรีที่ไม่มีภูมิคุ้มกันหรือไม่เคยฉีดวัคซีน ควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันหัดเยอรมันหลังคลอดทุกราย และหลังการให้วัคซีนจะต้องคุมกําเนิดต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน
ให้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อเยอรมันแก่สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนมาก่อนโดยก่อนฉีดวัคซีนจะต้องแน่ใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ และหลังจากให้วัคซีนจะต้องคุมกําเนิดต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน
4.สุกใส(Varicella-zoster virus: VZV)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อทารก
การติดเชื้อปริกําเนิด อาจติดเชื้อผ่านทางมดลูก และช่องทางคลอด โดยมีความเสี่ยงสูงในรายที่สตรีตั้งครรภ์ตมีการติดเชื้อสุกใสในระยะก่อนคลอด 5 วัน และหลังคลอด 2 วัน
การติดเชื้อในครรภ์ โดยทารกในครรภ์มีโอกาสติดได้ร้อยละ 10 เท่าๆ กันทุกไตรมาส โดยเฉพาะในไตรมาสแรก อาจทําให้ทารกเกิดความพิการก่อนกําเนิดได้
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ภาวะปอดอักเสบ หรือปอดบวม ทําให้ระบบหายใจล้มเหลว บางรายอาจจะมีอาการทางสมอง ทําให้ซึมลง และมีอาการชัก ทําให้เสียชีวิต
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกายมีไข้มีผื่นตุ่มน้ําใสตามไรผม ตุ่มน้ําใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ําค้างบนกลีบกุหลาบ ลามไปบริเวณหน้าลําตัว และแผ่นหลัง มีอาการปวดเมื่อยตามตัวร่วมด้วย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ารตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgG ต่อไวรัสสุกใสไวรัสงูสวัด (VZV) ด้วยเทคนิค ELISA
การตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgM ต่อไวรัสสุกใส ไวรัสงูสวัด (VZV) ด้วยเทคนิค ELISA
การซักประวัติการสัมผัสผู้ติดเชื้อสุกใส หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ อาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ
อาการและอาการแสดง
มักจะมีไข้ต่ําๆ นํามาก่อนประมาณ1-2 วันแล้วค่อยมีผื่นขึ้น ลักษณะของผื่น และตุ่ม มักจะขึ้นตามไรผม หรือหลังก่อน จะเห็นเป็นตุ่มน้ําใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ําค้างบนกลีบกุหลาบ
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การป้องกันโดยไม่สัมผัสโรค หลีกเลี่ยงคนที่ป่วยเป็นสุกใส
การรักษาแบบประคับประคอง เพื่อบรรเทาอาการ เช่น การพักผ่อนอย่างเพียงพอและดื่มน้ํามากๆ
การรักษาแบบเจาะจงโดยการใช้ยาต้านเชื้อไวรัสสุกใสAcyclovir ซึ่งควรจะให้ในระยะเวลา 24-48 ชั่วโมง หลังมีผื่นขึ้น ซึ่งการให้ยาในช่วงนี้สามารถทําให้ระยะเวลาของโรคสั้นลง แผลตกสะเก็ดเร็วขึ้น
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจ ซึ่งเชื้อโรคมีระยะฟักตัวนาน 10-20 วัน ในกรณีที่โรคสุกใสเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอด จะเรียกว่า congenital varicella syndrome ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยมารดาติดเชื้อไวรัสสุกใสขณะตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีผลต่อความพิการของทารกในครรภ์
การพยาบาล
ระยะคลอด
ห้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ในขณะรอคลอด และขณะคลอด ควรแยกห้องคลอด และอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทําความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
กรณีพ้นระยะการติดต่อหรือมารดามีการตกสะเก็ดแล้วสามารถแนะนําเกี่ยวกับการให้นมมารดาได้
แนะนําการรับประทานอาหารโปรตีนและวิตามินซีสูง พักผ่อนเพียงพอ ออกกําลังกายสม่ําเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และเพิ่มภูมิต้านทานของร่างกาย
