Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเกี่ยวกับการป้องกัน เเละควบคุมการเเพร่กระจาย - Coggle Diagram
การพยาบาลเกี่ยวกับการป้องกัน
เเละควบคุมการเเพร่กระจาย
โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล(Nosocomial infection)
การติดเชื้อที่เกิดจากการได้รับเชื้อ (โดยปกติมักเกิดขึ้นภายใน 48-72 ชั่วโมง เมื่อรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล)
ภาวะปลอดเชื้อและเทคนิคปลอดเชื้อ
ภาวะปลอดเชื้อหรือการกีดกั้นเชื้อ (Asepsis)การปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่เกิดกับเครื่องมือเครื่องใช้และสิ่งแวดล้อม
เทคนิคปลอดเชื้อ (Aseptic Technique)วิธีการปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่เกิดขึ้นกับเครื่องมือเครื่องใช้
Medical asepsis
Sterile technique (Surgical asepsis)
คำศัพท์
Sterilization : ขบวนการทำลายเชื้อโรคทุกชนิด
Sterile : สิ่งของหรือเครื่องมือที่ปราศจากเชื้อโรค
Disinfection : ขบวนการทำลายเชื้อโรคแต่ไม่สามารถทำลายชนิดที่มีสปอร์ได้ เช่น การต้ม การแช่น้ำยา
Contamination : การสัมผัส ปนเปื้อนเชื้อโรค
Disinfectant : สารเคมีหรือนำยาที่ใช้ทำลายจุลินทรีย์ แต่ไม่สามารถทำลายชนิดที่มีสปอร์ ใช้กับผิวหนังไม่ได้
Antiseptics หมายถึง สารเคมีที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์
การฆ่าเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อ
critical items : เครื่องมือเครื่องใช้ที่สัมผัสกับเยื่อบุ ต้องทำให้ปราศจากเชื้อ
semi-critical or intermediate items : เครื่องมือเครื่องใช้ที่สัมผัสเยื่อบุ ก่อนใช้ต้องสะอาดไม่มีเชื้อโรค
non-critical items : เครื่องมือที่สัมผัสกับผิวหนังภายนอก ไม่ได้สัมผัสกับเยื่อบุต่างๆ ของร่างกาย ก่อนใช้ ต้องล้างให้สะอาด
การทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้
การล้าง(Cleansing)
การล้างเป็นขั้นแรกที่สำคัญที่สุด ควรเน้นการล้างให้มากที่สุด การล้างอาจจะใช้สารเคมีที่ใช้ชำระล้าง (detergent)หรือการใช้เครื่องล้างพิเศษแบบ ultrasonic Cleanser การล้างที่ถูกต้องสามารถขจัดจุลชีพออกจากวัสดุเกือบทั้งหมด
วัตถุประสงค์ของการล้างเครื่องมือก่อนนำไปทำลายเชื้อ
เพื่อลดจำนวนเชื้อโรคบนเครื่องมือให้เหลือปริมาณน้อยที่สุด
เพื่อเป็นการลดสิ่งปนเปื้อนที่ติดอยู่บนผิวของเครื่องมือ
ความสกปรกที่ติดแน่นบางอย่าง ไม่สามารถจะหลุดได้
ช่วยลดอันตรายในการหยิบจับอุปกรณ์ของเจ้าหน้าที่เป็นเบื้องต้น
ข้อควรคำนึงในการล้าง
กำจัดเลือด หนอง เมือก สารคัดหลั่งและอื่น ๆ ออกก่อนทำความสะอาดเสมอ
ไม่ทำให้อุปกรณ์ เครื่องใช้ชำรุดเสียหายจากวิธีการทำความสะอาด
ไม่ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้สกปรกมากกว่าเดิม
สารจากสบู่มีฤทธิ์เป็นด่าง หากล้างออกไม่หมดจะช่วยเคลือบเชื้อจุลชีพไว้
เครื่องใช้
1.อุปกรณ์ช่วยในการขัดถู ควรเป็นวัสดุที่มีความหยาบ
แต่ต้องไม่มีความคม
