Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ - Coggle Diagram
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ( 2560-2564)
หลักการ
ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเพื่อให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี
ยึดเป้าหมายอนาคตประเทศไทยปี 2579 ควบคู่กับกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
การปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0
ประเด็นการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2
กรอบแนวทางแผนระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข เพื่อวางฐานรากของระบบสุขภาพในระยะ 5 ปีให้เข้มแข็งเพื่อคนไทยมีสุขภาพแข็งแรง สามารถสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม
สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาสุขภาพ
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็วของประเทศไทยอันเนื่องมาจาก
การลดลงของภาวะเจริญพันธ์หรือการเกิดน้อยลง และภาวการณ์ตายลดลง
การจัดการกำลังคนด้านสุขภาพยังไม่สามารถตอบสนองต่อการสร้างประสิทธิภาพของระบบบริการสุขภาพ
กลไกการอภิบาล
ระบบสุขภาพในระดับชาติและระบบธรรมาภิบาลยังไม่ชัดเจน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
วิสัยทัศน์: ระบบสุขภาพไทยเข้มแข็ง เป็นเอกภาพ เพื่อคนไทยสุขภาพดีสร้างประเทศให้มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน
พันธกิจ: เสริมสร้าง สนับสนุนและประสานให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้ง ภาครัฐ เอกชน นักวิชาการและภาคประชาสังคม ในการอภิบาลและพัฒนาระบบสุขภาพไทยให้เข้มแข็งรองรับกับบริบทของการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
เป้าประสงค์ (Goals)
ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย มี ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การ
เจ็บปุวยและตายจากโรคที่ปูองกันได้ลดลง
คนไทยทุกกลุ่มวัยมีสุขภาวะที่ดีลดการตายก่อนวัยอันควร
เพิ่มขีดความสามารถของระบบบริการสุขภาพทุกระดับ ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้
อย่างสะดวก เหมาะสม
มีบุคลากรด้านสุขภาพที่ดูแลประชาชน ในสัดส่วนที่เหมาะสม
มีกลไกการอภิบาลระบบสุขภาพแห่งชาติที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 1 (2504-2509)
เน้นการขยายสถานบริการสุขภาพ
ได้แก่ โรงพยาบาลและสถานีอนามัย ให้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ มีการก่อสร้างโรงพยาบาลใหม่ๆเพิ่มขึ้นหลายพื้นที
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 2 (2510-2514)
เน้นการวางแผนกำลังคนและการกระจายการพัฒนาสู่ชนบท
เร่งรัดการผลิตบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข มีการบังคับให้นักศึกษาแพทย์ทำสัญญาปฏิบัติงานชดใช้ทุนเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2508
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 3 (2515-2519)
เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตมากยิ่งขึ้น
กำหนดนโยบายประชากรเป็นครั้งแรกมุ่งเน้นการอนามัยแม่และเด็ก การวางแผนครอบครัว การควบคุมโรคติดต่อ มีนโยบายให้การบริการรักษาฟรีแก่ผู้รายได้น้อยเป็นครั้งแรกในพ.ศ 2518
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 5 (2525-2529)
เน้นการปรับสุขภาพทางเศรษฐกิจ
ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมชนบท ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสาธารณสุขมูลฐานและจัดตั้งโรงพยาบาลระดับอำเภอให้ครบทุกอำเภอรวม
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 4 (2520-2524)
มุ่งเน้นการแก้ไขและลดช่องว่างของปัญหาสาธารณสุข
การให้บริการสาธารณสุข การให้บริการอย่างทั่วถึง โดยเริ่มต้นตั้งเป้าหมายสุขภาพดีถ้วนหน้าด้วยกลยุทธ์สาธารณสุขมูลฐานในพ.ศ 2522 โรคติดต่อบางอย่างลดลงโดยไม่เป็นปัญหา
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 7 (2535-2539)
เน้นการพัฒนาสถานีอนามัย
ให้เป็นจุดเชื่อมโยงของงานสุขภาพดีถ้วนหน้า และการพัฒนาสถานบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพมาตรฐาน เน้นความพยายามในการสร้างหลักประกันด้านสุขภาพและคนไทยทุกคนเริ่มหันมาเน้นการพัฒนาคุณภาพบริการและแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่ลาออกไปอยู่เอกชน
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 6 (2530-2534)
ขยายสถานพยาบาลบริการสาธารณสุขให้ครบตามเป้าหมายการยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาและการรณรงค์ควบคุมโรคเอดส์ เพื่อมิให้กระทบต่อความมั่นคงของชาติและเริ่มแนวคิดการประกันสุขภาพทั้งยกฐานะสำนักงานผดุงครรภ์ให้เป็นสถานีอนามัยทั้งหมด
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 8 (2540-2544)
เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
เป็นวัตถุประสงค์หลักและเน้นการพัฒนาศักยภาพของคนในด้านสุขภาพ โดยเฉพาะพฤติกรรมสุขภาพ เน้นควบคุมหลักประกันสุขภาพด้วยการบริการที่มีคุณภาพ
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 10 (2550-2554)
วิสัยทัศน์ :
มุ่งสู่ระบบสุขภาพพอเพียงเพื่อสร้างสุขภาพดี บริการดี สังคมดี ชีวิตมีความสุขอย่างพอเพียง
แนวคิดน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เป็นแนวทางการพัฒนาสุขภาพและยึดหลักสุขภาพดี
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 9 (2545-2549)
เน้นสุขภาพ
คือ สุขภาวะพัฒนาระบบสุขภาพ ทั้งระบบยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับสุขภาพระบบสุขภาพพอเพียง ภาพลักษณ์และสังคมที่พึงประสงค์ เริ่มกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพ
วิสัยทัศน์ :
คนไทยทุกคนมีหลักประกันที่จะดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาวะและเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพอย่างเสมอภาค รวมทั้งอยู่ในครอบครัว ชุมชน และสังคมที่มีความพอเพียงทางสุขภาพ มีศักยภาพมีการเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพโดยสามารถใช้ประโยชน์ทั้งจากภูมิปัญญาสากลและไทย
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่11 (2555-2559)
หลักการมุ่งพัฒนาภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
สร้างเอกภาพและธรรมาภิบาลในการจัดระบบสุขภาพ
วิสัยทัศน์ :
ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดีร่วมสร้างระบบสุขภาพพอเพียงเป็นธรรมนำสู่สังคมสุขภาวะ
พันธกิจ :
พัฒนาระบบสุขภาพพอเพียงโดยยึดหลักธรรมาภิบาล