Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Drowing with Pneumonia จมน้ำและโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ : - Coggle Diagram
Drowing with Pneumonia
จมน้ำและโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ :
อาการสำคัญ
จมน้ำหมดสติ 5 นาที ก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติเจ็บป่วยในปัจจุบัน
5 ชั่วโมงก่อนมา ยายได้ยินหมาเห่าจึงเดินไปดู พบว่าผู้ป่วยจมน้ำคลอง (ที่ใช้เลี้ยงวัว-ควาย) ความลึกประมาณ 2 เมตร เห็นผู้ป่วยแค่ระดับหน้าผากนิ่งในน้ำ ไม่ได้ตะกุยตะกาย จึงมีคนไปช่วยอุ้มพาดบ่าแล้วเอามาปั้มหัวใจประมาณ 5 นาที เด็กจึงตื่นนำส่ง รพ.เดชอุดม V/S BT=36.7 C PR = 124 bpm RR = 36 bpm BP = 100/96 mmHg SpO2 = 92%
แรกรับ E3V2M5 ระหว่าง observe หายใจหอบมากขึ้น RR = 52 bpm จึง refer มาที่ รพ.สปส
ประวัติการตั้งครรภ์ของมารดาและการคลอด
มารดาอายุ 28 ปี G1P0A0L0 GA 38 wks. ฝากครรภ์ที่ รพ.เดชอุดม สุขภาพดีขณะตั้งครรภ์ ไม่มีโรคแทกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ผลเลือดปกติ คลอดโดยการผ่าคลอด Cesarean section วันที่ 1 มีนาคม 2562 เพศชาย APGAR 9,9,10 น้ำหนักแรกเกิด 2,850 กรัม หลังคลอดทารกได้รับวัคซีน Vit K, BCG ทารกไม่มีอาการตัวเหลือง 3 วัน ได้กลับบ้านพร้อมมารดา
ประวัติเจ็บป่วยในอดีต
ญาติปฏิเสธการเจ็บป่วยในอดีต
การผ่าตัด
ญาติปฏิเสธการผ่าตัด
ประวัติการใช้ยาและสารเสพติด
ญาติปฏิเสธการใช้ยาและสารเสพติด
ประวัติการได้รับนมและอาหารเสริม
ได้รับนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 3 เดือน หลัง 3 เดือน เริ่มได้รับประทานนมผสม
เด็กที่น้ำหนัก 2.7 กิโลกกรัม ปริมาณที่เหมาะสมคือ 3 ออนซ์ ในทุกๆ 3 ชั่วโมงในช่วงเวลากลางวัน และทุกๆ 4 ชั่วโมงในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งรวมทั้งหมด 21 ออนซ์ต่อวัน
เด็กที่มีน้ำหนัก 2.7 – 3.5 กิโลกกรัม ปริมาณที่เหมาะสมคือ 4 ออนซ์ ในทุกๆ 4 ชั่วโมง ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ซึ่งรวมทั้งหมด 24 ออนซ์ต่อวัน
สำหรับทารกที่มีอายุระหว่าง 1-6 เดือน ที่กินนมแม่เพียงอย่างเดียวจะต้องการน้ำนมวันละ 25 ออนซ์ (750 มิลลิลิตร) หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 19-30 ออนซ์ (570-900 มิลลิลิตร) ต่อวัน
เมื่อลูกโตขึ้น มื้อนมก็จะห่างออกไปอีก แต่จะกินปริมาณมากขึ้น เช่น นม 3 ออนซ์ จำนวน 8 ขวดต่อวัน ต่อมาก็กลายเป็น 4 ออนซ์กิน 7 ขวด และจะกลาย เป็น 5 ออนซ์ กิน 6 ขวด ในที่สุดจะกิน 6 ออนซ์จำนวน 5 ขวดต่อวัน คุณแม่ค่อยๆเหนื่อยน้อยลง
ยาที่ได้รับในปัจจุบัน
Ventolin 0.3 ml + 3% NaCl 3 ml
การออกฤทธิ์
โดยการจับกับ 2 adrenergic เกิดการกระตุ้น adenyl cyclase เพิ่มการหลั่ง cyclic Amp ทำให้กล้ามเนื้อเรียบ หลอดลมคลายตัว เป็นผลให้หลอดลมขยาย
สรรพคุณ
ขยายและรักษาอาการหดเกร็งของหลอดลม
ผลข้างเคียง
หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน หน้าแดง มึนงง การสับกระส่าย นอนไม่หลับ แน่นหน้าอก เบื่ออาการ
Flemex 4 ml tid pc
สรรพคุณ
ขับเสมหะหรือละลายเสมหะ
ผลข้างเคียง