สารซักฟอก หรือสบู่
อุปกรณ์สวมใส่เพื่อป้องกันความสกปรกกระเด็นถูกร่างกาย
วิธีทำอุปกรณ์
สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความสกปรกตามความเหมาะสม
ล้างคราบสิ่งสกปรกและคราบสารผงซักฟอกออกให้หมดโดยใช้น้ำก๊อกที่ไหลชะผ่าน
เช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาด หรือวางผึ่งลมก่อนเก็บเข้าที่ หรือแยกไปทำให้ปราศจากเชื้อ
ทำความสะอาดอุปกรณ์ขัดล้างให้สะอาด ทำให้แห้ง รวมทั้งถุงมือและอ่างน้ำ
การต้ม(Boiling)
การต้มเป็นวิธีการทำลายเชื้อที่ดี ง่าย ประหยัดและมีประสิทธิภาพดี การต้มเดือดนาน10นาที จะสามารถทำลายเชื้อได้ยกเว้นสปอร์ การต้มเดือดที่มีประสิทธิภาพที่เชื่อถือได้ควรจะต้มเดือดนาน 20 นาทีขึ้นไปและน้ำต้องท่วมของที่ต้องการต้ม
การเตรียมสิ่งของที่จะต้ม
สิ่งของที่จะต้มควรได้รับการทำความสะอาดดีแล้ว
แยกชนิดสิ่งของที่จะต้ม เครื่องมือกับเครื่องแก้วไม่ต้มด้วยกัน
เครื่องใช้มีคมไม่ควรต้ม เพราะจะทำให้เสียความคม
ของที่ใช้กับอวัยวะสะอาด ไม่ควรต้มปนกับของที่ใช้กับอวัยวะสกปรก
ของที่ต้มครบเวลาแล้ว ต้องเก็บไว้ในภาชนะที่ปราศจากเชื้อ ถ้าไม่มีต้องต้มภาชนะและฝาปิดพร้อมของที่ต้มด้วย
หลักสำคัญในการต้ม
น้ำต้องท่วมของทุกชิ้นอย่างน้อย 1 นิ้ว
เครื่องมือเครื่องใช้ที่มีน้ำหนักเบา ควรใช้ของที่มีน้ำหนักทับเพื่อให้จมอยู่ใต้น้ำ
ปิดผาหม้อต้ม เริ่มนับเวลาเมื่อน้ำเดือดเต็มที่
ในขณะต้มต้องไม่เปิดฝาหม้อต้มและต้องไม่เพิ่มสิ่งของอื่นลงไป เมื่อของที่ต้มอยู่ยังต้มไม่ครบ 15 หรือ 20 นาที
เมื่อครบกำหนดให้เก็บของที่ต้มแล้วลงในภาชนะที่ปราศจากเชื้อหรือสะอาดมีฝาปิดมิดชิด
การเตรียมอุปกรณ์การต้ม
-หม้อต้มที่สะอาดมีฝาปิด เพื่อให้อุณหภูมิสม่ำเสมอขณะต้ม
-ใส่น้ำสำหรับการต้มให้มีปริมาณมากพอ การใช้น้ำประปาจะทำให้เกิดตะกรันในหม้อต้ม
การใช้สารเคมี(Chemical method)
น้ำยาที่ใช้ทำลายเชื้อ
แอลกอฮอล์
ทำลายเชื้อได้ดี
ไม่ทำลายสปอร์
เครื่องมือโลหะอาจเกิดสนิม
อัลดีฮัยด์
ทำลายเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส รา
ทำลายสปอร์แบคทีเรีย
ระคายเคืองผิวหนัง
ไดกัวไนด์
chlorhexidine
ความเข้มข้นถ้าต่ำกว่า 0.2% ทำลายเชื้อไวรัส แบคทีเรียแกรมบวกไม่ได้
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
ทำลายเชื้อโรคและไวรัส
ฟีนอล
ทำลายเชื้อแบคทีเรีย เชื้อวัณโรค
ยกเว้นเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
กลิ่นแรง ระคายเคืองผิวหนัง
ไม่ควรใช้กับทารก
Quartemary Ammonium Compounds
มีฤทธิ์ทำลายน้อย
ฮาโลเจน
น้ำยามีความสามารถในการทำลายเชื้อโรคได้ต่างกัน
กลิ่นเหม็น
โลหะเป็นสนิม
ระเหยง่าย
เก็บในภาชนะทึบแสง
Disinfectent สารเคมีที่ใช้ทำลายจุลินทรีย์ ทำลายจุลินทรีย์ที่มีสปอร์ไม่ได้ ทำลายเนื้อเยื่อใช้กับผิวหนังไม่ได้
Antiseptics สารเคมีที่ยั้บยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ใช้กับสิ่งมีชีวิตได้
การทำให้ปราศจากเชื้อ
วิธีทางกายภาพ
Radiation
