Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 2 การวางแผนครอบครัว - Coggle Diagram
หน่วยที่ 2 การวางแผนครอบครัว
การคุมกำเนิดแบบชั่วคราว
ใช้ฮอร์โมน
ยาฉีดคุมกำเนิด
ชนิดฮอร์โมนเดียว คือ DMPA ขนาด 150 mg ออกฤทธิ์นาน 3 เดือน ฉีดทุก 84 วัน และ NET-EN ขนาด 200 mg ออกฤทธิ์นาน 2 เดือน ฉีดทุก 60 วัน
ชนิดฮอร์โมนรวม ฉีดทุกเดือน เช่น cyclofem
ยาเม็ดคุมกำเนิด
ชนิดฮอร์โมนรวม ประกอบด้วย estrogen และ progesterone รวมกันในขนาดคงที่ มีชนิด 21 เม็ด หรือ 28 เม็ด
ชนิดที่มีขนาดคงที่(monophasic pills) จะมีestrogen และ progesteroneขนาดเท่ากันทุกเม็ด
1.ชนิดที่มีฮอร์โมนสูง เช่น Ovral , Ovulen และ Noriday เป็นต้น
2.ชนิดที่มีฮอร์โมนต่ำ เช่น Microgynon30 , Microgest และ Prevenon เป็นต้น
ชนิดที่มีฮอร์โมนต่ำมาก เช่น Diane-35 , Mercillon และ Meliane เป็นต้น
ชนิดที่มีฮอร์โมนต่างกัน estrogen และ progesterone
ขนาดไม่เท่ากัน
ชนิดที่มีฮอร์โมนต่างกัน 2 ระดับ(biphatic pills) โดยมี progesterone 11 เม็ดแรก ต่ำกว่า 10 เม็ดหลัง
ชนิดที่มีฮอร์โมนต่างกัน 3 ระดับ (triphasic pills) เช่น
Tri-Norinyl ชนิด 28 เม็ด เป็นต้น
ชนิดฮอร์โมนเดียว มีดังนี้
ชนิดฮอร์โมนเดียว มีฮอร์โมนสังเคราะห์ progesterone ปริมาณน้อย ใช้ในกรณีห้ามใช้ estrogen
ชนิดฮอร์โมน progesterone ปริมาณสูง ใช้ในรายที่ไม่ได้คุมกำเนิดมาก่อนหรือถูกข่มขืน หรือผิดพลาดในการใช้วิธีคุมกำเนิด
3.ฮอร์โมน estrogen ปริมาณสูง เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน
ยาฝังคุมกำเนิด
ชนิดไม่สลายตัว เมื่อครบกำหนดต้องเอาหลอดยาออก
Norplant-6 ชนิด 6 หลอด คุมกำเนิดได้นาน 5 ปี (ไม่ใช้แล้ว)
Norplant-2 ชนิด 2 หลอด คุมกำเนิดได้นาน 3 ปี (ไม่ใช้แล้ว)
ปัจจุบันนิยมใช้
Jadelle ชนิด 2 หลอด คุมกำเนิดได้นาน 5 ปี
Lmplanon ชนิด 1 หลอด คุมกำเนิดได้นาน 3 ปี
ชนิดสลายตัว สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้นาน 1-2 ปี
Capronor ใช้ 1 หลอด ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 18 เดือนหรือนานกว่า
-Norethindrone pellets ฝังครั้งละ 2-4 หลอด ป้องกันการตั้งครรภ์ได้นาน 1 ปี
ใช้สิ่งกีดขวาง
ห่วงอนามัย
ชนิดไม่มีตัวยาออกฤทธิ์ป้องกันการตั้งครรภ์ ทำจากพลาสติกชนิด polyethylene และอาบด้วย barium sulfate เพื่อให้ถ่ายภาพรังสีได้ เช่น lippes loop มีลักษณะคล้ายตัวเอส 2 ตัวต่อกัน
ชนิดมีตัวยาออกฤทธิ์ป้องกันการตั้งครรภ์ มี 2 ชนิด ได้แก่
Copper bearing IUD มีสารทองแดงเป็นส่วนประกอบ เช่น CU T-380A
Hormone releasing IUD มีฮอร์โมนสังเคราะห์เป็นส่วนประกอบ เช่น Levonorgestrel T เป็นต้น
ถุงยางอนามัย
ถุงยางอนามัยสตรี (female condom) ทำจาก polyurethane โดยใส่เข้าไปจนสุด ขอบในครอบปากมดลูก ขณะที่ขอบนอกจะช่วยให้ถุงยางปิดคลุมบริเวณปากมดลูก (ไม่นิยม)
ถุงยางอนามัยชาย(male condom) เป็นถุงสำหรับคลุมองคชาตในขณะร่วมเพศ
เพื่อขัดขวางน้ำอสุจิเข้าสู่ช่องคลอด
skin condom ทำจากไส้สัตว์ แทรกซึมความชุ่มชื้นจากสิ่งคัดหลั่งได้
Rubber condom หรือ latex condom ทำจากน้ำยางธรรมชาติ ใช้กันทั่วไป
polyurethane ทำจากสารสังเคราะห์ สำหรับผู้ที่แพ้ยางธรรมชาติ (ทั้งชายและหญิง)
การคุมกำเนิดโดยวิธีธรรมชาติ
การนับระยะปลอดภัยมีหลายวิธี ได้แก่ การนับระยะปลอดภัยจากปฏิทิน การวัดอุณหภูมิร่างกาย และการสังเกตมูกบริเวณปากช่องคลอด
การงดร่วมเพศ
การให้คำปรึกษาครอบครัวที่มีปัญหามีบุตรยาก
ภาวะมีบุตรยากแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
