Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อที่มาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted…
การติดเชื้อที่มาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Infections: STIs)
การตกขาวผิดปกติ
ภาวะที่มีการตกขาวเพิ่มมากกว่าปกติ ร่วมกับมีอาการคัน หรือปวดแสบร้อน ตกขาวมีกลิ่นเหม็น และอาการจะไม่หายไปเอง เกิดจากการติดเชื้อและทำให้ช่องคลอดอักเสบ (vaginitis) ได้แก่ การติดเชื้อรา candida albicans,การติดเชื้อพยาธิ trichomonas vaginalis ที่พบบ่อยคือ Gardnerella vaginalis
1.การตกขาวจากการติดเชื้อรา (Vulvovaginal candidiasis)
:warning:
เกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงขณะตั้งครรภ์ ทำให้เนื้อเยื่อและผิวหนังอ่อนนุ่มลง บอบบางมากขึ้น
เกิดจากเชื้อรากลุ่ม candida albicans ซึ่งมีระยะฟักตัว 1-4 วัน
เป็นเชื้อโรคประจำถิ่น ี่พบได้ในร่างกายมนุษย์ในช่องปาก ทางเดินอาหาร และอวัยวะสืบพันธุ์
ปัจจัยเสี่ยง :!:
การรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาบางชนิดอย่างต่อเนื่อง
การได้รับฮอร์โมนสเตียรอยด์ และได้รับยากดภูมิต้านทานทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง
การรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดที่มีปริมาณฮอร์โมนมาก (high dose)
ภูมิต้านทานของร่างกายถูกกดจากการเป็นโรคเอดส์ หรือการได้รับเคมีบำบัด
การควบคุมภาวะเบาหวานไม่ดี มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
การรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมาก
การสวมใส่ชุดชั้นในที่แน่นเกินไป ทำให้เกิดความอับชื้น เชื้อราเจริญได้ง่าย
การใช้น้ำยาล้างทำความสะอาดช่องคลอด และปากช่องคลอดบ่อยๆ
การใส่แผ่นอนามัยโดยไม่เปลี่ยนระหว่างวัน หรือไม่สะอาด
ความเครียด การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ
การตั้งครรภ์พบว่าขณะตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น
ขบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตขณะตั้งครรภ์ ภาวะความเป็นกรด-ด่าง
อาการและอาการแสดง :!!:
มีอาการคันและระคายเคือง ปากช่องคลอดเป็นผื่นแดงอักเสบ และบวมแดงแต่ปากมดลูกปกติ อักเสบ และบวมแดงแต่ปากมดลูกปกติ กลุ่มเหมือนนมตกตะกอน (curd-liked discharge) เกาะติด แน่นกับผนังช่องคลอด ไม่มีกลิ่น หรือมีกลิ่นอับ
2.มีอาการเจ็บขณะร่วมเพศ (dyspareunia)
3.มีอาการปัสสาวะลำบาก และแสบขัดตอนสุด (external dysuria)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มีความระคายเคือง คันช่องคลอดมากขึ้น
ผลกระทบต่อทารก
เชื้อราในช่องปาก (oral thrush)
การพยาบาล :check:
ระยะตั้งครรภ์
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์ เข้าใจสาเหตุของการติดเชื้อ
แนะนำการใช้ยาทา และยาเหน็บช่องคลอดตามแพทย์สั่ง
การทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และการทำความสะอาดชุดชั้นใน
หากอาการติดเชื้อเป็นซ้ำ ๆ หรือสามีมีอาการแสดง ควรพาสามีให้มารักษาพร้อมกัน
ระยะคลอด
สามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ
ระยะหลังคลอด
ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเทอโรนลดลง
การดูแลมารดาหลังคลอดเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
เน้นการดูแลความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาดและแห้งเสมอ
สามารถเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยต้องล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
ทารกแรกเกิดอาจมีการติดเชื้อในช่องปาก ซึ่งจะพบมีฝ้าขาวในช่องปาก ให้ปรึกษากุมารแพทย์
2. การตกขาวจากการติดเชื้อพยาธิ (Vaginal trichomoniasis)
:warning:
ตกขาวจากการติดเชื้อพยาธิ หรือเชื้อโปรโตซัวชื่อ trichomonas vaginalis เป็นพยาธิที่ไม่ต้องการออกซิเจน มีรูปร่างค่อนข้างกลมป้อม มีหนวด 3-5 เส้น มีนิวเคลียสเป็นรูปวงรี ลักษณะคืบเป็นจังหวะตลอดเวลา
อาการและอาการแสดง :!!:
ลักษณะของตกขาวมีสีขาวปนเทา หรือสีเหลืองเขียว ตกขาวเป็นฟอง (foamy discharge) มีกลิ่นเหม็น
