Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผนพัฒนาสุขภาพ - Coggle Diagram
แผนพัฒนาสุขภาพ
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2559
แนวโน้มสถานการณ์ที่อาจมีผลต่อระบบสุขภาพใน ๑๐ ปีข้างหน้า
การจัดลําดับความสําคัญของงานวิจัยด้านสุขภาพสําหรับประเทศไทย ของโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพและรายงานสุขภาพคนไทย ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ทําให้สามารถสรุปแนวโน้มสถานการณ์ที่อาจมีผลกระทบต่อระบบสุขภาพไทยใน ๑๐ ปีข้างหน้า ได้อย่างน้อย ๗ ด้านสําคัญ ได้แก่ (๑)การเมืองการปกครอง (๒) เศรษฐกิจ (๓) ประชากรและสังคม (๔) เกษตรและอาหาร(๕) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (๖) สารสนเทศและเทคโนโลยีและ (๗) สาธารณสุข
หลักการสำคัญของระบบสุขภาพ
ปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ
สุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคน
บุคคลมีบทบาทในการดูแลตนเอง ครอบครัว รวมถึงชุมชชน
ระบบสุขภาพมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ
ระบบสุขภาพ จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักคุณธรรม จริยธรรม มนุษยธรรม ธรรมาภิบาล ความรู้ และปัญญา
คุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพ
ส่งเสริมให้บุคคลดูแลสุขภาพที่ยึดหลักการพึ่งตนเองของบุคคล และของสังคมที่อาศัยการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ทุกภาคส่วนให้ความสําคัญกับเรื่องสุขภาพในการจัดทํานโยบายสาธารณะ
รัฐและทุกภาคส่วนต้องให้ความสําคัญกับหลักการทํางานแบบเครือข่ายและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในทุกระดับ เพื่อการอภิบาลระบบสุขภาพ
การจัดให้มีหลักปประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ
หลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ จะต้องมีความครอบคลุมปัจจัยทั้งหลายที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ
การสร้างหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม
ในปี 2559 ได้เพิ่มการนิยามศัพท์ทางด้านสุขภาพ
สาระหลายหมวด
การสร้างองค์ความรู้ดานสุขภาพ
การเผยแพร่ความรู้และข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ
การคุมครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
การเงินการคลังด้านสุขภาพ
การส่งเสริม สนุบสนุน การใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพย์ทางเลือกอื่นๆ
สุขภาพจิต
การบริการสาธารณสุขและการสร้างหลักประกันคุณภาพ
สุขภาพทางปัญญา
การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
การอภิบาลระบบสุขภาพ
การสร้างเสริมสุขภาพ
ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่
สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552
แบ่งเป็น 12 หมวด
หมวด 6 การบริการสาธาณสุข และการควบคุมคุณภาพ
หลักการ
ข้อ 43 ระบบสาธารณสุขต้องเป็ฯระบบที่มีคุณภาพมีประสิทธิภาพประสิทธิผล ราคาไม่แพง
เป้าหมาย
ข้อ 44 ไดด้รับการยอมรับเป้นที่พึ่งที่พึ่งหลักประชาชน
ข้อ 45 บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
มาตราการ
ให้บริการครอบคลุมประชากรอย่างทั่วถึงทั้งในเขตเมืองและชนบท
ส่งเสริมศักยภาพการบริการ ให้มีการรณรงค์ให้ข้อมูลข่าวสาร และสร้างค่านิยมที่ถูกต้องแก่ประชาชน
จัดให้มีการกำกับดูแลทิศทางการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข
หมวด 7 การส่งเสริม สนับสนุน การใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ
หลักการ
ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและแพทย์ทางเลือกอื่นๆ ต้องมีความสอดคล้องมีการสร้างเสริมความแข็งแรงของระบบสุขภาพประชาชนมีสิทธิเลือกการรับบริการ
เป้าหมาย
ชุมชนท้องถิ่นมีบทบาทด้านการดูแลสุขภาพมีรายการยาพัฒนาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติมีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุน
มาตราการ
เสนอแนะนโยบายในการขับเคลื่อนภูมิปํญญาท้องถิ่น สร้างเสริมความแข็งแรงและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการฟื้นฟูสืบสานภูมิปัญญาพัฒนาศักยาภาพหมอพื้นบ้านในชุมชน พัฒนาวิจัยการแพทย์แผนไทย ส่งเสริมการใช้ยาไทยและยาที่พัฒนาจากสมุนไพร
หมวด 3 การจัดให้มีหลักประกันและเป้าหมายของระบบสุขภาพ
ข้อ ๑๔ หลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพจะต้องครอบคลุมการจัดการกับปัจจัยทั้งหมดที่กระทบต่อสุขภาพทั้งปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านระบบบริการสาธารณสุข ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะหลักประกันการเข้าถึงบริการสาธารณสุขเท่านั้น และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อม ทั้งทางกายภาพ ชีวภาพเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งนโยบายสาธารณะต่างๆ