คลื่นไส้ อาเจียน แสบร้อนหน้าอก อาการเหล่านี้พบทั่วไปไม่รุนแรงและจะหายไปเมื่อหยุดยา หากพบอาการผิดปกติอื่นๆ ที่รุนแรง เช่น ผื่นขึ้น หายใจไม่ออก หรือมีอาการบวมต่างๆ เช่น ใบหน้า ลิ้น คอ เวียนศีรษะอย่างรุนแรง
การออกฤทธิ์
ลดความเหนียวข้นของเสมหะ ให้ขับออกมาได้ง่ายและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรียที่ปอด
ประวัติการเจริญเติบโตและพัฒนาการ
น้ำหนัก 13.8 กิโลกรัม น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
ส่วนสูง 88 เซนติเมตร อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
เส้นรอบศีรษะ 48 เซนติเมตร อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
อายุ 2 ปี 1 เดือน 4 วัน ตรงตามอายุจริง
เส้นรอบอก 55 เซนติเมตร อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
จำนวนฟัน 18 ซี่
พัฒนาการ 5 ด้าน
ด้านการเคลื่อนไหว
เด็กสามารถกระโดดได้เอง
ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา
เด็กสามารถแก้ไขปัญหาง่ายๆ ด้วยการใช้เก้าอี้ปีนไปหยิบเอาของ
ด้านการเข้าใจภาษา
เด็กสามารถชี้อวัยวะไดเถูกต้อง 7 ใน 8 ส่วน
ด้านการใช้ภาษา
เด็กสามารถพูดตอบรับและปฏิเสธได้ เช่น ดื่มครับ
ด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม
เด็กสามารถล้างมือและเช็ดมือได้เอง
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
WBC count 28,090 cell/mm3 มีภาวะติดเชื้อเนื่องจากเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ
Hb 11 gm/dl มีภาวะโลหิตจาง Hb ต่ำกว้่ปกติ
Hct 33.1% มีภาวะโลหิตจาง
MCH 26.6 pg ต่ำกว่าปกติ มีภาวะโลหิตจาง
Neutrophils 33.3% ต่ำกว่าปกติ มีการติดเชิ้อแบคทีเรีย
Lymphocyte 59.3% มากกว่าปกติ มีการติดเชื้อไวรัส
Chest X-ray = Pleural Effusion พบน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด
สรุปอาการปัจจุบัน
5 เมษายน 2564
(8-16 น)
V/S 07.30 น T = 36.5 C P = 120 bpm R = 30 bpm BP = 100/76 mmHg
รับเวรเด็กตื่นดี มีไข้ ไอแห้ง ไม่มีเสมหะ ไม่หอบเหนื่อย on injection plug ที่หลังมือข้างซ้ายและแขนท่อนบนข้างซ้าย ไม่บวมแดง
V/S 10.00 น T = 37.0 C P = 132 bpm R = 32 bpm BP = 100/60 mmHg SpO2 = 100%
ได้รับยาขยายหลอดลม Ventolin 0.3 ml + NaCl 3 ml q 6 hr ยาละลายเสมหะ Flemex 4 ml tid pc ตามแผนการรักษา รับประทานอาหารอ่อนเป็นข้าวต้ม รับประทานได้ 3 ช้อน ดื่มนมได้ 6 กล่อง
V/S 14.00 น T = 36.6 C P=134 bpm R = 36 bpm BP = 100/72 mmHg SpO2 = 100%
ไม่มีภาวะพร่องออกซิเจน
ประวัติการได้รับภูมิคุ้นกันโรค
แรกเกิด
HB1,BCG
2 เดือน
DTP-HB-Hib1,OPV
4 เดือน
OPV2,IPV
6 เดือน
DTP-HB-Hib3
9 เดือน
OPV3
1 ปี
MMR1,LAJE1
1 ปี 6 เดือน
DTP4,OPV4
Pneumonia
พยาธิสภาพ
ภายหลังได้รับเชื้อหลังการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้มีการแทรกซึมและมีการคั่งของเซลล์ในเนื้อเยื่อเป็นหย่อมๆ อยู่รอบๆ หลอดลมฝอย มีผลทำให้มีการสร้างเสมหะมากขึ้นผิดปกติ เกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจและมีพื้นที่แลกเปลี่ยนก๊าซในปอดลดลง การซึบซาบ (diffusion) และระบายอากาศไม่ดี (hypoventilation) ซึ่งในระยะสุดท้ายของการอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนี้ เนื้อปอดจะเข้าสู่สภาพปกติ จากการสลายสารต่างๆ ที่แทรกซึมในเนื้อปอด ซึ่งจะมีของเหลวขังในถุงลม และพร้อมที่จะขับออกจากร่างกายโดยผ่านเข้าหลอดลมฝอย และหลอดลมบางส่วน ทำให้ได้ยินเสียง Crepitation