มีอาการระคายเคืองที่ปากช่องคลอด ในช่องคลอด ปากช่องคลอดบวมแดง มีจุดเลือดออกเป็นหย่อม ๆ (strawberry spot หรือ flea bitten cervix)
มีอาการปัสสาวะแสบขัดหรือบ่อย ปวดแสบปวดร้อนบริเวณต้นขาด้านใน เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกคลอดก่อนกำหนด และทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อย
การพยาบาล :check:
ระยะตั้งครรภ์
ให้คำแนะนำและการดูแลเหมือนสตรีตั้งครรภ์ทั่วไป
แนะนำการเหน็บยา หรือการรับประทานยาตามแผนการรักษาอย่างถูกต้อง
แนะนำให้สามีมารับการรักษาพร้อมกัน
แนะนำการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยโดยการสวมถุงยางอนามัย
แนะนำการรักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้แห้งสะอาดเสมอ
ระยะคลอด
ให้การพยาบาลผู้คลอดในระยะคลอด โดยให้คลอดทางช่อคลอดได้ตามปกติ
ระยะหลังคลอด
ให้การพยาบาลเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
แนะนำให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
หากอาการยังไม่ดีขึ้น ให้พบแพทย์และดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเสมอ
การติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด ต้องได้รับการรักษาทั้งสามีและภรรยาให้หาย
3.การตกขาวจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial vaginosis)
:warning:
ช่องคลอดโดยปกติจะมีแบคทีเรียประจำถิ่น lactobacillus ทำหน้าที่ป้องกันการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียชนิดอื่นและเชื้อรา
อาการและอาการแสดง :!!:
อาการคัน ปวดแสบปวดร้อนปากช่องคลอด ในช่องคลอด ถ่ายปัสสาวะลำบาก แสบขัด เจ็บขณะร่วมเพศ ตกขาวสีขาว สีเทา หรือสีเหลือง ข้นเหนียว มีกลิ่นเหม็นเน่าเหมือนคาวปลา (fishy smell)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อราได้ง่ายขึ้น มีการติดเชื้อในมดลูก (chorioamnionitis) ปีกมดลูกอักเสบ (salpingitis) เกิดการอักเสบในอุ้งเชิงกราน (pelvic inflammatory disease: PID) ได้
เกิดการแท้งติดเชื้อ (septic abortion) ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด และเจ็บครรภ์ คลอดก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ทารกคลอดก่อนกำหนด
ตรวจพบว่ามีเชื้อแบคทีเรีย ในหลอดลม
ภาวะหายใจลำบาก
แบคทีเรียในเลือด
การพยาบาล :check:
ระยะตั้งครรภ์
ให้คำแนะนำและการดูแลเหมือนสตรีตั้งครรภ์ทั่วไป
รับประทานยาตามแพทย์สั่งให้ครบ และเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการมาตรวจตามนัด
รักษาความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกไม่ให้อับชื้น
แนะนำให้พาสามีไปตรวจและรักษาโรคพร้อมกัน
แนะนำการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้อง ท้องแข็งบ่อย มีเลือดออกทางช่องคลอด ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
ระยะคลอด
ผู้คลอดสามารถคลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ
ระยะหลังคลอด
ให้การดูแลเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
สามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยเน้นเรื่องการล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
เน้นการทำความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ให้สะอาดและแห้งเสมอ
หากมีอาการผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์ทันที
ซิฟิลิส (Syphilis)
เกิดจากการติดเชื้อ Treponema pallidum (T. Pallidum) มีระยะฟักตัว ประมาณ 10-90 วัน โดยเฉลี่ยประมาณ 3 สัปดาห์ สามารถติดจากคนสู่คนโดยการสัมผัสโดยตรงกับแผลหรือเยื่อบุที่มีรอยถลอกเล็ก ๆ ที่ตาเปล่ามองไม่เห็น
อาการและอาการแสดง :!!:
ซิฟิลิสระยะแรก หรือระยะที่หนึ่ง (primary stage)
จะเกิดแผล กลม นิ่ม ขอบนูนแข็ง ไม่เจ็บ เรียว่าแผล chancre บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก หรือในช่องคลอดและปากมดลูกต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบโตแต่กดไม่เจ็บ
