Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
9.3 การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
9.3 การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อไวรัสรับอักเสบชนิดเอ (hepatitis A virus: HAV)
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และปวดศีรษะ มักไม่มีอาการของดีซ่าน
ตรวจพบน้ำดีในปัสสาวะแสดงว่าตับมีการทํางานผิดปกติ ซึ่งทําให้มีอาการตับเหลือง ตาเหลือง ตรวจพบalkaline phosphatase เพิ่มขึ้น
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
หากมีการติดเชื้อHAV ขณะตั้งครรภ์นั้น ร่างกายมารดาจะสร้าง antibody ต่อเชื้อ HAV ซึ่งสามารถผ่านไปยังทารกในครรภ์ได้ และมีผลคุ้มกันทารกไปจนถึงหลังคลอดประมาณ 6-9 เดือนจากนั้นจะหมดไป อย่างไรก็ตามหากสตรีตั้งครรภ์มีการติดเชื้อในระยะใกล้คลอด อาจมีการแพร่กระจายเชื้อไปยังทารกในระยะคลอด หรือระยะหลังคลอดได้
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรค
แนะนําเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว
รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และย่อยง่าย และดื่มน้ําให้เพียงพอ
มาตรวจตามนัดเพื่อประเมินสภาวะของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
พักผ่อนอย่างเพียงพอ
หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อตับ
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี(Hepatitis B virus)
พยาธิสรีรภาพ
ระยะที่สอง
ประมาณ 2-3 เดือนหลังจากได้รับเชื้อ Hepatitis B virus จะเข้าสู่ระยะที่สองผู้ติดเชื้อจะมีอาการอ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด คลื่นไส้อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงจากตับโต
ในระยะนี้ร่างกายจะสร้าง anti-HBe ขึ้นมาเพื่อทําลาย HBeAg ดังนั้นหากตรวจเลือดจะพบ anti-HBe ให้ผลบวกและจํานวน Hepatitis B virusDNA ลดลง
ระยะที่สาม
เป็นระยะที่ anti-HBe ทําลาย HBeAg จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL อาการตับอักเสบจะค่อย ๆ ดีขึ้น ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน และเข้าสู่ระยะโรคสงบซึ่งหากตรวจเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลลบ anti-HBe ให้ผลบวก และค่าเอนไซม์ ตับปกติ
ระยะแรก
เมื่อได้รับเชื้อHepatitis B virus เข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว แต่ผู้ที่ได้รับเชื้อจะยังไม่มีอาการแสดงของการได้รับเชื้อและเอนไซม์ตับปกติซึ่งแสดงว่ายังไม่มีการอักเสบของตับ
ระยะที่สี่
เป็นระยะที่เชื้อกลับมามีการแบ่งตัวขึ้นมาใหม่ ทําให้เกิดการอักเสบของตับขึ้นมาอีก หากตรวจเลือดเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลลบ และ anti-HBe ให้ผลบวก
ในระยะนี้ถ้า anti-HBe ไม่สามารถทําลาย HBeAg ได้จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงไม่แตกต่างกับสตรีที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ เมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะฟักตัว 50-150 วัน
แต่ถ้ามีอาการจะเริ่มด้วยมีไข้ต่ํา ๆ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง อาจปวดทั่วไปหรือปวดบริเวณชายโครงขวา คลําพบตับโต กดเจ็บ ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชาแก่ ในปลายสัปดาห์แรกจะเริ่มมีตาเหลืองตัวเหลือง ซึ่งเมื่อถึงระยะนี้ไข้จะลดลง อาการทั่วไปจะดีขึ้นและส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายใน 2-4 สัปดาห์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะของ Hepatitis B virus แต่ไม่มีอาการแสดงของตับอักเสบจะไม่เสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น แต่หากมีการติดเชื้อ Hepatitis B virus ในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกําหนด
ผลต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ทารกตายในครรภ์ หรือเสียชีวิตแรกเกิด
ทารกที่คลอดมามีโอกาสที่จะติดเชื้อได้
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ตรวจคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกคนว่าเป็นพาหะของโรคหรือไม่
ให้คําแนะนําแก่สตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับสาเหตุ การติดต่อ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
อธิบายแก่สตรีตั้งครรภ์เข้าใจและตระหนักถึงความสําคัญของการมาตรวจตามนัด
ในรายที่มีการติดเชื้อเรื้อรัง แนะนําการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การป้องกันการติดเชื้อซ้ําซ้อน
ระยะคลอด
เมื่อศีรษะทารกคลอด ดูดมูก เลือดและสิ่งคัดหลั่งต่างๆออกจากปากและจมูกของทารกให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงการทําให้เกิดรอยถลอกหรือบาดแผลบริเวณผิวหนังของทารก
หลีกเลี่ยงการเจาะถุงน้ำคร่ำ และการตรวจทางช่องคลอดเพื่อป้องกันถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการคลอด
ทําความสะอาดทารกทันทีที่คลอด
ให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียงและให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป
ดูแลให้ทารกได้รับภูมิคุ้มกันภายหลังคลอดโดยฉีดHepatitis B immunoglobulin (HBIG) ให้เร็วที่สุดหลังเกิด และให้ Hepatitis B vaccine (HBV) 3 ครั้ง
ระยะหลังคลอด
แนะนําการปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดทั่วไป
แนะนําให้นําทารกมารับวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และนําบุตรมาตรวจตามนัดเพื่อติดตามอาการและป้องกันการติดเชื้อ
ไม่จําเป็นต้องงดให้นมมารดาแก่ทารก
3.หัดเยอรมัน (Rubella/German measles)
พยาธิสรีรภาพ
กลุ่มไม่มีอาการทางคลินิก
โดยกลุ่มนี้จะตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหัดเยอรมันอย่างเดียว และจะกลายเป็นพาหะของโรคต่อไป
กลุ่มที่มีอาการทางคลินิก
มีผื่นที่ใบหน้า ลามไปที่ลําตัวและแขนขา ลักษณะของผื่นจะเป็นตุ่ม เกิดได้ตั้งแต่วันที่ 7-10 หลังได้รับเชื้อ และจะคงอยู่ 4 สัปดาห์
อาจมีอาการปวดข้อ ปวดเข้า พบต่อมน้ําเหลืองโต ทั้งสองกลุ่มสามารถทําให้ทารกเกิดการติดเชื้อได้
เชื้อหัดเยอรมันจะเข้าไปทําลายผนังหลอดเลือดและเนื้อรกทําให้เนื้อรกและหลอดเลือดกลายเป็นเนื้อตาย
อาการและอาการแสดง
มีไข้ต่ํา ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ตาแดง ไอ เจ็บคอ และต่อน้ำเหลืองบริเวณหลังหูโต อาจมีอาการปวดข้อ โดยไข้จะเป็นอยู่ 1-2 วันก็จะหายไป หลังจากนั้นจะมีผื่นขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีแดง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ไม่ทําให้อาการของโรครุนแรงขึ้น และไม่ทําให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น จึงไม่เกิดผลกระทบต่อมารดา แต่อาจรู้สึกไม่สุขสบายเล็กน้อยเท่านั้น
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ความผิดปกติถาวร ได้แก่ หูหนวก หัวใจพิการ ตาบอด
ความผิดปกติที่ไม่พบขณะแรกเกิด แต่ปรากฏภายหลัง เช่น ภาวะเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราว เช่น ตับม้ามโต ตัวเหลือง โลหิตจาง
การพยาบาล
ให้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อเยอรมันแก่สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนมาก่อนโดยก่อนฉีดวัคซีนจะต้องแน่ใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ และหลังจากให้วัคซีนจะต้องคุมกําเนิดต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน
ในสตรีที่มาฝากครรภ์ควรตรวจดูว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่
แนะนําให้มาฝากครรภ์อย่างสม่ําเสมอ และมารับการตรวจที่โรงพยาบาลทันทีที่สงสัยส่ามีการติดเชื้อหัดเยอรมัน
ประเมินสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับการได้รับภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึกและซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับผลของการติดเชื้อต่อสุขภาพของตนเองและทารกในครรภ์
กรณีที่ตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ เตรียมร่างกายและจิตใจของสตรีตั้งครรภ์ให้พร้อมสําหรับการทําแท้งเพื่อการรักษา
สตรีที่ไม่มีภูมิคุ้มกันหรือไม่เคยฉีดวัคซีน ควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันหัดเยอรมันหลังคลอดทุกราย และหลังการให้วัคซีนจะต้องคุมกําเนิดต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน
4.สุกใส(Varicella-zoster virus: VZV)
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจ ซึ่งเชื้อโรคมีระยะฟักตัวนาน 10-20 วัน ในกรณีที่โรคสุกใสเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอด จะเรียกว่า congenital varicella syndrome
อาการและอาการแสดง
มักจะมีไข้ต่ำๆ นํามาก่อนประมาณ1-2 วันแล้วค่อยมีผื่นขึ้น ลักษณะของผื่น และตุ่ม มักจะขึ้นตามไรผม หรือหลังก่อน จะเห็นเป็นตุ่มน้ำใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ําค้างบนกลีบกุหลาบแล้วค่อยลามไปบริเวณหน้าลําตัว และแผ่นหลัง
มีอาการปวดเมื่อยตามตัวร่วมด้วย คล้ายอาการของไข้หวัดใหญ่ บางคนอาจมีต่อมน้ําเหลืองที่คอ และหลังหูโตขึ้น จนคลําได้ก้อนกดเจ็บ บางรายอาจจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ผื่น ตอนเป็นตุ่มน้ําจะรู้สึกคันมาก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ปอดบวม ทําให้ระบบหายใจล้มเหลว บางรายอาจจะมีอาการทางสมอง ทําให้ซึมลง และมีอาการชัก ทําให้เสียชีวิตได้ทั้งแม่ และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อทารก
การติดเชื้อในครรภ์ อาจทําให้ทารกเกิดความพิการก่อนกําเนิดได้
การติดเชื้อปริกําเนิด อาจติดเชื้อผ่านทางมดลูก และช่องทางคลอด
การพยาบาล
ระยะก่อนตั้งครรภ์
แนะนําให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่วางแผนตั้งครรภ์ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันสุกใสก่อนการตั้งครรภ์โดยหลีกเลี่ยงการรับวัคซีนในระยะตั้งครรภ์
ระยะตั้งครรภ์
แนะนําให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง วิตามินซีสูง รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
2.ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
3.เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก
ระยะคลอด
1.ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทําความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
กรณีที่มารดามีอาการให้แยกทารกแรกเกิดจากมารดาในระยะ5วันแรกหลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากมารดา
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค โดยการใช้หลักuniversal precaution
กรณีพ้นระยะการติดต่อหรือมารดามีการตกสะเก็ดแล้วสามารถแนะนําเกี่ยวกับการให้นมมารดาได้
แนะนําการรับประทานอาหารโปรตีนและวิตามินซีสูง พักผ่อนเพียงพอ
ดูแลให้ทารกรับวัคซีน VariZIG แก่ทารกแรกเกิดทันที
5.โรคติดเชื้อไซโทเมกะโรไวรัส (Cytomegalovirus: CMV)
อาการและอาการแสดง
ไข้สูงนานปวดกล้ามเนื้อ หรือมีอาการ ปอดบวมตับอักเสบ และอาการทางสมอง การติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์เป็นการติดเชื้อในครรภ์ตรวจได้จากปัสสาวะภายใน 2 สัปดาห์หลังคลอด อาการในเด็กทารกมีตั้งแต่อาการอย่างอ่อน ถึงอาการที่รุนแรงทางสมองและระบบประสาท
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ขณะตั้งครรภ์ระบบภูมิคุ้มกันจะลดลงหากไวรัสCMV ที่แฝงตัวอยู่มีการติดเชื้อซ้ํา หรือติดเชื้อใหม่ในขณะตั้งครรภ์จะมีทําให้การดําเนินของโรครุนแรงขึ้นทําให้เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกําหนด รกลอกตัวก่อนกําหนด มีการติดเชื้อของถุงน้ำคร่ำ
