Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะไม่สุขสบายของการตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะไม่สุขสบายของการตั้งครรภ์
ระบบหัวใจและหลอดเลือด ( Cardiovascular system)
เส้นเลือดดำโป่งพองหรือเส้นเลือดขอด (Vericose Veins)
สาเหตุ
การเพิ่มของฮอร์โมน Progesterone
ขนาดของมดลูกโตขึ้น
อาการและอาการแสดง
ส่วนใหญ่จะพบบริเวณตาตุ่ม น่อง ข้อพับ ขึ้นมาจนถึงโคนขา
มีเส้นเลือดโป่งพอง มีสีเขียวหรือ สีดำคล้ายๆ ขดไปมาคล้ายกับตัวหนอน
มีอาการปวดและบวมที่ขาด้วย
บทบาทพยาบาล
แนะนำให้นอนในท่าที่สบายที่สุด และยกเท้าสูงขึ้น 5-10 นาที
หรือนอนตะแคงเพื่อให้เลือดไหลเวียนสะดวก
นวดเพื่อลดอาการปวดเมื่อย โดยนั่งบนเก้าอี้และยกขาข้างหนึ่งขึ้นมาพาดบนเข่าอีกข้างหนึ่งใช้มือ จับบีบน่องเรื่อยๆ จนทั่วน่อง
พัน Elastic bandage หรือผ้ายืด พันจากข้อเท้าขึ้นมาถึงใต้เข่าหรือโคนขา
ใส่เสื้อผ้าหลวมๆ ใส่กางเกงพยุงครรภ์ และหลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานานๆ
อาการใจสั่นเป็นลม (Tachycardia , Fainting and Supine Hypotension)
สาเหตุ
หลอดเลือดขยายตัว
ทำให้การไหลเวียนเลือดไปยังสมองไม่ดี
น้ำตาลในเลือดต่ำ
บทบาทพยาบาล
แนะนำควรเปลี่ยนอิริยาบถช้า ๆ
รับประทานอาหารบ่อยครั้งขึ้น เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
เวลานอนให้นอนตะแคงซ้าย เพื่อป้องกันไม่ให้มดลูกกดทับหลอดเลือดขนาดใหญ่
ระบบหายใจ ( Respiratory system)
หายใจไม่สะดวก (Breathlessness)
สาเหตุ
กล้ามเนื้อหน้าอกหย่อนตัวลง
มดลูกขยายใหญ่ขึ้นมีผลไปดันกระบังลม
บทบาทพยาบาล
หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชนแออัด พยายามหายใจช้า ๆ และลึก ๆ
แนะนำให้นอนศีรษะสูง เช่น semi-fowler’ position
ถ้ามีอาการขณะทำกิจกรรม ให้ลดการทำกิจกรรมลง
แนะนำให้นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
ระบบโครงสร้างและกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal system)
1.อาการตะคริว (Cramp)
สาเหตุ
การเสียสมดุลระหว่างแคลเซียมและฟอสฟอรัส
การหมุนเวียนของเลือดประสิทธิภาพลดลง
อาการและอาการแสดง
ปวดส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น น่อง ต้นขา
มีการแข็งตัวและปวดมาก
คลำดูจะรู้สึกแข็งเป็นก้อน
บทบาทพยาบาล
หลีกเลี่ยงการยืนนานๆ หรือนั่งห้อยเท้านานๆ
สวมใส่รองเท้าส้นเตี้ย
หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้า หรือถุงน่องที่รัดแน่น
หลีกเลี่ยงการกดปลายเท้าและการการนั่งไขว้ห้าง
