Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคไตอักเสบเฉียบพลัน (Acute glomerulonephritis), นางสาวศิรภัทร ตุดเอียด…
โรคไตอักเสบเฉียบพลัน
(Acute glomerulonephritis)
ความหมาย
ภาวะที่มีการอักเสบเฉียบพลัน
ของโกลเมอรูลัส ทำให้มีจำนวนเซลล์เพิ่มขึ้นภายในโกลเมอรูลัสทั้งเม็ดเลือดขาวและ endothelial cellsส่งผลให้เกิดอาการบวม ปัสสาวะออกน้อย ความดันโลหิตสูง ภาวะปัสสาวะมีเลือดและโปรตีน และ azotemia
สาเหตุ
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในเด็กคือ acute post-streptococcal glomerulonephritis (APSGN) เป็นภาวะที่พบในผู้ป่วยเด็กทั่วโลกพบบ่อยในเด็กชายก่อนวัยเรียนและวัยที่เริ่มเข้าโรงเรียน พบบ่อย
ในเด็กช่วงอายุ 2-12 ปี และพบในเด็กชายมากกว่าหญิงในอัตรา 2:11 ในทางระบาดวิทยาพบรายงานการเกิดในเด็กลดลง
อย่างต่อเนื่อง
ส่วนใหญ่เกิดจากปฏิกิริยาทางอิมมูน และส่วนใหญ่มักเกิดตามหลังการติดเชื้อ อาจเป็นเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้ออื่นๆ
พยาธิ
เมื่อมีการติดเชื้อในร่างกายจะมีแอนติเจนกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีขึ้น
ปริมาณของเซลที่มี
การอักเสบที่เพิ่มขึ้นและความสามารถในการผ่านของสารในเซลล์ (basement membrane permeability)
ที่ลดลง
ทำให้พื้นที่การกรอง (glomerular filtration surface) และอัตราการกรอง (glomerular filtrationrate: GFR) ลดลง
ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงที่ไตจะลดลงในอัตราส่วนเดียว
กับอัตราการกรอง
อาการและอาการแสดง
ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 60-80
gross hematuria ร้อยละ 25-33
อาการบวมร้อยละ 85
อาการอื่นๆ เช่น อาการของหัวใจล้มเหลว
(congestive heartfailure)
อาการเหล่านี้เกิดภายหลังการติดเชื้อ streptococcal pharyngitis 7-14 วัน
ภายหลังการติดเชื้อทางผิวหนัง 14-21 วัน (อาจนานถึง 6 สัปดาห์)
ซึ่งเป็นผลจากการได้รับน้ำเกิน
ร้อยละ 20 อาการปวดท้อง
การพยาบาล
-ข้อวินิจฉัย ปัสสาวะออกน้อย อาจมีเลือดออกในปัสสาวะ(hematuria)
-วัตถุประสงค์การพยาบาล: เพื่อปัสสาวะออกตามปกติ ไม่มีเลือดออกในปัสสาวะ
-การพยาบาล
สังเกตลักษณะสีปัสสาวะอาจต้องบันทึกปริมาณทุก 1 ชั่วโมง
ตวงและบันทึกสารน้ำเข้า-ออกร่างกายอย่างเคร่งครัด
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น BUN, Cr ความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะ
-ข้อวินิจฉัย เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน และหรืออันตรายจากสภาวะของโรคเช่น hypervolemia, hyperkalemia, pulmonary edema, renal failure
-วัตถุประสงค์การพยาบาล: ไม่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน และลดความอันตรายจากสภาวะของโรคเช่น hypervolemia, hyperkalemia, pulmonary edema, renal failure
-การพยาบาล
ให้ผู้ป่วยพักผ่อนบนเตียง อย่างเพียงพอ
ดูแลให้รับประทานอาหารตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางปากและหลอดเลือดดำอย่างเคร่งครัดตามแผนการรักษา
ตวงและบันทึกสารน้ำเข้า-ออกร่างกายอย่างเคร่งครัด
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น BUN, Cr อิเลคโตรไลท์
นางสาวศิรภัทร ตุดเอียด เลขที่ 81