สาเหตุ
จากการติดเชื้อ
Herpes Virus
Staphylococcus aureus
Gram neg bacteria : E.coli
H.influenzae
M.pneumoniae
จากการสูดสำลักสิ่งแปลกปลอม
Lobar (อักเสบกระจายเป็นหย่อมๆ)
Bronchopneumonia (อักเสบกระจายหลายแห่ง)
Interstitial pneumonia (อักเสบที่ผนังถุงลม และเนื้อเยื่อรอบๆ)
อาการและอาการแสดง
ไข้สูง (ติดเชื้อไวรัสมักมีไข้ต่ำกว่าติดเชื้อแบคทีเรีย)
ไอ หายใจเร็ว หายใจลำบาก
อ่อนเพลีย ซึม
ฟังปอดพบเสียง wheezing และ crepitation
เจ็บหน้าอก
เบื่ออาหาร
ภาวะแทรกซ้อน
การเจ็บหน้าอกเหนือหัวใจและทรวงอกส่วนล่าง (Precondium) โดยพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการ เจ็บหน้าอกเวลาไอ เจ็บปวด หายใจลำบาก เขียว และหน้าอกไม่เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวน้อยกว่าอีกข้างหนึ่งสาเหตุมักเกิดจากปอดบวมจากเชื้อ Staphylococcus
การรักษา
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนหรืออาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจในกรณีที่จำเป็น
ดูแลให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ดูแลให้ยาละลายเสมหะ ยาลดไข้ ยาขยายหลอดลม ยาปฏิชีวนะ
Drowning
พยาธิสภาพ
การจมน้ำเป็นกระบวนการส่งผลให้มีการบกพร่องของการหายใจอันเนื่องจากจมอยู่ใต้น้ำ (submersion) หรือ บางส่วน(immersion) อยู่ในน้ำ โดยน้ำที่ปอดกั้นทางเดินหายใจทําให้ผู้ประสบภัยไม่สามารถหายใจด้วยอากาศได้
ผู้ประสบภัยกลั้นหายใจตามรีเฟล็กซ์ขณะที่บ้วนและกลืนน้ําจํานวนมาก น้ําบางส่วนที่เข้าไปในทางเดินหายใจ ทําให้เกิดรีเฟล็กซ์์การไอ โดยอาจพบการเกร็งตัวของสายเสียง (Laryngospasm)หากเกิดได้เพียงชั่วครู่ ในการกั้นไม่ให้น้ําเข้า แต่ต่อมาน้ําจะไหลเข้าสู่ทางเดินหายใจ ในเวลารวดเร็วต่อมา เกิดภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) และคาร์บอนไดออกไซด์มากเกิน (Hypercapnia)
จมน้ำจืด
น้ำจืดมีปริมาตรเกลือต่ำ เมื่อสำลักเข้าไปในปอด จะถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือดทางปอดผ่านถุงลมปอด สารเคลือบผนังถุงลมในถุงลมปอดจะถูกทำลายทำให้ปอดแฟบ(Atelectasis)
จมน้ำเค็ม
น้ำเค็มมีปริมาณเกลือสูงทำให้ของเหลวในหลอดเลือดถูกดึงเข้าไปในถุงลมปอด มีของเหลวในถุงลมปอดเพิ่ม ถุงลมปอดจะโป่งและแตก เกิดเลือดออกในปอดและมีน้ำคั่งเกิด pulmonary edema
อาการและอาการแสดง
ผู้ที่จมน้ำมักจะมีอาการหมดสติ และหยุดหายใจ บางรายอาจมีภาวะหัวใจหยุดเต้น (คลำชีพจรไม่ได้)
ถ้าไม่ถึงกับหมดสติ ก็อาจมีอาการปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก อาเจียน กระวนกระวาย หรือไอมีฟองเลือดเรื่อๆ (ซึ่งแสดงว่ามีภาวะปอดบวมน้ำ)
บางรายอาจตรวจพบภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันต่ำหรือภาวะช็อก
หนาวหรือตัวเขียว
ไอหรือสำลักน้ำ
ท้องพองขึ้น
เจ็บหน้าอก หายใจได้สั้น ๆ หรือหอบเหนื่อยมาก
อาเจียน
สาเหตุ
ลักษณะสถานที่ที่เล่นน้ำ
