Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อที่มาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ - Coggle Diagram
การติดเชื้อที่มาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การตกขาวผิดปกติ
1.1 การตกขาวจากการติดเชื้อรา (Vulvovaginal candidiasis)
ปัจจัยและปัจจัยเสี่ยง
การรับประทานยาปฏิชีวนะ
การได้รับฮอร์โมนสเตียรอยด์
การรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดที่มีปริมาณฮอร์โมนมาก
ภูมิต้านทานของร่างกายถูกกดจากการเป็นโรคเอดส์
การควบคุมภาวะเบาหวานไม่ดี
การรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมาก
การสวมใส่ชุดชั้นในที่แน่นเกินไป
การใช้น้ำยาล้างทำความสะอาดช่องคลอด
การใส่แผ่นอนามัยโดยไม่เปลี่ยนระหว่างวัน
ความเครียด
การตั้งครรภ์
ขบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตขณะตั้งครรภ์
อาการและอาการแสดง
-มีอาการคันระคายเคืองมาก
-เจ็บขณะร่วมเพศ
-ปัสสาวะลำบาก และแสบขัดตอนสุด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อราในช่องคลอดเป็นมากขึ้นเป็น 2 เท่า มีความระคายเคือง คันช่องคลอดมากขึ้น
ผลกระทบต่อทารก
จะเป็นเชื้อราในช่องปาก
(oral thrush) ได้มากกว่าปกติ 2-35 เท่า
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
อาการตกขาวผิดปกติ
การตรวจร่างกาย
ตรวจภายในพบช่องคลอดบวมแดงตกขาวมีลักษณะขุ่น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจด้วยวิธี wet mount smear จะพบเซลล์ของยีสต์
ตรวจด้วยวิธี gram stain จะพบลักษณะเป็นเหมือนเส้นด้าย
แนวทางการรักษา
ใช้ยารักษาภายนอกเฉพาะที่
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์ เข้าใจสาเหตุของการติดเชื้อ และการดูแลตนเอง
แนะนำการใช้ยาทา และยาเหน็บช่องคลอดตามแพทย์สั่ง
การทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และการทำความสะอาดชุดชั้นใน
หากอาการติดเชื้อเป็นซ้ำ ๆ หรือสามีมีอาการแสดง ควรพาสามีให้มารักษาพร้อมกัน
ระยะคลอด
สามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ
ระยะหลังคลอด
การดูแลมารดาหลังคลอดเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
เน้นการดูแลความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาดและแห้ง
สามารถเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาได้
ทารกแรกเกิดอาจมีการติดเชื้อในช่องปาก ซึ่งจะพบมีฝ้าขาวในช่องปาก ให้ปรึกษากุมารแพทย
1.2 การตกขาวจากการติดเชื้อพยาธิ (Vaginal trichomoniasis)
อาการและอาการแสดง
ผู้ติดเชื้อร้อยละ 50 มักจะพบโรคคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ย เช่น หนองใน ปากมดลูกอักเสบแบบมูกปนหนอง หูดหงอนไก่ เชื้อราในช่องคลอด
ลักษณะของตกขาวมีสีขาวปนเทาตกขาวเป็นฟองเหม็น
มีอาการระคายเคืองที่ปากช่องคลอด ในช่องคลอด ปากช่องคลอดบวมแดง strawberry spot
4.มีอาการปัสสาวะแสบขัดหรือบ่อย ปวดแสบ
เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกคลอดก่อนกำหนด และทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อย
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติ
ประวัติการมีตกขาวจำนวนมาก เป็นฟอง มีกลิ่นเหม็น ร่วมกับอาการคัน
การตรวจร่างกาย
ภายในช่องคลอด พบตกขาวเป็นฟองสีเหลือเขียว และstrawberry spot
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ด้วย wet mount smear จะพบเม็ดเลือดขาวจำนวนมาก
แนวทางการรักษา
ยาที่ใช้ได้ผลดีที่สุดต่อการติดเชื้อพยาธิ คือ metronidazole แต่ห้ามใช้ในไตรมาสแรก
หลังไตรมาสแรกไปแล้ว จะรักษาด้วย metronidazole โดยให้รับประทาน 2 กรัม
ให้การรักษาสามีไปด้วย
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้คำแนะนำและการดูแลเหมือนสตรีตั้งครรภ์ทั่วไป
แนะนำการเหน็บยา
แนะนำให้สามีมารับการรักษาพร้อมกัน
แนะนำการมีเพศสัมพันธ์
แนะนำการรักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้แห้งสะอาดเสมอ
ระยะคลอด
ให้การพยาบาลผู้คลอดในระยะคลอด โดยให้คลอดทางช่อคลอดได้ตามปกติ
ระยะหลังคลอด
ให้การพยาบาลเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
