Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผนพัฒนาสุขภาพ - Coggle Diagram
แผนพัฒนาสุขภาพ
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552
หมวด ๖ การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ
หมวด ๗ การส่งเสริม สนับสนุน การใช้และการพัฒนา ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ
หมวด ๕ การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
หมวด ๔ การสร้างเสริมสุขภาพ
หมวด ๘ การคุ้มครองผู้บริโภค
หมวด ๓ การจัดให้มีหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ
หมวด ๙ การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ
หมวด ๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพ
หมวด ๑๐ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ
หมวด ๑ ปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ
หมวด ๑๑ การสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข
หมวด ๑๒ การเงินการคลังด้านสุขภาพ
ข้อ ๒ ธรรมนูญนี้ให้มีผลตามมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๑ ธรรมนูญนี้เรียกว่า ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๓ ในธรรมนูญนี้
สุขภาพ หมายความว่าภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกายทางจิตทางปัญญาและทางสังคมเชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล
การสร้างเสริมสุขภาพ หมายความว่าการกระทำที่มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคคลมีสุขภาวะทางกายจิตปัญญาและสังคมโดยสนับสนุนพฤติกรรมบุคคลและการจัดการสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของบุคคลครอบครัวชุมชนและสังคม
การป้องกันโรค หมายความว่าการกระทำหรืองดกระทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยหรือเป็นโรคและการป้องกันไม่ให้กลับเป็นซ้ำ
การป้องกันและการควบคุมปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ หมายความว่าการจัดการกับปัจจัยต่างๆที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพและชีวภาพเชื้อโรคสารเคมีภัยธรรมชาติรวมทั้งระบบต่างๆในสังคมเพื่อควบคุมปัจจัยดังกล่าวให้มีผลเสียต่อสุขภาพน้อยที่สุดรวมทั้งการสร้างปัจจัยที่เอื้อต่อการมีสุขภาพด้วย
การบริการสาธารณสุข หมายความว่าการบริการต่างๆอันเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพการตรวจวินิจฉัยและบำบัดสภาวะความเจ็บป่วยและการฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคลครอบครัวและชุมชน
การควบคุมโรค หมายความว่าการควบคุมโรคระบาดโรคไม่ติดต่อโรคติดต่อโรคติดต่ออันตรายต่างๆรวมทั้งโรคที่เกิดจากการปนเปื้อนของสารต่างๆในสิ่งแวดล้อมและอาหารและโรคอื่น ๆ ที่สามารถลดความสูญเสียสุขภาพชีวิตและทรัพยากรได้หากมีการตรวจพบ แต่เนิ่นๆ
การบริการสาธารณสุขที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ หมายความว่าการบริการสาธารณสุขที่มีความเอื้ออาทรความสมานฉันท์ระหว่างบุคลากรสาธารณสุขและประชาชนโดยมุ่งประโยชน์สุขของประชาชนครอบครัวชุมชนและสังคมตามจรรยาบรรณวิชาชีพโดยสุจริตปราศจากการครอบงำของผลประโยชน์ทางธุรกิจ
ชุมชน หมายความว่ากลุ่มประชาชนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะอันเนื่องจากการมีผลประโยชน์หรือมีค่านิยมร่วมกันหรือมีปัญหาร่วมกันหรืออาศัยอยู่ในอาณาเขตทางภูมิศาสตร์เดียวกันหรือมีความสนใจและมีกิจกรรมในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกัน
คุณภาพบริการสาธารณสุข หมายความว่าคุณลักษณะของบริการสาธารณสุขที่อยู่บนพื้นฐานขององค์ความรู้ทั้งด้านมนุษย์สังคมวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและด้านอื่น ๆ และพื้นฐานด้านคุณธรรมและจริยธรรมแห่งวิชาชีพตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของประชาชนและสังคมได้อย่างเหมาะสม
ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ หมายความว่าองค์ความรู้ความคิดความเชื่อและความชำนาญในการดูแลสุขภาพโดยอาศัยความรู้ที่ได้สั่งสมถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อกันมาในท้องถิ่นซึ่งรวมถึงการแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ ที่ประชาชนและชุมชนใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างสอดคล้องกับท้องถิ่นนั้น ๆ ด้วย