ซิฟิลิสระยะที่สอง (secondary stage)
แผลกำลังจะหาย หรือหลังจากแผลหายจะพบผื่นกระจายทั่วร่างกาย ฝ่ามือฝ่าเท้า เยื่อบุรวมทั้งอวัยวะสืบพันธุ์ ่วมกับมีอาการไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ ผมร่วงเป็นหย่อมๆ ปวดศีรษะ น้ำหนักลด
ระยะแฝง
(latent syphilis)
กระบวนการติดเชื้อยังดำเนินอยู่และสามารถแพร่กระจายเชื้อได้
4.ระยะท้ายของโรคซิฟิลิส (tertiary syphilis)
เชื้อจะเข้าไปทำลายระบบหัวใจและหลอดเลือด ให้เกิด aortic aneurysm และ aortic insufficiency
เชื้อเข้าสู่ระบบประสาทจะเกิดผิวหนังอักเสบ กระดูกผุ เยื่อบุสมองอักเสบ และเสียชีวิตในที่สุด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ทำให้ผิวหนังและเนื้อเยื่ออักเสบ คลอดก่อนกำหนด และแท้งบุตร
ผลต่อทารก
ทารกคลอดก่อนกำหนด ตายคลอด พิการแต่กำเนิดโดยอาจพบความพิการของตับม้ามโต
ทารกตัวบวมน้ำ ตัวเหลือง เยื่อบุส่วนต่าง ๆของร่างกายเกิดการอักเสบ
ผิวหนังที่ฝ่ามือฝ่าเท้าอักเสบและลอกเป็นขุย ปัญญาอ่อน เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด
หนองใน (Gonorrhea)
เชื้อ Neiseria gonorrheae เข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปเกาะติดกับเซลล์เยื่อบุและเซลล์ขับเมือก โดยจะพยายามผ่านเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเข้าไปเพิ่มจำนวนเซลล์ในชั้น subepithelial tissue
จะทำปฏิกิริยากับภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้เกิดสารเคมีที่เป็นพิษต่อเซลล์และเนื้อเยื่อ ส่งผลให้เนื้อเยื่ออักเสบเป็นหนอง
อาการและอาการแสดง : :!!:
อักเสบของปากมดลูกและช่องคลอดทำให้ตกขาวเป็นหนองข้นปริมาณมาก อาการกดเจ็บบริเวณต่อมบาร์โธลิน (bartholin’s gland)
หากมีการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างจะพบอาการปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกระปิดกระปรอย เป็นหนองข้น และปัสสาวะเป็นเลือด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ไม่มีอาการ มีบุตรยาก
มีอาการขณะตั้งครรภ์จะทำให้ถุงน้ำคร่ำอักเสบและติดเชื้อถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด แท้งบุตร และการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารก
คลอดปกติผ่านทางช่องคลอดมีการติดเชื้อหนองในที่ปากมดลูก ช่องคลอด
การติดเชื้อเริม
(Herpes simplex)
เกิดจากเชื้อไวรัสคือ Herpes simplex virus (HSV) เข้าสู่ ร่างกายโดยผ่านทางเยื่อบุ หรือแผลที่ผิวหนัง เชื้อแบ่งเป็น HSV–1และ HSV–2 เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะไปแฝงตัวอยู่ที่ปมประสาทรับความรู้สึก สามารถถูกกระตุ้นให้กลับมาที่ผิวหนังได้อีกเป็นครั้งคราว ทำให้เกิดโรคซ้ำได้เรื่อย ๆ
อาการและอาการแสดง
:!!:
อาการปวดแสบปวดร้อนและคันบริเวณที่สัมผัสโรค กลายเป็นตุ่มน้ำใสๆ แล้วแตกกลายเป็นแผลอยู่ 2 สัปดาห์
บางรายอาจมีอการคล้ายหวัด ได้แก่ ไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลัย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโต
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
เพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้ง การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ส่วนการติดเชื้อซ้ำขณะตั้งครภร์มีผลกระทบค่อนข้างน้อย
ผลกระทบต่อทารก
ทารกมีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกคลอดก่อนกำหนด
ด หากทารกมีการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ จะทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิดสูง ส่งผลให้ทารกเสียชีวิตได้
หูดหงอนไก่
(Condyloma acuminate)
เกิดจากการติดเชื้อ human papilloma virus (HPV) มีระยะฟักตัวนาน 2-3 เดือน ติดต่อจากการสัมผัสรอยโรคโดยเฉพาะทางเพศสัมพันธ
อาการและอาการแสดง
:!!:
มีรอยโรคเป็นติ่งเนื้อสีชมพูคล้ายหงอนไก่ ขนาดแตกต่างกัน มักเกิดบริเวณอับชื้น
เช่น ปากช่องคลอด
หรือในช่องคลอด เป็นต้น