ผลกระทบต่อทารก
ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อภาวะ IUGR แท้ง fetal distress คลอดก่อนกําหนด
น้ำหนักแรกเกิดน้อย ทารกเสียชีวิตในครรภ์ และตายคลอด
แนวทางการป้องกันและการรักษา
1.วัคซีนที่ให้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ CMV
สตรีที่เคยมีประวัติการติดเชื้อ CMV ควรวางแผนเว้นระยะการมีบุตรไปก่อนอย่างน้อย 2 ปี
3.วิธีการหลักในการป้องกันคือการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ล้างมือด้วยสบู่ เนื่องจากการแพร่กระจายของ CMVผ่านสารคัดหลั่ง เลือดที่มีเชื้อ
การรักษา
2.การให้ยาต้านไวรัสเช่นValtrex, Ganciclovil, Valavir
การประเมินอาการและอาการแสดงของทารกแรกเกิดที่มีการติดเชื้อ
1.การให้ immunoglobulin ของ anti-cytomegaloviral human
การพยาบาล
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทําความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
2.งดให้นมมารดา หากมารดาหลังคลอดมีการติดเชื้อ
3.แนะนําการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นย้ําเกี่ยวกับการรักษาความสะอา
ให้การดูแลในระยะหลังคลอดเหมือนมารดาทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
4.แนะนําให้สังเกตอาการผิดปกติของทารกที่ต้องรีบพามาพบแพทย์
ระยะตั้งครรภ์
2.อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวทราบเกี่ยวกับโรค สาเหตุ อาการและอาการแสดง
3.แนะนําและเน้นย้ําให้เห็นความสําคัญของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
1.ซักประวัติ เพื่อคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกรายเกี่ยวกับการเจ็บป่วยติดเชื้อ CMV ในอดีต
6.การติดเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasmosis)
อาการและอาการแสดง
อาจมีกลุ่มอาการของ Mononucleosis รายที่รุนแรงจะมีพยาธิที่สมอง Chorioretinitis ปอดบวม กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การแท้ง คลอดก่อนกําเนิด ถุงน้ำคร่ำและเยื่อหุ้มทารกอักเสบ ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกําหนด รกลอกตัวก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกติดเชื้อในครรภ์ กรณีทื่ทารกมีการติดเชื้อแต่กําเนิดทารกแรกเกิดจะมีลักษณะสําคัญ คือ ไข้ ชัก ทารกหัวบาตร microcephaly, chorioretinitis, หินปูนจับในสมอง
แนวทางการป้องกันและการรักษา
3.หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ปรุงสุก
4.เมื่อต้องให้การดูแลสวนหญ้า แนะนําให้สวมถุงมือยาง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
2.หากจําเป็นต้องทําความสะอาดอุจจาระแมว สวมถุงมือยาง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
ถ้าพบ IgM ในมารดา อนุมานว่ามีการติดเชื้อ และรักษาด้วย spiramycin จะช่วยลดการติดเชื้อในครรภ์ได้
1.ให้ผู้อื่นเป็นผู้ดูแลแมวแทนในช่วงที่ตั้งครรภ์ ไม่ปล่อยให้แมวออกนอกบ้าน
การวินิจฉัยในทารกก่อนคลอด สามารถกระทําได้ การเจาะเลือดสายสะดือทารกเพื่อหาการติดเชื้อ และการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อหาความผิดปกติทางสรีระของทารก
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
เน้นการรักษาอย่างต่อเนื่อง การรับประทานยา
4.แนะนําเกี่ยวกับการสัมผัสเชื้อ
ติดตามผลการตรวจเลือด
ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเปิดโอกาสให้ซักถาม
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
ภายหลังทารกคลอดเช็ดตาด้วย 0.9%NSS เช็ดตาทันทีจากนั้นป้ายตาด้วย 1% tetracycline ointment หรือ 0.5% erythromycin ointment หรือ 1% Silver nitrate (AgNO3) หยอดตาตาทารก หลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตา
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังการตกเลือดและการติดเชื้อหลังคลอด
แนะนําการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นเรื่องการรักษาความสะอาด
7.การติดเชื้อไวรัสซิก้า(Zika)
อาการและอาการแสดง
เมื่อได้รับเชื้อระยะฟักตัวอยู่ที่ประมาณ 3-12 วัน ส่วนใหญ่มักมีอาการไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ จะมีอาการเหล่านี้อยู่ประมาณ 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มักแสดงอาการมากในไตรมาสที่ 3อาการที่พบบ่อยในคือ มีผื่นขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ และบางการศึกษาพบผื่นหลังคลอด
ผลกระทบต่อทารก
จะมีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท ตาและการมองเห็น ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ทารกตายในครรภ์ และตายหลังคลอด นอกจากนี้ภาวะศีรษะเล็กในทารกเป็นภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทหลักที่พบได้
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การป้องกัน
โดยได้มีระบบการเฝ้าระวัง ครอบคลุม 4 ด้าน คือระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาระบบเฝ้าระวังทางกีฏวิทยาระบบเฝ้าระวังทารกที่มีความพิการแต่กําเนิดและระบบเฝ้าระวังกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบประสาทร่วมกับการรณรงค์กําจัดลูกน้ํายุงลาย
การรักษา
การรักษาทําได้ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ํามาก ๆ และรักษาตามอาการ เช่น ใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้หรือบรรเทาอาการปวด ทั้งนี้ห้ามรับประทานยาแอสไพริน หรือยากลุ่มลดการอักเสบที่ไม่ใช่ สเตียรอยด์
การพยาบาล
การติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์
ประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ โดยการฟังเสียงหัวใจทารก การวัดระดับยอดมดลูก
เน้นย้ําการมาตรวจครรภ์ตามนัด เพื่อประเมินสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์
ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิ หากมีไข้ดูแลให้ได้รับยาลดไข้ตามแผนการรักษา และไม่ควรรับประทานยากลุ่ม NSAID
อธิบายเกี่ยวกับการดําเนินของโรค สาเหตุ อาการและอาการแสดง
ให้คําแนะนําในการป้องกันสาเหตุและปัจจัยที่ทําให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสซิก
การดูแลในระยะคลอดให้การดูแลเหมือนผู้คลอดทั่วไป ทั้งนี้ให้ยึดหลัก universal precaution
ตรวจร่างกายทารกแรกเกิด ประเมินสภาพร่างกายทั่วไปโดยเฉพาะการวัดขนาดของศีรษะ หากน้อยว่าปกติให้รีบรายงานกุมารแพทย์ทราบ
8.โรคโควิด-19 กับการตั้งครรภ์ (COVID-19 during Pregnancy)
อาการและอาการแสดง
ไม่แสดงอาการใด ๆ และมีอาการและอาการแสดงของอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป หรือให้ประวัติว่ามีไข้ในการป่วยครั้งนี้ร่วมกับมีอาการของระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง
ผลกระทบต่อการสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกําหนด มีการติดเชื้อของเยื่อหุ้มเด็ก ถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด รกเสื่อม และรกลอกตัวก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกในครรภ์พัฒนาการล่าช้า คลอดน้ําหนักตัวน้อย คลอดก่อนกําหนด การติดเชื้อCOVID-19 ของทารกแรกเกิดอาจตรวจพบการติดเชื้อได้ในทันทีหลังคลอด
แนวทางการรักษา
สถานที่และบุคลากรเน้นให้บุคลากรใส่ชุด PPEการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในรพ.และไปกับรถพยาบาล บุคลากรต้องใส่ fullPPE
2.การดูแลรักษา
2.1 สตรีตั้งครรภ์ที่สงสัยจะติดเชื้อโรคโควิด-19
ถ้ามีไข้ ห้ามใช้ยากลุ่ม NSAIDs
หากเป็นไปได้ให้เลื่อนการนัดผ่าตัดคลอดหรือการกระตุ้นคลอดออกไปอย่างน้อย 14วันหรือจนกว่าผลตรวจเชื้อไวรัสเป็นลบ
2.2 สตรีตั้งครรภ์ที่มีอาการรุนแรง
หากอาการแย่ลงเช่น หายใจเหนื่อยหอบมากขึ้นควรคิดถึงภาวะpulmonary embolism