การเงินการคลังรวมหมู่ หมายความว่าการเงินการคลังที่ประชาชนร่วมจ่ายเงินตามสัดส่วนความสามารถในการจ่ายตามหลักการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขโดยนำเงินที่เก็บล่วงหน้ามาใช้จ่ายร่วมกันเพื่อจัดให้มีบริการสาธารณสุขที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตสำหรับทุกคน
บุคลากรด้านสาธารณสุข หมายความว่าผู้ให้บริการสาธารณสุขที่มีกฎหมายระเบียบหรือข้อกำหนดรองรับ
ชุมชนท้องถิ่น หมายความว่าชุมชนที่อยู่ร่วมกันในพื้นที่หมู่บ้านหรือตำบล
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ หมายความว่าการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับสุขภาพที่หน่วยงานของรัฐและภาคส่วนต่างๆจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่และสื่อสารกับประชาชนด้วยรูปแบบและช่องทางต่างๆ
หมอพื้นบ้าน หมายความว่าบุคคลซึ่งมีความรู้ความสามารถในการดูแลสุขภาพโดยอาศัยภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน
การสร้างความรู้ด้านสุขภาพ หมายความว่าการสร้างความรู้จากการปฏิบัติการจัดการความรู้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสั่งสมความรู้และประสบการณ์การศึกษาวิจัยการสังเคราะห์ความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและระบบสุขภาพ
กำลังคนด้านสุขภาพ หมายความว่าบุคคลหรือกลุ่มคนที่มีบทบาทในด้านการสร้างเสริมสุขภาพการรักษาพยาบาลการป้องกันโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพซึ่งรวมถึงบุคลากรด้านสาธารณสุขผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขบุคลากรสายสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอาสาสมัครด้านสุขภาพต่างๆแกนนำและเครือข่ายสุขภาพตลอดจนบุคคลต่างๆที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ หมายความว่าการจัดการทางการเงินการคลังโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะและหลักประกันการเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างถ้วนหน้าและอย่างมีประสิทธิภาพ
พระราชบัญญัติสุขภาพแหง่ ชาติ พ.ศ.2550
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐
หมวด ๒ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๑๖ การเลือกกรรมการตามมาตรา ๑๓ (๔) ให้เป็นไปตามวิธีการที่คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะกำหนด
มาตรา ๑๓ ให้มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเรียกโดยย่อว่า“ คสช.”
มาตรา ๑๔ กรรมการตามมาตรา ๑๓ (๖) (๗) (๘) (๔) และ (๑๐)
มาตรา ๑๗ การเลือกกรรมการตามมาตรา ๑๓ (๔) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการสรรหาประกาศกำหนด
มาตรา ๑๘ การเลือกกรรมการตามมาตรา ๑๓ (๑๐) ให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการ
มาตรา ๒๓ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระกรรมการตามมาตรา ๑๓ (๖) (๗) (๘) (๔) และ (๑๐) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ ตาย ลาออก ถูกจำคุก
มาตรา ๑๙ ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งซึ่งคสช. แต่งตั้งประกอบด้วย (๑) กรรมการตามมาตรา ๑๓ (๓) (๔) (๔) หรือ (๑๐) หนึ่งคนเป็นประธานคณะกรรมการสรรหา
มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการสรรหามีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้
มาตรา ๒๑ กรรมการตามมาตรา ๑๓ (๖) (๗) (๘) (๔) และ (๑๐) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปีโดยกรรมการตามมาตรา ๑๓ (๓) (๔) (๔) และ (๑๐) จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้ให้กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งแทนตนจะเข้ารับหน้าที่เมื่อกรรมการจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระให้ดำเนินการเลือกเพื่อแต่งตั้งกรรมการประเภทเดียวกันแทนก่อนวันครบวาระไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
มาตรา ๒๒ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระกรรมการตามมาตรา ๑๓ (๒) พ้นจากตำแหน่งเมื่อพ้นจากตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๕ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) แล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๔ หลักเกณฑ์และวิธีการการประชุม คสช. และการปฏิบัติงานของ คสช. ให้เป็นไปตามระเบียบที่ คสช. กำหนด
มาตรา ๒๕ ให้ คสช. มีหน้าที่และอำนาจ
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข หมายความว่าผู้ประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