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค โดยการใช้หลักuniversal precautionในการสัมผัสน้ําคาวปลา แนะนําให้แยกของใช้สําหรับมารดา และทารก เน้นเรื่องความสะอาด
ดูแลให้ทารกรับวัคซีน VariZIG แก่ทารกแรกเกิดทันทีหากมารดาการติดเชื้อในช่วง 5วันก่อนคลอดถึง 2วันหลังคลอด รวมทั้งประเมินภาวะการติดเชื้อของทารก
กรณีที่มารดามีอาการให้แยกทารกแรกเกิดจากมารดาในระยะ5วันแรกหลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากมารดา
เน้นย้ําให้เห็นความสําคัญของการมาตรวจตามนัดและมาพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติ
ระยะตั้งครรภ์
ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยอธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงภาวะของโรค การแพร่กระจายเชื้อและการปฏิบัติตน
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก เพื่อลดความวิตกกังวลของสตรีตั้งครรภ์และครอบครัว รวมถึงแนะนําแหล่งสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง
แนะนําให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง วิตามินซีสูง
5.โรคติดเชื้อไซโทเมกะโรไวรัส (Cytomegalovirus: CMV)
พยาธิสรีรภาพ
เชื้อ CMV ติดต่อเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ ทารกได้รับเชื้อจากมารดาในครรภ์ในระยะคลอดในระยะให้นมการถ่ายเลือด การปลูกถ่ายอวัยวะเพศสัมพันธ์ทางหายใจ(โดยสัมผัสละอองฝอยในอากาศ) และทางการสัมผัส
การประเมินและการการวินิจฉัย
การตรวจร่างกายมีไข้ คออักเสบ ต่อมน้ําเหลืองโต ข้ออักเสบและตรวจพบอาการและอาการแสดงของโรค
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Amniocentesis for CMV DNA PCR เพื่อยืนยันการติดเชื้อของทารกในครรภ์
การตรวจPlasma specimen for culture หรือquantitative real-time PCRในสตรีตั้งครรภ์ที่สงสัยว่าจะมีการติดเชื้อ
การเจาะเลือดส่งตรวจพบ Atypical Lymphocytes และเอ็นไซน์ตับสูงขึ้น
การซักประวัติเกี่ยวกับประวัติการติดเชื้อในอดีต ลักษณะของอาการและอาการแสดงที่เกิดขึ้น
แนวทางการป้องกันและการรักษา
สตรีที่เคยมีประวัติการติดเชื้อ CMV ควรวางแผนเว้นระยะการมีบุตรไปก่อนอย่างน้อย 2 ปี และควรเข้ารับการให้คําปรึกษาก่อนการมีบุตร
วิธีการหลักในการป้องกันคือการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ล้างมือด้วยสบู่ เนื่องจากการแพร่กระจายของ CMVผ่านสารคัดหลั่ง เลือดที่มีเชื้อโดยการสัมผัสกับมือ
วัคซีนที่ให้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ CMV โดยตรงนั้นยังไม่มี แต่สามารถป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่มีการติดเชื้อ
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
จะมีทําให้การดําเนินของโรครุนแรงขึ้นทําให้เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกําหนด รกลอกตัวก่อนกําหนด มีการติดเชื้อของถุงน้ําคร่ํา
ผลกระทบต่อทารก
ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อภาวะ IUGR แท้ง fetal distress คลอดก่อนกําหนด น้ำหนักแรกเกิดน้อย ทารกเสียชีวิตในครรภ์ และตายคลอด ส่วนทารกแรกเกิดนั้นอาจไม่มีอาการแสดงใด จนถึงมีอาการรุนแรง hepatosplenomegaly, thrombocytopenia, petechiae, microcephaly, chorioretinitis, hepatitis และ sensorineural hearing loss
การรักษา
การให้ยาต้านไวรัสเช่นValtrex, Ganciclovil, Valavir เป็นต้นโดยขนาดและปริมาณที่ให้จะขึ้นอยู่กับการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสในระหว่างตั้งครรภ์และลดการติดเชื้อไวรัสในทารกในครรภ์
การประเมินอาการและอาการแสดงของทารกแรกเกิดที่มีการติดเชื้อ และให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด
การให้ immunoglobulin ของ anti-cytomegaloviral human เป็นการให้ยาที่มีแอนติบอดีต่อ CMV ซึ่งได้รับจากเลือดของคนที่หายจากเชื้อไวรัสนี้และมีภูมิคุ้มกัน
อาการและอาการแสดง
