Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวางแผนครอบครัว, นางสาววรารัตน์ วังทอง 621001079 - Coggle Diagram
การวางแผนครอบครัว
การคุมกำเนิด
การป้องกันการปฏิสนธิ
ของไข่และอสุจิ
คุณสมบัติที่ดีของการคุมกำเนิด
Effective : มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการตั้งครรภ์
Safe : ปลอดภัย ไม่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรง และไม่เป็นอันตรายแม้จะใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
Reversible : เมื่อเลิกใช้แล้วต้องมีภาวะเจริญพันธุ์ภายหลังคุมกำเนิด (return of fertility)
Simple and convenient : ใช้ง่ายและสะดวกในทางปฏิบัติ และการให้บริการ
Acceptable : เป็นวิธีที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ยอมรับ
Inexpensive : ราคาถูก
การคุมกำเนิดแบบชั่วคราว
ยาเม็ดคุมกำเนิด (oral contraceptive pills)
2 ชนิด
ชนิดฮอร์โมนรวม (combined oral contraceptive pills [OCP])
ในแต่ละเม็ดประกอบด้วย estrogen และ progesterone รวมกันในขนาดคงที่ มีชนิด 21 เม็ด หรือ 28 เม็ด (7เม็ดหลังจะเป็นวิตามิน และ/หรือธาตุเหล็ก)
กลไก
Estrogen
1.ยับยั้งการตกไข่โดยกดการทำงานของ FSH และ LH ที่หลั่งจากต่อมใต้สมอง
เพิ่มการบีบตัวของมดลูก ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงไม่เหมาะกับการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้ว
เพิ่มการบีบตัวของท่อนำไข่ ทำให้การเดินทางของไข่ผ่านท่อนำไข่ไปอย่างรวดเร็วทำให้ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วมาถึงโพรงมดลูกในเวลาที่ไม่เหมาะสม
ทำให้เกิดการย่อยสลายของ corpus luteum เร็วกว่าปกติ
Progestin
1.ยับยั้งการตกไข่โดยกดการทำงานของ FSH
2.ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงไม่เหมาะกับการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้วโดยทำให้ต่อมและเนื้อเยื่อรอบๆบวมและฝ่อ
3.ทำให้การเคลื่อนไหวของท่อนำไข่ช้าลง
4.ทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้นมากขึ้น มีฤทธิ์เป็นด่างไม่เหมาะกับการเคลื่อนผ่านของอสุจิ
5.ยับยั้งกระบวนการ Capacitation โดยยับยั้งการทำงานของ Enzyme ที่ทำให้อสุจิเจาะชั้นเยื่อหุ้มเข้าไปผสมกับไข่
ชนิดฮอร์โมนเดียว
1.ชนิดฮอร์โมนเดียว progesterone (progestogen only pills [POP]) ซึ่งมีฮอร์โมนสังเคราะห์ progestogen ปริมาณน้อยเริ่มรับประทานตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือนรับประทานเวลาเดียวกันติดต่อกันทุกวันประสิทธิภาพการป้องกันการตกไข่ไม่แน่นอนและทำให้มีเลือดออกกะปริดกะปรอยถ้าตั้งครรภ์อาจเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้มากจึงเลือกใช้ในกรณีที่เป็นข้อห้ามใช้ estrogen ตัวอย่างยา เช่น Exluton
ชนิดฮอร์โมน progesterone ปริมาณสูง ใช้ป้องกันการตั้งครรภ์ในรายที่ไม่ได้คุมกำเนิดมาก่อน หรือถูกข่มขืนหรือผิดพลาดในการใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นๆ ปัจจุบันเรียกว่ายาคุมกำเนิดฉุกเฉิน รับประทานยาเม็ดแรกภายใน 72 ชั่วโมงภายหลังร่วมเพศ เม็ดที่ 2 ห่างจากเม็ดแรก 12 ชั่วโมง
ฮอร์โมน estrogen ปริมาณสูง เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินเช่น Ovral รับประทานครั้งเดียว 4 เม็ดหลังร่วมเพศมีฤทธิ์ป้องกันการฝังตัวของตัวอ่อน
โดยเพิ่มการบีบตัวของมดลูกและท่อนำไข่
ข้อห้ามใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด
ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับโรคเลือด และโรคหลอดเลือดหัวใจ
ผู้ที่สูบบุหรี่
การทำงานของตับผิดปกติ
มะเร็ง
ไขมันในเลือดสูง
ความดันโลหิตสูง
คำแนะนำในการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม
เริ่มรับประทานเม็ดแรกวันที่ 5ของรอบเดือน
รับประทานช่วงเวลาเดียวกัน
กรณีที่ลืม
ถ้าลืม 1 เม็ด ให้รับประทานทันทีที่นึกได้
ถ้าลืม 2 เม็ด ให้รับประทาน วันละ 2 เม็ด เช้า เย็น 2 วันติดต่อกัน
ถ้าลืมมากกว่า 2 เม็ด หยุดยาแผงนั้น เริ่มแผงใหม่รอบประจำเดือนครั้งต่อไป
ข้อดี/ข้อเสีย
-ข้อดี
มีประสิทธิภาพสูง มีประจำเดือนสม่ำเสมอ ลดอาการปวดประจำเดือน สามารถใช้จนถึงวัยหมดประจำเดือน
-ข้อเสีย
อาจมีเลือดออกกะปริดกะปรอย ในช่วง 2 เดือนแรกอาจมีอาการคลื่นไส้ ซึ่งมักหายไปในเดือนที่ 3 อาการจะลดลงถ้ารับประทานยาพร้อมอาหาร หรือก่อนนอน
Estrogen : คลื่นไส้อาเจียน,คัดตึงเต้านม, ฝ้าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น,ความดันโลหิตสูงขึ้น
Progesterone : เลือดออกกะปริดกะปรอย หรือ ประจำเดือนไม่มา , อารมณ์เปลี่ยนแปลง
ยาฉีดคุมกำเนิด (injectable contraception)
ชนิดยาฉีดคุมกกำเนิด
1) ฮอร์โมนเดียว เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์คล้าย progesterone ที่ใช้กัน
โดยทั่วไป คือ
DMPA ออกฤทธิ์นาน 3 เดือน
NET-EN ออกฤทธิ์นาน 2 เดือน
2) ฮอร์โมนรวม ฉีดทุก 4 สัปดาห์ จะมีฮอร์โมน progesterone และ
estrogen เช่น
cyclofem ประกอบด้วย Medoxyprogesterone 50 มิลลิกรัมและ Estradiol cypionate 10 มิลลิกรัม
ข้อบ่งชี้
เหมาะสำหรับสตรีที่อายุไม่เกิน 50 ปี และมีบุตรที่มีชีวิตอยู่อย่างน้อย 1 คน ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม สำหรับผู้ที่ต้องการให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ แต่ไม่สามารถใช้กับมารดาที่ให้นมบุตร
ข้อดี
ใช้ง่าย สะดวก
ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนม เหมาะสำหรับมารดาหลังคลอดที่เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
ข้อห้าม
-เลือดออกผิดปกติ -สตรีที่ยังไม่เคยมีบุตร -โรคมะเร็ง -โรคเบาหวาน -โรคตับ -โรคหลอดเลือดในสมองหรือหัวใจรุนแรง
ข้อเสีย
• เลือดออกกะปริดกะปรอย • ไม่มีประจำเดือน• น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น • อาการปวดศีรษะ• อารมณ์เปลี่ยนแปลง• หากใช้เป็นเวลานานเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก/รังไข่
คำแนะนำ
• เริ่มฉีดยาภายใน 5 วันแรกของรอบประจำเดือน
• ควรมาฉีดยาคุมกำเนิดตามนัด
- DMPA ฉีดทุก 84 วัน - NET-EN ฉีดทุก 60 วัน
• ในกรณีไม่สามารถมาตามนัดได้ไม่ควรมาก่อนหรือหลังกำหนด 2 สัปดาห์
• ภาวะเจริญพันธุ์ภายหลังหยุดใช้ยา จะมีประจำเดือนมาปกติภายใน 6 เดือน
ยาฝังคุมกำเนิด (contraceptive implant)
ชนิดยาฝังคุมกำเนิด
1) ยาฝังคุมกำเนิดชนิดไม่สลายตัวเมื่อครบกำหนดอายุการใช้แล้วต้องเอาหลอดยาออก ประกอบด้วย
Norplant-6 ชนิด 6 หลอด บรรจุตัวยา levonorgestrel 36 มิลลิกรัม ออกฤทธิ์คุมกำเนิดได้นาน 5 ปี (ไม่ใช้แล้ว)
Norplant-2 ชนิด 2 หลอด บรรจุตัวยา levonorgestrel 75 มิลลิกรัม ออกฤทธิ์คุมกำเนิดได้นาน 3 ปี (ไม่ใช้แล้ว)
*ปัจจุบันนิยม
ใช้ Implanon NXT ชนิด 1 หลอด บรรจุตัวยา Etonogestrel 68 มิลลิกรัมคุมกำเนิดได้ 3 ปี
2) ยาฝังคุมกำเนิดชนิดสลายตัวเมื่อครบกำหนดอายุการใช้แล้วไม่ต้องเอาหลอดยาออกหลอดที่ฝังจะค่อยๆ สลายตัวได้เอง สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้นาน 1-2 ปี
-Capronor ใช้ 1 หลอด ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 18 เดือน
-Norethindrone pellets ฝังครั้งละ 2-4 หลอด ป้องกันการตั้งครรภ์ได้นาน 1 ปี
เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ออกฤทธิ์นานมีประสิทธิภาพป้องกันการตั้งครรภ์สูง มีโอกาสตั้งครรภ์เพียงร้อยละ0.17 เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ progestogenบรรจุในหลอดใช้ฝังใต้ผิวหนัง
ข้อบ่งชี้
สำหรับสตรีที่มีบุตรอย่างน้อย 1 คน ต้องการคุมกำเนิดระยะยาว สำหรับสตรีที่มีข้อห้ามใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน สตรีที่ไม่ต้องการทำหมัน หรือยังไม่พร้อมที่จะผ่าตัดทำหมันสตรีวัยรุ่น และสตรีติดเชื้อ
ห่วงอนามัย (intrauterine contraceptive device : IUD)
ชนิดของห่วงอนามัย
1.ชนิดไม่มีตัวยาออกฤทธิ์ป้องกันการตั้งครรภ์ ทำจากพลาสติก และอาบด้วย barium sulfate เพื่อให้ถ่ายภาพรังสีได้
2.ชนิดมีตัวยาออกฤทธิ์ป้องกันการตั้งครรภ์ มี 2 ชนิด ได้แก่
Copper bearing IUD เป็นห่วงอนามัยที่มีสารทองแดงเป็นส่วนประกอบ เช่น CU T-380A
Hormone releasing IUD เป็นห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมนสังเคราะห์เป็นส่วนประกอบ เช่น Levonorgestrel T
ห่วงอนามัย เป็นเครื่องมือขนาดเล็กใส่ในโพรงมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ทำจากโลหะหรือพลาสติก มีรูปร่างแตกต่างกันสามารถใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
การออกฤทธิ์
มีปฏิกิริยาต่อต้านสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย
ขัดขวางพัฒนาการของไข่ ทำให้ไม่เกิดการปฏิสนธิ
เยื่อบุโพรงมดลูกมีการเปลี่ยนแปลง บางและฝ่อ
ทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้น
กระตุ้นการหลั่ง prostaglandins ทำให้มดลูกและท่อนำไข่บีบตัวผิดปกติ มีผลต่อการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ
ข้อบ่งชี้
-สตรีที่มีบุตรแล้ว และต้องการเว้นระยะห่างของการมีบุตร
-สตรีที่ต้องการคุมกำเนิดระยะยาว เมื่อเลิกใช้ภาวะเจริญพันธุ์กลับมาดังเดิม
-สตรีหลังคลอดที่ต้องการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
-สตรีที่มีปัญหาประจำเดือนผิดปกติ ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมนจะช่วยปัญหาประจำเดือนมามาก
ข้อดี
ประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการตั้งครรภ์ ปลอดภัยอาการข้างเคียงน้อย
ราคาถูก ใช้ได้นาน ไม่เป็นภาระ ไม่ต้องกลัวลืม
เมื่อเอาห่วงอนามัยออกสามารถตั้งครรภ์ได้ในระยะเวลาสั้น
ข้อเสีย
มีเลือดออกกะปริดกะปรอย อาการจะค่อยๆหายไปใน 2-3เดือน ถ้ามีเลือดออกผิดปกติไม่แนะนำวิธีนี้
ปวดท้องน้อย อาการจะค่อยๆหายไปใน 2-3 เดือน
ห่วงอนามัยหลุดพบได้ชนิดธรรมดามากกว่าชนิดที่มีสารเสริมประสิทธิภาพ
ตกขาวเพิ่มขึ้น หากตกขาวมีลักษณะผิดปกติอาจเสี่ยงต่อการอักเสบในอุ้งเชิงกรานควรมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา
การอักเสบของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานถ้าเคยเป็นต้องรักษาให้หายขาดก่อนใส่ห่วงอนามัย
อาจเกิดการตั้งครรภ์ขณะใส่ห่วงอนามัย
อาจมีภาวะแทรกซ้อนภายหลังใส่ เช่น ตั้งครรภ์นอกมดลูกหรือห่วงอนามัยทะลุ เป็นต้น
ข้อห้ามในการใช้ห่วงอนามัย
ติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานหรือติดเชื้อในโพรงมดลูก
มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเลือด ภาวะโลหิตจาง โรคเบาหวานโรคไตอย่างรุนแรง และความผิดปกติเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
มีเพศสัมพันธ์แบบเปลี่ยนคู่บ่อย
ถุงยางอนามัย (condom)
ถุงยางอนามัยสตรี (female condom)
ถุงยางอนามัยสตรี ทำจาก polyurethane ลักษณะเป็นถุงโปร่งแสง ทรงกระบอก ปลายมน มีความยาว 15-17 เซนติเมตร มีวงแหวนที่ยืดหยุ่น 2 อัน ปลายเปิดมีวงแหวน เส้นผ่าศูนย์กลาง 7 เซนติเมตร และก้นถุงมีวงแหวน
วิธีการใส่
โดยบีบขอบในใส่เข้าไปจนสุดครอบอยู่ที่ปากมดลูก ห่วงจะช่วยยึดถุงยางไว้ไม่ให้หลุดขณะที่ขอบนอกจะช่วยให้ถุงยางปิดคลุมบริเวณปากมดลูกวิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
ถุงยางอนามัยชาย (male condom)
Skin condom ทำจากลำไส้สัตว์ ทำให้เกิดการแทรกซึมความชุ่มชื้นจากสิ่งคัดหลั่งได้ และมีราคาแพง ข้อดีคือสวมสบาย ขณะมีเพศสัมพันธ์ให้ความรู้สึกทางเพศดี ข้อเสียคือไม่สามารถขวางกั้นเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กได้
Rubber condom ทำจากน้ำยางธรรมชาติ ซึ่งเป็นถุงยางอนามัยที่ใช้กันอยู่ทั่วไป มีราคาถูกและมีความยืดหยุ่นสูงสวมใส่ได้กระชับ ป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ดี
polyurethane ชนิดที่ทำจากสารสังเคราะห์ สำหรับผู้ที่แพ้ยางธรรมชาติ (ทั้งชายและหญิง) ก็อาจเลี่ยงมาใช้ถุงยางอนามัยที่ผลิตมาจากสารสังเคราะห์ได้
ข้อดี
ใช้คุมกำเนิดและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ราคาไม่แพง
พกพาได้สะดวกปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อผู้ใช้
มีประสิทธิภาพการป้องกันการตั้งครรภ์สูง หากใช้ถูกวิธี
ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูก
เหมาะกับคู่สมรสที่พบกันนานๆครั้ง
ข้อเสีย
ถุงยางอนามัยอาจแตกหรือหลุดได้
หากใช้เป็นเวลานาน ฝ่ายหญิงอาจระคายเคืองช่องคลอด หากใช้เป็นเวลานาน