ผู้ใหญ่และเด็กจะประสบอุบัติเหตุจมน้ำในที่ที่เล่นน้ำแตกต่างกัน โดยทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี มักจมน้ำขณะอาบน้ำในอ่างอาบน้ำสำหรับเด็ก ส่วนเด็กเล็กอายุ 1-5 ปี มักจมน้ำในสระว่ายน้ำ และผู้ใหญ่มักเสี่ยงจมน้ำเมื่อเล่นกีฬาหรือกิจกรรมผาดโผนทางน้ำ หรือเล่นน้ำในสระว่ายน้ำที่ไม่ได้มาตรฐาน ลำคลอง หรือแม่น้ำ
ปัญหาสุขภาพและการใช้ยา
อาการป่วยของโรคต่าง ๆ ที่กำเริบขึ้นขณะเล่นน้ำส่งผลให้ผู้ป่วยเสี่ยงจมน้ำได้ เช่น โรคลมชัก หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหายใจเร็ว ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะตัวเย็นเกิน รวมทั้งการใช้สารเสพติดและแอลกอฮอล์
อุณหภูมิน้ำ
โดยทั่วไปแล้ว การว่ายน้ำหรือเล่นน้ำในน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส เสี่ยงทำให้เกิดภาวะตัวเย็นเกิน ส่งผลให้ว่ายน้ำไม่ได้และจมน้ำ หากพบเห็นผู้ที่จมน้ำในน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียส ต้องรีบช่วยขึ้นมาภายใน 4 นาที เพื่อไม่ให้เสียชีวิตจากการความเย็นของน้ำ ทั้งนี้ การเกิดภาวะตัวเย็นยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น อายุ ไขมันในร่างกาย หรือสิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดภาวะดังกล่าว
ภาวะแทรกซ้อน
การทำงานของหัวใจผิดปกติ เช่น หัวใจหยุดเต้น หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย
ประสบปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับปอด เช่น ปอดบวม หรือปอดบวมน้ำ
ได้รับการกระทบกระเทือนเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดสมอง สมองขาดออกซิเจน สมองบวม
ไตวายเฉียบพลัน
เม็ดเลือดแดงแตก ทำให้เกิดภาวะเลือดจาง
เกลือแร่และสมดุลกรดและด่างในร่างกายผิดปกติ เช่น โพแทสเซียมในเลือดสูง หรือเลือดเป็นกรด
ติดเชื้อ เช่น ปอดบวม หรือติดเชื้อในกระแสเลือด
ประสบภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome: ARDs)
สมองถูกทำลาย
ประสบภาวะเจ้าชายนิทราแบบสภาพผักเรื้อรังในกรณีที่ผู้ป่วยจมน้ำเป็นเวลานาน
การป้องกัน
ระวังอย่าให้เด็กเล็กเล่นน้ำหรืออยู่ในบริเวณใกล้กับน้ำ เช่น แม่น้ำลำคลอง บ่อน้ำ สระน้ำ รวมทั้งโอ่งน้ำ ถังใส่น้ำภาชนะกักเก็บน้ำภายในบ้านตามลำพัง
ควรส่งเสริมให้เด็กฝึกว่ายน้ำให้เป็น
เวลาลงเรือหรือออกทะเล ควรเตรียมชูชีพไว้ให้พร้อมเสมอ
ผู้ป่วยที่จมน้ำทุกรายไม่ว่าจะหมดสติหรือหยุดหายใจหรือไม่ก็ตาม ควรพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในเวลาต่อมา
สรุปข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 1
การหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากไม่สามารถขับเสมหะเองได้
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตลักษณะอัตราการหายใจ ทุก4 ชั่วโมง เพื่อประเมินความผิดปรกติของการหายใจและวางแผนในการแก้ปัญหา
ประเมินการทำงานของปอด เพื่อให้ทราบว่าปอดมีสิ่งผิดปรกติส่วนไหน จะได้ดูแลผู้ป่วยถูก
จัดท่านอน Fowle’s Position เพื่อให้กระบังลมหย่อนปอดขยายเต็มที่การแลกเปลี่ยนแก๊สเพิ่มขึ้น
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อน 6-8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อส่งเสริมการหายจากโรค