ภาวะมีบุตรยากปฐมภูมิ (primary infertility) หมายถึง
ผู้มีบุตรยากที่ไม่เคยมีบุตรมาก่อนหรือ ไม่เคยตั้งครรภ์เลย
ภาวะมีบุตรยากทุติยภูมิ (secondary infertility)
หมายถึง ผู้มีบุตรยากที่เคยมีบุตรมาแล้ว แต่ต่อมาไม่สามารถมีบุตรได้อีก หรือไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกหลังจากตั้งครรภ์ครั้งก่อนนาน 1 ปี
ปัจจัยส่งเสริมทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง
อายุฝ่ายหญิงสตรีที่มีอายุ 35 ปี หรือมากกว่าทำให้ไข่ตกช้า
หรือไม่มีการตกไข่ ความสามารถในการมีบุตรลดลง
อายุฝ่ายชาย จากการศึกษาพบว่าอัตราการตั้งครรภ์ลดลงในหญิงที่มีสามีอายุมากเกิน 30 ปี
3.การคุมกำเนิด เช่น การใช้ยาฉีดหรือยาฝัง หลังหยุดคุมกำเนิดแล้วต้องใช้เวลานานระยะหนึ่งกว่าจะมีการตกไข่
ความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์โดยทั่วไปการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 4 ครั้งจะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้สูง
การวินิจฉัย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อการวินิจฉัยในฝ่ายชาย
การวิเคราะห์น้ำอสุจิ (semen analysis)
ตรวจสอบโครงสร้างภายในอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือการ X-ray
การทำ biopsy เนื้อเยื่อบริเวณลูกอัณฑะ
และการตรวจสอบความสามารถในการเจาะไข่ของตัวอสุจิ
การตรวจหาความผิดปกติของฮอร์โมน
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อการวินิจฉัยในฝ่ายหญิง
Ultrasound เพื่อดูการทำงานของท่อนำไข่ การตกไข่
การคาดคะเนวันไข่ตก และการวินิจฉัยความผิดปกติอื่นๆ เป็นต้น
Hysterosalpingogram/HSG
Rubin’s test เพื่อดูการตีบตันของท่อนำไข่
Laparoscopy
เทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านการเจริญพันธ์
การผสมเทียม (artificial insemination) แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
การผสมเทียมโดยใช้น้ำอสุจิสามี (artificial insemination
with husband’s semen : AIH)
การผสมเทียมโดยใช้น้ำอสุจิของชายอื่น (artificial
insemination with donor semen : AID)
การทำเด็กหลอดแก้ว (in vitro fertilization and embryo
transfer, IVF-ET)
การนำไข่และอสุจิรวมกันในท่อนำไข่
(gamete intrafallopian tubal transfer, GIFT)
การฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในเซลล์ไข่ (intra cytoplasmic sperm injection, ICSI)
การย้ายตัวอ่อนระยะ 2 เซลล์ (zygote intrafallopian tubal
transfer, ZIFT)
Blastocyst Culture
การคุมกำเนิดแบบถาวร
การทำหมันชาย เป็นการทำให้ท่ออสุจิทั้ง 2 ข้างอุดตัน ทำให้เชื้ออสุจิผ่านไปไม่ได้ ทำได้ง่ายปลอดภัย และมีประสิทธิภาพการคุมกำเนิดสูงกว่าเมื่อเทียบกับการทำหมันหญิง
การทำหมันหญิง เป็นการทำให้ท่อนำไข่ตีบตันทั้งสองข้างด้วยการผูกและตัดท่อนำไข่ เพื่อป้องกันไม่ให้ไข่และอสุจิเดินทางมาปฏิสนธิกันในท่อนำไข่ การทำหมันหญิงแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้
การทำหมันหลังคลอด หรือ หมันเปียกทำในระยะหลังคลอดประมาณ 24-48 ชั่วโมง นิยมทำแบบ abdominal tubal resection (ATR)
การทำหมันแห้ง (interval sterilization) เป็นการทำหมันในช่วงเวลาปกติ หรือหลังคลอดมากกว่า 6 สัปดาห์ นิยมใช้วิธีผ่าตัดด้วยกล้อง laparoscope ผ่านแผลผ่าตัดใต้สะดือ(laparoscopic tubal resection) หรือวิธีเปิดแผลขนาดเล็กบริเวณท้องน้อยเหนือหัวหน่าว (suprapubic tubal sterilization)