ใช้แสงอัลตราไวโอเลต ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสบางชนิด
Dry heat or hot air sterilization
ทำลายเชื้อโรคโดยใช้ความร้อนแห้ง
เหมาะสำหรับเครื่องมือที่เป็นของมีคม
ไม่เหมาะกับผ้า
Steam under pressure
เหมาะกับเครื่องมือที่ทนความร้อนชื้น
การทำลายเชื้อโดยใช้ Autoclave
การอบไอน้ำภายใต้ความดดัน
วิธีทางเคมี
การใช้ก๊าซ Ethylene oxide
ทำลายไวรัสและแบคทีเรียรวมทั้งสปอร์ของแบคทีเรีย
เหมาะกับเครื่องมือเครื่องใช้ที่ไม่ทนความร้อนความชื้น
การใช้ 2% Giutaradehyde
ทำลายเชื้อ สปอร์ของแบคทีเรีย
ไม่ทำให้เกิดสนิมใช้แช่เครื่องมือเครื่องใช้
การใช้ Peracetic acid
คุณสมบัติในการกัดกร่อนสูง
ผสมน้ำอุ่นแล้วใช้แช่เครื่องมือ
หลักพื้นฐานของการปราศจากเชื้อ
1.ดูแลให้ของปลอดเชื้อนั้นคงความปลอดเชื้อ
1.1 ปากคีบปลอดเชื้อ (Transfer forceps) ใช้สำหรับหยิบจับของปลอดเชื้อ ควรถือให้สูงกว่าระดับเอว
1.2 การเทน้ำยาปลอดเชื้อ ให้ถือขวดน้ำยาสูงกว่าภาชนะ 6 นิ้ว ปากขวดต้อไม่โดนของใช้อื่นๆ
1.3 หลีกเลี่ยงการพูดคุย ไอ จาม
1.4 อุปกรณ์ที่จะสอดใส่/ผ่านผิวหนังเข้าไปในร่างกายผู้ป่วยจะต้องปลอดเชื้อ
1.5 การเทน้ำยาไม่ควรชิดขอบด้านนอก ห่างจากขอบนอกของภาชนะของปลอดเชื้อถัดเข้ามาประมาณ 1 นิ้ว
1.6 การเปิดห่อผ้าของปลอดเชื้อ ไม่ควรข้ามกรายของปลอดเชื้อ ควรเปิดด้านตรงข้ามก่อน เเละเปิดด้านซ้าย-ขวา
2.หากของปลอดเชื้อสัมผัสกับสิ่งที่ไม่ปลอดเชื้อให้ถือว่าของนั้นไม่ปลอดเชื้อ เรียกว่า contamination
2.1 ใช้ปากคีบปลอดเชื้อ ไม่ใช้ปากคีบที่ไม่ปลอดเชื้อหรือผ่านการใช้งานแล้วหยิบของปลอดเชื้อ
2.2 หากหยิบจับของปลอดเชื้อด้วยมือ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ปลอดเชื้อ จะถือว่าเครื่องมือเครื่องใช้นั้นเกิดการปนเปื้อน
2.3 การใช้ปากคีบหยิบจับของปลอดเชื้อไม่ควรใช้ปากคีบหยิบบริเวณขอบของภาชนะ
2.4 ของปลอดเชื้อที่มีรอยฉีกขาด รอยเปิดสัมผัสกับภายนอก ถือว่าไม่ปลอดเชื้อ
2.5 ดูแลให้ของปลอดเชื้อสัมผัสกับอากาศน้อยที่สุด หากเปิดใช้ต้องรีบปิดทันที
2.6 ห่อของปลอดเชื้อที่เปิดใช้แล้ว แสดงว่าเกิดการปนเปื้อน ไม่นำไปรวมกับของปลอดเชื้อ
3.ของปลอดเชื้อต้องอยู่สูงกว่าระดับเอวและอยู่ในสายตา
3.1 การถือของปลอดเชื้อจะต้องอยู่สูงกว่าระดับเอว
3.2 เมื่อเปิดของปลอดเชื้อแล้ว ไม่ละทิ้งหรือหันหลังให้ของปลอดเชื้อ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการปนเปื้อน
3.3 หากผู้ปฏิบัติเกิดความสงสัย ไม่มั่นใจเกี่ยวกับความปลอดเชื้อกับของใช้นั้น ต้องเปลี่ยนของนั้นใหม่ทันที
การปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
การล้างมือ (Hand washing)
การล้างมือแบบธรรมดา (Normal หรือ Social hand washing)
ให้ล้างมือตามขั้นตอนด้วยสบู่ก้อนหรือสบู่เหลว ใช้เวลาในการฟอกมือนานอย่างน้อย 15 วินาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
ซับให้แห้งด้วยกระดาษเช็ดมือหรือผ้าเช็ดมือที่แห้งและสะอาด