บางรายอาจมีอาการแพ้ โดยเฉพาะผู้ที่แพ้ latex หรือผู้ที่แพ้สารเคมีภัณฑ์ฆ่าตัวอสุจิ
บางรายอาจลดความรู้สึกขณะร่วมเพศ
การคุมกำเนิดโดยวิธีธรรมชาติ (natural contraceptive)
6.1 การงดร่วมเพศ (periodic abstinence)
6.2 การนับระยะปลอดภัย (rhythm method)
คำนวณหาระยะปลอดภัย
วันแรกของระยะไม่ปลอดภัย = รอบประจำเดือนที่สั้นที่สุด – 18
วันสุดท้ายของระยะไม่ปลอดภัย = รอบประจำเดือนที่ยาวที่สุด – 11
การวัดอุณหภูมิร่างกาย
ก่อนไข่ตกประมาณ 12-24 ชั่วโมง อุณหภูมิร่างกายจะลดต่ำลงกว่าปกติ สังเกตตอนเช้าและหลังจากไข่ตกแล้วอุณหภูมิร่างกายจะเพิ่มขึ้น 0.2 – 0.5 องศาเซลเซียสควรงดร่วมเพศ ช่วง 2-3 วันก่อนไข่ตกและช่วงอุณหภูมิสูงขึ้นในแต่ละรอบเดือน (3-5 วันหลังไข่ตก) สิ่งสำคัญของการวัดอุณหภูมิคือต้องวัดทุกวัน การคุมกำเนิดวิธีนี้ได้ผลไม่แน่นอนนัก
การสังเกตมูกจากปากช่องคลอด (cervical mucous method)
เป็นวิธีการคุมกำเนิดโดยอาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงของมูกมดลูกในช่วงระยะการตกไข่
หลังหมดประจำเดือนใหม่ๆ :ไม่มีมูก หรือมีเล็กน้อย สังเกตมูกได้
ก่อนวันไข่ตก : มีมูกมากขึ้น สีเหลือง หรือขาวขุ่นๆ เหนียวๆ
ระยะไข่ตก :จะมีมูกมาก ใส ลื่นๆคล้ายไข่ขาวดิบ สามารถยืดได้ยาวมากกว่า 6เซนติเมตร
ระยะหลังไข่ตกใหม่ๆ : มูกน้อยลง ขุ่นข้น ยืดเป็นเส้นไม่ได้ก่อนมีประจำเดือน แห้งหรือมีมูกเป็นน้ำใสๆ
การหลั่งน้ำอสุจินอกช่องคลอด
เป็นการคุมกำเนิดโดยฝ่ายชายถอนอวัยวะเพศออกจากช่องคลอดก่อนที่จะมีการหลั่งน้ำอสุจิ เพื่อไม่ให้ตัวอสุจิเข้าไปในช่องคลอด
การควบคุมไม่ให้มีการหลั่งน้ำอสุจิ
เป็นการมีเพศสัมพันธ์ตามปกติ แต่เมื่อฝ่ายชายรู้สึกว่าใกล้ถึงจุดสุดยอด ให้บังคับตนเองไม่ให้มีการหลั่งน้ำอสุจิจนกระทั่งความตื่นตัวทางเพศหมดไปเอง
การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
มารดาที่เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดานานๆ ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมน prolactin สูง ซึ่งจะยับยั้งการหลั่งฮอร์โมน FSH และ LH ทำให้รังไข่ไม่ถูกกระตุ้น และไม่เกิดการตกไข่ ส่งผลให้ไม่มีประจำเดือน
การคุมกำเนิดแบบถาวร
การทำหมัน
การทำหมันเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงเหมาะสำหรับครอบครัวที่มีบุตรเพียงพอแล้วดังนั้นหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหมันก็สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้อย่างถาวร
ข้อดีของการทำหมัน
ประสิทธิภาพสูง ทำครั้งเดียวได้ผลตลอดไป
เสียค่าใช้จ่ายน้อย บางแห่งไม่มีค่าบริการ
ไม่มีผลข้างเคียง ไม่เจ็บปวดมาก
ทำได้ง่าย สะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว ระยะพักฟื้นน้อย
ทำหมันหญิง จะเป็นหมันทันทีส่วนหมันชายต้องรอให้ไม่มีเชื้ออสุจิ
ไม่ทำให้ความต้องการทางเพศเปลี่ยนแปลง
ข้อเสียของการทำหมัน
ต้องทำโดยแพทย์หรือผู้ที่ได้รับการอบรม
ถ้าต้องการมีบุตรอีก ต้องผ่าตัดใหม่แก้ไขได้ยากและเสียค่าใช้จ่ายมาก
อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด เช่น ปวดแผล มีเลือดคั่งแผลติดเชื้อ เป็นต้น
หลังทำหมันชายอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากมีการอุดกั้นของเชื้ออสุจิ
การยอมรับบริการและการจูงใจเพื่อทำหมันชายทำได้ยากกว่าการทำหมันหญิง
บางรายอาจขัดต่อความเชื่อทางศาสนา ประเพณี จิตใจ
การทำหมัน
การทำหมันหญิง (female sterilization
) เป็นการทำให้ท่อนำไข่ตีบตันทั้งสองข้าง ด้วยการผูกและตัดท่อนำไข่ แบ่งเป็น 2 ระยะ
-การทำหมันหลังคลอด หรือ หมันเปียก ทำในระยะหลังคลอดประมาณ 24-48 ชั่วโมง เนื่องจากหลังคลอดระดับมดลูกอยู่สูงทำให้สามารถผ่าตัดได้ง่าย
-การทำหมันแห้ง เป็นการทำหมันในช่วงเวลาปกติ หรือหลังคลอดมากกว่า 6 สัปดาห์
ข้อห้ามในการทำหมันหญิง
วัยรุ่น และมีบุตร 1 คน
มีโรคประจำตัวในระยะรุนแรง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวานโรคโลหิตจาง โรคความดันโลหิตสูงโรคปอด เป็นต้น
อยู่ในภาวะติดเชื้อ มีไข้สูง ควรรักษาให้หายก่อน
มีปัญหาเกี่ยวกับชีวิตสมรส
มีประวัติแพ้ยาเฉพาะที่
ข้อเสีย
