Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเเบ่งปันข้อมูล, Messaging-Sent-icon, kisspng-computer-icons-person-icon…
การเเบ่งปันข้อมูล
องค์ประกอบและรูปแบบพื้นฐานในการสื่อสาร
ช่องทาง เป็นวิธีการในการส่งสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ เช่น การใช้โทรศัพท์ การสื่อสารผ่านสื่อสังคมโดยแต่ละช่องทางจะส่งสารให้ผู้รับผ่านประสาทสัมผัส ทั้ง 5 ในลักษณะและปริมาณที่ต่างกัน ดังนั้นจะต้องจัดเตรียมสารให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม
ผู้รับ มีหน้าที่แปลความหมายของสารที่ผู้ส่งนำเสนอ ซึ่งความสามารถในการแปลจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การศึกษา วุฒิภาวะ พื้นฐานทางสังคม
ผู้ส่ง (sender) – ผู้ที่มีสารหรือเนื้อหาข้อมูล ต้องการส่งสารไปยังผู้รับ ผู้ส่งต้องเลือกรูปแบบและช่องทางที่เหมาะสมกับผู้รับสารในการสื่อสาร
สาร (message) – ข้อมูล หรือสิ่งที่ผู้ส่งต้องการให้ผู้รับได้รับรู้ เช่น เสียง ข้อความ ภาพ เพื่อให้ผู้รับเข้าใจได้รวดเร็วและชัดเจนมากขึ้น
ข้อควรระวังในการแบ่งปันข้อมูล
ข้อมูลบางชนิดไม่ควรเปิดเผย
ข้อมูลด้านสุขภาพ ด้านการเงิน หรือหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน เป็นข้อมูลที่ต้องระวัง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของตนเอง หรือของผู้อื่นก็ตาม เพราะเป็นข้อมูลที่ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถนำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ได้
ข้อมูลบางชนิดอาจถูกนำมาใช้หลอกลวง
ข้อมูลบางชนิดอาจดูไม่น่าจะเป็นอันตรายในการแบ่งปัน เช่น วันเกิด ตำแหน่งหน้าที่การงาน การศึกษา ชื่อเพื่อน หรือแม้กระทั่งสีที่ชอบ แต่ผู้ไม่ประสงค์ดี อาจใช้ข้อมูลเหล่านี้ทำ การฟิชชิง (phishing) เพื่อหลอกลวงเอาข้อมูลสำคัญของเราได้
ไม่มีความลับในสังคมออนไลน์
การแบ่งปันอาจคัดลอกข้อมูลนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณะ รวมทั้ง อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบ ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจทำให้ข้อมูลกลายเป็นข้อมูลสาธารณะ
การรักษาข้อมูลที่ได้รับการปกป้องตามกฎหมาย
ข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์หรือข้อมูลส่วนตัว เช่น ผลงานเพลง ประวัติคนไข้ หรือหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน เป็นข้อมูลที่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย หากนำไปเผยแพร่ อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูล และผู้แบ่งปันอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอีกด้วย
เทคนิคและวิธีการแบ่งปันข้อมูล
แบ่งปันข้อมูลได้นั้นผู้ส่งจะต้องจัดเตรียมสารให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมกับช่องทางและผู้รับ ช่องทางในการสื่อสารแบ่งได้เป็น
สื่อมวลชน (mass media) เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เป็นสื่อที่เน้นการสื่อสารทางเดียว แต่สามารถกระจายสารไปยังคนหมู่มากได้
สื่อสังคม (social media) เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือเว็บบอร์ด โดยสื่อสังคมจะเป็นช่องทางสื่อสารที่มีการโต้ตอบค่อนข้างสูง ทำให้ผู้ส่งมีโอกาสอธิบายเพิ่มเติม หรือแก้ไขปรับปรุงรูปแบบสารได้อย่างเหมาะสม
การสื่อสารโดยตรง (direct communication) เช่น การพูดคุยต่อหน้าหรือทางโทรศัพท์ การรายงานหน้าห้อง เป็นช่องทางที่ผู้ส่งสามารถสังเกตและรับรู้ปฏิกิริยาของผู้รับได้โดยตรง