การล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล (Alcohol hand rub)
บีบน้ำยาประมาณ 10 มิลลิลิตร แต่หากต้องการให้เกิดประสิทธิภาพ ต้องใช้เวลาในการฟอกนาน 30 วินาที
การล้างมือก่อนปฏิบัติการพยาบาลที่ใช้เทคนิคปราศจากเชื้อ และภายหลัง (Hygienic hand washing)
การล้างมือภายหลังการสัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อหรือสิ่งปนเปื้อนเชื้อ
เช่น การสวนปัสสาวะให้ล้างมือด้วยสบู่เหลวผสมยาทำลายเชื้อ เช่น คลอเฮ็กซิดีน กลูโคเนต 4 % ( chlorhexidine gluconate 4 %) ไอโอโดฟอร์ 7.5 %( iodophor 7.5 %) ฟอกอย่างทั่วถึงตามขั้นตอนเหมือนการล้างมือแบบธรรมดาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 วินาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาดแล้วซับให้แห้งด้วยผ้าแห้งที่สะอาด
การล้างมือก่อนทำหัตถการ (Surgical hand washing)
ให้ล้างมือด้วยสบู่เหลวทำลายเชื้อ เช่น chlorhexidine 4% และใช้แปรงที่ปราศจากเชื้อแปรงมือและเล็บในครั้งแรกของวันนั้นๆ แล้วฟอกมือและแขนถึงข้อศอกนานอย่างน้อย 5 นาที ในการล้างมือครั้งต่อไปฟอกมือนาน 3-5 นาที ล้างให้สะอาดและซับด้วยผ้าแห้งที่ปราศจากเชื้อ
การใส่ถุงมือ (Glove)
ถุงมือปลอดเชื้อ (sterile gloves)
ทำหัตถการต่างๆ
ป้องกันการติดเชื้อ
หยิบจับของที่ปลอดเชื้อ
ถุงมือสะอาดหรือชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง
หยิบจับเครื่องมือเครื่องใช้ของผู้ป่วยที่ผ่านการใช้งานเเล้ว
ป้องกันสิ่งสกปรกสัมผัสมือ เช่น สารคัดหลั่ง
การใช้ผ้าปิดปาก-จมูก
ป้องกันเชื้อเข้าสู่ทางเดินหายใจ
ระยะเวลาใช้ไม่ควรเกิน 20-30 นาที
ถอดทันทีหลังเสร็จกิจกรรม หรือเกิดสิางสกปรก
การใส่เสื้อกาวน์ (Gown)
ป้องกันการเเพร่กระจายของเชื้อ
ถ้าเปื้อนหรือเปียกให้เปลี่ยนทันที
การหยิบจับของปราศจากเชื้อ
ปากคีบ
สำหรับหยิบส่งของปลายเป็นร่อง ไม่มีเขี้ยว
วิธีหยิบปากคีบ
ระวังไม่ให้ปากคีบแยกออกจากกัน และไม่ให้ถูกภาชนะ
ให้ปลายคีบอยู่ต่ำไม่ให้น้ำไหลไปบริเวณที่ไม่ปราศจากเชื้อ
ไม่ให้ปากคีบถูกกัับภาชนะอื่นๆที่ไม่ปราศจากเชื้อ
ใช้เสร็จแล้วให้จับตรงกลางด้ามให้ปลายชิดกัน แล้วใส่ลงกระปุกตรงๆ
วิธีการหนีบบของในหม้อนึ่ง
เมื่อเปิดฝา ถ้าจะวางกับโต๊ะให้หงายขึ้น ถ้าถือไว้ให้คว่ำฝาลง
ห้ามเอื้อมข้ามของ sterileที่เปิดฝาไว้ ห้ามจับด้านในฝา
ของที่หยิบออกไปแล้วไม่ควรนำมาเก็บในหม้อนั้นอีก
การป้องกันการติดเชื้อเเบบมาตรฐาน
"ใช้กับผู้ป่วยทุกคน"
เพื่อระมัดระวังการเเพร่กระจายของเชื้อ
สวมเครื่องป้องกัน
หลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ
การมีสุขาภิบาลเเละสุขอนามัยที่ดี
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
การสัมผัส (Contact Transmission)
Direct Contact - การสัมผัสโดยตรง ระหว่างคนกับคน
indirect Contact - การสัมผัสทางอ้อมโดยผ่านสิ่งแวดล้อมหรือเครื่องมือที่ไม่ปราศจากเชื้อ
Droplet Contact- การสัมผัสผ่านละอองเสมหะ ในระยะไม่เกิน 3 ฟุต
