Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดการระบบความปลอดภัยด้านยาของผู้ป่วย (Medication Safety Management),…
การจัดการระบบความปลอดภัยด้านยาของผู้ป่วย (Medication Safety Management)
ระบบการจัดการด้านยา MMS
1.การกำกับดูแลและสิ่งแวดล้อมสนับสนุน (Oversight and Supportive Environment ) องค์กรสร้างความมั่นใจในระบบการจัดการด้านยาที่ปลอดภัย เหมาะสม และได้ผล รวมทั้งการมียาที่มีคุณภาพสูง พร้อมใช้สำหรับผู้ป่วย ผ่านกลไกกำกับดูแลและสิ่งแวดล้อมสนับสนุน
การปฏิบัติในการใช้ยา ( Medication Use Practices ) องค์กรทำให้มั่นใจในความปลอดภัย ความถูกต้อง ความเหมาะสม และประสิทธิผลของกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่การสั่งยาจนถึงการบริหารยา
กระบวนการก่อนยาถึงผู้ป่วย
แพทย์เขียนคำสั่งใช้ยา Prescribe
พยาบาลรับคำสั่งในใบลงยา พยาบาลรับคำสั่งในการ์ดยา Transcribe
ส่งคำสั่งแพทย์มาที่ห้องยาเจ้าหน้าที่ key ยา จัดยา Pre-Dispense
เภสัชกรจ่ายยา Dispense
พยาบาลรับยาและเตรียมยา Pre-Admin
พยาบาลบริหารยาให้ผู้ป่วย Admin
การบริหารยา
มีการให้ยาแก่ผู้ป่วยอย่างปลอดภัยและถูกต้องโดยบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมและอุปกรณ์การให้ยาที่ได้มาตรฐานโดยมีการตรวจสอบความถูกต้องของยาคุณภาพยาข้อห้ามในการใช้และเวลาขนาดยาวิธีการให้ยาที่เหมาะสมมีการตรวจสอบโดยอิสระก่อนให้ยาที่ต้องใช้ความระมัดระวังสง ณ จุดให้บริการมีการบันทึกเวลาที่ให้ยาจริงสำหรับกรณีการให้ยาล่าช้าหรือดื่มให้ผู้สั่งใช้ยาได้รับการรายงานเมื่อมีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาหรือความคลาดเคลื่อนทางยา
คณะกรรมการ PTC ร่วมกับผู้เกี่ยวข้องกำหนดนโยบายและแนวทางในการบริหารยาหรือให้ยาแก่ผู้ป่วย
คุณสมบัติของบุคลากร
1 กำหนดคุณสมบัติของบุคลากรที่สามารถบริหารยาประเภทต่างๆเช่นการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำการฉีดยาเข้าไขสันหลังการให้ยาเคมีบำบัดการใช้สารทึบรังสี 2 มีการเพิ่มพูนและทดสอบความรู้และทักษะของบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ 3 มีระบบการกำกับหรือดูแลบุคลากรการที่ปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิด
กำหนดแนวทางการใช้บันทึกการบริหารยาผู้ป่วย (Medication Administration Record-MAR) เพื่อเป็นประกันความถูกต้องในการบริหารยา
สร้างแนวทางการกำกับการยืนยันความถูกต้องของการบันทึกเช่นการสุ่มตรวจสอบว่ามีการลงเวลาตามที่เป็นจริงหรือไม่หรือการสอบทานระหว่างเวร•ก่อนการบริหารยาทุกครั้งต้องยืนยันผู้ป่วยและความถูกต้องครอบคลุมทั้งนี้ให้ยึดบันทึกการบริหารยาเป็นหลักในการช่วยทวนสอบและควรให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการช่วยยืนยันความถูกต้อง
หากเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาหรือเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาให้ระงับการบริหารยาที่เกี่ยวข้องหรือที่สงสัยว่าจะเป็นสาเหตุเป็นเบื้องต้นรีบรายงานแพทย์ผู้เกี่ยวข้องทันทีและดำเนินการตามระบบการรายงานการจัดการอุบัติการณ์ที่องค์กรกำหนด
มาตรการความปลอดภัยด้านยาตาม SIMPLE 2018
M1: Safe from Adverse Drug Events (ADEs)
M1.1: Safe from High Alert Drugs
เป้าหมาย : 1. ลดความคลาดเคลื่อนของยาที่มีความเสี่ยงสูง ที่จะก่อให้เกิดอันตรายรุนแรง หากเกิดถึงตัวผู้ป่วย 2. ลดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง
M 1.2 : Safe from Preventable
Adverse Drug Reaction(ADRs)
เป้าหมาย : ผู้ป่วยปลอดภัยจากการแพ้ยาซ้ำ และแพ้ยากลุ่มเดียวกัน
M 1.3 : Safe from Fatal Drug Interaction
เป้าหมาย : ผู้ป่วยปลอดภัยจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ที่มีสาเหตุจากการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา
M2: Safe from Medication Error
M 2.1 : Look -Alike Sound-Alike (LASA) Medication Names
เป้าหมาย : เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาในกลุ่มยาที่มีชื่อยา เขียนคล้ายกันหรืออกเสียงคล้ายกัน
M 2.2 : Safe from Using Medication
เป้าหมาย : เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยาในทุกขั้นตอน ได้แก่ การสั่งยา การจัด-จ่ายยา การให้ยา และการติดตามผลการใช้ยา
M 3: Medication Reconciliation
เป้าหมาย : ผู้ป่วยได้รับการซักประวัติและสืบค้นให้ได้รายการยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่ ทั้งรายการยาจากสถานพยาบาลต่างๆ ยาซื้อใช้เอง รวมทั้งสมุนไพร อาหารเสริม ทั้งชื่อยา ขนาดยา ความถี่ วิธีใช้ และเวลาที่ผู้ป่วยใช้ยามาครั้งสุดท้าย โดยต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และแพทย์ต้องมาทบทวนรายการยาทั้งหมดเพื่อรับทราบข้อมูลก่อนสั่งใช้ยา
กระบวนการเปรียบเทียบประสานรายการยาระหว่าง รายการที่ผู้ป่วยรับประทานอยู่อย่างต่อเนื่องก่อนเข้ามารับบริการรักษาในโรงพยาบาลกับรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับเมื่อแรกรับ รวมทั้งเมื่อผู้ป่วยย้ายแผนก ย้ายหอผู้ป่วย หรือเมื่อถูกจำหน่ายกลับบ้าน
แหล้งข้อมูลที่ได้
ยาเดิมที่ผู้ป่วยถือมา
สมุดประจำตัวผู้ป่วย
ข้อมูลในเวชระเบียน
สอบถามจากแหล่งที่ผู้ป่วยได้รับยามา
ใบส่งต่อจากรพ.อื่น
M 4 : Rational Drug Use (RDU)
เป้าหมาย : การใช้ยาอย่างสมเหตุผล เป็นวัฒนธรรมองค์กร ที่มุ่งสู่การใช้ยาอย่างปลอดภัย เกิดประโยชน์จริงต่อผู้ป่วยด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ าที่สุด ต่อบุคคลและสังคม
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
1 : ข้อบ่งชี้(Indication)
