Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผนพัฒนาสุขภาพ, นางสาววรนัน โป้ทอง 61102301120 B2 - Coggle Diagram
แผนพัฒนาสุขภาพ
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552
หมวด ๑
ปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ
ข้อ ๗ ระบบสุขภาพจะต้องส่งเสริมคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และต้องให้ความสำคัญกับความเป็นธรรมและความเท่าเทียมกันในสังคม
ข้อ ๘ ระบบสุขภาพจะต้องคำนึงถึงการพัฒนาอย่างป็นองค์รวมครอบคลุมภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกายทางจิตทางปัญญาและทางสังคมเชื่อมโยงกันอย่างสมดุล
ข้อ ๖ ระบบสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมและเป็นส่วนหนึ่งของระบบความมั่นคงของประเทศ
ข้อ ๙ ระบบสุขภาพจะต้องให้ความสำคัญสูงกับการสร้าง
ข้อ ๕ ระบบสุขภาพเป็นระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยมีระบบการบริการสาธารณสุขเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพ
ข้อ ๑๐ทุกภาคส่วนมีหน้าที่ร่วมกันในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศจากแนวทางบริโภคนิยมไปสู่แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ข้อ ๔ สุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
หมวด ๒
คุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพ
ข้อ ๑๒ ระบบสุขภาพจะต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชนทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศยึดหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ข้อ ๑๓ การจัดการระบบสุขภาพจะต้องยึดหลักธรรมาภิบาล
ข้อ ๑๑ ระบบสุขภาพจะต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักคุณธรรมจริยธรรมมนุษยธรรมธรรมาภิบาลความรู้และปัญญา
ข้อ ๑๔ ระบบสุขภาพจะต้องเกื้อหนุนส่งเสริมและเอื้ออำนวยให้บรรลุเป้าหมายแห่งสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพทุกประการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๑๕ กรอบเวลาเป้าหมายของธรรมนูญฉบับนี้เป็นภาพรวมของระบบสุขภาพที่มองยาวไปถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๓
หมวด ๓
การจัดให้มีหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ
ข้อ ๑๘ หลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพจะต้องครอบคลุมการจัดการกับปัจจัยทั้งหมดที่กระทบต่อสุขภาพ
ข้อ ๑๗ การสร้างหลักประกันและความคุ้มครองดังกล่าวให้มีการมีส่วนร่วมอย่างสมานฉันท์เกื้อกูลเอื้ออาทรจากทุกภาคส่วน
ข้อ ๑๖ หลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพจะต้องครอบคลุมประชาชนทุกคนที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทยโดยไม่มีการแบ่งแยกตามฐานะทางเศรษฐกิจสังคม
หมวด ๔
การสร้างเสริมสุขภาพ
หลักการ
การข้อ ๑๙ การสร้างเสริมสุขภาพต้องเป็นไปเพื่อให้เกิดสุขภาวะอย่างเป็นองค์รวมทั่วทั้งสังคม
เป้าหมาย
ข้อ ๒๐ มีการพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมและเป็นรูปธรรม
ข้อ ๒๑ มีการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพอย่างหลากหลายและเป็นรูปธรรม
ข้อ ๒๒ มีการสร้างเสริมสุขภาพของบุคคลครอบครัวชุมชนและสังคมอย่างสมดุลและเชื่อมโยงกันตามหลักการสร้างเสริมสุขภาพ
ข้อ ๒๓ มีชุมชนท้องถิ่นที่มีความเข้มแข็งด้านสุขภาพครอบคลุมร้อยละ 60 ของตำบลทั่วประเทศ
มาตรการ
ข้อ ๒๔ ให้รัฐส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐทุกระดับและภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม
ข้อ ๒๕ ให้รัฐส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐทุกระดับและภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมร่วมกันพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสภาพ
ข้อ ๒๖ ให้รัฐและภาคส่วนต่างๆ ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคคล ครอบครัว ชุมชน
ข้อ ๒๗ ให้รัฐและภาคส่วนต่างๆ ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาความเข้มแข็งของบุคคล ครอบครัว ชุมชน
ข้อ ๒๘ ให้รัฐส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพและการมีส่วนร่วมของชุมชนและบุคคลในการดูแล
ข้อ ๒๙ ให้รัฐและภาคส่วนต่างๆ พัฒนามาตรการทางการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนคุณภาพชีวิตของเด็ก
ข้อ ๓๐ ให้รัฐและภาคส่วนต่างๆ สนับสนุนการสร้างและจัดการความรู้ เพื่อพัฒนาการเกษตร
ข้อ ๓๑ ให้รัฐจัดให้มีแผนยุทศาสตร์ด้านสุขภาพทางเพศและการเจริญพันธ์ุ
หมวด ๕
การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
หลักการ
ข้อ ๓๒ บุคคลมีสิทธิดำรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
เป้าหมาย
ข้อ ๓๓ รัฐมีเอกภาพการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
ข้อ ๓๔ ชุมชนมีความเข้มแข็งและมีส่วนร่อมในการป้องกันและควบคุมโรค
มาตการ
ข้อ ๓๕ ให้รัฐจัดให้มีการจัดทำแผนยุทศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
ข้อ ๓๖ ให้รัฐสนับสนุนให้มีการกระจายอำนาจ พร้อมทั้งการเสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ข้อ ๓๗ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับจัดทำแผนแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
ข้อ ๓๘ ให้รัฐจัดให้มีกลไกทำหน้าที่ในการพัฒนาระบบการประเมิณผลกระทบต่อสุขภาพ
ข้อ ๓๙ ให้รัฐเร่งส่งเสริมและพัฒนาระบบและกลไกการเฝ้าระวังของรัฐและทุกภาคส่วน
ข้อ ๔๐ ให้รัฐนำมาตรการทางภาษีมาใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
ข้อ ๔๑ ให้รัฐพัฒนากฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิตามข้อ ๓๒
ข้อ ๔๒ ให้รัฐส่งเสริมให้มีการรณรงค์ให้ข้อมูลข่าวสาร และสร้างค่านิยมที่ถูกต้องแก่ประชาชน
หมวด ๖
การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ
หลักการ
ข้อ ๔๓ ระบบบริการสาธารณสุขต้องเป็นระบบที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ราคาไม่แพง
เป้าหมาย
ข้อ ๔๕ มีระบบบริการสาธารณสุขที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรมในทุกระดับ
ข้อ ๔๔ ระบบบริการสาธารณสุขปฐมภูมิได้รับการยอมรับมีศักดิ์ศรี ได้รับความไว้วางใจและเป็นที่พึ่งหลักของประชาชน
มาตรการ
ข้อ ๔๖ ให้รัฐส่งเสริมบริการสาธารณสุขปฐมภูมิที่จัดโดยแพทย์หรือบุคลากรด้านสาธารณสุขประจำครอบครัว
ข้อ ๔๗ ให้รัฐส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีศักยภาพในการรับผิดชอบ การจัดบริการสาธารณสุข
ข้อ ๔๘ ให้รัฐส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขสำหรับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
ข้อ ๔๙ ให้รัฐและทุกภาคส่วนร่วมกันพัฒนาให้เกิดบริการสาธารณสุขที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรม
ข้อ ๕๐ ให้รัฐส่งเสริมให้มีการรณรงค์ ให้ข้อมูลข่าวสารและค่านิยมที่ถูกต้องเกี่ยวกับประชาชน
ข้อ ๕๑ รัฐไม่พึงให้การสนับสนุนหรือสิทธิพิเศษทางภาษีและการลงทุนกับบริการสาธารณสุข
ข้อ ๕๒ ให้รัฐจัดให้มีกลไกระดับชาติทำหน้าที่กำกับดูแลทิศทางการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข
หมวด ๗
การส่งเสริม สนับสนุน การใช้และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ
หลักการ
ข้อ ๕๓ การส่งเสริม สนับสนุน การใช้และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ ควรมีความสอดคล้องกับวิถีชุมชน
เป้าหมาย
ข้อ ๕๔ ชุมชนท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าและมีบทบาทสำคัญ