Contact Precautions
(การติดเชื้อที่แพร่กระจายได้จากการสัมผัส)
แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกและปิดประตูทุกครั้ง
สวมถุงมือทุกครั้งเมื่อสัมผัสผู้ป่วยทั้งบุคลากรและญาติ
ล้างมือแบบ hygienic handwashing
Droplet Precautions
(การติดเชื้อที่แพร่กระจายได้ทางละอองในอากาศ )
แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกและปิดประตูทุกครั้ง
ผู้ที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วยหรือดูแลผู้ป่วยต้องใส่ ผ้าปิดปาก-จมูก ชนิด N95
สวมถุงมือชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง ทุกครั้งที่สัมผัสผู้ป่วย
ล้างมือแบบ hygienic handwashing
ให้ผู้ป่วยใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปาก-จมูกเวลาไอ จาม
ถ้าต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้ผู้ป่วยใส่ผ้าปิดปาก-จมูกชนิดธรรมดา
Airborne Precautions
(การติดเชื้อที่แพร่กระจายทางอากาศ)
แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกพิเศษ และปิดประตูทุกคครั้ง
ผู้ที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วยต้องส่ผ้าปิดปาก-จมูก ชนิด N95
สวมถุงมือชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง ทุกครั้งที่สัมผัสผู้ป่วย
ล้างมือแบบ hygienic handwashing
ให้ผู้ป่วยใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปาก-จมูกเวลาไอ จาม
ถ้าต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้ผู้ป่วยใส่ผ้าปิดปาก-จมูกชนิดธรรมดา
หลัก Standard precaution
สวมเครื่องป้องกัน ตามความเหมาะสม
สวมถุงมือ
ใช้ผ้าปิดปาก จมูก สวมแว่นตา หรือเครื่องกันหน้า
สวมเสื้อคลุม
ระวังการบาดเจ็บจากเข็มและของมีคมต่าง ๆ
เมื่อมีบาดแผล หรือรอยถลอกควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง
ต้องล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังการใช้ทุกครั้งในการปฏิบัติงาน
เทคนิคการแยก (Isolation Technique)
จุดประสงค์ในการแยกผู้ป่วย
ป้องกันการแพร่กระจายโรคติดต่อ
ป้องกันการติดโรคจากผู้ป่วย
ป้องกันการซ้ำเติมโรคในผู้ป่วยที่มีความต้านทานต่ำ การแยกเพื่อป้องกันเชื้อเข้าสู่ผู้ป่วย (protective isolation or reverse barrier technique)
เพื่อทำลายเชื้อโรคซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดโรค
การแยกผู้ป่วยอาจจำแนกออกเป็น 7 แบบ
การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ
การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินอาหาร
การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางบาดแผลและผิวหนัง
การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงและติดต่อง่าย
การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางเลือด และน้ำเหลือง
การแยกผู้ป่วยในรายที่สงสัยว่าจะเป็นโรคติดต่อ
การแยกผู้ป่วยในรายที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง