Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขการประกอบวิชาชีพการพยาบาลแล…
ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2564
แบ่งเป็น4หมวด
หมวดที่1บททั่วไป
ข้อ4ในข้อบังคับนี้ การรักษาโรคเบื้องต้น คือ กระบวนการประเมินสภาวะสุขภาพทั้งการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การวินิจฉัยแยกโรค การรักษาโรคและการบาดเจ็บ การป้องกันโรค การปฐมพยาบาลเพื่อการแก้ปัญหา ความเจ็บป่วย บรรเทาความรุนแรง หรืออาการของโรค เพื่อให้ผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤต
การเจ็บป่วยฉุกเฉิน คือ การเจ็บป่วยกะทันหันจำเป็นต้องได้รับการประเมินบำบัดรักษาทันทีและให้ความรวมถึงการปฐมพยาบาล การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤตตั้งแต่จุดเกิดเหตุจนกระทั่งผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
การปฐมพยาบาล คือ การบรรเทา การช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อไม่ให้อาการบาดเจ็บแย่ลง
การให้ภูมิคุ้มกัน คือ การให้วัคซีนเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อโรค
หมวดที่2การประกอบวิชาชีพการพยาบาล
5.1 การกระทำต่อร่างกายจิตใจของบุคคล การตรวจประเมินภาวะสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการบาดเจ็บ การควบคุมการแพร่กระจายการปฐมพยาบาล การบำบัดโรคเบื้องต้น การฟื้นฟูสุขภาพเป็นต้น
5.2 การสอน การแนะนำ การให้คำปรึกษาและการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย
5.3การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ
5.4การปฏิบัติการพยาบาลตามแผนการพยาบาล เช่น การติดตามผลรวมทั้งประสานทีมสุขภาพ
5.5การให้การพยาบาลที่ส่งเสริมความสามารถของบุคคล
6.ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ จะให้ยาได้ต่อเมื่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมระบุไว้
ห้ามให้ยาผู้ป่วยหรือสารละลายในช่องรอบเยื่อบุไขสันหลังหรือสายสวนทางหลอดเลือดดำส่วนกลาง
ยาห้ามให้ทางหลอดเลือดดำ คือ 1.กลุ่มละลายทึบรังสีทุกชนิด 2.กลุ่มยาระงับความรู้สึก(ยกเว้นพยาบาลที่ผ่านการอบรมวิสัญญีพยาบาลและปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด) 3.กลุ่มยาเคมีบำบัดcontrast mediaไม่ใช่ยา
ห้ามให้ยา/สารละลายที่เกี่ยวข้องกับรังสีวินิจฉัย
7.ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นสองและการพยาบาลการผดุงครรภ์ชั้นสองให้กระทำการพยาบาลที่ไม่ซ้ำซ้อน
8.ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการพยาบาลการผดุงครรภ์ชั้นสองสามารถให้ยาได้แค่ทางปากและยาภายนอกตามที่ผู้บำบัดโรคได้ระบุไว้
9.การทำหัตถการ
9.1 การทาแผล การตกแต่งบาดแผลขนาดลึกไม่เกินชั้นเนื้อเยื่อไขมันใต้ผิวหนังและไม่อยู่ในตำแหน่งที่อันตราย
9.2การผ่าตัดเอาสิ่งแปลกปลอม การผ่าฝี การผ่าตัดตาปลาการเลาะก้อนใต้ผิวหนัง
9.3การถอดเล็บ จี้หูดจี้ตาปลา ใช้ยาระงับความรู้สึก
9.4การให้ออกซิเจน
9.5การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำให้ผู้ป่วยที่เสี่ยงภาวะช็อค
9.6การให้ยาทางงปากทาง ผิวหนัง หลอดเลือดดำ
9.7การให้เลือด
9.8การเปิดทางเดินหายใจให้โล่งด้วยการดูดเสมหะ การเคาะปอด
9.9การช่วยฟื้นคืนชีพ
9.10การเช็ดตา ล้างตา หยอดตา ป้ายตา ปิดตา การล้างจมูก
9.11การสอดใส่สายยางลงไปในกระเพาะอาหาร การล้างกระเพาะอาหาร
9.12 การสวนปัสสาวะ การสวนทางทวารหนัก
9.13การดาม ใส่เฝือก การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม การเจาะเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดดำส่วนปลายหรือปลายนิ้วหรือสารคัดหลั่ง
หมวดที่3การรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกัน
ข้อ10 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งกระทำการพยาบาลในการรักษาโรค การให้ภูมิคุ้มกันโรค
ข้อ11 สาขาเฉพาะทางและมีการผ่านอบรมหลักสูตรได้รับหนังสืออนุมัติ เช่น การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ การพยาบาลเด็ก เป็นต้น
ข้อ13 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่งถ้าจำเป็นต้องใช้ยาให้ใช้ตามคู่มือการใช้ยาที่สภาการพยาบาลกำหนด