ไข้สูงนานปวดกล้ามเนื้อ หรือมีอาการ ปอดบวมตับอักเสบ และอาการทางสมอง
การพยาบาล
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ในขณะรอคลอด และขณะคลอด ควรแยกห้องคลอด และอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทําความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
งดให้นมมารดา หากมารดาหลังคลอดมีการติดเชื้อ
แนะนําการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นย้ําเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความสําคัญของการมาตรวจตามนัดหลังคลอด
ให้การดูแลในระยะหลังคลอดเหมือนมารดาทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
แนะนําให้สังเกตอาการผิดปกติของทารกที่ต้องรีบพามาพบแพทย์
ระยะตั้งครรภ์
อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวทราบเกี่ยวกับโรค สาเหตุ อาการและอาการแสดง การดําเนินของโรค ผลกระทบ และแผนการรักษาพยาบาล
แนะนําและเน้นย้ําให้เห็นความสําคัญของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ เช่น การงดมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
ซักประวัติ เพื่อคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกรายเกี่ยวกับการเจ็บป่วยติดเชื้อ CMV ในอดีต
6.การติดเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasmosis)
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกายมักไม่แสดงอาการ หรือมีอ่อนเพลียเล็กน้อย อาจพบภาวะปอดบวม หัวใจอักเสบ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ:
การวินิจฉัยก่อนคลอด โดยการตรวจเลือดสายสะดือทารกหรือน้ําคร่ํา พบ IgA และ IgM
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อประเมินลักษณะสุขภาพของทารกในครรภ์ ลักษณะของรกและน้ําคร่ํา
การตรวจเลือดหา DNA ของเชื้อ ทดสอบน้ําเหลืองดู titer IgG และ IgM
การซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรค เช่น แมว เป็นต้นประวัติมีอาการอ่อนเพลียปวดกล้ามเนื้อ
แนวทางการป้องกันและการรักษา
หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ปรุงสุก ผักผลไม้ที่ไม่ผ่านการล้างไข่ดิบ นมสดที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์และควรล้างมือให้สะอาดหลังจับต้องเนื้อสัตว์ดิบ
เมื่อต้องให้การดูแลสวนหญ้า แนะนําให้สวมถุงมือยาง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
หากจําเป็นต้องทําความสะอาดอุจจาระแมว สวมถุงมือยาง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
ถ้าพบ IgM ในมารดา อนุมานว่ามีการติดเชื้อ และรักษาด้วย spiramycin จะช่วยลดการติดเชื้อในครรภ์ได้
ให้ผู้อื่นเป็นผู้ดูแลแมวแทนในช่วงที่ตั้งครรภ์ ไม่ปล่อยให้แมวออกนอกบ้าน
การวินิจฉัยในทารกก่อนคลอด สามารถกระทําได้ การเจาะเลือดสายสะดือทารกเพื่อหาการติดเชื้อ และการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อหาความผิดปกติทางสรีระของทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การแท้ง คลอดก่อนกําเนิด ถุงน้ําคร่ําและเยื่อหุ้มทารกอักเสบ ถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด รกลอกตัวก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ไข้ ชัก ทารกหัวบาตร microcephaly, chorioretinitis, หินปูนจับในสมอง (Cerebral calcification) ตับและม้ามโต ตาและตัวเหลือง ทารกมักเสียชีวิตหลังคลอด และทารกที่ติดเชื้อ สมองและตาจะถูกทําลาย
การพยาบาล
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ในขณะรอคลอด และขณะคลอด ควรแยกห้องคลอด และอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ
ภายหลังทารกคลอดเช็ดตาด้วย 0.9%NSS เช็ดตาทันทีจากนั้นป้ายตาด้วย 1% tetracycline ointment หรือ 0.5% erythromycin ointment หรือ 1% Silver nitrate (AgNO3) หยอดตาตาทารก หลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตา
ระยะตั้งครรภ์
ติดตามผลการตรวจเลือด
เน้นการรักษาอย่างต่อเนื่อง การรับประทานยา และการสังเกตอาการข้างเคียงของยา
ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเปิดโอกาสให้ซักถาม และให้กําลังใจในการรักษา
แนะนําเกี่ยวกับการสัมผัสเชื้อ
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังการตกเลือดและการติดเชื้อหลังคลอด
แนะนําการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นเรื่องการรักษาความสะอาด การมาตรวจตามนัด การสังเกตอาการผิดปกติของทารก ต้องรีบพามาพบแพทย์
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ แต่อาจมีกลุ่มอาการของ Mononucleosis รายที่รุนแรงจะมีพยาธิที่สมอง Chorioretinitis ปอดบวม กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รายที่รุนแรงมักพบในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
7.การติดเชื้อไวรัสซิก้า(Zika)
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกายมีไข้ อ่อนแรง เยื่อบุตาอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองโต ตัวเหลือง ซีด บวมปลายมือปลายเท้า เลือดออกตามผิวหนัง มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ
การทดสอบทางห้องปฏิบัติการโดยใช้สิ่งส่งตรวจ เช่นเลือด ปัสสาวะ น้ําลาย เทคนิคที่ใช้ในการตรวจ ได้แก่ การตรวจหาพันธุกรรมของเชื้อด้วยวิธี ReverseTranscriptase Polymerase Chain Reaction (RT-PCR) และการตรวจหาภูมิคุ้มกัน (IgM) ด้วยวิธี ELISA
การซักประวัติโดยการซักประวัติอาการของผู้ป่วย
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
อาการไข้ หนาวสั่นรู้สึกไม่สุขสบาย ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อตึงตัว อาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง ตัวตาเหลือง ชา อัมพาตครึ่งซีก ปวดศีรษะ ตาแดงและเยื่อบุตาอักเสบ ต่อมน้ําเหลืองโต ปวดตามร่างกาย ซีด บวม ตามปลายมือปลายเท้า คลื่นไส้ อาเจียน เลือดออกตามผิวหนัง และอาการทางระบบทางเดินหายใจ
ผลกระทบต่อทารก
ทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิดจากมารดาที่ติดเชื้อไวรัสซิกา คือความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท ตาและการมองเห็น ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ทารกตายในครรภ์ และตายหลังคลอด นอกจากนี้ภาวะศีรษะเล็กในทารกเป็นภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทหลักที่พบได้
แนวทางการป้องกันและการรักษา
ระบบการเฝ้าระวัง ครอบคลุม 4 ด้าน คือระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาระบบเฝ้าระวังทางกีฏวิทยาระบบเฝ้าระวังทารกที่มีความพิการแต่กําเนิดและระบบเฝ้าระวังกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบประสาทร่วมกับการรณรงค์กําจัดลูกน้ํายุงลาย
อาการและอาการแสดง
มีอาการไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง
การรักษา
ใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้หรือบรรเทาอาการปวด ทั้งนี้ห้ามรับประทานยาแอสไพริน หรือยากลุ่มลดการอักเสบที่ไม่ใช่ สเตียรอยด์ (NSAIDs) เนื่องจากยาบางชนิดเป็นอันตรายสําหรับโรคนี้ โดยอาจทําให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้ง่ายขึ้น
การพยาบาล
การติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์ อธิบายเกี่ยวกับการดําเนินของโรค สาเหตุ อาการและอาการแสดง ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก การวินิจฉัย และการดูแลรักษาให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัว
การดูแลในระยะคลอดให้การดูแลเหมือนผู้คลอดทั่วไป ทั้งนี้ให้ยึดหลัก universal precautionเมื่อทารกคลอด ให้รีบดูดน้ําคร่ําและสารคัดหลั่งที่อยู่ในคอ ช่องปาก และจมูกของทารกออกมาให้สะอาด