เป็นการผ่าตัดวิธีหนึ่ง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
คำแนะนำ
หลังทำหมันให้นอนพัก 2-3 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำและรับประทานอาหารจนกว่าจะหายจากอาการมึนงง หรือง่วงซึม หากปวดมากให้รับประทานยาแก้ปวด ถ้ามีเลือดออกหรือปัสสาวะไม่ออก ให้รายงานแพทย์
ในรายที่ส่องกล้อง อาจเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น อึดอัดแน่นท้อง จากก๊าซที่เหลือค้างอยู่ในช่องท้องปวดร้าวไปที่ไหล่ทั้งสองข้าง เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน
ในรายที่ทำผ่าตัดทางหน้าท้องระวังไม่ให้แผลเปียกน้ำจนกว่าจะตัดไหมประมาณ 5-7 วัน
ในรายที่ทำหมันแห้ง สามารถทำงานเบาได้ตามปกติ งดทำงานหนัก 1 สัปดาห์ ในรายที่ทำหมันหลังคลอดงดทำงานหนัก 4-6 สัปดาห์
มาตรวจตามนัดหลังทำหมันครบ 1 สัปดาห์ เพื่อดูแลแผลทำหมันและตัดไหม นัดตรวจภายใน 6 สัปดาห์หลังผ่าตัด เพื่อตรวจหาความผิดปกติ หลังจากนั้นนัดตรวจร่างกายประจำปี
ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น แผลติดเชื้อ เลือดออก ไข้สูง ปวดท้องมาก เป็นลม หรือ ขาดประจำเดือนหลังทำหมันให้ปรึกษาแพทย์
ข้อดี
เป็นวิธีคุมกำเนิดแบบถาวร ไม่มีผลกระทบต่อรอบประจำเดือนและการมีเพศสัมพันธ์ อีกทั้งการทำมีประสิทธิภาพสูง ความผิดพลาดน้อยกว่าร้อยละ 1
ทำได้ง่าย ปลอดภัย ได้ผลดี ราคาไม่แพง
ในระยะหลังคลอด สามารถผ่าตัดทำหมันได้ง่าย เนื่องจากมดลูกอยู่สูงที่ระดับสะดือและใช้ยาสลบน้อยเนื่องจากได้รับยาระงับปวดขณะคลอดมาก่อนแล้ว
ข้อบ่งชี้
มีบุตรเพียงพออย่างน้อย 2 คน และบุตรมีสุขภาพดี
มีโรคประจำตัวที่อาจมีผลต่อการตั้งครรภ์ เช่น โรคหัวใจเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต โรคทางพันธุกรรม โรคจิตและปัญญาอ่อน เป็นต้น
การทำหมันชาย (male sterilization)
การทำหมันชาย เป็นการทำให้ท่ออสุจิทั้ง 2 ข้างอุดตัน ทำให้เชื้ออสุจิผ่านไปไม่ได้ ทำได้ง่ายปลอดภัยและมีประสิทธิภาพการคุมกำเนิดสูงกว่าเมื่อเทียบกับการทำหมันหญิง
ข้อดี
เป็นการผ่าตัดที่ง่าย ใช้เวลาสั้นและปลอดภัยกว่าการทำหมันหญิง ราคาถูกและมีประสิทธิภาพดีที่สุดมีแผลผ่าตัดขนาดเล็กที่ผนังลูกอัณฑะ
ข้อเสีย
อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ เช่น การอักเสบ ปวด บวม เขียวช้ำ มีเลือดคั่งบริเวณถุงอัณฑะ
ข้อบ่งชี้
มีบุตรตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ถ้าน้อยกว่า 2 คนต้องอธิบายก่อนทำว่าเป็นการทำอย่างถาวร ถ้าต้องการมีบุตรอีกจะแก้หมันได้ยาก
ผู้ที่ภรรยาเป็นโรคทางอายุรศาสตร์ ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้ถ้าทำหมันหญิง
ผู้ที่มีโรคติดต่อทางพันธุกรรม
ข้อห้ามในการทำหมันชาย
แพ้ยาชาเฉพาะที่
โรคผิวหนังบริเวณอวัยวะสืบพันธ์เพศชาย โรคติดเชื้อหรือมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ความผิดปกติบริเวณลูกอัณฑะ
มีโรคทางอายุรกรรมในระยะรุนแรง
คำแนะนำหลังทำหมัน
หลังทำหมันจะยังไม่เป็นหมันทันทีต้องคุมกำเนิดชั่วคราวโดยใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วย เป็นเวลา 3 เดือนหรือหลั่งน้ำอสุจิ 15-20 ครั้ง
เทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านการเจริญพันธ์
วิธีการมีดังนี้
การผสมเทียม (artificial insemination)
การฉีดน้ำอสุจิเข้าไปในช่องคลอดของฝ่ายหญิง เพื่อให้ตั้งครรภ์โดยไม่ได้มีเพศสัมพันธ์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 การผสมเทียมโดยใช้น้ำอสุจิสามี (artificial insemination with husband’s semen : AIH)
1.2 การผสมเทียมโดยใช้น้ำอสุจิของชายอื่น (artificial insemination with donor semen : AID)
ข้อบ่งชี้
ในกรณีภาวะมีบุตรยากที่มีสาเหตุจากฝ่ายชายไม่มีตัวอสุจิหรือมีน้อย
มีโรคทางพันธุกรรม สามีหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
การทำเด็กหลอดแก้ว (in vitro fertilization and embryo
transfer, IVF-ET)
เป็นการนำเอาไข่ที่ได้จากการกระตุ้นรังไข่เก็บไว้ในตู้อบ เพื่อให้ไข่เจริญเติบโตต่อไปอีกระยะแล้วนำออกมาผสมกับอสุจิ ภายหลังปฏิสนธิ 16-19 ชั่วโมงเลือกตัวอ่อนที่มีลักษณะที่ดีนำไปใส่ในโพรงมดลูก