ข้อ14 ในการให้ภูมิคุ้มกันโรคต้องปฏิบัติตามกระทรวงสาธารณสุข
ข้อ15 ต้องมีบันทึกรายงานเกี่ยวกับประวัติของผู้ป่วย วันเวลาในการให้บริการ อาการ การเจ็บป่วย เป็นต้น ให้เป็นเวลา5ปี
หมวดที่4การประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์
การพยาบาลก่อนการตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์
16ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ให้การผดุงคแก่หญิงและครอบครัว เมื่อต้องการมีบุตร ก่อนการตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์
การตรวจประเมินภาวะสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจของหญิงตั้งครรภ์ การสอนการปฏิบัติตนของบิดามารดาในระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดและหลังคลอด
การประเมินความเจ็บป่วยในอดีตและปัจจุบันที่มีผลกระทบกับการตั้งครรภ์ การคบอดการผ่าตัดอื่นๆ การใช้ยา แพ้ยา
การประเมินประวัติทางสูติกรรม จำนวนครั้งที่เคยตั้งครรภ์ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ครั้งก่อน
การตรวจร่างกายทั่วไป การตรวจครรภ์และทารกในครรภ์การตรวจเต้านมหัวนม ให้ยาเสริมธาตุเหล็กและโฟเลต การให้วัคซีนป้องกันบาดทะยัก
แนะนำส่งต่อหญิงมีครรภ์ให้ได้รับการตรวจรักษาจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ส่งต่อหญิงมีครรภ์กลุ่มเสี่ยง เช่นครรภ์เป็นพิษ
การพยาบาลระยะคลอด
ประเมินหญิงมีครรภ์ การตรวจหน้าท้องเพื่อประเมินความพร้อม เช่น การตรวจประเมินทารกในครรภ์ การตรวจการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ ประมาณน้ำหนักทารกในครรภ์ ประเมินความก้าวหน้าการคลอด การทำคลอดในรายปกติตัดฝีเย็บตามข้อบ่งชี้ ทำคลอดรกและเยื่อหุ้มทารกด้วยวิธี Modified creed maneuver การตรวจรกและเยื่อหุ้มรก ในรายที่รกค้างต้องทำคลอดด้วยวิธีพยุงดึงรั้งสายสะดือ การเย็บซ่อมแซมฝีเย็บระดับ2 ประเมินการเสียเลือด ประเมินสัญญาณชีพหลังคลอดทันที
ห้ามผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง เช่น เจาะน้ำคร่ำ การทำคลอดที่มีความผิดปกติ เช่น คลอดท่าก้น การล้วงรก การท่าของทารกในครรภ์ การใช้มือกดท้องในขณะช่วยทำคลอด การเย็บซ่อมฝีเย็บระดับ3 การทำแท้ง
การพยาบาลผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งจะกระทำการช่วยคลอดฉุกเฉินเมื่อประเมินแล้วว่าจะเป็นอันตรายต่อมารดาและไม่สามารถหาผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแต่ห้ามทำการผ่าตัดการคลอด ให้ยารัดมดลูกก่อนคลอด ใช้เครื่องดูดสุญญากาศในการทำคลอด
ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งให้การพยาบาลกับมารดาหลังคลอดอย่างใกล้ชิด ต้องใช้ยาทาละลายและป้องกันการติดเชื้อสำหรับหยอดตาหรือป้ายตาทารกแรกเกิดทันที
การพยาบาลทารกแรกเกิดโดยประเมินสัญญาณชีพ ความผิดปกติ ความพิการแและให้มารดาได้โอบกอดทารกและเริ่มให้ดูดนมจากมารดาภายในชั่วโมงแรก ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งจะต้องบันทึกรายงานเกี่ยวกับประวัติหญิงตั้งครรภ์ การพยาบาลระยะตั้งครรภ์ การคลอด การพยาบาลหลังคลอด การให้บริการตามความเป็นจริง ต้องเก็บเป็นหลักฐานเป็นระยะเวลา5ปี
ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งสามารถทำการพยาบาลและการวางแผนครอบครัว การให้คำปรึกษากับคู่สมรสในการวางแผนครอบครัวแบบวิธีธรรมชาติ ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งสามารถคัดกรองมารดาทารก เช่น การทาpap smear การประเมินภาวะสุขภาพ ผู้ประกอบวิชาชีพการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นสองการให้บริการวางแผนครอบครัวแบบใช้ยาหรือใช้อุปกรณ์ เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย วงแหวนคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่มารดา ทารก และเด็กต้องปฏิบัติตามแนวทางการให้ภูมิคุ้มกันโรคที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดและผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นสองให้คำแนะนำเข้ารับภูมิคุ้มกันโรคและติดตามให้มารับภูมิคุ้มกันโรค