แนะนำให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้
หากอาการยังไม่ดีขึ้น ให้พบแพทย์และดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ต้องได้รับการรักษาทั้งสามีและภรรยาให้หาย
1.3 การตกขาวจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial vaginosis)
อาการและอาการแสดง
คัน ปวดแสบปวดร้อนปากช่องคลอด ถ่ายปัสสาวะลำบาก แสบขัด
เจ็บขณะร่วมเพศ มีกลิ่นเหม็นเน่า
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
อาจทำให้มีการติดเชื้อราได้ง่ายขึ้น
อาจทำให้เกิดการแท้งติดเชื้อ
มารดาหลังคลอดอาจมีไข้
ผลกระทบต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย
ทารกคลอดก่อนกำหนด
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติ
การมีตกขาวจำนวนมาก ปวดแสบปวดร้อนบริเวณปากช่องคลอดถ่ายปัสสาวะลำบา เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
การตรวจร่างกาย
ตรวจทางช่องคลอดและการทำ pap smear จะพบเชื้อแบคทีเรีย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจ Wet smear
การเพาะเชื้อ ตกขาวใน columbia agar
แนวทางการรักษา
ให้ยา metronidazole
ให้ampicillin
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้คำแนะนำและการดูแลเหมือนสตรีตั้งครรภ์ทั่วไป
รับประทานยาตามแพทย์สั่งให้ครบ
รักษาความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกไม่ให้อับชื้นโดยใช้น้ำธรรมดา
แนะนำให้พาสามีไปตรวจและรักษาโรคพร้อมกัน
แนะนำการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ทันที
ระยะคลอด
ผู้คลอดสามารถคลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ
ระยะหลังคลอด
ให้การดูแลเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
สามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้
เน้นการทำความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ให้สะอาดและแห้งเสมอ
หากมีอาการผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์ทันที
ซิฟิลิส (Syphilis)
อาการและอาการแสดง
ซิฟิลิสระยะแรก หรือระยะที่หนึ่ง (primary stage)
เกิดแผล กลม นิ่ม ขอบนูนแข็ง ไม่เจ็บ
ซิฟิลิสระยะที่สอง (secondary stage)
แผลกำลังจะหาย หรือหลังจากแผลหายจะพบผื่นกระจายทั่วร่างกาย ฝ่ามือฝ่าเท้า มีอาการไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ ผมร่วงเป็นหย่อมๆ ปวดศีรษะ น้ำหนักลด
ระยะแฝง (latent syphilis)
ไม่มีอาการใด ๆ
ซิฟิลิสระยะที่ 3 หรือระยะท้ายของโรคซิฟิลิส (tertiary syphilis)
ระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิด aortic aneurysm และ aortic insufficiency อาจเกิด gumma lesionและ Argyll Robertson Pupil
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ทำให้ผิวหนังและเนื้อเยื่ออักเสบ คลอดก่อนกำหนด และแท้งบุตร
ผลต่อทารก
ทารกคลอดก่อนกำหนด ตายคลอด
ทารกแรกเกิดติดเชื้อซิฟิลิส ทารก
พิการแต่กำเนิด
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติ
มีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ
เคยป่วยด้วยโรคซิฟิลิสมาก่อน
การตรวจร่างกาย
ไข้ต่ำ ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัวมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด
อวัยวะสืบพันธ์ภายนอกพบแผลที่มีลักษณะขอบแข็ง กดไม่เจ็บ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจหาเชื้อ T. Pallidum จากแผล chancre
หา antibody ที่ไม่จำเพาะต่อเชื้อ
หา antibody เพื่อยืนยันการติดเชื้อซิฟิลิส
ตรวจด้วยวิธี VDRL
แนวทางการรักษา
การรักษาเป็นแนวทางเดียวกับสตรีที่ติดเชื้อซิฟิลิสขณะไม่ตั้งครรภ์
ให้ยา Penicillin G
ระยะ primary, secondary และ early latent syphilis รักษาด้วย Benzathine Penicillin G Sodium 2.4 ล้านยูนิต ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะโพกครั้งเดียว
การรักษาในระยะ late latent syphilis จะรักษาด้วย Benzathine Penicillin G Sodium 2.4 ล้านยูนิต ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะพก 3 สัปดาห์ติดต่อกัน
หนองใน (Gonorrhea)
อาการและอาการแสดง