ข้อบ่งชี้
การอุดตันของท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้าง มีพังผืดในอุ้งเชิงกรานมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ และอสุจิผิดปกติแต่ไม่รุนแรง
การนำไข่และอสุจิรวมกันในท่อนำไข่ (gamete intrafallopian
tubal transfer, GIFT)
วิธีนี้มีข้อดี คือการปฏิสนธิของไข่และอสุจิเกิดขึ้นในร่างกาย ซึ่งเป็นสภาวะแวดล้อมที่เหมือนธรรมชาติที่สุด ทำให้อัตราการตั้งครรภ์มีสูงขึ้น รวมทั้งลดขั้นตอนการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ ทำให้วิธีนี้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น
ข้อบ่งชี้
การรักษาโดยวิธีนี้จะมีข้อจำกัดว่าฝ่ายหญิงจะต้องมีท่อนำไข่ปกติอย่างน้อย 1 ข้าง และฝ่ายชายจะต้องไม่มีความผิดปกติของน้ำเชื้ออสุจิชนิดรุนแรง
การฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในเซลล์ไข่ (intra cytoplasmic sperm
injection, ICSI)
เป็นวิธีการใหม่ที่ช่วยให้เกิดการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิเป็นการฉีดตัวอสุจิเข้าไปในเซลล์ไข่โดยตรง โดยฉีดอสุจิ 1 ตัว เข้าไปในเซลล์ไข่ 1 ใบ จากนั้นนำไข่ที่ฉีดแล้วไปเลี้ยงในตู้อบ
ข้อบ่งชี้
มีความผิดปกติของน้ำเชื้ออสุจิชนิดรุนแรงมาก หรือตรวจไม่พบอสุจิ ซึ่งเกิดจากการอุดตันของท่อน้ำเชื้อ (obstructive azoospermia)หรือกระบวนการทำงานของกลุ่มเซลล์ที่สร้างตัวอสุจิบกพร่อง(functional azoospermia)แต่ยังสามารถเก็บเชื้ออสุจิได้ด้วยวิธีทางศัลยกรรม
การย้ายตัวอ่อนระยะ 2 เซลล์ (zygote intrafallopian tubal
transfer, ZIFT)
ได้มีการใช้วิธีนี้เพื่อรักษาในกรณีที่รักษาโดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์แล้วมีปัญหาที่ไม่สามารถทำการย้ายฝากตัวอ่อนผ่านทางปากมดลูกได้
ข้อบ่งชี้
ทำในรายที่มีอสุจิน้อยกว่าปกติ ท่อนำไข่ไม่ตันแต่ทำงานไม่ปกติ มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกงอกผิดที่และมีพังผืดมาก
Blastocyst Culture
เป็นการปฏิสนธิของไข่และอสุจิภายนอกร่างกาย โดยการเลี้ยงตัวอ่อนระยะ Blastocyst แบ่งเซลล์ 120-150 เซลล์ ซึ่งเป็นระยะที่พร้อมฝังตัว ใส่กลับคืนสู่โพรงมดลูก
กรรมวิธีใดๆ ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่นำอสุจิและไข่ออกจากร่างกายมนุษย์เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์โดยไม่เป็นไปตามธรรมชาติรวมทั้งการผสมเทียมวิวัฒนาการทางด้านการแพทย์ได้มีการคิดค้นและหาแนวทางช่วยเหลือคู่สมรสที่มีบุตรยากตลอดจนนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ช่วยเหลือผู้มีบุตรยากทำให้โอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น
ประเด็นจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
ปัญหาเกี่ยวกับปฏิสนธินอกร่างกายโดยตรง
1) การวิจัยตัวอ่อน (embryo research) ต่างประเทศสามารถวิจัยตัวอ่อนไม่เกิน 14 วัน ใช้ได้เฉพาะตัวอ่อนที่เหลือจากการย้ายกลับ ในประเทศไทยทำการวิจัยได้เฉพาะตัวอ่อนที่ผิดปกติเท่านั้น
2) การบริจาคเซลล์สืบพันธุ์และตัวอ่อน (gamete and embryo donation) การบริจาคเหล่านี้อาจเกิดปัญหาแง่จริยธรรม เรื่องผลประโยชน์ ค่าตอบแทน การปกปิด หรือเปิดเผยที่มาของเซลล์สืบพันธุ์และตัวอ่อน สิทธิการรับรู้ของเด็ก การรับบริจาคอสุจิของหญิงโสด อายุของผู้รับบริจาคไข่
3) การตั้งครรภ์แทน (surrogacy) หรือ อุ้มบุญ ปัญหาที่ตามมามีดังนี้
-ด้านกฎหมาย ที่ถือว่า สตรีที่คลอดบุตรเป็นมารดาที่ถูกต้องตามกฎหมาย
-ปัญหาเรื่องค่าตอบแทน ที่ต้องตั้งครรภ์จนครบกำหนดคลอด และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ จึงหาผู้ที่มาตั้งครรภ์แทนได้ยาก
-เมื่อเด็กคลอดออกมาเกิดความผูกพัน จนไม่ยอมยกเด็กให้คู่สมรส หรือเด็กเกิดมามีความผิดปกติ คู่สมรสอาจไม่ยอมรับเด็กก็ได้
-สตรีบางรายไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ใดๆแต่ไม่อยากลำบากในการตั้งครรภ์ อาจไปจ้างสตรีอื่นให้ตั้งครรภ์แทน
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดที่เกิดจากการอุ้มบุญ
