Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพชุมชน - Coggle Diagram
ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพชุมชน
ปัจจัยด้านระบบบริการสุขภาพที่มีผลต่อสุขภาพ
พรบ. ประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545: เกิดโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคเพิ่มการเข้าถึงความเท่าเทียมและประสิทธิภาพในการรับบริการสุขภาพมากขึ้น
พรบ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550: การดูแลสุขภาวะครอบคลุมกายจิตสังคมปัญญา
พรบ. สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพตั้งกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสสใช้” ภาษีบาป "
ยกระดับสถานีอนามัย, เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลต้องพัฒนาคุณภาพความพร้อมในการจัดบริการ
ส่งเสริมอสมเชิงรุกจ่ายค่าตอบแทนรายเดือนรักสวัสดิการสุขภาพการศึกษาพัฒนาศูนย์เด็กเล็กผู้พิการคนชรา
สถานบริการรักแบ่งเป็นระดับตติยภูมิทุติยภูมิปฐมภูมิโรงเรียนแพทย์โรงพยาบาลเฉพาะทาง
โรงพยาบาลเฉพาะทาง รพศ, รพช, รพ.สต,ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล.กทม.
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ส่งผลให้เกิดการเร่งความเร็วและความครอบคลุมของการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายมิติทั้งด้านเทคโนโลยีดิจิทัลโลกกายภาพการเปลี่ยนแปลงมนุษย์และการบูรณาการสิ่งแวดล้อมทำให้วิถีการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเช่นการมีเทคโนโลยีที่ดีในยุคที่มีโรคระบาดส่งผลให้บุคคลมีความรอบรู้เท่าทันข่าวสารทำให้สามารถตระหนักและป้องกันตนเองได้
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร
เนื่องจากปัจจุบันมีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น แต่มีอัตราการเกิดที่ลดน้อยลงมีผลทำให้ประเทศมีแนวโน้มเป็นสังคมผู้สูงอายุทำให้อัตราคนวัยทำงานนั้นลดลงและมีภาระหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของผู้ดูแลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจจากการเป็นที่พึ่งพิงให้กับผู้สูงอายุ
การดูแลรักษาสุขภาพและการรักษาพยาบาล
พฤติกรรมการใช้ชีวิตในสังคมเมืองสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปสู่การบริโภคอาหารที่มีสารปรุงแต่งและมีไขมันสูงดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์การสูบบุหรีและขาดการออกกำลังกายตลอดจนการเผชิญกับมลพิษที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ก่อให้เกิดเป็นปัญหาสุขภาพทางกายในขณะที่ระดับความเครียดในการทำงานและการใช้ชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้นความตื่นกลัวจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ได้สร้างความวิตกกังวลและมาสู่การเพิ่มขึ้นของปัญหาทางด้านสุขภาพจิต
การขยายตัวของความเป็นเมือง (Urbanization)
เมื่อสังคมเมืองนั้นเกิดการขยายตัวเพิ่มขึ้นทำให้ระบบคมนาคมมีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้นส่งผลต่อสุขภาพโดยตรงทั้งด้านดีและไม่ดีซึ่งขึ้นอยู่กับตัวบุคคลมีการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการสาธารณสุขที่มาจากผลของการขยายตัวของสังคมเมือง
ความพยายามระดับโลกในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Global Climate Action)
ประเทศที่พัฒนาแล้วจะประสบความสำเร็จในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อไปโดยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมของกลุ่มประเทศสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่รวมถึงประเทศไทยยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นด้วยสถานการณ์ดังกล่าวจึงมีแนวโน้มที่ประเทศกำลังพัฒนาจะถูกกดดันมากขึ้นในอนาคตเพื่อให้มีการดำเนินการเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจังเพื่อลดผลกระทบสุขภาพ