ข้อ ๕๕ การแพทย์แผนไทย แพทย์พื้นบ้านและแพทย์ทางเลือกได้รับการส่งเสริมอย่างเหมาะสม
ข้อ ๕๖ มีรายการยาไทยและยาพัฒนาจากสมุนไพรอย่างน้อยร้อยละ ๑๐
ข้อ ๕๗ มีระบบและกลไกที่เข้มแข็งในการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ
ข้อ ๕๘ มีระบบและกลไกที่เข้มแข็ง มีฐานวิชาการที่เข้มแข็งเป็นกลางในการคัดกรอง
ข้อ ๖๐ มีโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย
ข้อ ๕๙ มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
มาตรการ
ข้อ ๖๑ ให้คณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ
ข้อ ๖๒ ให้รัฐสร้างเสริมความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิน
ข้อ ๖๓ ให้รัฐสร้างเสริมความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชุนท้องถิ่น
ข้อ ๖๔ ให้รัฐส่งเสริม สนับสนุน การใช้และพัฒนาการแพทย์แผนไทย
ข้อ ๖๕ ให้รัฐ หน่วยงานของรัฐ และภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ยาไทยและยาพัฒนาจากสมุนไพร
ข้อ ๖๖ ให้หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนท้องถิ่นร่วมกันสร้าง
ข้อ ๖๗ ให้รัฐส่งเสริม การใช้และการพัฒนาการแพทย์ ที่มีประสิทธิผล ประหยัด คุ้มค่า
หมวด ๘
การคุ้มครองผู้บริโภค
หลัการ
ข้อ ๖๘ ระบบคุ้มครองผู้บริโภค ต้องเป็นไปเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการป้องกันและคุ้มครอง
เป้าหมาย
ข้อ ๖๙ ผู้บริโภคต้องได้รับการปกครองและคุ้มครองสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ
ข้อ ๗๐ เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ต้องได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษ
มาตรการ
ข้อ ๗๑ ในการคุ้มครองผู้บริโภค ให้รัฐดำเนินการเร่งรัดจัดตั้งองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
หมวด ๙
การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ
หลักการ
ข้อ ๗๖ ความรู้ด้านสุขภาพเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาระบบสุขภาพ
ข้อ ๗๗ นโยบายสาธารณะต้องพัฒนามาจากฐานความรู้ที่รอบด้าน
เป้าหมาย
ข้อ ๗๙ รัฐและภาคส่วนมีการลงทุนและมีบทบาทในการสร้างความรู้ด้านสุขภาพ
มาตรการ
ข้อ ๘๐ ให้รัฐจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการวิจัยด้านสุขภาพ
ข้อ ๘๑ ให้รัฐส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในการสร้างความรู้ด้านสุขภาพ
หมวด ๑๐
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
หลักการ
ข้อ ๘๘ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารด้านสุขภาพ
เป้าหมาย
ข้อ ๘๙ ประชาชนได้รับการคุ้มครอง เพื่อให้ได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่ถูกต้อง
ข้อ ๙๐ มีระบบข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่ดี มีเครือข่ายครอบคลุมทั้งประเทศ
มาตรการ
ข้อ ๙๑ ให้รัฐพัฒนาข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพเพิ้อป้องกันและควบคุมโรค
หมวด ๑๑
การสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข
หลักการ
ข้อ ๙๕ บุคลากรด้านสาธารณสุข เป็นกำลังคนที่สำคัญในกรขับเคลื่อนสังคมให้เกิดระบบสุขภาพ
เป้าหมาย
ข้อ ๙๗ บุคลากรด้านสาธารณสุขมีจริยธรรมมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม
มาตรการ
ข้อ ๙๙ ให้คณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ ทำหน้าที่ดูแลนโยบาย
หมวด ๑๒ การเงินการคลังด้านสุขภาพ
หลักการ
ข้อ ๑๐๔ การเงินการคลังด้านสุขภาพต้องเป็นไปเพื่อความยั่งยืนของระบบสุขภาพ
เป้าหมาย
ข้อ ๑๐๕ การเงินการคลังรวมหมู่สำหรับการบริการสาธารณสุข
มาตรการ
ข้อ ๑๐๖ ให้รัฐจัดระบบการเงินการคลังรวมภาคหมู่บังคับเป็นไปตามหลักการไม่มุ่งเนินผลประโยชน์เชิงธุรกิจ
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550