5.ดูแลให้ได้รับยาVentolin 0.3 ml + Nacl 3 ml เพื่อป้องกันการขยายและรักษาอาการหดเกร็งตัวของหลอดลมและ Flemex 4 ml tid pc เพื่อขับเสมหะหรือละลายเสมหะ
ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเช่น CBC Spotum เพื่อติดตามว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ เพื่อวางแผนการดูแลผู้ป่วยต่อ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 2 ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
กิจกรรมการพยาบาล
ให้การพยาบาลโดยยึดหลัก Universal precaution technique และ Aseptic technique โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการดูดเสมหะเพื่อป้องกันการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
2.ล้างมือก่อนและหลังดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันการนำเชื้อโรคเข้าสู่ผู้ป่วย
3.ดูแลความสะอาดช่องปากในเด็ก
4ทำกายภาพบำบัด ทรวงอกเพื่อลดการข้างคั่งของเสมหะในทางเดินหายใจ
5.แยกผู้ป่วยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อและการติดเชื้อในโรงพยาบาล
ดูแลความสะอาดมือ ผู้ป่วยเด็กและของเล่น
7.จำกัดผู้เยี่ยมและหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ที่ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
8.ให้การพยาบาลเช็ดตัวลดไข้เมื่ออุณหภูมิร่างกาย มากว่า 38 องศาเซลเซียสและดูแลให้ยาลดไข้ตามแผนการรักษา
9 วัดอุณหภูมิร่างกายทุก 4 ชั่วโมง.. ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 3 เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอออเนื่องจาก การหดเกร็งของหลอดลม
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ได้รับยาขยายหลอดลมเพื่อลดอาการเหนื่อยหอบ คือ Ventolin 0.3 ml +3% Nacl 3ml
จัดท่านอนFowle’s position เพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อนตัวปอดขยายตัวได้ดีขึ้นเพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ
สังเกตุอาการขาดออกซิเจน คือที่ผิวหนัง เล็บ เยี่อบุช่องปาก ริมฝีปากว่าเขียวหรือไม่ การกดเล็บมือพให้เนื้อลิปใต้น้ำมือชัดแล้วไปทันทีในคนที่ปกติเนื้อใต้เล็บซีดจะกลับมาแดงภายใน 1 วินาที ถ้า พบภาวะขาดออกซิเจนให้รีบรายงานแพทย์และให้การช่วยเหลือ
วัดสัญญาณชีพและการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย สังเกตและบันทึกการหายใจเพื่อประเมินการหายใจและให้ความช่วยเหลืออย่างถูกต้อง ถ้าพบว่าสัญญาณชีพเปลี่ยนแปลงแย่ลงโดยเฉพาะอัตราการหายใจเพิ่มขึ้นต้องรีบรายงานแพทย์เพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป
5.กระตุ้นให้ผู้ป่วยไออย่างถูกวิธีเพื่อช่วยในการขับเสมหะที่คั่งค้างในระบบทางเดินหายใจซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ คือ
5.1 ให้ผู้ป่วยนั่งในท่าสบายไม่เกร็งกล้ามเนื้อส่วนใดของร่างกาย
5.2 หุบปากและสูดลมหายใจเข้าทางจมูกช้าๆ อย่างเต็มที่กลั้นหายใจประมาณ 2-3 วินาที โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยอ้าปากกว้างแล้วไอออกมาติดต่อกันประมาณ 2-3 ครั้ง เพื่อให้เสมหะออกมาแล้วพักโดยการหายใจเข้าออกช้าๆ และเริ่มทำใหม่อีกครั้ง