หมายถึง การใช้ยาที่ผ่านการไตร่ตรองอย่างรอบคอบถึง ความจ าเป็น ในการใช้ยา โดยมีองค์ประกอบย่อยดังนี้
1.ระบุปัญหาของผู้ป่วยได้ครอบคลุมทุกปัญหา
2.วินิจฉัยแยกโรคได้แม่นย า
3.ระบุเป้าหมายการรักษาได้อย่างเหมาะสม
4.พิจารณาทางเลือกอื่นที่ไม่ต้องใช้ยาในการรักษา
5.พิจารณาอย่างรอบคอบแล้วเห็นว่ามีความจ าเป็นในการใช้ยานั้น
2 : ประสิทธิผล (Efficacy)
หมายถึง การใช้ยาเนื่องจากมีข้อบ่งชี้และเป็นยาที่ มีประโยชน์อย่างแท้จริง
1.กลไกการออกฤทธิ์ของยาสอดคล้องกับกลไกการเกิดโรคและประสิทธิผลของยา
2.มีหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนเพียงพอ
3.ประโยชน์ที่ได้มีความแตกต่างจากยาหลอกอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ
4.เป็นประโยชน์ที่มีความหมายทางคลินิก
5.เป็นประโยชน์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการรักษา
6.เป็นประโยชน์ที่คุ้มค่าเมื่อค านึงถึงความเสี่ยงจากการใช้ยาและค่าใช้จ่าย
3 : ความเสี่ยง (Risk)
หมายถึง การใช้ยาเนื่องจากมีข้อบ่งชี้ เป็นยาที่มีประโยชน์อย่างแท้จริง และเป็นการใช้ยาซึ่งมีความเสี่ยงที่ยอมรับได้
1.ประโยชน์จากยามีเหนือความเสี่ยงอย่างชัดเจน
2.ไม่มีข้อห้ามใช้ยาสำหรับผู้ป่วย
อันตรายที่ร้ายแรงถึงชีวิตหรือทุพพลภาพจากการใช้ยาพบได้น้อย
มีอุบัติการณ์ของผลข้างเคียงต่ำ
มีความเสี่ยงจากอัตรกิริยาต่ำ
ก่อนใช้ยาได้ตรวจสอบคำเตือนและข้อควรระวังสำหรับผู้ป่วยกลุ่มพิเศษอย่างรอบคอบแล้ว
มีวิธีป้องกันอันตรายที่สำคัญ
อาจตรวจพบอันตรายต่างๆจากยาได้แต่เนิ่นๆและสามารถบรรเทาหรือให้การรักษาได้ด้วยวิธีการต่างๆที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนหรือมีค่าใช้จ่ายสูง
ผู้ป่วยได้รับการอธิบายอย่างครบถ้วยถึงอันตรายต่างๆจากยา
4 : ค่าใช้จ่าย (Cost)
หมายถึง การใช้ยาเนื่องจากมีข้อบ่งชี้ เป็นยาที่มีประโยชน์อย่างแท้จริง มีความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และมีความคุ้มค่า
1.เป็นการใช้ยาตามชื่อสามัญทางยา
2.เป็นการเลือกใช้ยาที่มีราคาประหยัด
3.หากเป็นยาราคาแพงหรือมีมูลค่าการใช้สูง สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีความคุ้มค่าตามหลัก เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข
4.ระบบประกันสุขภาพและระบบสวัสดิการ สามารถให้เบิกจ่ายค่ายานั้นได้อย่างเท่าเทียมกัน และยั่งยืน
5 :ข้อพิจารณาอื่นๆ(Other consideration)
หมายถึง การใช้ยาเนื่องจากมีข้อบ่งชี้ เป็นยาที่มีประโยชน์อย่างแท้จริง มีความเสี่ยงที่ยอมรับได้มีความคุ้มค่าและได้พิจารณาอย่างรอบคอบถึงข้อพิจารณาอื่นๆแล้ว
1.ไม่สั่งยาซ้ำซ้อน รวมทั้งหลีกเลี่ยงยาสูตรผสม
2.คำนึงถึงปัญหาเชื้อดื้อยา
3.ใช้ยาสอดคล้องกับปรัชญาบัญชียาหลักแห่งชาติ
4.ใช้ยาตามขั้นตอนที่สอดคล้องกับแนวทางพิจารณาการใช้ยา(Evidenced based treatment guidelines)
5.ใช้ยาอย่างเสมอภาค เท่าเทียมกัน