ให้คําแนะนําในการป้องกันสาเหตุและปัจจัยที่ทําให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสซิกา อาการและอาการแสดงของโรค ความรุนแรงของโรค วิธีการปฏิบัติเมื่อสงสัยว่าบุคคลในบ้านป่วยเป็นโรคโดยเฉพาะสตรีตั้งครรภ์ และการป้องกันโรค
ตรวจร่างกายทารกแรกเกิด ประเมินสภาพร่างกายทั่วไปโดยเฉพาะการวัดขนาดของศีรษะ หากน้อยว่าปกติให้รีบรายงานกุมารแพทย์ทราบ
การดูแลมารดาหลังคลอดให้การดูแลเหมือนมารดาทั่วไป เน้นย้ําการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนและวิตามินสูง ในแม่ที่พ้นระยะการติดเชื้อสามารถให้เลี้ยงนมมารดาได้ นอกจากนี้ควรย้ําให้เห็นความสําคัญของการนําทารกมาตรวจตามนัด และหากทารกมีอาการผิดปกติให้มาพบแพทย์ทันที
8.โรคโควิด-19 กับการตั้งครรภ์ (COVID-19 during Pregnancy)
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงของอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป หรือให้ประวัติว่ามีไข้ในการป่วยครั้งนี้ร่วมกับมีอาการของระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ไอ น้ามูกเจ็บคอ หายใจติดขัด หรือหายใจลําบาก
ผลกระทบต่อการสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกําหนด มีการติดเชื้อของเยื่อหุ้มเด็ก ถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด รกเสื่อม และรกลอกตัวก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ารกในครรภ์พัฒนาการล่าช้า คลอดน้ําหนักตัวน้อย คลอดก่อนกําหนด การติดเชื้อCOVID-19 ของทารกแรกเกิดอาจตรวจพบการติดเชื้อได้ในทันทีหลังคลอด หรือตรวจพบภายใน 7 วันหลังคลอดได้ ทั้งนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาเกี่ยวกับการแพร่เชื้อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกายมีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ไอแห้ง หายใจติดขัด อาจมีคัดจมูก มีน้ามูกเจ็บคอไอเป็นเลือด หรือท้องเสีย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจเลือดจะพบเม็ดเลือดขาวต่ําโดยเฉพาะ lymphocyte ค่า C-reactive protein สูงขึ้นเกล็ดเลือดต่ําค่าเอนไซม์ตับและ creatine phosphokinase สูง
การยืนยันการติดเชื้อไวรัส โดยตรวจหา viralnucleic acid ด้วยวิธี real-time polymerase chainreaction(RT-PCR)จากสารคัดหลั่ง
การส่งเพาะเชื้อแบคทีเรียจากเลือด
การซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสผู้ที่การติดเชื้อ ระยะเวลาและประวัติการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงและมีการแพร่ระบาดรวมถึงประวัติอาการและอาการแสดงของโรค
แนวทางการรักษา
สถานที่และบุคลากรเน้นให้บุคลากรใส่ชุด PPEการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในรพ.และไปกับรถพยาบาล บุคลากรต้องใส่ fullPPE
การดูแลรักษา
สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อแต่อาการไม่รุนแรงให้ยาต้านไวรัส พิจารณาตามแนวทางของกรมควบคุมโรค
การดูแลรักษากรณีฉุกเฉินหากไม่สามารถซักประวัติได้ ให้ทําการรักษาเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่เข้าข่ายการสืบสวนโรค และบุคลากรใส่ชุด full PPE
สตรีตั้งครรภ์ที่สงสัยจะติดเชื้อโรคโควิด-19
การพยาบาล
การดูแลสตรีตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีประวัติการเดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง หรือสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วย COVID-19 ควรปฏิบัติตน ดังนี้
การดูแลทารกแรกเกิด ในกรณีมารดาเป็นผู้ที่สงสัยติดเชื้อและติดเชื้อ COVID-19 ยังไม่มีหลักฐานการติดต่อผ่านทางรกหรือผ่านทางน้ํานมแต่อย่างใด
การดูแลและการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19
แนวทางการปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อคํานึงถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการในการแพร่เชื้อไวรัสผ่านทางน้ํานม