-หญิงรับตั้งครรภ์แทนต้องมีสัญชาติไทย ในกรณีที่สามีหรือภรรยาไม่ใช่สัญชาติไทย ต้องจดทะเบียนสมรสมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
-หญิงรับตั้งครรภ์แทนต้องไม่มีความสัมพันธ์เป็นแม่หรือลูก
-หญิงรับตั้งครรภ์แทนต้องเป็นญาติสืบสายโลหิตของสามีหรือภรรยา ในกรณีที่ไม่มีญาติสืบสายโลหิต ให้หญิงอื่นรับตั้งครรภ์แทนได้
-หญิงรับตั้งครรภ์แทนต้องเป็นหญิงที่เคยมีบุตรมาก่อนแล้วเท่านั้น
3) การลดจำนวนตัวอ่อนขณะตั้งครรภ์ (embryo reduction) กรณีแฝดสามขึ้นไปมีโอกาสคลอดก่อนกำหนดที่รอดชีวิตได้ยาก และผู้ตั้งครรภ์อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้สูง จึงได้มีการลดจำนวนตัวอ่อนลง จึงมีนโยบายใส่กลับตัวอ่อน ไม่เกินครั้งละ 3 ใบ ทำให้ปัญหานี้ลดลง
บทบาทพยาบาล
ในการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือผู้มีบุตรยาก
-อธิบายให้เข้าใจถึงขั้นตอน วิธีการ ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษา ค่าใช้จ่าย ภาวะแทรกซ้อน ตลอดจนผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลังการรักษา
-ให้กำลังใจ เนื่องจากการรักษาภาวะมีบุตรยาก อาจต้องใช้เวลานาน
-ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
-ขณะทำการรักษา แนะนำให้คู่สมรสทำจิตใจให้สบาย ไม่เคร่งเครียด หรือวิตกกังวลมากเกินไป
-แนะนำให้ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
-แนะนำให้สมาชิกในครอบครัวและสามีเป็นกำลังใจให้
แนวคิดของการวางแผนครอบครัว
การที่คู่สมรสหรือบุคคลวางแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อให้มีการตั้งครรภ์ขณะที่มีความพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม สามารถกำหนดการมีบุตรได้ตามความต้องการจำนวนบุตร และอายุห่างตามความเหมาะสม ตามภาวะเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของแต่ละครอบครัว
วัตถุประสงค์ของการวางแผนครอบครัว
ลดอัตราป่วยและอัตราตายของมารดาและทารก
เป็นการเพิ่มประชากรที่มีคุณภาพ มีสุขภาพอนามัยที่ดี
เลือกวิธีการคุมกำเนิดให้เหมาะสมกับตนเอง
ป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม การทำแท้ง
ป้องกันการตั้งครรภ์หลายครั้ง ช่วยให้มีขนาดครอบครัวที่เหมาะสม ฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น
ช่วยแก้ปัญหาสาธารณสุข ลดการใช้งบประมาณแผ่นดิน
บทบาททางการพยาบาลด้านการวางแผนครอบครัว
ให้การพยาบาลทั่วไปโดยตรงต่อผู้รับบริการ
เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการวางแผนครอบครัว
เป็นผู้บริหาร/ผู้นิเทศงาน ด้านการวางแผนครอบครัว
เป็นผู้ฝึกอบรม หรือ ให้ความรู้แก่บุคลากร เรื่องการวางแผนครอบครัว
ทำการวิจัย เรื่องการวางแผนครอบครัว
การให้คำปรึกษาก่อนสมรส
หลักการให้คำปรึกษาก่อนสมรส
สร้างบรรยากาศให้รู้สึกอบอุ่นเป็นกันเอง
ผู้มาขอคำปรึกษาก่อนสมรสควรมีความพร้อมทั้ง 2 ฝ่าย
ให้ข้อมูลที่จำเป็นและถูกต้อง
ให้ผู้รับคำปรึกษาเป็นผู้ตัดสินใจ
อาจต้องแยกให้คำปรึกษาฝ่ายชาย หญิง เป็นบางกรณี
เพื่อส่งเสริมให้ชีวิตคู่ มีความเข้าใจซึ่งกันและกันช่วยให้การครองคู่มีความสุขมากขึ้น มีความรู้และแนวทางแก้ไขปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคทางพันธุกรรม มีความรู้เกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวสามารถวางแผนได้อย่างเหมาะสม
การให้คำปรึกษาก่อนสมรส มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
การซักประวัติ
ความเจ็บป่วย,การได้รับวัคซีน,ประจำเดือน, เพศสัมพันธ์,การตั้งครรภ์,การคุมกำเนิด
การตรวจร่างกาย
ตรวจร่างกายทั่วไป,ชั่งน้ำหนัก,วัดส่วนสูง,ประเมิน v/s บางกรณีอาจมีการตรวจภายใน
การให้การปรึกษาเรื่องเพศ
หลักของการให้การปรึกษา ใช้หลัก 5C
1) Confidence ผู้ให้การปรึกษาจะต้องมีความมั่นใจในตัวเองทำให้ผู้รับบริการมีความเชื่อมั่น
2) Comfort ผู้ให้การปรึกษามีทัศนคติที่ดีต่อเรื่องเพศ ทำให้ผู้รับบริการสะดวกใจที่จะพูดเรื่องเพศสร้างบรรยากาศให้รู้สึกเป็นกันเอง
3) Compassion มีความเมตตากรุณา แสดงท่าทีเห็นอกเห็นใจและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาผู้รับบริการ