ออกกำลังกายท่าการบริหารกล้ามเนื้อน่อง (Calf stretching exercise) เพื่อป้องกันการเกิดตะคริว
อาการปวดหลัง (back pain)
สาเหตุ
มดลูกมีขนาดที่โตขึ้น
การยืดขยายของเส้นเอ็นที่ยึดข้อต่อต่างๆของกระดูกเชิงกราน
การเคลื่อนไหวที่ไม่ถูกต้อง เช่น การเดิน การก้มเก็บของ
อาการอาการแสดง
ปวดที่หลังส่วนล่างระหว่างก้นทั้ง 2 ข้าง ร้าวลงไปถึงต้นขา
บทบาทพยาบาล
แนะนำให้หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก การนั่งพับเข่า และพักผ่อนในท่านอนตะแคง
แนะนำให้ใส่รองเท้าส้นเตี้ยไม่สูงเกินไป
ให้ยืนหรือนั่งในท่าหลังตรง
ให้ญาติหรือสามี ช่วยนวดบริเวณหลังจะช่วยผ่อนคลายอาการปวด
แนะนำให้บริหารร่างกายท่า Pelvic rocking ยืน เดิน ในท่าที่สบาย เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
3.อาการปวดท้อง (Abdominal Pain)
สาเหตุ
ข้อต่อซึ่งรองรับมดลูกได้ยืดตัวออก
ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยด้านข้างของท้อง
บทบาทพยาบาล
แนะนำให้มารดาพยายามนวดอย่างเบาๆ ในบริเวณที่ปวด
แนะนำให้ใส่กางเกง support
ถ้ามีอาการปวดท้องมากขึ้นเรื่อย ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือหมอสูติประจำตัวโดยเร็ว
Carpal Tunnel Syndrome
สาเหตุ
มือ เท้า มีอาการชา เจ็บยิบ ๆ หรือเจ็บฝ่ามือ เนื่องจากระบบประสาทที่ข้อมือถูกกดทับ
บทบาทพยาบาล
แนะนำให้มารดานวดฝ่ามือ ขยับนิ้วมือขึ้นลง กางนิ้วมือทั้ง 5 กว้างๆ สัก 2-3 วินาทีแล้ว หุบมือ
เวลากลางคืนลองนอนห้อยมือลงมาข้างเตียง
อาการเจ็บที่กระดูกใต้อก (Rib Pain)
สาเหตุ
มีการขยายตัวใหญ่ขึ้นของมดลูกไปกดทับกระดูก
ทำให้มีอาการเจ็บแปลบๆ ใต้อกด้านใดด้านหนึ่ง
บทบาทพยาบาล
แนะนำให้เปลี่ยนชุดชั้นในที่ได้ขนาดพอดีกับทรวงอกที่ขยายขึ้น
ควรนั่งหลังตรงเพื่อให้กระดูกใต้อกมีเนื้อที่เพิ่มขึ้น หรือนั่งกับพื้นชูแขนขึ้นเหนือศีรษะ แล้วขอให้บุคคลอื่นช่วยดึงแขนแต่ละข้างขึ้นอย่าง ช้าๆ อย่างเบามือ
Sciatica
สาเหตุ
ทารกในท้องกดทับเส้นประสาท
ทำให้มีอาการปวดตั้งแต่ก้นลงมาจนถึงขาหรือเจ็บแปลบขาข้างหนึ่งข้างใด
บทบาทพยาบาล
แนะนำให้มารดานั่งพักและหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหว
บีบนวดอย่างเบา ๆ
เอามือจับพนักเก้าอี้แล้วแกว่งขาไปมาด้านข้าง (ห่าง 45 องศา) หลาย ๆ ครั้งทุกวัน
ปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน (Pelvic Pain)
สาเหตุ
ข้อต่อกระดูกหย่อนตัวลง
ทำให้เกิดอาการปวด
บทบาทพยาบาล
แนะนำให้กอดหมอนข้างหรือวางหมอนนิ่ม ๆ ระหว่างเข่าและใต้ท้อง
แนะนำให้นอนที่นอนที่ไม่แข็งเกินไป
ควรจะปัสสาวะให้บ่อย ๆ เพื่อระบายกระเพาะปัสสาวะให้ว่างเสมอ