6.ไม่งดเว้นการจ่ายยาที่มีข้อบ่งชี้แก่ผู้ป่วย
6 : ขนาดยา(dose)
เมื่อผู้สั่งใช้เลือกใช้ยาที่เหมาะสมตามขั้นตอน 1-5 แล้วได้สั่งใช้ยาโดยพิจารณา ขนาดยาอย่างรอบคอบ
1.ไม่ใช้ยาในขนาดต่ ากว่าขนาดยามาตรฐาน(Sub-therapeutic dose)
2.ไม่ใช้ยาในขนาดสูงหรือเกินกว่าขนาดยาสูงสุดที่ควรให้ต่อวัน(Overdose)
3.มีการ Titrate ขนาดยาอย่างเหมาะสม
4.ใช้ขนาดยาถูกต้องตามข้อบ่งชี้ เหมาะสมกับระยะและความรุนแรงของโรค
5.ใช้ขนาดยาเหมาะสมกับภาวะของผู้ป่วยกลุ่มพิเศษต่างๆเช่น การปรับขนาดยากรณีผู้ป่วยตับบกพร่อง ไตเสื่อม เด็ก และผู้สูงอายุ
7 : วิธีให้ยา (Method administration)
ใช้ยาตาม วิธีการให้ยาที่ถูกต้องและเหมาะสม
1.หลีกเลี่ยงฉีดยาโดยไม่จ าเป็น
2.หลีกเลี่ยงการใช้ยาทาง Systemic หากรักษาด้วยยาที่ให้เฉพาะที่ได้
3.ตรวจสอบวิธีให้ยาทางปากอย่างถูกต้อง
4.ตรวจสอบวิธีให้ยาด้วยการฉีดอย่างถูกต้อง
5.แนะน าเทคนิคการใช้ยาภายนอกอย่างถูกต้องแก่ผู้ป่วย
6.เลือกวิธีให้ยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
8 : ความถี่ในการให้ยา(Frequency of dose)
ใช้ยาด้วยความถี่ให้ยาที่ถูกต้องและเหมาะสม
1.ตรวจสอบความถี่ที่เหมาะสมของยาแต่ละชนิด
2.หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ต้องให้บ่อยครั้งต่อวันยกเว้นมีความจำเป็น
3.ใช้ยาด้วยความถี่ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยกลุ่มพิเศษต่างๆ
9 : ระยะเวลาในการให้ยา (Duration of treatment)
ระยะเวลาในการรักษาโรคที่ถูกต้องและเหมาะสม
1.ไม่ใช้ยานานเกินความจำเป็น
2.ไม่ใช้ยาด้วยการรักษาสั้นกว่าที่ควรจะเป็น
3.ย้ำให้ผู้ป่วยเห็นความสำคัญของการใช้ยาให้ครบระยะเวลาของการรักษา
4.ทบทวนแผนการรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตัดรายการยาที่ไม่จำเป็นออก
10 :ความสะดวก (Patient compliance)
ยังต้องสร้างการยอมรับของผู้ป่วย เพื่อให้เกิดความร่วมมือ ในการรักษาด้วยการพิจารณาความสะดวกในการใช้ยาของผู้ป่วย
1.การอธิบายให้เกิดการยอมรับ
2.เลือกยาที่ผู้ป่วยบริหารยาได้สะดวก
3.ตรวจสอบความเข้าใจของผู้ป่วย
4.ติดตามผลการรักษา
ขั้นตอนสู่การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
Pharmacy and therapeutic committee คณะกรรมการเภสัชและการบำบัด
Labeling and Leaflet จัดทำฉลากยาและข้อมูลยาสู่ประชาชน
Essential RDU tools เครื่องมือที่จำเป็นเพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
Awareness of RDU in health personnel and Patients สร้างความตระหนักรู้ของบุคคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย
Special Population Care การดูแลด้านยาเพื่อความปลอดภัยในผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ
Ethics in Prescription ส่งจริยธรรมในการสั่งใช้ยา
B6129422 นางสาวศศิธร ลาวกับเพ็ชร