บุคลากรด้านสาธารณสุข หมายความว่าผู้ให้บริการสาธารณสุขที่มีกฎหมายระเบียบหรือข้อกำหนดรองรับ
ระบบสุขภาพ หมายความว่าระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
บริการสาธารณสุข หมายความว่าบริการต่าง ๆ อันเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพการตรวจวินิจฉัยและบำบัดสภาวะความเจ็บป่วยและการฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคลครอบครัวและชุมชน
สุขภาพ หมายความว่าภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกายทางจิตทางปัญญาและทางสังคมเชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล
ปัญญา หมายความว่าความรู้ทั่วรู้เท่าทันและความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห่งความดีความชั่วความมีประโยชน์และความมีโทษซึ่งนำไปสู่ความมีจิตอันดีงามและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
หมวด ๑ สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ
มาตรา ๖ สุขภาพของหญิงในด้านสุขภาพทางเพศและสุขภาพของระบบเจริญพันธุ์ซึ่งมีความจำเพาะซับซ้อนและมีอิทธิพลต่อสุขภาพหญิงตลอดช่วงชีวิตต้องได้รับการสร้างเสริมและคุ้มครองอย่างสอดคล้องและเหมาะสมสุขภาพของเด็กคนพิการคนสูงอายุคนด้อยโอกาสในสังคมและกลุ่มคนต่าง ๆ ที่มีความจำเพาะในเรื่องสุขภาพต้องได้รับการสร้างเสริมและคุ้มครองอย่างสอดคล้องและเหมาะสมด้วย
มาตรา ๗ ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลเป็นความลับส่วนบุคคลผู้ใดจะนำไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้เว้น แต่การเปิดเผยนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลนั้นโดยตรงหรือมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย แต่ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ผู้ใดจะอาศัยอำนาจหรือสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการหรือ
มาตรา ๕ บุคคลมีสิทธิในการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพบุคคลมีหน้าที่ร่วมกับหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการให้เกิดสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๑๑ บุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิร้องขอให้มีการประเมินและมีสิทธิร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะบุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิได้รับรู้ข้อมูลคำชี้แจงและเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของตนหรือของชุมชนและแสดงความเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว
มาตรา ๑๐ เมื่อมีกรณีที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเกิดขึ้นหน่วยงานของรัฐที่มีข้อมูลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวต้องเปิดเผยข้อมูลนั้นและวิธีป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพให้ประชาชนทราบและจัดหาข้อมูลให้โดยเร็วการเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่งต้องไม่มีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของบุคคลใดเป็นการเฉพาะ
มาตรา ๙ ในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขประสงค์จะใช้ผู้รับบริการเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองในงานวิจัยผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขต้องแจ้งให้ผู้รับบริการทราบล่วงหน้าและต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้รับบริการก่อนจึงจะดำเนินการได้ความยินยอมดังกล่าวผู้รับบริการจะเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้
มาตรา ๑๒ บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยึดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตนหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงเมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้วมิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง
มาตรา ๘ ในการบริการสาธารณสุขบุคลากรด้านสาธารณสุขต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการให้ผู้รับบริการทราบอย่างเพียงพอที่ผู้รับบริการจะใช้ประกอบการตัดสินใจในการรับหรือไม่รับบริการใด และในกรณีที่ผู้รับบริการปฏิเสธไม่รับบริการใดจะให้บริการนั้นมิได้ในกรณีที่เกิดความเสียหายหรืออันตรายแก่ผู้รับบริการเพราะเหตุที่ผู้รับบริการปกปิดข้อเท็จจริงที่ตนรู้และควรบอกให้แจ้งหรือแจ้งข้อความอันเป็นเท็จผู้ให้บริการไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรืออันตรายนั้นเว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ให้บริการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๓ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๒๙ บรรดารายได้ของสำนักงานตามมาตรา ๒๘ ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณทรัพย์สินของสำนักงานไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีและบุคคลใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้สำนักงานในเรื่องทรัพย์สินของสำนักงานมิได้บรรดาอสังหาริมทรัพย์ที่สำนักงานได้มา
มาตรา ๓๕ เงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของเลขาธิการให้คณะกรรมการบริหารกำหนดตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๒๘ รายได้ของสำนักงาน
มาตรา ๓๐ การเก็บรักษาและการใช้จ่ายเงินของสำนักงานให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
มาตรา ๒๗ ให้สำนักงานมีหน้าที่และอำนาจ
มาตรา ๓๑ ให้มีเลขาธิการคนหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารงานของสำนักงานขึ้นตรงต่อคสช. มีหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไป
มาตรา ๒๖ ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติขึ้นเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ
มาตรา ๓๒ ให้เลขาธิการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้เมื่อเลขาธิการพ้นจากตำแหน่งให้รองเลขาธิการพ้นจากตำแหน่งด้วยเมื่อตำแหน่งเลขาธิการว่างลงและยังไม่มีการแต่งตั้งเลขาธิการคนใหม่ให้คณะกรรมการบริหารแต่งตั้งกรรมการบริหารคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการแทนในกรณีที่เลขาธิการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองเลขาธิการที่คณะกรรมการบริหารกำหนดเป็นผู้รักษาการแทน แต่ถ้าไม่มีรองเลขาธิการหรือรองเลขาธิการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้คณะกรรมการบริหารแต่งตั้งพนักงานของสำนักงานคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการแทน
มาตรา ๓๖ ให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของสำนักงานในกิจการของสำนักงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอก แต่เลขาธิการจะมอบหมายให้บุคคลใดปฏิบัติงานในเรื่องใดแทนตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกำหนดก็ได้
มาตรา ๓๘ การดำรงตำแหน่งการพ้นจากตำแหน่งการประชุมและการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารให้เป็นไปตามระเบียบที่คสช. กำหนด
มาตรา ๓๙ คณะกรรมการบริหารมีหน้าที่และอำนาจ
มาตรา ๓๓ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระแล้วเลขาธิการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ ตาย ลาออก ถูกจำคุก
มาตรา ๓๔ เลขาธิการมีหน้าที่และอำนาจ
หมวด ๔ สมัชชาสุขภาพ
มาตรา ๔๒ ในการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ให้ คสช. แต่งตั้ง คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติคณะหนึ่งมีจํานวนตามที่ คสช. กําหนด
มาตรา ๔๓ ให้คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มี หน้าที่ในการจัดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กําหนดวัน เวลาและ สถานที่ในการประชุม ซึ่งต้องประกาศให้ประชาชนทราบล่วงหน้าไม่น้อย กว่าสามสิบวันก่อนวันประชุม
มาตรา ๔๑ ให้ คสช. จัดให้มีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติอย่างน้อย ปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา ๔๔ ผู้ใดประสงค์จะเข้าร่วมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติใน การประชุมครั้งใด ให้สมัครลงทะเบียนสําหรับการประชุมครั้งนั้นต่อเจ้าหน้าที่คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติกําหนดตามแบบ และหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติกําหนด
มาตรา ๔๐ การจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ หรือสมัชชา สุขภาพเฉพาะประเด็น หรือสนับสนุนให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ หรือสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ คสช. กําหนด
มาตรา ๔๕ ในกรณีที่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติมีข้อเสนอให้หน่วยงานของรัฐนําไปปฏิบัติ หรือนําไปพิจารณาประกอบในการกําหนด นโยบายสาธารณะเพื่อ สุขภาพ ให้เสนอต่อ คสช.เพื่อพิจารณาดําเนินการ ให้บรรลุผลตามควรแก่กรณีต่อไป