มีการอักเสบของปากมดลูกและช่องคลอดทำให้ตกขาวเป็นหนองข้นปริมาณมาก
หากมีการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง
พบปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกระปิดกระปรอย เป็นหนองข้น และปัสสาวะเป็นเลือด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ไม่มีอาการ มีบุตรยาก
หากมีลูกถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด แท้งบุตร และการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารก
ติดเชื้อหนองในที่ปากมดลูก เกิดตาอักเสบ สำลักน้ำคร่ำ
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติ
การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อหนองใน
เคยป่วย
การตรวจร่างกาย
ตรวจทางช่องคลอดจะพบหนองสีขาวขุ่น เลือดปนหนอง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจ gram stain smear หากมีการติดเชื้อจะพบ intracellular gram negative diplocooci
ตรวจ NAT เพื่อยืนยันผล หากผล positive ต่อ Neiseria gonorrheae
แนวทางการรักษา
ตรวจคัดกรองขณะตั้งครรภ์ตามปกติ (VDRL)
หากพบว่ามีเชื้อให้ยา ceftriaxone, azithromycin, penicillin ได้ทั้งรับประทานและฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
ทารกแรกเกิดทุกรายควรได้รับยาป้ายตาคือ 1% tetracycline ointment หรือ 0.5%
erythromycin ointment หรือ 1% Silver nitrate (AgNO3) หยอดตาตาทารก
ทารกที่พบว่ามีการติดเชื้อหนองในควรได้รับยาปฏิชีวนะ ceftriaxone
การรักษาในสตรีตั้งครรภ์ควรคำนึงว่ามีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นร่วมด้วยหรือไม่
การติดเชื้อเริม (Herpes simplex)
อาการและอาการแสดง
3-7 วันหลังการสัมผัสเชื้อ โดยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน และคันบริเวณที่สัมผัสโรค จากนั้นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใสๆแล้วแตกกลายเป็นแผลอยู่ 2 สัปดาห์ ์ ก่อนจะตำสะเก็ด บางรายอาจมีอการคล้ายหวัด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
เสี่ยงต่อการแท้ง การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารก
เจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกคลอดก่อนกำหนด หากทารกมีการติดเชื้อในขณะ
ตั้งครรภ์ จะทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิดสูง
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
เคยติดเชื้อเริมมาก่อนหรือไม่ หรือเคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็น
การตรวจร่างกาย
พบตุ่มน้ำใส หากตุ่มน้ำแตกจะพบแผลอักเสบ แดง ปวดแสบปวดร้อนบริเวณ
ขอบแผลค่อนข้างแข็ง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การเพาะเชื้อใน Hank’s medium
การขูดเนื้อเยื่อจากแผลมาทำการย้อมและดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
Tzanck’s testพบเชื้อร้อยละ 70-85
แนวทางการรักษา
1.อ การรักษาจึงเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ
ให้ Acyclovir
การรักษาในระยะคลอด
1 กรณีที่เคยติดเชื้อเริมมาก่อน แต่ขณะคลอดตรวจไม่พบรอยโรคหรือไม่มีอาการของการติด
เชื้อ ให้คลอดทางช่องคลอด และเฝ้าระวังทารก เพื่อดูอาการของการติดเชื้อเริม
2 กรณีที่พบรอยโรคขณะคลอด ให้คลอดโดยการผ่าตัดคลอด และเฝ้าระวังทารกเพื่อดูอาการของการติดเชื้อเริม แต่หากว่ารอยโรคอยู่ห่างจากอวัยวะสืบพันธุ์มากและรอยโรคไม่แตกอาจให้คลอดทางช่องคลอดได้
หูดหงอนไก่ (Condyloma acuminate)
อาการและอาการแสดง
การติดเชื้อขณะตั้งครรภ์รอยโรคจะขยายใหญ่ มีผิวขรุยระคล้ายดอกกะหล่ำและยุ่ยมาก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ตกเลือดหลังคลอด และมารดาหลังคลอดมีโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกได้
ผลต่อทารก
อาจเกิด laryngeal papillomatosis
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
เคยติดเชื้อหูดหงอนไก่มาก่อน หรือเคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็น
การตรวจร่างกาย
พบรอยโรคเป็นติ่งเนื้อสีชมพูคล้ายหงอนไก่ ผิวขรุขระคล้ายดอกกะหล่ำ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจ Pap smear หรือตรวจหาเชื้อ HPV โดยวิธี PCR หรือการตรวจ DNA