4) Communication มีทักษะในการสื่อสารใช้คำพูดเหมาะสม
5) Consultation ผู้ให้บริการควรตระหนักถึงความสามารถของตนและทราบว่าเมื่อใดจะต้องส่งต่อ
การให้การปรึกษาเรื่องการวางแผนครอบครัว
เป็นการให้ความรู้เรื่องวิธีการคุมกำเนิดชนิดต่างๆตลอดจนจำนวนบุตรที่ต้องการระยะเวลาที่ต้องการมีบุตรและระยะห่างของการมีบุตร
การปรึกษาปัญหาทางพันธุกรรม
กรณีมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางพันธุกรรม ต้องให้คำแนะนำเพื่อให้ตระหนักถึงความเสี่ยงของการมีบุตรผิดปกติ
การปรึกษาภาวะมีบุตรยาก
พบปัญหาได้มากในคู่สมรสที่แต่งงานช้าหากพบปัญหาอาจมีการส่งต่อเพื่อใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจเลือดคัดกรองโรคเบาหวาน,โลหิตจาง,ธาลัสซีเมีย,ไวรัสตับอักเสบบี, เอดส์,ซิฟิลิส
การให้การปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาชีวิตสมรส การใช้ชีวิตคู่
ให้คำปรึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน สามารถใช้ชีวิตคู่ได้อย่างมีความสุข
การให้คำปรึกษาครอบครัวที่มีปัญหามีบุตรยาก
ภาวะมีบุตรยาก (infertility)
ภาวะมีบุตรยากปฐมภูมิ (primary infertility) ผู้มีบุตรยากที่ไม่เคยมีบุตรมาก่อน หรือ ไม่เคยตั้งครรภ์เลยอุบัติการณ์เกิด ร้อยละ 3.6
ภาวะมีบุตรยากทุติยภูมิ (secondary infertility) ผู้มีบุตรยากที่เคยมีบุตรมาแล้ว แต่ต่อมาไม่สามารถมีบุตรได้อีกหรือไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกหลังจากตั้งครรภ์ครั้งก่อนนาน 1 ปีอุบัติการณ์เกิด ร้อยละ 11.4
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีบุตรยาก
ปัจจัยการมีบุตรยากในฝ่ายชาย
สุขภาพกาย ได้แก่ มีโรคประจำตัว มีคู่หลายคน ติดสิ่งเสพติดมีผลทำให้การมีเพศสัมพันธ์ห่างลง และการสร้างตัวอสุจิน้อยลง
สุขภาพจิต ได้แก่ ความวิตกกังวล ความเครียด ความกลัวอย่างรุนแรง มีผลทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งตัว (impotence) หรือ หลั่งน้ำอสุจิเร็วเกินไป (premature ejaculation)
ความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์แต่กำเนิด เช่น เซลล์สร้างตัวอสุจิไม่เจริญ (testicular germinal aplasia) ลูกอัณฑะไม่ลงในถุงอัณฑะ (undescended testis) และหนังหุ้มปลายองคชาติไม่เปิดตรงกลางแต่ตีบเล็กผิดปกติ (phimosis)
โรคที่ทำให้การสร้างอสุจิ หรือการผ่านออกของน้ำอสุจิผิดปกติ เช่น คางทูม กามโรค
ความผิดปกติในการทำงานของต่อมไร้ท่อ เช่น เนื้องอกในสมอง หรือต่อมใต้สมอง ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ เป็นต้น
ปัจจัยการมีบุตรยากในฝ่ายหญิง
สุขภาพกาย ได้แก่ มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคเลือด เป็นต้น
สุขภาพจิต ได้แก่ ความวิตกกังวล ความเครียด โรคจิต โรคประสาท ในบางรายส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือรังไข่ทำงานผิดปกติทำให้ไม่มีการตกไข่
ความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น ความผิดปกติของท่อนำไข่ รังไข่ มดลูก ช่องคลอด
ความผิดปกติในช่องเชิงกราน เช่น มีเยื่อพังผืด เนื้องอกที่ไปเบียดท่อนำไข่
ความผิดปกติในการทำงานของต่อมไร้ท่อ เช่น เนื้องอกในสมอง ความเครียด ภาวะอ้วน ภาวะทุพโภชนาการมีผลต่อการทำงานของ hypothalamus หรือ pituitary gland ทำให้การทำงานของ GnRH (gonadotropin-releasing hormone)ลดลง
ปัจจัยอื่นๆ ชาย+หญิง
อายุฝ่ายหญิง สตรีที่มีอายุ 35 ปี หรือมากกว่าทำให้ไข่ตกช้าหรือไม่มีการตกไข่ ความสามารถในการมีบุตรลดลง
อายุฝ่ายชายจากการศึกษาพบว่าอัตราการตั้งครรภ์ลดลงในหญิงที่มีสามีอายุมากเกิน 30 ปี
การคุมกำเนิด เช่น การใช้ยาฉีด หรือยาฝังหลังหยุดคุมกำเนิดแล้วต้องใช้เวลานานระยะหนึ่งกว่าจะมีการตกไข่
ความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์ โดยทั่วไปการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 4 ครั้งจะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้สูงแต่การมีเพศสัมพันธ์ที่มากเกินไปอาจทำให้การผลิตอสุจิลดลงควรเว้นระยะการมีเพศสัมพันธ์ 30-48 ชั่วโมง เพื่อเพิ่มจำนวนอสุจิ
นางสาววรารัตน์ วังทอง 621001079