Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal tract) - Coggle Diagram
ระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal tract)
อาการคลื่นไส้อาเจียน (Morning sickness)
สาเหตุ
ฮอร์โมน progesterone
มีการเพิ่มระดับของฮอร์โมน HCG
ความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์
อาการและอาการแสดง
คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ จะเป็นอยู่จนกระทั่ง 12 สัปดาห์ หรือ 3 เดือน จึงจะหายไป
บทบาทพยาบาล
อธิบายสาเหตุของการคลื่นไส้ อาเจียน
ดูแลเรื่องอาหาร เมื่อตื่นนอนตอนเช้าควรดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ
แนะนำให้พักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายสม่ำเสมอ
รับประทานอาหารที่ไม่มัน มีคาร์โบไฮเดรตสูง และทานอาหารให้ครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง
หลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยากและสิ่งกระตุ้นที่ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน
อาการเรอเปรี้ยวหรือแสบร้อนยอดอก (Heart burn)
สาเหตุ
ผลจากฮอร์โมน Progesterone จะไปลดการทำงานและการย่อยของระบบทางเดินอาหาร
กระเพาะอาหารและลำไส้เคลื่อนไหวน้อยลง และกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะอาหารคลายตัวรวมทั้งมดลูกมี ขนาดใหญ่ขึ้น
ดันกระเพาะอาหารให้มีพื้นที่น้อยลง
กรดในกระเพาะอาหารจึงไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร
อาการและอาการแสดง
มีอาการแสบบริเวณยอด อก หรือร้อนบริเวณลำคอ
บทบาทพยาบาล
แนะนำให้จำกัดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
แนะนำให้รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย งดอาหารรสจัด
ไม่นอนทันทีหลังรับประทานอาหาร ควรนั่งพักก่อนอย่างน้อย 30 นาที
เมื่อรู้สึกมีอาการแสบร้อนในอกให้หายใจยาวๆ ลึกๆ และจิบน้ำที่ละน้อย
หลีกเลี่ยง ชา กาแฟ น้ำอัดลม เนื่องจากทำให้กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัว
ท้องผูก (Constipation)
สาเหตุ
มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน Progesterone
ทำให้กระเพาะอาหารลำไส้บีบเคลื่อนไหวช้าลง
อาการและอาการแสดง
ถ่ายอุจจาระเป็นก้อนแข็ง
รู้สึกอึดอัดเพราะไม่ขับถ่าย
บทบาทพยาบาล
ส่งเสริมให้มารดารับประทานอาหารที่มีกากอาหารมาก ๆ เช่น ผัก ผลไม้
แนะนำให้ฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา และเข้าห้องน้ำทันทีที่จำเป็น อย่ากลั้นอุจจาระ
ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรืออย่างน้อย 2,000 มิลลิลิตร/วัน
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เพราะอาการท้องผูกจะทำให้เกิดท้องอืดได้
ริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid)
สาเหตุ
การเพิ่มระดับฮอร์โมน Progesterone
ขนาดมดลูกที่โตขยายใหญ่ขึ้นไปกดทับเส้นเลือดดำ
อาการและอาการแสดง
มีก้อนเลือดอุดตันบริเวณทวาร และรู้สึกปวดแสบและมีเลือดปนออกมาด้วยเวลาอุจจาระ
บทบาทพยาบาล
ส่งเสริมให้มารดารับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหาร หมั่นกินผักและผลไม้
แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้วโดยเฉพาะหลังตื่นนอนตอนเช้า 10-15 นาที
หลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนเป็นเวลานานๆ ไม่ยกของหนัก
แนะนำให้ฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา
การผายลม (Flatulence)
สาเหตุ
ฮอร์โมน Progesterone ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนตัว
บทบาทพยาบาล
ควรรับประทานอาหารอย่างช้า ๆ
หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
น้ำลายมาก (ptyalism, salivation)
สาเหตุ
มีการเพิ่มของระดับฮอร์โมน estrogen
บทบาทพยาบาล
แนะนำให้รับประทานอาหารน้อย ๆ แต่บ่อยครั้งในแต่ละวัน
แนะนำดูแลรักษาความสะอาดช่องปาก
เหงือกอักเสบ (gingivitis)
สาเหตุ
มีการกระตุ้นของฮอร์โมน estrogen
ทำให้มีเลือดมาคั่งค้างมากขึ้น
บทบาทพยาบาล
แนะนำให้ใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม แล้วล้างปากด้วยน้ำยาบ้วนปากจะช่วยได้
แนะนำให้ดูแลสุขภาพฟัน
ควรพบทันตแพทย์เพื่อ เช็คสุขภาพปากและฟัน
Food Cravings (การอยากอาหารบางชนิดอย่างมาก)
สาเหตุ
ทารกที่กำลังเจริญเติบโตในครรภ์ ต้องการสารอาหารที่จำเป็นเพิ่มขึ้น
ฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลง
ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
ควรรับประทานอาหารให้น้อยแต่บ่อยขึ้น
รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลมาก
ถ้าอยากรับประทานอาหารแปลกๆ ให้ลองติดต่อกับนักโภชนาการ เพื่อสอบถามเมนูอาหารแปลกๆ