แนวทางการรักษา
ทาบริเวณรอยโรคด้วย 85% trichlorracetic acid ทุก7-10 วัน
ใช้ยาท่าร่วมกับการจี้ laser
แนะนำการรักษาความสะอาด
4.อาจพิจารณาผ่าตัดคลอด เพื่อหลีกเลี่ยงการคลอดติดขัด
และการตกเลือดหลังคลอด เพื่อป้องกันการติดเชื้อในทารกแรกเกิด
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส หนองใน เริม และหูดหงอนไก่
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำให้นำสามีมารับการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคหากมีการติดเชื้อแนะนำให้รักษาพร้อมกัน
แนะนำการปฏิบัติตัวของสตรีตั้งครรภ์และสามีดังนี้
รับประทานยา ฉีดยา หรือทายาตามแผนการรักษา
หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ
หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลและหนอง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
กรณีมีแผลที่อวัยวะสืบพันธุ์แนะนำให้ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังการขับถ่ายและอาบน้ำ
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
คัดกรองและประเมินภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์
อธิบายให้เข้าใจถึงการดำเนินของโรค อันตรายของโรคต่อการตั้งครรภ์ แผนการรักษาพยาบาล
ระยะคลอด
ดูแลผู้คลอดโดยยึดหลัก universal precaution
หลีกเลี่ยงการทำหัตถการทางช่องคลอด
ดูแลให้ผู้คลอดและทารกได้รับยาตามแผนการรักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
หากไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ เตรียมผู้คลอดให้พร้อมสำหรับการผ่าตัดนำทารกออก
ระยะหลังคลอด
ประเมินอาการติดเชื้อของทารกแรกเกิด ได้แก่ มีไข้ อ่อนเพลีย ดูดนมไม่ดี ตัวเหลือง ชัก หรือมีแผล herpes ตามร่างกาย
แนะนำการเลี้ยงบุตร
แนะนำมารดาหลังคลอดเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย เครื่องใช้ส่วนตัว
ดูแลให้มารดาหลังคลอดและทารกได้รับยาป้องกันการติดเชื้อตามแผนการรักษา
ให้การพยาบาลมารดาหลังคลอดโดยยึดหลัก universal precaution
แนะนำและดูแลมารดาหลังคลอดปกติ หรือหลังการผ่าตัดคลอด
การติดเชื้อเอชไอวีในสตรีตั้งครรภ์
(Human Immunodeficiency Virus [HIV] during pregnancy)
การแพร่เชื้อจากมารดาสู่ทารก
การติดเชื้อ HIV ระหว่างตั้งครรภ์ เชื้อไวรัสสามารถผ่านทางรก
การติดเชื้อ HIV ระหว่างคลอด ทารกจะสัมผัสกับเลือดของมารดา น้ำคร่ำ และสารคัดหลั่งในช่องคลอด
การติดเชื้อ HIV ระยะหลังคลอดส่วนใหญ่มักจะติดเชื้อจากน้ำนมมารดา
พยาธิสรีรภาพ
ภายหลังการติดเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกาย เชื้อ HIV จะใช้ส่วน GP120 ที่ผิวของเชื้อ HIV จับกับ CD4 receptor
จากนั้นเชื้อ HIV จะเข้าไปในเซลล์เม็ดเลือดขาวเหล่านั้น แล้วใช้
enzyme reverse transcriptase สร้าง viral DNA แทรกเข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์เม็ดเลือดขาว
เพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาวที่มีเชื้อไวรัส HIV ทำให้ร่างกายมีเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ HIV จำนวนมาก
เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ HIV จะแตกสลายง่าย ส่งผลให้เม็ดเลือดขาวในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง เกิดภาวะ seroconversion
เมื่อเม็ดเลือดขาวต่ำมากเท่าใดแสดงถึงภาวะที่ร่างกายมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ ฉวยโอกาสมากขึ้น
อาการและอาการแสดง
ระยะเริ่มแรกของการติดเชื้อ HIV
1-6 สัปดาห์หลังติดเชื้อ จากนั้นจะเริ่มมีไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นขึ้น ต่อมน้ำเหลืองโต บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว หรือมีฝ้าขาวในช่องปาก
ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ
ไม่มีอาการจะนาน 5-10 ปี บางรายอาจนานมากกว่า 15 ปี
ระยะติดเชื้อที่มีอาการ
อุณหภูมิร่างกายสูงมากกว่า 37.80C เป็นพักๆ หรือติดต่อกันทุกวัน ท้องเดินเรื้อรัง หรืออุจจาระร่วงเรื้อรัง น้ำหนักลดเกิน10% ของน้ำหนักตัว ต่อมน้ำเหลืองโตมากกว่า 1 แห่ง เป็นงูสวัด และพบเชื้อราในปากหรือฝ้าขาวในช่องปาก