หมวด ๑
สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ
มาตรา ๘ ในการบริการสาธารณสุข บุคลากรด้านสาธารณสุขต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการให้ผู้รับบริการทราบอย่างเพียงพอที่ผู้รับบริการจะใช้ประกอบการตัดสินใจในการรับหรือไม่รับบริการ
มาตรา ๘ ในการบริการสาธารณสุข บุคลากรด้านสาธารณสุขต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการให้ผู้รับบริการทราบอย่างเพียงพอที่ผู้รับบริการจะใช้ประกอบการตัดสินใจในการรับหรือไม่รับบริการใด
มาตรา ๙ ในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขประสงค์จะใช้ผู้รับบริการเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองในงานวิจัย ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขต้องแจ้งให้ผู้รับบริการทราบล่วงหน้า และต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้รับบริการก่อนจึงจะดําเนินการได้ความยินยอมดังกล่าว ผู้รับบริการจะเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้
มาตรา ๑๐ เมื่อมีกรณีที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเกิดขึ้น หน่วยงานของรัฐที่มีข้อมูลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ต้องเปิดเผยข้อมูลนั้นและวิธีป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพให้ประชาชนทราบและจัดหาข้อมูลให้โดยเร็ว
มาตรา ๖ สุขภาพของหญิงในด้านสุขภาพทางเพศและสุขภาพของระบบเจริญพันธุ์ ซึ่งมีความจําเพาะ ซับซ้อนและมีอิทธิพลต่อสุขภาพหญิงตลอดช่วงชีวิต ต้องได้รับการสร้างเสริม และคุ้มครองอย่างสอดคล้องและเหมาะสม
มาตรา ๑๑ บุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิร้องขอให้มีการประเมินและมีสิทธิร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะบุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิได้รับรู้ข้อมูล
มาตรา ๕ บุคคลมีสิทธิในการดํารงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
มาตรา ๑๒ บุคคลมีสิทธิทําหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้
หมวด ๒
คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๑๕ การเลือกกรรมการตามมาตรา ๑๓ (๖) ให้ดําเนินการ ดังนี้
(๑) ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายกเมืองพัทยาและหัวหน้าผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะทํานองเดียวกัน ดําเนินการเลือกกันเองให้ได้กรรมการหนึ่งคน
(๒) ให้นายกเทศมนตรีทุกแห่งเลือกกันเองให้ได้กรรมการหนึ่งคน
(๓) ให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดทุกแห่งเลือกกันเองให้ได้กรรมการหนึ่งคน
(๔) ให้นายกองค์การบริหารส่วนตําบลทุกแห่งเลือกกันเองให้ได้กรรมการหนึ่งคนการเลือกกรรมการตาม (๒) (๓) และ (๔) คณะกรรมการสรรหาจะจัดให้มีการ
มาตรา ๑๖ การเลือกกรรมการตามมาตรา ๑๓ (๘) ให้เป็นไปตามวิธีการที่คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะกําหนด
มาตรา ๑๔ กรรมการตามมาตรา ๑๓ (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๒) มีอายุไม่ต่่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(๓) ไม่เป็นผู้มีความผิดปกติทางจิตอันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่
(๑) มีสัญชาติไทย
(๔) ไม่ติดยาเสพติดให้โทษ
(๕) ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยถึงไล่ออก ปลดออกหรือให้ออกจากหน่วยงานของรัฐ
(๖) ไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๑๗ การเลือกกรรมการตามมาตรา ๑๓ (๙) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการสรรหาประกาศกําหนด
มาตรา ๑๓ ให้มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเรียกโดยย่อว่า “คสช.”
(๓) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่นายกรัฐมนตรีกําหนดจํานวนไม่เกินห้าคน เป็นกรรมการ
(๔) ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นกรรมการ
(๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธานกรรมการ
(๕) ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นกรรมการ
(๑) นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
(๖) ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเลือกกันเองจํานวนสี่คน เป็นกรรมการ
(๗) ผู้แทนองค์กรวิชาชีพด้านสาธารณสุขที่มีกฎหมายจัดตั้งองค์กรละหนึ่งคน เป็นกรรมการ
(๘) ผู้แทนคณะกรรมการวิชาชีพที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเลือกกันเองจํานวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ
(๙) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ ซึ่งต้องไม่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขโดยเลือกกันเองจํานวนหกคน เป็นกรรมการ
(๑๐) ผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่ไม่แสวงหากําไร ไม่ว่าจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ซึ่งเลือกกันเองจํานวนสิบสามคน เป็นกรรมการให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการแต่งตั้งพนักงานของสํานักงานไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา ๑๘ การเลือกกรรมการตามมาตรา ๑๓ (๑๐) ให้คณะกรรมการสรรหาดําเนินการดังต่อไปนี้
(๒) จัดให้องค์กรภาคเอกชนในแต่ละจังหวัดที่ประสงค์จะมีส่วนร่วมมาขึ้นทะเบียนในกลุ่มต่าง ๆ ตาม (๑)
(๓) จัดให้ผู้ซึ่งมีหนังสือมอบหมายให้เป็นผู้แทนขององค์กรภาคเอกชนที่ขึ้นทะเบียนตาม (๒) ของแต่ละจังหวัดมาเลือกกันเองในแต่ละกลุ่มให้เหลือกลุ่มละหนึ่งคน
(๑) จัดกลุ่มขององค์กรภาคเอกชนตามลักษณะของกิจกรรมที่ดําเนินงานเกี่ยวกับสุขภาพ
(๔) จัดให้ผู้ได้รับการเลือกเป็นผู้แทนของแต่ละกลุ่มในแต่ละจังหวัดตาม (๓) มาประชุมร่วมกันและเลือกกันเองให้เหลือผู้แทนจังหวัดละหนึ่งคน
(๕) ประกาศกําหนดพื้นที่ของประเทศออกเป็นสิบสามเขต โดยให้กรุงเทพมหานครเป็นหนึ่งเขต และให้ผู้แทนตาม (๔) ของแต่ละจังหวัดในแต่ละเขต ยกเว้นกรุงเทพมหานครมาประชุมร่วมกันและเลือกกันเองให้เหลือเขตละหนึ่งคน
มาตรา ๑๙ ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่ง ซึ่ง คสช. แต่งตั้ง ประกอบด้วย
(๒) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งจากผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขหนึ่งคน ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขหนึ่งคน ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยของรัฐซึ่งมิใช่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขหนึ่งคน ผู้ประกอบอาชีพสื่อมวลชนหนึ่งคน ผู้ซึ่งทําหน้าที่เป็นผู้แทนตามกฎหมายของ
(๓) เลขาธิการเป็นเลขานุการคณะกรรมการสรรหา
(๑) กรรมการตามมาตรา ๑๓ (๗) (๘) (๙) หรือ (๑๐) หนึ่งคน เป็นประธานคณะกรรมการสรรหา
มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการสรรหามีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
(๒) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการสรรหามอบหมาย
(๑) กําหนดวิธีการ หลักเกณฑ์และระยะเวลา ตลอดจนดําเนินการอื่นใดตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๑๕ มาตรา ๑๗ และมาตรา ๑๘
มาตรา ๒๑ กรรมการตามมาตรา ๑๓ (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปีโดยกรรมการตามมาตรา ๑๓ (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) จะดํารงตําแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๒๒ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการตามมาตรา ๑๓ (๖)พ้นจากตําแหน่งเมื่อพ้นจากตําแหน่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๕ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) แล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๓ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการตามมาตรา ๑๓ (๖)(๗) (๘) (๙) และ (๑๐) พ้นจากตําแหน่ง เมื่อ
(๒) ลาออก
(๓) ถูกจําคุก
(๑) ตาย
(๔) คสช. มีมติไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ให้ออก
(๕) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔
มาตรา ๒๔ หลักเกณฑ์และวิธีการการประชุม คสช. และการปฏิบัติงานของ คสช.ให้เป็นไปตามระเบียบที่คสช. กําหนด
มาตรา ๒๕ ให้คสช. มีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทําธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ
(๒) เสนอแนะหรือให้คําปรึกษาต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ และติดตามผลการดําเนินงาน
(๓) จัดให้มีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติและสนับสนุนในการจัดให้มีสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่
(๔) จัดให้มีหรือส่งเสริม สนับสนุนให้มีกระบวนการในการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพเพื่อให้เกิดการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง
(๕) กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับระบบสุขภาพแห่งชาติและผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ
(๖) เสนอแนะหรือให้คําปรึกษาในการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัตินี้หรือการออกกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัตินี้
(๗) กําหนดนโยบาย และกํากับดูแลการดําเนินการของคณะกรรมการบริหารและสํานักงาน
(๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
(๙) วางระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุมที่มิใช่เบี้ยประชุมของ คสช. และระเบียบว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
(๘) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการหรือคณะทํางาน เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตาม ที่คสช. มอบหมาย
หมวด ๓
สํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๒๖ ให้จัดตั้งสํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติขึ้นเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
มาตรา ๒๗ ให้สํานักงานมีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
(๒) ประสานงานกับหน่วยงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ดําเนินงานเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ
(๓) สํารวจ ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งสถานการณ์ของระบบสุขภาพเพื่อจัดทําเป็นรายงานหรือเพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
(๑) รับผิดชอบงานธุรการของ คสช. และคณะกรรมการบริหาร
(๔) ดําเนินการเพื่อให้การจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติและการสนับสนุนการจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่และสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นบรรลุผลตามมติของ คสช.