ให้ผู้ป่วยพักผ่อน ช่วยเหลือการทำกิจกรรมต่างๆเพื่อให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนและลดการใช้ออกซิเจนในการเผาผ่านให้เกิดพลังงานของร่างกาย
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 4 เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากภาวะซีด
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินภาวะซีดจากอาการเหนื่อยอ่อนเพลียของผู้ป่วย อาการหายใจหอบเหนื่อย ปลายมือปลายเท้าชา
2.ตรวจ Conjunctiva เหงือก ลิ้น ว่าซีดหรือไม่
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงเพราะจะช่วยให้ทราบความ รุนแรงภาวะพร่องออกซิเจน
ติดตามผล Lab Hct,Hb,MCH เพราะเป็นค่าแสดงความเข้มข้นของเลือดในร่างกาย
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 5 เสี่ยงต่อการเกิดภาวะไข้ชัก เนื่องจากมีการติดเชื้อของร่างกาย
กิจกรรมการพยาบาล
วัดสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิทุก 4 ชั่วโมงถ้ามีไข้อุณหภูมิสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียสให้การพยาบาลโดย
1.1 เช็ดตัวลดไข้พร้อมทั้งให้คำแนะนำ แกมารดาของเด็กร่วมด้วยเพื่อช่วยให้ความร้อนออกจากร่างกาย
1.2 ให้ดื่มน้ำบ่อยบ่อย เพื่อช่วยในการนำพาความร้อนออกจากร่างกาย
1.3 ให้ยาลดไข้ paracetamol 6 ml ถ้าอุณหภูมิมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียสทุก 4-6 ชั่วโมง (pm)
1.4 ประเมินผลหลังการเช็ดตัวลดไข้ 30 นาที
1.5 ให้คำแนะนำแก่มารดาหลังเช็ดตัว
สังเกตลักษณะ สี กลิ่น ของเสมหะถ้าผิดปกติให้รายงานแพทย์ทราบ
3.ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวผู้ป่วยเพื่อป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจซ้ำ
ดูลักษณะเด็กกำลังชัก
4.1 จัดให้เด็กนอนตะแคง ไม่หนุนหมอนหันศรีษะไปด้านใด ด้านหนึ่งเพื่อป้องกันการสำลัก
4.2 คลายเสื้อผ้าให้หลวม
4.3 ห้ามใช้ช้อนหรือวัตถุอื่นใดหรือนิ้วมืองัดปากและห้ามป้อนยาหรือน้ำทางปากในขณะที่เด็กไม่รู้สึกตัว
4.4 เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น ไม่ควรเช็ดตัวด้วยน้ำเย็นหรือแอลกอฮอล์
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 6 ผู้ป่วยไม่สุขสบายเนื่องจากมีไข้
กิจกรรมการพยาบาล
เช็ดตัวลดไข้โดยใช้น้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นไม่ควรใช้น้ำเย็นเพราะจะทำให้เส้นเลือดหดตัวทำให้การระบายความร้อนไม่ดีเท่าไหร่และอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่นได้ ควรใช้ผ้าชุบน้ำพอหมาดๆ ลูบเบาๆ ในทิศทางเดียวกันเข้าหาหัวใจ แล้ววางไว้ที่หน้าผาก ซอกคอ ซอกรักแร้ ซอกขาหนีบ การเช็ดตัวควรทำ เป็นเวลาครั้งละประมาณ 10-20 นาที
2.ให้ยา Paracetamol ลดไข้ตามแผนการรักษาเป็นครั้งคราว ห่างกัน 4-6 ชั่วโมง เมื่อมีไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส
ประเมินสัญญาณชีพ ได้แก่ อุณหภูมิชีพจร หายใจและความดันโลหิต อย่างน้อยทุก 4 ชั่วโมงจากการวัดสัญญาณชีพ พบว่ายังมีให้อยู่แต่สัญญาณชีพอย่างอื่นปกติ
จัดสิ่งแวดล้อมให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกให้ได้พักผ่อนและลดการใช้พลังงาน
ดูแลให้สวมใส่เสื้อผ้าที่บางระบายความร้อนได้ดีและไม่ห่มผ้าหนาเกินไป