ระยะป่วยเป็นเอดส์
เชื้อโรคฉวยโอกาสเข้ามาในร่างกาย
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ
ฉวยโอกาสได้ง่ายขึ้น
ผลกระทบต่อทารก
เจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย
ทารกมีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์ และทารกตายคลอด
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ การใช้ยา เสพติดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
การตรวจร่างกาย
ตรวจร่างกายทั่วไป
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจเชื้อ HIV
ตรวจหา antibody ต่อเชื้อ HIV
ตรวจนับเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 lymphocyte และการตรวจวัดปริมาณ viral load
การตรวจพิเศษ
ตรวจเสมหะและเอกซเรย์
การป้องกันและการรักษา
การให้ยาต้านไวรัสแก่สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV เพื่อลดปริมาณของเชื้อ HIV ในเลือดให้ต่ำที่สุด
การให้ยาเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสระหว่างตั้งครรภ์ หาก CD4 < 200 cells/mm3 ป้องกัน
การติดเชื้อฉวยโอกาส PCP
พิจารณาระยะเวลาที่จะให้คลอด และวิธีการคลอด
หลังคลอดหลีกเลี่ยงการให้ยากลุ่ม ergotamine
หลีกเลี่ยงการใส่สายยางสวนอาหารในกระเพาะทารกโดยไม่จำเป็น
หลีกเลี่ยงการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
ทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อ HIV ทุกรายควรได้รับการดูแลรักษา
โดยกุมารแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการให้ยาต้านไวรัส
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์และสามีที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยให้คำปรึกษาก่อนและหลังการตรวจเลือด
ให้ข้อมูลแก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับการดำเนินของโรค
แนะนำให้มาฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้ง
ให้ความรู้แก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับหลักมาตรฐานในการควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ประเมินภาวะแทรกซ้อนจากการได้รัยยาต้านไวรัส
แนะนำการปฏิบัติตัวของสตรีตั้งครรภ์
ประเมินระดับความวิตกกังวล ความกลัวของสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV และเปิดโอกาสให้
สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก
ให้การพยาบาลด้วยท่าทีที่ปราศจากความรังเกียจ ให้กำลังใจ และช่วยเหลือให้สตรีตั้งครรภ์
ระยะคลอด
ทำคลอดด้วยวิธีที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อผู้คลอดกและทารกน้อยที่สุด และหลีกเลี่ยงการใช้
สูติศาสตร์หัตถการที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
หากปริมาณ viral load ≤ 50 copies/mL แพทย์อาจพิจารณาเจาะถุงน้ำคร่ำ
ดูแลให้ผู้คลอดและทารกได้รับยาต้านไวรัสตามแผนการรักษา
ให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป
เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการช่วยเหลือทารกแรกเกิด และรายงานกุมารแพทย์
ดูแลผู้คลอดโดยยึดหลัก universal precaution
ประเมินอาการเปลี่ยนแปลงและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
ระยะหลังคลอด
ให้คำแนะนำแก่มารดาหลังคลอด เพื่อป้งอกันการแพร่กระจายเชื้อ
4 อธิบายให้มารดาหลังคลอดเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเองและการมาตรวจตามนัด
5 แนะนำการวางแผนครอบครัว โดยสามารถใช้วิธีคุมกำเนิดได้ทุกวิธี
3 แนะนำวิธีป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลอื่น
6 อธิบายให้มารดาหลังคลอดเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการนำทารกมาตรวจเลือด
2 แนะนำให้ใส่เสื้อชั้นในที่คับเพื่อยับยั้งการสร้างและหลั่งน้ำนม
7 จัดให้บริการปรึกษาแก่มารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อ HIV อย่างต่อเนื่อง
1 หลีกเลี่ยงเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
ดูแลมารดาหลังคลอดโดยยึดหลัก universal precaution