หมวด ๕ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๔๖ ให้ คสช. จัดทําธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพ แห่งชาติเพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการกําหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และการดําเนินงานด้านสุขภาพของประเทศเสนอ คณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
มาตรา ๔๗ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๔๘ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ และนโยบาย และยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพตามมาตรา ๒๕ (๒) ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ผูกพันหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่ เกี่ยวข้องที่จะต้องดําเนินการต่อไปตามอํานาจหน้าที่ของตน
หมวด ๖ บทกําหนดโทษ
มาตรา ๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๗ หรือมาตรา ๙ ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับความผิดตามมาตรานี้เป็นความผิดอันยอมความได้
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๕๐ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน และ เงินงบประมาณของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขในส่วนของสํานักงาน ปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ ไปเป็นของสํานักงานตามพระราชบัญญัติ
มาตรา ๕๑ ให้นําบรรดาข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของสํานักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ มาใช้บังคับกับการปฏิบัติงานของสํานักงานโดยอนุโลม จนกว่าจะได้มีข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕๒ ให้ถือว่าข้าราชการที่โอนมาตามมาตรา ๕๐ ออกจาก ราชการเพราะทางราชการเลิกหรือยุบตําแหน่งตามกฎหมายว่าด้วย บําเหน็จบํานาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญ ข้าราชการ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๕๓ ให้นําความในมาตรา ๕๒ มาใช้บังคับกับการออก จากราชการหรือออกจากงานของข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการ ที่สํานักงานรับเข้าทํางานด้วยโดยอนุโลม แต่ข้าราชการหรือลูกจ้างนั้น ต้องแสดงความจํานงเป็นหนังสือสมัครเข้าทํางานต้อสํานักงานภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๕๔ ให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อํานวยการสํานักงานปฏิรูประบบ สุขภาพแห่งชาติอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งเลขาธิการตาม พระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕๕ ในวาระเริ่มแรก ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง คณะกรรมการสรรหาตาม มาตรา ๑๙ ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับตามหลักเกณฑ์
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2559
ส่วนที่ ๔ สาระรายหมวด
๔.๗ การสร้างองค์ความรู้ด้านสุขภาพ
ความรู้ด้านสุขภาพเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญสาหรับ การกำหนดทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพและ การพัฒนาสุขภาพจึงจาเป็นต้องมีกลไกทั้งระดับชาติ และระดับพื้นที่ทำหน้าที่สนับสนุนและดาเนินการ สร้างความรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของสังคม พื้นที่ และชุมชน เพื่อให้ระบบสุขภาพของไทยสามารถจัดการ กับปัญหาสุขภาพที่จะเกิดขึ้นในอีก ๑๐ปีข้างหน้าได้ บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ ซึ่งจะต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบ ได้รับ ความคุ้มครอง มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ เข้าถึงได้ อย่างกว้างขวาง และสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์ จากความรู้ด้านสุขภาพเพื่อการพัฒนาในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
นโยบายสาธารณะด้านสุขภาพทุกระดับจะต้องได้รับ การพัฒนาจากฐานความรู้ที่รอบด้าน เพียงพอ เชื่อถือ ได้และอ้างอิงได้ รวมทั้งตอบสนองต่อปัญหาและ ความต้องการของคนทุกกลุ่มในสังคมอย่างเหมาะสม ตามสถานการณ์
๔.๘ การเผยแพร่ความรู้และข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ
การสท่อสารข้อมูลและข่าวสารด้านสุขภาพ สู่สาธารณะ จะต้องมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และทันต่อสถานการณ์ ผ่านเครื่องมือและช่องทาง การสื่อสารอย่างถูกต้องครบถ้วนรอบด้านเชื่อถือได้ เข้าใจง่าย เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ไม่เป็นผลลบ ต่อสังคม และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
รัฐและทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญกับความรู้ ที่เท่าทันด้านสุขภาพหรือความแตกพานด้านสุขภาพ ที่เหมาะสมกับบุคคลหรือกลุ่มคนเนื่องจากเป็นภูมิคุ้มกัน พื้นฐานที่จาเป็นสาหรับประชาชนในยุคข้อมูลข่าวสาร ท่วมท้น
๔.๖ การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
ผู้บริโภคต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพ อย่างน้อย ๘ ประการ
ระบบคุ้มครองผู้บริโภคต้องเป็นไปเพื่อการปกป้อง และคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค โดยมุ่งเน้นการดาเนินงาน ใน ๔ เรื่อง
๔.๙ การสร้างและพัฒนากาลังคนด้านสุขภาพ
กำลังคนด้านสุขภาพเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการมีสุขภาพดีของประชาชนดังนั้นการสร้างและพัฒนากำลังคนจะต้องได้รับการจัดลำดับความสำคัญให้อยู่ในระดับต้น ๆ ของแผนการพัฒนาระบบสุขภาพ
การวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพจะต้องสอดรับกับการออกแบบระบบสุขภาพที่สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพของประชาชนในแต่ละพื้นที่โดยใช้หลักการวางแผนระยะยาว แต่ดำเนินการทันทีและมีการปรับแผนอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์
๔.๕ การส่งเสริม สนับสนุน การใช้และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่นควรเป็น ระบบสุขภาพที่สำคัญระบบหนึ่งที่ต้องได้รับการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการยอมรับโดยพัฒนาต่อยอดจาก ฐานเดิมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ในด้านบุคลากร งบประมาณและวิชาการ โดยให้ ความสำคัญทั้งในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟู สมรรถภาพ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้อยู่ในวิถีชีวิต คนไทย
ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาและต่อยอด องค์ความรู้ในภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์ แผนไทยการแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก อื่น เพื่อให้สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมี ประสิทธิผลและมีความปลอดภัย
๔.๑๐ การเงินการคลังด้านสุขภาพ
การเงินการคลังด้านสุขภาพต้องเป็นไปเพื่อความยั่งยืนของระบบสุขภาพที่พึงประสงค์โดยมีสถานะทางการเงินที่มีความเพียงพอและมีการบริหารจัดการที่เป็นธรรมะ
การลงทุนด้านสุขภาพต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อระบบสุขภาพในภาพรวมทั้งระยะสั้นและระยะยาวรวมถึงความมั่นคงของระบบสุขภาพและประสิทธิภาพของการลงทุน
๔.๔ การบริการสาธารณสุขและการสร้างหลักประกันคุณภาพ
การบริการสาธารณสุขต้องมุ่งสู่การมีสุขภาพดี อย่างถ้วนหน้า ตอบสนองต่อความจาเป็นด้านสุขภาพ ของประชาชนทุกกลุ่ม และสามารถดูแลสุขภาพประชาชน ได้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดจนตาย รวมทั้งเชื่อมโยงการ จัดการด้านสุขภาพในมิติต่างๆ เข้าด้วยกันได้อย่างเป็น องค์รวม
การจัดระบบบริการสาธารณสุขต้องให้ความสำคัญ กับความเป็นธรรมในการเข้าถึงและการได้รับบริการ ที่มีคุณภาพ โดยมีการบริหารระบบการเงินการคลัง ที่แยกระหว่างผู้ซื้อบริการกับผู้ให้บริการ ทั้งนี้ จะต้อง สอดคล้องกับระบบการเงินการคลังที่มีประสิทธิภาพ ของประเทศเพื่อความยั่งยืนของระบบสุขภาพ
๔.๑๑ สุขภาพจิต
สุขภาพจิตเชื่อมโยงและสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสุขภาพกายสุขภาพสังคมและสุขภาพทางปัญญาและสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆทั้งในระดับบุคคลครอบครัวชุมชนและสังคมโดยสุขภาพจิตดีเป็นปัจจัยสำคัญของการมีสุขภาวะ
การดำเนินงานด้านสุขภาพจิตต้องมุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพจิตส่งเสริมความสามารถในการจัดการปัญหาในการดำเนินชีวิตและการทำงานได้อย่างสร้างสรรค์เกิดประโยชน์ต่อตนเองครอบครัวชุมชนและสังคมรวมถึงพัฒนาศักยภาพของระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชให้มีประสิทธิภาพเข้าถึงได้ง่ายโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
๔.๓ การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