(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น หรือตามที่คณะรัฐมนตรีหรือ คสช. มอบหมาย
มาตรา ๒๘ รายได้ของสํานักงาน ประกอบด้วย
(๒) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
(๑) เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความเหมาะสมเป็นรายปี
(๔) รายได้จากการดําเนินกิจการของสํานักงาน
(๓) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่ตกเป็นของสํานักงาน
(๕) ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔)
มาตรา ๒๙ บรรดารายได้ของสํานักงานตามมาตรา ๒๘ ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนําส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
มาตรา ๓๐ การเก็บรักษาและการใช้จ่ายเงินของสํานักงานให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกําหนด
มาตรา ๓๑ ให้มีเลขาธิการคนหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารงานของสํานักงานขึ้นตรงต่อ คสช. มีหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งงานของสํานักงาน และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและฤษฎีกา
มาตรา ๓๒ ให้เลขาธิการมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดํารงตําแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๓๓ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระแล้ว เลขาธิการพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ถูกจําคุก
(๔) ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่ผ่านการประเมิน
มาตรา ๓๔ เลขาธิการมีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
(๑) บริหารกิจการของสํานักงานให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย มติข้อบังคับระเบียบ หรือประกาศของ คสช. และคณะกรรมการบริหาร
(๒) จัดทําแผนงานหลัก แผนการดําเนินงาน แผนการเงินและงบประมาณประจําปีของสํานักงานเสนอคณะกรรมการบริหารเพื่ออนุมัติ
(๓) ดําเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การเงิน การงบประมาณและการบริหารด้านอื่นของสํานักงาน ตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกําหนด
(๔) วางระเบียบเกี่ยวกับการดําเนินงานของสํานักงานเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย นโยบาย มติข้อบังคับ ระเบียบหรือประกาศของ คสช. และคณะกรรมการบริหาร
(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรีคสช. และคณะกรรมการบริหารมอบหมาย
มาตรา ๓๕ เงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของเลขาธิการให้คณะกรรมการบริหารกําหนดตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
มาตรา ๓๖ ให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของสํานักงานในกิจการของสํานักงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอก แต่เลขาธิการจะมอบหมายให้บุคคลใดปฏิบัติงานในเรื่องใดแทนตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกําหนดก็ได้
มาตรา ๓๗ ให้คสช. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วย
(๒) กรรมการบริหารซึ่งแต่งตั้งจากผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขหนึ่งคน
(๓) กรรมการบริหารซึ่งแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนไม่เกินห้าคน
(๑) ประธานกรรมการบริหารซึ่งแต่งตั้งจากกรรมการ
(๔) เลขาธิการเป็นกรรมการบริหารและเลขานุการ
มาตรา ๓๘ การดํารงตําแหน่ง การพ้นจากตําแหน่ง การประชุมและการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหาร ให้เป็นไปตามระเบียบที่คสช. กําหนด
มาตรา ๓๙ คณะกรรมการบริหารมีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
(๓) อนุมัติแผนงานหลัก แผนการดําเนินงาน แผนการเงินและงบประมาณประจําปี
(๔) ออกข้อบังคับ ระเบียบหรือประกาศตามที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้
(๒) กําหนดคุณสมบัติของเลขาธิการและรองเลขาธิการ และดําเนินการคัดเลือกเลขาธิการตามระเบียบที่คสช. กําหนด
(๕) จัดให้มีการประเมินผลการดําเนินงานของสํานักงานและรายงานต่อ คสช. อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
(๑) กําหนดนโยบาย และกํากับดูแลการดําเนินงานของสํำนักงานให้เกิดการจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพ
(๖) จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของเลขาธิการ
(๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คสช. มอบหมาย
(๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการบริหารมอบหมาย
หมวด ๔
สมัชชาสุขภาพ
มาตรา ๔๐ การจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ หรือสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น
มาตรา ๔๑ ให้คสช. จัดให้มีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา ๔๒ ในการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติให้คสช. แต่งตั้งคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติคณะหนึ่งมีจํานวนตามที่คสช. กําหนด