ไม่ให้ออกซิเจนทาง face mask หรือ face mask with bag
On EFMถ้าอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป
ให้ยาต้านไวรัสและ/หรือยาอื่น ๆ
2.3การดูแลรักษากรณีฉุกเฉิน
หากไม่สามารถซักประวัติได้ ให้ทําการรักษาเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่เข้าข่ายการสืบสวนโรค และบุคลากรใส่ชุด full PPE
2.4 การดูแลขณะเจ็บครรภ์คลอด
ไม่มีข้อห้ามของการคลอดทางช่องคลอด
ทําepidural block ได้และมีข้อดี กรณีที่จําเป็นต้องผ่าตัดคลอดจะทําได้เร็วขึ้น
ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ตามความจําเป็น
การใช้ก๊าซสูดดมเพื่อระงับความปวดควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
On EFMถ้าอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป
ทําการผ่าตัดในห้องแยกความดันลบ (ถ้ามี)
การระงับความรู้สึกหลีกเลี่ยง general anesthesia
2.5 กรณีเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด
การยับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก
ไม่แนะนําให้ยับยั้งการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อรอให้ยา corticosteroidsครบ dose
การให้ corticosteroids สําหรับกระตุ้นปอดทารกในครรภ์
ให้ magnesium sulfate สําหรับ neuroprotection ได้
ทารกที่แท้งหรือเสียชีวิต รกและน้ําคร่ําให้ส่งตรวจหาเชื้อไวรัสแล้วกําจัดแบบตัวอย่างงติดเชื้อ
การพยาบาล
การดูแลและการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19
รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอ
หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะรับประทานอาหารและของใช้ส่วนตัว ร่วมกับผู้อื่น
หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณดวงตา ปาก และจมูก
สตรีตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ หรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากมีอาการป่วยเล็กน้อย ควรพักผ่อนอยู่ที่บ้าน ถ้ามีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หายใจเหนื่อย ควรรีบไปพบแพทย์
หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการไอ เป็นไข้
การดูแลสตรีตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีประวัติการเดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง หรือสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วย COVID-19
กรณีครบกําหนดนัดฝากครรภ์ ต้องแจ้งพยาบาลผดุงครรภ์ให้ทราบว่าตนเองอยู่ระหว่างการเฝ้าระวัง 14 วัน เพื่อพิจารณาเลื่อนการฝากครรภ์
กรณีเจ็บครรภ์คลอด ต้องไปโรงพยาบาลทันที และแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบว่าตนเองอยู่ระหว่างการเฝ้าระวัง 14 วัน
แยกตนเองออกจากครอบครัว
การดูแลทารกแรกเกิด ในกรณีมารดาเป็นผู้ที่สงสัยติดเชื้อและติดเชื้อ COVID-19
แนวทางการปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อคํานึงถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการในการแพร่เชื้อไวรัสผ่านทางน้ํานม ดังนั้นจึงสามารถกินนมแม่ได้ โดยปฏิบัติตามแนวทางป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด
ข้อแนะนําการปฏิบัติสําหรับมารดาหลังคลอดในกรณีแม่เป็นผู้ที่สงสัยว่าจะติดเชื้อ
สวมหน้ากากอนามัย ตลอดการทํากิจกรรมเกี่ยวกับการเตรียมนม และการปั๊มนม
ล้างทําความสะอาดอุปกรณ์ เช่น ที่ปั๊มนม ขวดนม ด้วยน้ํายาล้างอุปกรณ์ และทําการนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อ
อาบน้ำหรือเช็ดทําความสะอาดบริเวณเต้านมและหัวนมด้วยน้ำและสบู่
การให้นม ควรให้ผู้ช่วยเหลือหรือญาติที่มีสุขภาพแข็งแรงที่ทราบวิธีการป้อนนมที่ถูกต้อง และต้องปฏิบัติตามวิธีการป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด
ก่อนเริ่มกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเตรียมนมและการปั๊มนม