การเขียนบล็อก
การวางแผน
1.1) กำหนดเรื่องที่จะเขียน
ผู้เขียนควรเขียนเรื่องที่ตนเองสนใจ เพราะถ้าผู้เขียนไม่มีความสนใจในเรื่องที่จะเขียนแล้ว ความไม่น่าสนใจจะถูกถ่ายทอดลงไปยังบทความที่เขียน และส่งต่อไปยังผู้อ่านได้
1.2) วางเค้าโครงเรื่อง
หัวข้อรอง (Subtitle)
ส่วนนำ (Intro)
หัวข้อหลัก (Title)
เนื้อหา (Body)
ส่วนสรุป (Conclusion)
การตรวจทานแก้ไข
ขั้นตอนนี้นอกจากจะตรวจทานเพื่อแก้ไขตัวสะกดและไวยากรณ์แล้วผู้เขียนควรตรวจทานว่ามีการเขียนประเด็นที่ซ้ำกันหรือไม่
ในการตรวจทาน
การเขียน
การเขียนนั้น อาจเขียนคราวเดียวจบ หรืออาจจะแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วค่อยๆ เขียนไปทีละส่วนก็ได้ แต่นักเขียนส่วนใหญ่จะแนะนำว่า ควรที่จะเขียนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในคราวเดียวเพื่อให้มีสมาธิจดจ่อยู่กับเนื้อหาที่เขียนทำให้ไม่ลืมเนื้อหาที่เป็นจุดสำคัญที่ต้องการให้ปรากฎในบทความ
การเขียนคำโปรย
คำโปรยเป็นประโยคสั้น ๆ ที่สรุปและเชื้อเชิญให้ผู้อ่านเข้าไปอ่านเนื้อหาโดยละเอียด การเขียนคำโปรยควรใช้ภาษาที่จูงใจหรือดึงดูดความสนใจของผู้อ่านให้อยากรู้เนื้อหาโดยละเอียด
ตรวจสอบข้อมูล
ข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้า าจไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเสมอไป และหากเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดพลาดเพียงครั้งเดียว อาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของผู้เขียน
การใช้ภาพประกอบ
การใช้ภาพประกอบช่วยลดความรู้สึกอึดอัดในการเห็นเฉพาะตัวหนังสือ และการใช้ภาพประกอบจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจการดำเนินเรื่องของบทความโดยผู้อ่านสามารถกวาดตามองทั้งบทความเพื่อดูว่าบทความนี้เกี่ยวกับอะไร
ค้นคว้า
ค้นคว้าหาข้อมูลในสิ่งที่สนใจสามารถทำได้ง่ายและสะดวกในยุคดิจิทัล
การกำหนดเรื่องที่เราสนใจ
การทำแฟ้มผลงาน
คัดเลือกผลงาน
ผู้นำเสนอควรที่จะคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุดไม่เกิน 3 ชิ้นต่อหนึ่งหมวดหมู่
จัดลำดับความน่าสนใจของผลงานและประเมินตนเอง
หลังจากคัดเลือกผลงาน จะเห็นภาพได้ชัดขึ้นว่าเรามีผลงานเด่นในด้านใด หรือยังขาดผลงานในด้านใด ขั้นตอนนี้อาจจัดลำดับความน่าสนใจของแต่ละหมวดหมู่จากผลงานที่มี
จัดหมวดหมู่
การจัดหมวดหมู่ สามารถทำได้หลายลักษณะ เช่น จัดผลงานเป็นกลุ่มของการเรียน กีฬา ดนตรี และคุณธรรมจริยธรรม โดยแต่ละหมวดหมู่ไม่ควรมีเรื่องที่ซ้ำกัน
ลำดับและร้อยเรียงเรื่องราวให้น่าสนใจ
ในการลำดับเรื่องราวเพื่อเลือกผลงานเข้าแฟ้ม ควรคำนึงว่า ผู้ที่ประเมินต้องการเห็นอะไรในแฟ้มผลงาน เช่น หากต้องการเข้าเรียนสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ควรนำเสนอผลงานที่เกี่ยวข้องไว้ในส่วนแรก เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นในการเข้าเรียนสาขาที่ต้องการ
รวบรวมผลงาน
ผลงานในที่นี้เป็นชิ้นงานหรือผลงานที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น ซึ่งบ่งบอกถึงความสามารถของเจ้าของผลงาน
ตรวจทาน
ตรวจทานตัวสะกดและความถูกต้องแล้ว ควรแบ่งการตรวจทานเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกให้ตรวจทานว่า แฟ้มผลงานตรงกับตัวตนของเรา และความต้องการของผู้อ่านหรือไม่ และในส่วนที่สอง ให้ผู้อื่นช่วยตรวจทานเรื่องราว การดำเนินเรื่องว่าเป็นที่น่าประทับใจแก่ผู้อ่านหรือไม่
ออกแบบงานโดย นางสาวพิมพิกา ยะชุ่ม เลขที่17