Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่1 การแบ่งปันข้อมูล, 32a19fb5-edc3-4c2a-8075-b460f7a4c501_900_900,…
บทที่1 การแบ่งปันข้อมูล
:warning:ข้อควรระวังในการแบ่งปันข้อมูล
การแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวบางเรื่องศูนย์สาธารณะ เช่นการกินข้าวกับครอบครัว การท่องเที่ยว เป็นการสร้างตัวตนดิจิทัล และ เป็นการแบ่งปันข้อมูลสู่ชุมชนดิจิทัล
:warning: การรักษาข้อมูลที่ได้รับการปกป้องตามกฎหมาย ข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์ถือข้อมูลส่วนตัว เช่น ผลงานเพลง ประวัติคนไข้ เป็นข้อมูลที่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายหากนำไปเผยแพร่ อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูล และผู้แบ่งปันอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอีกด้วย
:warning: ข้อมูลบางชนิดอาจถูกนำมาใช้หลอกลวง ข้อมูลบางชนิดอาจดูไม่น่าจะเป็นอันตรายในการแบ่งปัน เช่น วันเกิด ตำแหน่งหน้าที่การงาน การศึกษา แต่ผู้ไม่ประสงค์ดีอาจใช้ข้อมูลเหล่านี้ทำการ phishing เพื่อหลอกลวงเอาข้อมูลสำคัญของเราได้
:warning: ข้อมูลบางชนิดไม่ควรเปิดเผย ข้อมูลด้านสุขภาพ ด้านการเงินหรือหมายเลขบัตรประชาชน เป็นข้อมูลที่ต้องระวังไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของตนเอง หรือผู้อื่นก็ตาม เพราะเป็นข้อมูลที่ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถนำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ได้
:warning: ไม่มีความลับในสังคมออนไลน์ แม้ในขณะที่แบ่งปันข้อมูล เราเข้าใจว่า เป็นการแบ่งปันข้อมูลในเฉพาะกลุ่มเพื่อนหรือกลุ่มที่คิดว่าไว้ใจได้ แต่ข้อมูลดิจิทัลนั้น เป็นข้อมูลที่ทำซ้ำได้ง่ายคนในกลุ่มที่เราแบ่งปันอาจคัดลอกข้อมูลนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณะ
องค์ประกอบและรูปแบบพื้นฐานในการสื่อสาร
ช่องทาง
: เป็นวิธีในการส่งสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ เช่น การใช้โทรศัพท์ การสื่อสารผ่านสื่อสังคม หรือแม้กระทั่งการพูดคุยกับผู้รับโดยตรง โดยแต่ละช่องทางจะส่งสารให้ผู้รับผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในลักษณะและปริมาณที่ต่างกัน
สาร
: เป็นข้อมูลหรือสิ่งที่ผู้ส่งต้องการให้ผู้รับได้รับรู้โดยสารนั้นอาจมีได้หลายรูปแบบ เช่น เสียงพูด ข้อความ ภาพ เพื่อให้ผู้รับเข้าใจได้รวดเร็วและชัดเจนมากขึ้น
ผู้รับ
: มีหน้าที่แปลความหมายของสารที่ผู้ส่งนำเสนอ ซึ่งความสามารถในการแปรขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การศึกษาวุฒิภาวะความเชื่อ หรือแม้กระทั่งความสนใจในสารที่ได้รับ
ผู้ส่ง
: ในที่นี้คือผู้ที่มีสารหรือเนื้อหาข้อมูล และมีความต้องการที่จะส่งสารไปยังผู้รับ โดยผู้ส่งจะต้องคำนึงถึงจุดประสงค์ของการส่งสารและความสามารถในการรับสารของผู้รับ เพื่อนำมาพิจารณาเลือกรูปแบบและช่องทางในการสื่อสาร
เทคนิคและวิธีการแบ่งปันข้อมูล
กระบวนการในการสร้างรูปแบบของสาร
การทำแฟ้มผลงาน
( portfolio) เป็นเอกสารในการรวบรวมหลักฐานที่แสดงถึงความสามารถและผลงานของบุคคลเพื่อใช้ในการนำเสนอ
ประกอบการพิจารณาการประเมินการทำงาน การสมัครเข้าเรียน หรือการสมัครเข้าทำงาน
การเขียนบล็อก
เป็นการเขียนบทความอธิบายให้ข้อมูลเพื่อนำไปเผยแพร่บนเว็บไซต์
ช่องทางในการสื่อสาร
สื่อมวลชน
เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เป็นสื่อที่เน้นการสื่อสารทางเดียว แต่สามารถกระจายสารไปยังคนหมู่มากได้
การสื่อสารโดยตรง
เช่น การพูดคุยต่อหน้า หรือทางโทรศัพท์ เป็นช่องทางที่ผู้ส่งสามารถสังเกตได้รับรู้ปฏิกิริยาของผู้รับได้โดยตรง
สื่อสังคม
เช่น Facebook Twitter โดยสื่อสังคมจะเป็นช่องทางการสื่อสารที่มีการโต้ตอบค่อนข้างสูง ทำให้ผู้ทรงมีโอกาสอธิบายเพิ่มเติมได้