ข้อ 17 การสร้างหลักประกันและความคุ้มครองดังกล่าวให้มีการมีส่วนร่วมอย่างสมานฉันท์ เกื้อกูล เอื้ออาทร จากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ วิชาชีพและประชาสังคม
ข้อ 16 หลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพจะต้องครอบคลุมประชาชนทุกคนที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทย โดยไม่มีการแบ่งแยกฐานะ
หมวด 11 การสร้างพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข
เป้าหมาย
บุคลากรมีปริมาณที่เพียงพอสมามารถทำงานได้
มาตราการ
ดูแลทิศทางนโยบาย สนับสนุนการผลิตบุคลากร ส่งเสริมบทบาทการทำงาน
หลักการ
บุคลากรด้านสาธารณสุขเป็นกำลังขับเคลื่อระบบสุขภาพ
หมวด 5 การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
หลักการ
ข้อ 32 บุคคลมีสิทธิได้รับการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
เป้าหมาย
ข้อ 33 รัฐมีเอกภพในการป้องกันควบคุมโรค
ข้อ 34 ชุมชนมีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรค
มาตราการ
จัดทำแผนควบคุมโรค เสริมสร้างความสามารถในองค์กรส่งเสริมการเฝ้าระวังมีกฎหมายคุมครองส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้
หมวด 8 การคุมครองผู้บริโภค
หลักการ
ระบบการคุ้มครองผู้บริโภค โดยมุงเน้น สร้างกระบวนการเรียนรู้ ให้ข้อมูลข่าวสาร เฝ้าระวังและติดตาม สนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค
เป้าหมาย
ได้รับการปกป้องคุ้มครอง รวมถึงการได้รับความรู้ข้อมูลข่าวสารครบถ้วน
มาตราการ
จัดตั้งองค์การเพื่อคุ้มครอง สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้บริโภค ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนกำหนดนโยบาย มีการทดสอบมาตราฐานสินค้า
หมวด 4 การสร้างเสริมสุขภาพ
เป้าหมาย
ข้อ ๒๑ มีการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่
เอื้อต่อสุขภาพอย่างหลากหลายและเป็นรูปธรรม
ข้อ ๒๒ มีการสร้างเสริมสุขภาพของบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคม อย่างสมดุลและเชื่อมโยงกันตามหลักการสร้างเสริมสุขภาพ
ข้อ ๒๐ มีการพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพ
อย่างมีส่วนร่วมและเป็นรูปธรรม
ข้อ ๒๓ มีชุมชนท้องถิ่นที่มีความเข้มแข็งด้านสุขภาพครอบคลุมร้อยละ 60 ของตำบลทั่วประเทศมาตรการ
มาตราการ
ข้อ 26 ให้รัฐสนับสนุนการศึกษาและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคคล ครอบครัว ชุมชน เพื่อสร้างเสริมความรู้และพัฒนาทักษะในการดำเนินชีวิตและการสร้างเสริมสุขภาพ
ข้อ 25 ให้รัฐสนับสนุนหน่วยงานรัฐทุกภาคส่วนร่วมกันพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
ข้อ 24 ให้รัฐสนับสนุนให้หน่วยงานรัฐทุกภาคส่วนพัฒนานโยบาย สาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพ
ข้อ 27 ส่งเสริมการกระจายยา เวชภัณฑ์ ความรู้และเทคโนโลยีที่จำเป็นเพื่อการดูแลตนเองและการพึ่งตนเองทางด้านสุขภาพ
ข้อ 28 ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนบุคคลในการดูแลปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
ข้อ 29 ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาระบบสวัสดิการ กองทุนชุมชน
ข้อ 30 ส่งเสริมการสร้างจัดการความรู้ การวิจัยเทคโนโลยี ทุนและการตลาดเพื่อพัฒนาการเกษตร การอุตสาหกรรม ธุรกิจการบริการที่เอื้อต่อสุขภาพ
ข้อ 31 จัดให้มีแผนยุทธศาตร์ด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์
หลักการ
ข้อ 14 การสร้างเสริมสุขภาพต้องเป็นไปเพื่อให้เกิดสุขภาวะอย่างเป็นองค์รวมทั่วทั้งสังคม
หมวด 9 การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ
เป้าหมาย
เกิดระบบสุขภาพที่อยุ่บนฐานความรู้อย่างกว้างขวางและครอบคลุม
มาตราการ
จัดสรรงบประมาณในการวิจัย สร้างสื่อเผยแพร่ความรู้ สนับสนุนช่องทางการเรียนรู้
หลักการ
สร้างความรู้แก่ประชาชน มีแหล่งข้อมูลความรู้ สื่อเผยแพร่แก่ประชาชน
หมวด 2 คุณลักษณะที่พึ่งประสงค์และเป้าหมายระบบสุขภาพ
ข้อ 13 การจัดการระบบสุขภาพจะต้องยึดหลักธรรมาภิบาล
ข้อ 14 ระบบสุขภาพจะต้องเกื้อหนุน ส่งเสริม และเอื้อ อำนวยให้บรรลุเป้าหมายแห่งสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพทุกประการตามพระราชบัญญัติสุขภาพ
แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ 12 ระบบสุขภาพต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชน
ข้อ 15 กรอบเวลาเป้าหมายของธรรมนูญฉบับนี้ เป็น
ภาพรวมของระบบสุขภาพที่มองยาวไปถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๓
ข้อ 11 ระบบสุขภาพจะต้องอยู่บนพื้นฐานของหลัก
คุณธรรม จริยธรรม มนุษยธรรม ธรรมาภิบาล ความรู้และปัญญา
หมวด 10 การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ
เป้าหมาย
ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ทันสมัย
มาตราการ
พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร ตรวจสอบข้อมูลข่าวสารกำหนดทิศทางนโยบายการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร
หลักการ
เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาราด้านสุขภาพ
หมวด 1 ปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ
ข้อ 7 ระบบสุขภาพจะต้องส่งเสริมคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และต้องให้ความสำคัญกับความเป็นธรรม และความเท่าเทียมกันในสังคม
ข้อที่ 8 ระบบสุขภาพต้องคำนึงถึงการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม
ข้อ 6 ระบบสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคม และเป็นส่วนหนึ่งของระบบความมั่นคงของประเทศ
ข้อ 9 ระบบสุขภาพต้องให้ความสำคัญสูงกับการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนการพึ่งตนเองได้ของประชาชน
ข้อ 5 ระบบสุขภาพเป็นระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่เกี่ยงข้องกับสุขภาพ โดยมีมีระบบบริการสุขภาพเป็นส่วนหนึ่ง
ข้อ 10 ทุกภาคส่วนมีหน้าที่ในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ
ข้อ 4 สุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
หมวด 12 การเงินการคลังด้านสุขภาพ
เป้าหมาย
ลดสัดส่วนรายจ่ายประชาชน มีความเป็นธรรม
มาตราการ
จัดระบบการคลังให้ควบคุมประชาชน เพิ่มการลงทุนในระบบบริกการที่มีประสิทธิภาพสูง ส่งเสริมจัดตั้งกองทุนสุขภาพชุมชน
หลักการ
ต้องเป็นไปเพื่อความยั่งยืนของระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ไม่เน้นผลประโยชน์เชิงธุรกิจ
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
ประกอบด้วย 6 หมวด ดังนี้
หมวด 1 สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ
มาตรา 5 บุคคลมีสิทธิในการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
มาตรา 6 สุขภาพของหญิง เด็ก คนพิการ คนสูงอายุ คนด้อยโอกาสในสังคม กลุ่มคนต่างๆ ที่มีความจำเพาะต้องได้รับการสร้างเสริม และคุ้มครองอย่างเหมาะสม
มาตรา 7 ข้อมูลสุขภาพบุคคลเป็นความลับ ผู้ใดนำไปเปิดเผยทำให้บุคคลนั้นเสียหาย เว้นแต่เปิดเผยตามความประสงค์ของบุคคลนั้นโดยตรง
มาตรา 8 บุคลากรด้านสาธารณสุขต้องแจ้งข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวกับการให้บริการให้ผู้รับบริการทราบ เว้นแต่ผู้รับบริการอยู่ในภาวะอันตรายต่อชีวิตจำเป็นต้องช่วยเหลืออย่างรีบด่วน หรือผู้รับบริการอยู่ในฐานะที่ไม่ทราบข้อมูลได้จำเป็นต้องแจ้งผู้แทนโดยธรรมในการตัดสินใจ
มาตรา 9 กรณีผู้ประกอบวิชาชีพจะใช้ผู้รับบริการเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองในงานวิจัย ผู้ประกอบวิชาชีพต้องแจ้งผู้รับบริการทราบล่วงหน้ามีหนังสือเซ็นยินยอม และผู้รับบริการจะเพิกถอนเมื่อใดก็ได้
มาตรา 10 กรณีที่มีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนเกิดขึ้น หน่วยงานรัฐต้องเปิดเผยข้อมูลและวิธีป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนทราบและจัดหาข้อมูลโดยเร็ว
มาตรา 11 บุคคลมีสิทธิร้องขอให้มีการประเมินและมีสิทธิร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะ
มาตรา 12 บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการที่เป็นไปเพียงยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย
หมวด 2 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
หมวดนี้จะว่าด้วยการคัดเลือกแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพและคุณสมบัติของคณะกรรมการ
หมวด 3 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
หมวดนี้กล่าวถึงการบริหารงานอำนาจหน้าที่และระยะเวลาการดำรงตำแหน่งรวมถึงการจัดสรรรายได้และงบประมาณ
หมวด 4 สมัชชาสุขภาพ
หมวดนี้จะกล่าวถึงการให้ประชาชนและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องได้ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันโดยให้มีการจัดการประชุมอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
หมวด 5 ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา 48 ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ และนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพตามมาตรา 25 ที่คระรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ผูกพันหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่ของตน
มาตรา 47 ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 46 ให้คสช. จัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติเพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบายยุทธศาสตร์และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความชอบ
หมวด 6 บทกำหนดโทษ
มาตรา 49 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 7,9 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6เดือน ปรับไม่เกิน 10,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