การติดเชื้อขณะตั้งครรภ์รอยโรคจะขยายใหญ่ มีผิวขรุยระคล้ายดอกกะหล่ำและยุ่ยมาก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
เกิดรอยโรคใหญ่อาจขัดขวางช่องทางคลอด ทำให้เกิดการตกเลือดหลังคลอด มารดาหลังคลอดมีโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกได้
ผลต่อทารก
ติดเชื้อหูดหงอนไก่ระหว่างตั้งครรภ์และขณะคลอด อาจเกิด laryngeal papillomatosis ทำให้เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจส่วนบน
เสียงเปลี่ยน (voice change) เสียงร้องไห้แหบผิดปกติ (abnormal cry)
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส หนองใน เริม และหูดหงอนไก่
:check:
ระยะตั้งครรภ์
คัดกรองและประเมินภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์
แนะนำให้นำสามีมารับการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค หากมีการติดเชื้อแนะนำให้รักษาพร้อมกัน และติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง
อธิบายให้เข้าใจถึงการดำเนินของโรค อันตรายของโรคต่อการตั้งครรภ์ แผนการรักษาพยาบาล
แนะนำการปฏิบัติตัวของสตรีตั้งครรภ์และสามีดังนี้
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการรักษาของสตรีตั้งครรภ์และสามีอย่างสม่ำเสมอ
4.1 รับประทานยา ฉีดยา หรือทายาตามแผนการรักษา
4.2 หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งจนกว่าจะรักษาจนหายขาด
4.3 หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลและหนอง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังการสัมผัสแผล หรือหนอง
1 more item...
ระยะคลอด
ดูแลผู้คลอดโดยยึดหลัก universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
หลีกเลี่ยงการทำหัตถการทางช่องคลอด
หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรทำอย่างระมัดระวังและไม่ทำให้ถุงน้ำคร่ำแตก พื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ทารก
ดูแลให้ผู้คลอดและทารกได้รับยาตามแผนการรักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
หากไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ เตรียมผู้คลอดให้พร้อมสำหรับการผ่าตัดนำทารกออกทางหน้าท้องทั้งทางร่างกาย จิตใจ และกฎหมาย
ระยะหลังคลอด
ให้การพยาบาลมารดาหลังคลอดโดยยึดหลัก universal precaution
แนะนำมารดาหลังคลอดเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย เครื่องใช้ส่วนตัว การกำจัดสิ่งปนเปื้อนสารคัดหลั่งอย่างถูกต้อง
ประเมินอาการติดเชื้อของทารกแรกเกิด ได้แก่ มีไข้ อ่อนเพลีย ดูดนมไม่ดี ตัวเหลือง ชัก หรือมีแผล herpes ตามร่างกาย
แนะนำการเลี้ยงบุตร โดยล้างมือให้สะอาดก่อนจับทารกทุกครั้ง
ดูแลให้มารดาหลังคลอดและทารกได้รับยาป้องกันการติดเชื้อตามแผนการรักษา
แนะนำและดูแลมารดาหลังคลอดปกติ หรือหลังการผ่าตัดคลอด
การติดเชื้อเอชไอวีในสตรีตั้งครรภ์
(Human Immunodeficiency Virus [HIV] during pregnanc
y)
การแพร่เชื้อจากมารดาสู่ทารก
การติดเชื้อ HIV ระหว่างตั้งครรภ์
เชื้อไวรัสสามารถผ่านทางรก โดยผ่านเซลล์ trophoblast และ macrophages เข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดของทารกในครรภ์
ทำให้ทารกในครรภ์ติดเชื้อ HIV
การติดเชื้อ HIV ระหว่างคลอด
การติดเชื้อในทารกเกิดขึ้นขณะคลอดหรือใกล้คลอดเนื่องจากระหว่างคลอดทารกจะสัมผัสกับเลือดของมารดา น้ำคร่ำ และสารคัดหลั่งในช่องคลอดของมารดา
ทำให้ทารกมีโอกาสที่จะติดเชื้อ HIV จากมารดาได้สูงในระยะคลอด
การติดเชื้อ HIV ระยะหลังคลอด
ภายหลังคลอดทารกจะติดเชื้อได้จากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของมารดา แต่ส่วนใหญ่มักจะติดเชื้อจากน้ำนมมารดา
จึงแนะนำให้เลี้ยงทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อด้วยนมผสมแทนนมมารดา
อาการและอาการแสดง :!!:
ระยะเริ่มแรกของการติดเชื้อ HIV
เริ่มตั้งแต่ติดเชื้อ HIV จนกระทั่งร่างกายเริ่มสร้าง antibody กินเวลาประมาณ 1-6 สัปดาห์หลังติดเชื้อ
เริ่มมีไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นขึ้น ต่อมน้ำเหลืองโต บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว หรือมีฝ้าขาวในช่องปาก
ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ
ระยะนี้ร่างกายจะแข็งแรงเป็นปกติเหมือนคนทั่วไปตรวจเลือดจะพบเชื้อ HIV และ antibody ต่อเชื้อ HIV และสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้
3.ระยะติดเชื้อที่มีอาการ
บอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง มีอุณหภูมิร่างกายสูงมากกว่า 37.80C เป็นพักๆ หรือติดต่อกันทุกวัน ท้องเดินเรื้อรัง หรืออุจจาระร่วงเรื้อรัง น้ำหนักลดเกิน 10% ของน้ำหนักตัว ต่อมน้ำเหลืองโตมากกว่า 1 แห่ง เป็นงูสวัด พบเชื้อราในปากหรือฝ้าขาว (hairy leukoplakia) ในช่องปาก
ระยะป่วยเป็นเอดส์
ไข้ ผอม ต่อมน้ำเหลืองโตหลายแห่ง ซีด อาจพบลิ้นหรือช่องปากเป็นฝ้าขาวจากเชื้อรา แผลเริมเรื้อรัง ผิวหนังเป็นแผลพุพอง
ระยะนี้ระบบภูมิคุ้มกันจะเสื่อม
เต็มที่ ทำให้เชื้อโรคฉวยโอกาสเข้ามาในร่างกาย ทำให้เกิดวัณโรคปอด ปอดอักเสบ สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร เป็นมะเร็ง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV และมีปริมาณ CD4 ต่ำ มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ ฉวยโอกาสได้ง่ายขึ้น
ผลกระทบต่อทารก
มีโอกาสที่ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ทารกมีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์ และทารกตายคลอด
การพยาบาล :check:
ระยะตั้งครรภ์
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์และสามีที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยให้คำปรึกษาก่อนและหลังการตรวจเลือด
ให้ข้อมูลแก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับการดำเนินของโรค
แนะนำให้มาฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อประเมินสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ให้ความรู้แก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับหลักมาตรฐานในการควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ผลการตรวจ CD4 หากน้อยกว่า 200 copies/mL แสดงถึงความเสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาสสูง
ผลการตรวจปริมาณ viral load เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกวิธีการคลอดและแนวทางในการดูแลรักษาทารก
ประเมินภาวะแทรกซ้อนจากการได้รัยยาต้านไวรัส
1 more item...
ระยะคลอด
ดูแลผู้คลอดโดยยึดหลัก universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป ได้แก่ ประเมินสัญญาณชีพ และเสียงหัวใจทารกอย่างใกล้ชิด ติดตามความก้าวหน้าของการคลอด สังเกตความผิดปกติต่าง ๆ
หากปริมาณ viral load ≤ 50 copies/mL แพทย์อาจพิจารณาเจาะถุงน้ำคร่ำเพื่อชักนำการคลอด ก่อนเจาะ ขณะเจาะ และหลังเจาะถุงน้ำคร่ำ
ทำคลอดด้วยวิธีที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อผู้คลอดกและทารกน้อยที่สุด และหลีกเลี่ยงการใช้สูติศาสตร์หัตถการที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
ดูแลให้ผู้คลอดและทารกได้รับยาต้านไวรัสตามแผนการรักษา เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากมารดาไปสู่ทารก
เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการช่วยเหลือทารกแรกเกิด และรายงานกุมารแพทย์เพื่อเตรียมช่วยเหลือทารกที่มีภาวะแทรกซ้อน
1 more item...
ระยะหลังคลอด
ดูแลมารดาหลังคลอดโดยยึดหลัก universal precaution
ให้คำแนะนำแก่มารดาหลังคลอด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
2.1 หลีกเลี่ยงเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา เพราะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ทารก
2.2 แนะนำให้ใส่เสื้อชั้นในที่คับเพื่อยับยั้งการสร้างและหลั่งน้ำนม
2.3 แนะนำวิธีป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลอื่น การกำจัดสารคัดหลั่งอย่างถูกวิธี
2.4 อธิบายให้มารดาหลังคลอดเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเองและการมาตรวจตามนัด
1 more item...