อนาคตของงาน (Future of work) และพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป
เมื่อบางอาชีพสามารถทดแทนได้ด้วยระบบ AI จึงมีผลโดยตรงกับบุคคลในกลุ่มทำให้เกิดการว่างงานทำให้บุคคลสูญเสียรายได้ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของบุคคล มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากขาดกำลังในการเลือกสิ่งที่ดีมีคุณภาพให้กับตนเองและเมื่อมีปัญหาทางด้านสุขภาพก็ถือเป็นปัญหาของชุมชน
แนวโน้มเศรษฐกิจการเมือง
หากการเมืองและระบบเศรษฐกิจมีคุณภาพจะส่งผลให้ประชาชนทั่วไปมีสิทธิ์เข้าถึงระบบสุขภาพที่ดีมีคุณภาพประชนชนมีความเป็นอยู่ที่ดีและเมื่อระบบเศรษฐกิจดีทำให้ประชาชนมีรายได้มีกำลังในการเลือกอุปโภคบริโภคของที่มีคุณภาพทำให้มีสุขภาพร่างกายที่ดี
พลังงานหมุนเวียนและยานยนต์ไฟฟ้า
จากการตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทำให้เกิดการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Fengwable Energy) และมีการติดค้นการพัฒนายานยนต์ตั้งสมัยใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าจากแบตเตอรีหรือเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Hydrogen กัน Cel) เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลเสียต่อชั้นบรรยากาศโลกอันเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดความร้อนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและสุขภาพของบุคคลและชุมชน
การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมทางสังคม
ในกรณีของประเทศไทูยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการสื่อสารส่งผลให้วิถีชีวิตของคนรุ่นต่าง ๆ เปลี่ยนไปอย่างมากโดยเด็กจำนวนมากที่ถูกเลี้ยงดูด้วยสือ เด็กที่ได้รับสื่อตั้งแต่ยังเด็กส่งผลทางลบต่อพฤติกรรมและพัฒนาการทางลบอาทิความก้าวร้าวพฤติกรรมต่อต้านพัฒนาการด้านภาษาล่า
ปัจจัยด้านปัจเจกบุคคล
ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
พันธุกรรม
โรคและความผิดปกติบางชนิดช่นเบาหวานความดันโลหิตสูงธาลัสซีเมียมะเร็ง
อายุ
เด็กและผู้สูงอายุเป็นวัยที่เปราะบางมีภูมิต้านทานต่ำมีข้อจำกัดในการดูแลสุขภาพจึงไม่แข็งแรงเท่าวัยหนุ่มสาวและเมื่ออายุเพิ่มขึ้นโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังต่างๆมีสูงขึ้นเนื่องจากความเสื่อมของอวัยวะและระบบต่างๆ ในร่างกาย
เพศ
หญิงมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้นโดยเฉพาะภายหลังหมดประจำเดือนในเพศชายมีอายุขัยเฉลี่ยสั้นกว่าเพศหญิงเนื่องจากมีพฤติกรรมสุขภาพที่เสี่ยงมากกว่าเพศหญิง
เชื้อชาติ/ศาสนา
มีผลต่อความเชื่อ ค่านิยม แนวทางการปฏิบัติและการดำเนินวิถีอิสลามเชื่อว่าทำหมันเป็นบาป คนโบราณเชื่อว่ากินข้าวเหนียวแล้วแผลจะเป็นหนอง กินไข่แล้วแผลก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงได้
พฤติกรรมอื่นๆ
การดื่มสุราสูบบุหรี่การป้องกันอุบัติเหตุการขับขี่รถการพักผ่อนการมีเพศสัมพันธ์การพักผ่อนและอื่นๆ
พฤติกรรมสุขภาพ
เน้น 3อ. 2ส. การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การควบคุมอารมณ์และความเครียด การดื่มสุรา และสูบบุหรี่
การปฏิบัติตัวเมื่อเจ็บป่วย
เมื่อมีอาการผิดปกติจะเพิ่มเฉยต่ออาการเจ็บป่วยของตนไปซื้อยารับประทานเองหรือไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาทันที
การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นผู้ป่วย
ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำและคำสั่งของแพทย์ไปตรวจแล้วก็พบแพทย์ตามนัดหรือไม่ปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
ความเชื่อและจิตวิญญาณ
ทำให้นึกคิดและปฏิบัติอย่างไรอย่างหนึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงได้หรือเปลี่ยนแปลงไม่ได้เช่นการรับรู้ทัศนคติความเชื่อศาสนาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม