Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคขาดวิตามินบี 2 (Vitamin B2 Deficiency), นางสาวอรัชพร ทองเอียด รหัส…
โรคขาดวิตามินบี 2
(Vitamin B2 Deficiency)
สาเหตุและการติดต่อ
โรคหรือพยาธิสภาพบางอย่างทำให้ความต้องการVitamin B2เพิ่มมากขึ้น
Riboflavinไม่สามารถเปลี่ยนเป็นสารออกฤทธิ์ได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์น้อยกว่าปกติ(Hypothyroidism)
การใช้ยาบางชนิดขัดขวางเมตาบิลิซึมของVitamin B2
ยารักษาโรคจิตบางชนิด
ยารักษาโรคมะเร็ง
ยารักษามาลาเรีย
ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
ผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ
โดยเฉพาะนักกีฬาที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ ซึ่งร่างกายมีเมตาบอลิซึมสูงและมีการใช้ Vitamin B2 จึงมีโอกาสขาด Vitamin B2 ได้เนื่องจากมีการงดรับประทานเนื้อสัตว์
ผู้ติดสุราเรื้อรัง
มีขัดขวางการย่อยและการดูดซึมบริเวณลำไส้
ร่างกายมีความต้องการมากขึ้น เช่น ภาวะตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เด็กที่กำลังเจริญเติบโต หรือผู้สูงอายุ
สตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตรที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์นม มีความเสี่ยงต่อการขาดRiboflavin ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อมารดาและทารกในครรภ์ เช่น การขาดRiboflavinขณะตั้งครรภ์สามารถเพิ่มความเสี่ยงของภาวะครรภ์เป็นพิษ(Preeclampsia)
อาการและอาการแสดง
ตาอักเสบ ระคายเคือง มีน้ำตาไหลเมื่อมองสู้แสง มองไม่ชัดและอาจมีเส้นเลือดตาดำ (corneal vaccularization)
อ่อนเพลีย มีอาการชาบริเวณนิ้วมือนิ้วเท้า มีความรู้สึกไวต่อความเจ็บปวดมากขึ้น
คราบไขมันที่ซอกจมูก ใบหู หัวตา (seborrheric dermatitis)
มีภาวะโลหิตจาง ผิวซีด ระบบประสาททำงานผิดปกติ เช่น การขาดรีเฟรกซ์
ลิ้นบวมแดง (glossitis)
โรคปากนกกระจอก (Angular stomatitis) มีแผลบริเวณมุมปากทั้ง 2 ข้าง
การพยาบาล
1.ประเมินและติดตามปริมาณการขาดVitamin B2
2.ประเมินความรู้ผู้ป่วยเกี่ยวกับการรับประทานVitamin B2
3.ให้Vitamin B2 ในเด็ก 3-10 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ ผู้ใหญ่ แบ่งรับประทานไม่เกิน 30 มิลลิกรัมต่อวัน ตามแผนการรักษาของแพทย์
4.ให้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานVitamin B2
รับประทานตามฉลากหรือตามคำแนะนำจากแพทย์อย่างเคร่งครัด ห้ามรับประทานมากกว่าหรือน้อยกว่าปริมาณที่กำหนด
รับประทานตามเวลาที่กำหนด และควรรับประทานร่วมกับมื้ออาหาร
ควรเก็บVitamin B2 ไว้ในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงความชื้นและป้องกันไม่ให้ถูกแสงแดด
การรักษา
ให้อาหารเสริม Vitamin B2 ตามแผนการรักษาของแพทย์
รับประทานอาหารที่มี Vitamin B2 หรือ Riboflavin สูง
การป้องกัน
ปริมาณที่ควรได้รับแต่ละช่วงวัย
แรกเกิด-6 เดือน
0.3 มิลลิกรัมต่อวัน
7-12 เดือน
0.4 มิลลิกรัมต่อวัน
1-3 ปี
0.5 มิลลิกรัมต่อวัน
4-8 ปี
0.6 มิลลิกรัมต่อวัน
9-13 ปี
0.9 มิลลิกรัมต่อวัน
14-18 ปี
เพศชาย
1.3 มิลลิกรัมต่อวัน
เพศหญิง
1.0 มิลลิกรัมต่อวัน
19-50 ปี
เพศชาย
1.3 มิลลิกรัมต่อวัน
เพศหญิง
1.1 มิลลิกรัมต่อวัน
หญิงตั้งครรภ์
1.4 มิลลิกรัมต่อวัน
หญิงให้นมบุตร
1.6 มิลลิกรัมต่อวัน
51 ปีขึ้นไป
เพศชาย
1.3 มิลลิกรัมต่อวัน
เพศหญิง
1.1 มิลลิกรัมต่อวัน
รับประทานอาหารที่มี Vitamin B2 หรือ Riboflavin สูง
เนื้อสัตว์หรือเครื่องในสัตว์
ไข่แดง
น้ำนม และผลิตภัณฑ์นม เช่น เนย เนยแข็ง โยเกิร์ต
ถั่วงอก
ผักใบเขียว เช่น หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า ผักบุ้งจีน
ความหมาย
Vitamin B2 หรือ Riboflavin
ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย จำเป็นต่อเอนไซม์และกระบวนการสร้างเมตาบอลิซึมของสารอาหารต่าง ๆ
วิตามินชนิดที่สามารถละลายในน้ำได้
การขาดVitamin B2
ทางสายตาจะปวดตาเมื่อมีแสงจ้า น้ำตาไหลมาก ตาแดง
ผิวหนังที่มุมปากจะย่น ชื้น และแตก ลิ้นจะแดง
น้ำหนักตัวลด
มักจะควบคู่ไปกับการขาด Vitamin B1
นางสาวอรัชพร ทองเอียด รหัส 621001108