บุคคลและชุมชนมีสิทธิในการดารงชีวิตอยู่ภายใต้ สิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และ ได้รับการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคาม สุขภาพอย่างมีมาตรฐานและทันต่อสถานการณ์ โดยถือ เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมของทุกภาคส่วน ในทุกระดับ
การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคาม สุขภาพ ต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยสังคมที่กำหนด สุขภาพ โดยใช้มาตรการเชิงรุกที่มีธรรมาภิบาล รวมทั้ง ต้องสร้างดุลยภาพระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคมและคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพ ของประชาชน ชุมชนและสังคมเป็นสำคัญ
๔.๑๓ การอภิบาลระบบสุขภาพ
การอภิบาลระบบสุขภาพต้องเป็นไปเพื่อความยั่งยืนและทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิผลมีประสิทธิภาพและมีความเป็นเอกภาพมุ่งสู่เป้าหมายในทิศทางเดียวกันโดยยึดประโยชน์ของสาธารเป็นที่ตั้งรวมทั้งให้ความสำคัญกับความเป็นธรรมและความเท่าเทียมกันในสังคม
การอภิบาลระบบสุขภาพควรผสมผสานอย่างสมดุลระหว่างการอภิบาลโดยรัฐการอภิบาลโดยตลาดและการอภิบาลโดยเครือข่ายและเป็นไปอย่างสอดคล้องกับบริบทโลกและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปโดยมีรัฐเป็นผู้รับผิดชอบหลักที่ต้องสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพโปร่งใสและเชื่อมโยงกลไกหลายระดับ
๔.๒ การสร้างเสริมสุขภาพ
การดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพซึ่งเป็น องค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาระบบสุขภาพเพื่อให้ เกิดสุขภาวะทั่วทั้งสังคมอย่างยั่งยืนนั้น จะต้องส่งเสริม และสนับสนุนบุคคลครอบครัวชุมชนและประชาชน กลุ่มต่างๆ ให้สามารถจัดการหรือพัฒนาสุขภาพของตน ครอบครัว ชุมชนและกลุ่มได้ รวมทั้งจัดการกับปัจจัย สังคมที่กำหนดสุขภาพได้อย่างเหมาะสมกับบริบท และพื้นที่
การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพต้องเกิด จากการทางานร่วมกัน และเสริมพลังกันของ ทุกภาคส่วนตามแนวทาง “ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ”โดยนาประเด็นและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ มาประกอบในการกำหนดและตัดสินใจทางนโยบาย ทุกด้าน เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ
๔.๑๔ ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่
ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่เป็นข้อตกลงร่วมในการกำหนดทิศทางหรือแนวปฏิบัติอันจะนำไปสู่สุขภาวะของชุมชนโดยชุมชนสามารถจัดทำธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ตามความสมัครใจและตามความพร้อมของชุมชนทั้งนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐควรให้การสนับสนุนและเข้ามามีส่วนร่วม
การจัดทำธรรมนูญสุขภาพพื้นที่จะต้องให้ความสำคัญกับสิทธิชุมชนวิถีชีวิตชุมชนวัฒนธรรมชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่นทุนทางสังคมของชุมชนข้อมูลสุขภาพชุมชนและหลักการการจัดการระบบสุขภาพชุมชนอย่างยั่งยืนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๔.๑ สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ
บุคคลพึงได้รับสิทธิด้านสุขภาพที่จะเป็นตาม หลักสิทธิมนุษยชน โดยเป้าหมายของสิทธิด้านสุขภาพ คือบุคคลทุกคนมีสุขภาวะซึ่งไม่จำกัดเฉพาะการเข้าถึง บริการสาธารณสุขเท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อสุขภาพด้วย โดยรัฐมีหน้าที่จัดสวัสดิการ สร้างสภาวะหรือเงื่อนไขที่เอื้ออานวยให้เกิดผลสำเร็จ ตามเป้าหมายให้ครอบคลุมและทั่วถึง คำนึงถึง กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและ ความสอดคล้องกับบริบทด้านต่างๆ ของสังคม
รัฐต้องเคารพสิทธิด้านสุขภาพของบุคคล และ มีหน้าที่ปกป้อง คุ้มครอง ส่งเสริมและสนับสนุนให้ บุคคลได้รับสิทธิด้านสุขภาพโดยไม่เลือกปฏิบัติ และ ปฏิบัติตามพันธกรณีของกฎหมายระหว่างประเทศด้าน สุขภาพและด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาค
๔.๑๒ สุขภาพทางปัญญา
สุขภาพทางปัญญาเป็นฐานรากของสุขภาพองค์รวมการปฏิบัติเพื่อสุขภาพทางปัญญานำไปสู่ภาวะของมนุษย์ที่มีความรู้ทั่วความรู้เท่าทันและความเข้าใจอย่างแยกแยะได้ในเหตุผลแห่งความดีและความชั่วความมีประโยชน์และความมีโทษซึ่งนำไปสู่ความมีจิตใจอันดีงามและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
สุขภาพทางปัญญาสัมพันธ์กับสุขภาพทางกายทางจิตและทางสังคมมีทั้งมิติแนวดิ่งคือการเชื่อมโยงมนุษย์กับศรัทธาความเชื่ออุดมคติหรือคุณค่าสูงสุดที่ตนยึดถือและมิติแนวราบคือการเชื่อมโยงมนุษย์กับสรรพสิ่งรอบตัวดังนั้นการบรรลุซึ่งสุขภาพทางปัญญาจำเป็นต้องมีความสมดุลกันทั้งในมิติแนวดิ่งและแนวราบ
ส่วนที่ ๓ หลักการสำคัญของระบบสุขภาพ
๓.๑ปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ
สุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคน ทั้งในระดับ บุคคล ระดับครอบครัว ระดับชุมชน และในสังคม วงกว้าง โดยครอบคลุมทั้งการเข้าถึงบริการสาธารณสุข ที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมทั้ง การได้รับการสนับสนุนปัจจัยต่างๆ ที่สร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนได้รับ การสนับสนุนให้มีอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี
ระบบสุขภาพ เป็นระบบความสัมพันธ์ทั้งมวล ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ โดยมีระบบการบริการ สาธารณสุขเป็นส่วนหนึ่ง ระบบสุขภาพยังเป็นส่วนหนึ่ง ของระบบสังคมและระบบความมั่นคงของประเทศ การกำหนดนโยบายสาธารณะใดๆ จึงต้องให้ ความสำคัญกับมิติทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับ ผลกระทบด้วย
ระบบสุขภาพ จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลัก คุณธรรม จริยธรรม มนุษยธรรม ธรรมาภิบาล ความรู้ และปัญญา โดยให้ความสำคัญกับคุณค่าและศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ ความเป็นธรรม ความเท่าเทียมกัน ลดความเหลื่อมล้าในสังคม และจะต้องสอดคล้องกับ วิถีชีวิตวัฒนธรรม ภูมิสังคมภูมินิเวศและภูมิปัญญา ท้องถิ่นด้านสุขภาพ รวมทั้งจะต้องคำนึงถึงหลักการ พัฒนาและบูรณาการอย่างเป็นองค์รวม อย่างยั่งยืน และอย่างมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรทุกระดับ และทุกภาคส่วน
บุคคลมีความตระหนักรู้และมีบทบาทในการดูแล สุขภาพของตนเอง ครอบครัว บุคคลในความดูแล และ ชุมชน มิให้เกิดความเสียหายทางสุขภาพ หรือหลีกเลี่ยง พฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม โดยรัฐมีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนและคุ้มครอง
๓.๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพ
รัฐและทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญกับการสร้าง เสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรค และการจัดการกับ ปัจจัยสังคมที่กำหนดสุขภาพ รวมทั้งการมีหลักประกัน และการคุ้มครองให้เกิดสุขภาพที่จะนาไปสู่สุขภาวะ ที่มั่นคงและยั่งยืนของทุกกลุ่มวัย โดยส่งเสริมให้บุคคล ดูแลสุขภาพที่ยึดหลักการพึ่งตนเองของบุคคล และ ของสังคมที่อาศัยการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
รัฐและทุกภาคส่วนต้องพิจารณาระบบสุขภาพว่าเป็น เรื่องที่กว้างขวางครอบคลุมในทุกมิติทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญาและทางสังคม และต้องพัฒนาระบบสุขภาพ อย่างเป็นองค์รวมและเชื่อมโยงกันอย่างสมดุล รวมทั้ง ต้องสนับสนุนหรือส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนนาแนวทาง “ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ” (Health in All Policies) ไปใช้ประกอบการพิจารณาในการกำหนดนโยบาย สาธารณะ เพื่อให้เกิดนโยบายที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพใน ทุกระดับ
รัฐและทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญกับหลักการ ทางานแบบเครือข่ายและสนับสนุนการมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วนในทุกระดับ เพื่อการอภิบาลระบบ สุขภาพ ทั้งนี้ การสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน และการทางานเชิงรุกของทุกภาคส่วน ถือเป็นปัจจัย สำคัญในการปรับปรุงและพัฒนาระบบสุขภาพและ คุณภาพชีวิตของประชาชน
๓.๓ การจัดให้มีหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ
การสร้างหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิด สุขภาพ ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม
หลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ จะต้องมี ความครอบคลุมปัจจัยทั้งหลายที่อาจมีผลกระทบต่อ สุขภาพ ทั้งปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านระบบบริการ สาธารณสุข และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง รวมทั้งนโยบาย สาธารณะต่างๆ โดยหลักประกันและการคุ้มครองให้เกิด สุขภาพนี้จะต้องครอบคลุมบุคคลทุกคนบนผืนแผ่นดินไทย ด้วย โดยไม่มีการแบ่งแยก ยึดหลักเสมอภาคเท่าเทียม และไม่เลือกปฏิบัติ