มาตรา ๔๓ ให้คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมีหน้าที่ในการจัดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติกําหนดวัน เวลาและสถานที่ในการประชุม ซึ่งต้องประกาศให้ประชาชนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันประชุม
มาตรา ๔๔ ผู้ใดประสงค์จะเข้าร่วมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในการประชุมครั้งใด ให้สมัครลงทะเบียนสําหรับการประชุมครั้งนั้นต่อเจ้าหน้าที่
มาตรา ๔๕ ในกรณีที่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติมีข้อเสนอให้หน่วยงานของรัฐนําไปปฏิบัติหรือนําไปพิจารณาประกอบในการกําหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ให้เสนอต่อ คสช.
หมวด ๖
บทกําหนดโทษ
มาตรา ๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๗ หรือมาตรา ๙ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๕๐ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิหนี้สิน และเงินงบประมาณของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขในส่วนของสํานักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๕๑ ให้นําบรรดาข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของสํานักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติมาใช้บังคับกับการปฏิบัติงานของสํานักงาน
มาตรา ๕๒ ให้ถือว่าข้าราชการที่โอนมาตามมาตรา ๕๐ ออกจากราชการเพราะทางราชการเลิกหรือยุบตําแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
มาตรา ๕๓ ให้นําความในมาตรา ๕๒ มาใช้บังคับกับการออกจากราชการหรือออกจากงานของข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการที่สํานักงานรับเข้าทํางานด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๕๔ ให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อํานวยการสํานักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๕๕ ในวาระเริ่มแรก ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาตาม มาตรา ๑๙ ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๙ (๒) ให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งตามข้อเสนอแนะของเลขาธิการ
(๑) ประธานกรรมการสรรหาตามมาตรา ๑๙ (๑) ให้แต่งตั้งจากผู้เคยดํารงตําแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการปฏิรูป
หมวด ๕
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๔๖ ให้คสช. จัดทําธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติเพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการกําหนดนโยบาย
มาตรา ๔๗ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และอย่างน้อยต้องมีสาระสําคัญเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้
(๔) การสร้างเสริมสุขภาพ
(๕) การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
(๓) การจัดให้มีหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ
(๖) การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ
(๒) คุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพ
(๗) การส่งเสริม สนับสนุน การใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพการแพทย์แผนไทย
(๑) ปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ
(๘) การคุ้มครองผู้บริโภค
(๙) การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ
(๑๐) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ
(๑๑) การผลิตและการพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข
(๑๒) การเงินการคลังด้านสุขภาพ
มาตรา ๔๘ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติและนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพตามมาตรา ๒๕ (๒) ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ผูกพันหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดําเนินการต่อไปตามอํานาจหน้าที่ของตน
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2559
หลักการสำคัญของระบบสุขภาพ
๓.๑ ปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ
๓.๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพ
๓ การจัดให้มีหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ
สาระรายหมวด
๑. สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ
๒. การสร้างเสริมสุขภาพ
๓. การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
๔ การบริการสาธารณสุขและการสร้างหลักประกันคุณภาพ
๕. การส่งเสริม สนับสนุน การใช้และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ
๖. การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
๗. การสร้างองค์ความรู้ด้านสุขภาพ
๘ การเผยแพร่ความรู้และข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ
๙. การสร้างและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ
๑๐ การเงินการคลังด้านสุขภาพ
๑๑. สุขภาพจิต
๑๒ สุขภาพทางปัญญา
๑๓ การอภิบาลระบบสุขภาพ
๑๔ ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่
นางสาววรนัน โป้ทอง 61102301120 B2