Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแบ่งปันข้อมูล, image, image, image, image, image, image, image, image,…
การแบ่งปันข้อมูล
องค์ประกอบและรูปแบบพื้นฐานในการสื่อสาร
สาร : เป็นข้อมูลหรือสิ่งที่ผู้ส่งต้องการให้ผู้รับได้รับรู้โดยสารนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น เสียงพูด ข้อความ หรือภาพ
ช่องทาง : เป็นวิธีการในการส่งสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือ การสื่อสารผ่านสื่อสังคม หรือแม้กระทั่งการพูดคุยกับผู้รับโดยตรง
ผู้ส่ง : ผู้ที่มีสารหรือเนื้อหาข้อมูล ที่ต้องการจะส่งสารไปยังผู้รับ โดยผู้ส่งจะต้องคำนึงถึงจุดประสงค์ของการส่งสารและความสามารถในการรับของผู้รับ :
ผู้รับ : มีหน้าที่แปลความหมายของสารที่ผู้ส่งนำเสนอ ซึ่งความสามารถในการแปลขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การศึกษา วุฒิภาวะพื้นฐานทางสังคม ความเชื่อ และความสนใจในสารที่ได้รับ
:warning:
ข้อควรระวังในการแบ่งปันข้อมูล
:warning: ข้อมูลบางชนิดไม่ควรเปิดเผย : ข้อมูลด้านสุขภาพ ด้านการเงิน หรือหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน
:warning: การรักษาข้อมูลที่ได้รับการปกป้องตามกฎหมาย : ข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์หรือข้อมูลส่วนตัว เช่น ผลงานเพลง ประวัติคนไข้ หรือหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน
:warning: ไม่มีความลับในสังคมออนไลน์ : ข้อมูลดิจิทัลเป็นข้อมูลที่ทำซ้ำได้ง่าย คนในกลุ่มอาจคัดลอกข้อมูลไปเผยแพร่ต่อสาธารณะ
:warning: ข้อมูลบางชนิดอาจถูกนำมาใช้หลอกลวง : วันเกิด ตำแหน่งหน้าที่การงาน การศึกษา ชื่อเพื่อน ผู้ไม่ประสงค์ดีอาจใช้ข้อมูลเหล่านี้ทำการ phishing เพื่อหลอกลวงเอาข้อมูลสำคัญของเราได้
เทคนิคและวิธีการแบ่งปันข้อมูล
กระบวนการในการสร้างรูปแบบของสาร
การเขียนบล็อก
เป็นการเขียนบทความอธิบายหรือให้ข้อมูล
เพื่อนำไปเผยแพร่บนเว็บไซต์
การตรวจสอบข้อมูล : ข้อมูลที่ได้มาอาจมีข้อผิดพลาด จึงต้องทำการตรวจสอบเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด
การวางแผน
กำหนดเรื่องที่จะเขียน : ควรเลือกเขียนเรื่องที่ตนเองมีความสนใจ :pencil2:
วางเค้าโครงเรื่อง : ควรวางเค้าโครงเรื่องเพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่จะเขียนมีเนื้อหาที่ครอบคลุม ครบถ้วน เข้าใจง่าย :pen:
การเขียนคำโปรย : เป็นประโยคสั้นๆที่สรุปและเชิญให้ผู้อ่านเข้าไปอ่านเนื้อหา ควรใช้ภาษาที่ดึงดูดความสนใจ
การเขียน : อาจเขียนคราวเดียวจบหรืออาจจะแบ่งเป็นส่วนส่วนเลยค่อยๆเขียนไปทีละส่วนก็ได้ ควรที่จะเขียนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในคราวเดียวเพื่อไม่ให้ลืมเนื้อหาที่สำคัญ
การใช้ภาพประกอบ : การใช้ภาพประกอบช่วยลดความรู้สึกอึดอัดในการเขียนเฉพาะตัวหนังสือ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาที่ไม่สามารถบรรยายด้วยตัวอักษรได้อีกด้วย
การแก้ไขตรวจทาน : ตรวจทานเพื่อแก้ไขตัวสะกด ไวยากรณ์ และตรวจทานว่ามีการเขียนประเด็นที่ซ้ำกันหรือไม่
ค้นคว้า : การค้นคว้าหาข้อมูลทำให้ได้ข้อมูลที่น่าสนใจและเพียงพอที่จะเรียบเรียงเป็นบทความได้
ขั้นตอนการทำแฟ้มสะสมงาน
คัดเลือกผลงาน : ควรคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุดไม่เกิน 3 ชิ้นต่อ 1 หมวดหมู่
จัดหมวดหมู่ : สามารถทำได้หลายลักษณะ เช่น จัดเป็นกลุ่ม โดยแต่ละหมวดหมู่ไม่ควรมีเรื่องที่ซ้ำกัน
จัดลำดับความน่าสนใจของผลงานและประเมินตนเอง : ขั้นตอนนี้จะทำให้เราเข้าใจตัวตนของตนเองมากขึ้นและประเมินได้ว่าเราควรยื่นแฟ้มผลงานเพื่อเข้าศึกษาในสาขาใด
ลำดับและเรียบเรียงเรื่องราวให้น่าสนใจ : ควรคำนึงว่าผู้ที่ประเมินต้องการจะเห็นอะไรในแฟ้มผลงาน
รวบรวมผลงาน : ชิ้นงานหรือผลงานที่บ่งบอกถึงความสามารถของเจ้าของผลงาน
ตรวจทาน : ควรแบ่งการตรวจทานเป็น 2 ส่วน
ตรวจทานว่าแฟ้มผลงานตรงกับตัวตนของเราและความต้องการของผู้อ่านหรือไม่
ให้ผู้อื่นช่วยตรวจทานเรื่องราวและการดำเนินเรื่องว่าเป็นที่ประทับใจแก่ผู้อ่านหรือไม่
ช่องทางในการสื่อสาร
:
สื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เป็นสื่อที่เน้นการสื่อสารทางเดียวแต่สามารถกระจายสารไปยังคนหมู่มากได้อย่างทั่วถึง
สื่อสังคม เช่น facebook twitter หรือเว็บบอร์ด สื่อสังคมจะเป็นช่องทางการสื่อสารที่มีการโต้ตอบค่อนข้างสูงทำให้ผู้ส่งมีโอกาสอธิบายเพิ่มเติมหรือแก้ไขปรับปรุงรูปแบบของสารได้อย่างเหมาะสม
การสื่อสารโดยตรง เช่น การพูดคุยต่อหน้าหรือทางโทรศัพท์ เป็นช่องทางที่ผู้ส่งสารสามารถสังเกตและรับรู้ปฏิกิริยาของผู้รับสารได้โดยตรง