Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเกี่ยวกับการป้องกัน และควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ - Coggle Diagram
การพยาบาลเกี่ยวกับการป้องกัน และควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
สิ่งนำเชื้อ
เชื้อโรคเเพร่กระจายได้จำเป็นต้องมีพาหนะในการนำเชื้อ
อากาศ
อาหารและน้ำ
สัมผัสโยตรงกับคน
วัตถุต่าง ๆ
วิธีการแพร่กระจายของเชื้อ
Vectorbornetransmission เป็นการแพร่กระจายเชื้อโดยแมลง หรือสัตว์นำโรค
Air bone transmissionเป็นการแพร่กระจายเชื้อโดยการสูดหายใจเอาเชื้อที่ลอยอยู่ในอากาศเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ
Common Vehicle transmission เป็นการแพร่กระจายเชื้อ จากการที่มีเชื้อจุลชีพปนเปื้อนอยู่ในเลือด ผลิตภัณฑ์ของเลือดอาหาร น้ำ ยา สารน้ำที่ให้แก่ผู้ป่วย
ทางเข้าของเชื้อที่ทำให้เกิดโรค
ดวงตา
จมูก
ปาก
ความไวของแต่ละบุคคลในการรับการติดเชื้อ
ความเครียด
ภาวะโภชนาการ
อ่อนเพลีย
ภูมิแพ้
โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล Nosocomial infection
การติดเชื้อที่เกิดจากการได้รับเชื้อขณะผู้ป่วยได้รับการตรวจและการได้รับพยาบาลและการติดเชื้อของบุคลากรจากการปฏิบัติงาน โดยมักเกิดชึ้นภายใน 48-72 ชั่วโมง
เมื่อรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล
ภาวะปลอดเชื้อและเทคนิคปลอดเชื้อ
ภาวะปลอดเชื้อหรือการกีดกันเชื้อ(Asepsis)
ภาวะปลอดเชื้อหรือการกีดกั้นเชื้อ (Asepsis) หมายถึงการปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่จะเกิดกับเครื่องมือ
เครื่องใช้และสิ่งแวดล้อม เป็นการวางกลยุทธ์ในการควบคุมการติดเชื้อ ลดแหล่งของเชื้อโรคและการแพร่กระจายเชื้อ
เทคนิคปลอดเชื้อ (Aseptic Technique)
Medical asepsis
Sterile technique (Surgical asepsis)
ความหมายของคําศัพท์
Sterilization ขบวนการทําลายเชื้อโรคทุกชนิด รวมถึงพวกมีสปอรให้หมดสิน ไป
sterile สิ่งของหรือเครื่องมือที่ปราศจากเชื้อโรค รวมทั้งชนิดที่มีสปอร์
contamination การสัมผัส ปนเปื้อนเชื้อโรค
Dis infection หมายถึง ขบวนการทำลายเชื้อโรคแต่ไม่สามารถทำลายชนิดที่มีสปอร์ได้ วิธีทำลายเชื้อโรคแบบนี้เช่น การต้ม การแช่น้ำยา
Disinfectant หมายถึง สารเคมีหรือนำยาที่ใช้ทำลายจุลินทรีย์ แต่ไม่สามารถทำลายชนิดที่มีสปอร์ น้ำยานี้จะทำลายเนื้อเยื่อด้วย ฉะนั้นจะใช้กับผิวหนังไม่ได้
Antiseptics หมายถึง สารเคมีที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์
การฆ่าเชื้อและทําให้ปราศจากเชื้อ
critical items : เครื่องมือเครื่องใช้ที่สัมผัสกับเยื่อบุ ก่อนใช้ต้องทำให้ปราศจากเชื้อ
semi-critical.or intermediate items : เครื่องมือเครื่องใช้ที่สัมผัสเยื่อบุ ก่อนใช้ต้องสะอาดไม่มีเชื้อโรค ยกเว้นสปอร์ของแบคทีเรีย
critical items : เครื่องมือที่สัมผัสกับผิวหนังภายนอก ไม่ได้สัมผัสกับเยี่อของร่างกาย ก่อนใช้ ต้องล้างให้สะอาด
การทำความสะอาดเครื่องมือ
การล้าง
การต้ม
การใช้สารเคมี
การทำให้ปราศจากเชื้อ
การล้าง
การล้างเป็นขั้นแรกที่สำคัญที่สุดสำหรับการทำลายเชื้อในขั้นต่อไป สิ่งของที่ปนเปื้อนมากๆ น้ำยาไม่สามารถทำลายเชื้อได้ หากไม่มีการล้าง เพราะสิ่งที่เปื้อนนั้นจะทำปฏิกิริยากับน้ำยาหรือเป็นเกราะป้องกันเชื้อโรคไม่ให้สัมผัสกับน้ำยา ดังนั้นจึงควรเน้นการล้างให้มากที่สุด
วัตถุประสงค์ของการล้างเครื่องมือก่อนนำไปทำลายเชื้อ
เพื่อลดจำนวนเชื้อโรคบนเครื่องมือให้เหลือปริมาณน้อยที่สุด
เพื่อเป็นการลดสิ่งปนเปื้อนที่ติดอยู่บนผิวของเครื่องมือ
ความสกปรกที่ติดแน่นบางอย่าง ไม่สามารถจะหลุดได้
ข้อควรคำนึงในการล้าง
กำจัดเลือด หนอง เมือก สารคัดหลั่งและอื่นๆ ออกก่อนทำความสะอาดเสมอ
ไม่ทำให้อุปกรณ์ เครื่องใช้ชำรุดเสียหายจากวิธีการทำความสะอาดเสมอ
เครื่องใช้
อุปกรณ์ช่วยในการขัดถู มีขนาดรูปร่างต่างๆกัน ควรเป็นวัสดุที่มีความหยาบแต่ต้องทนต้องไม่มีความคม
สารซักฟอก หรือสบู่
อุปกรณสวมใส่เเพื่อป้องกันความสกปรกกระเด็นถูกร่างกาย เช่น ถุงมือยาง
วิธีทำ
สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความสกปรกตามความเหมาะสม ระมัดระวังไม่ให้เปื้อนบริเวใกล้เคียง
ล้างคราบสิ่งสกปรกและคราบสารผงซักฟอกออกให้หมดโดยใช้น้ำก็อกที่ไหลซะผ่าน
เช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาด หรือวางผึ่งลมก่อนเก็บเข้าที่ หรือแยกไปทำให้ปราศจากเชื้อ
ทำความสะอาดอุปกรณ์ขัดล้างให้สะอาด ทำให้แห้ง รวมทั้งถุงมือและอ่างน้ำ
การต้ม
การต้มเป็นวิธีการทำลายเชื้อที่ดี ง่าย ประหยัดและมีประสิทธิภาพที่ดี การต้มเดือดนาน 10นาที จะสามารถทำลายเชื้อได้ยกเว้นสปอร์ แต่สำหรับเชื้อโรคที่อันตราย เช่น HIV องค์กรการอนามัยโลกแนะนำให้ต้มเดือดนาน20นาที
การเตรียมสิ่งของที่จะต้ม
หม้อต้มที่สะอาดมีฝาปิด เพื่อให้อุณหภูมิสม่ำเสมอขณะต้ม
ใส่น้ำสำหรับการต้มให้มีปริมาณมากพอ การใช้น้ำปะปาจะทำให้เกิดตะกรัน ในหม้อต้ม ซึ่งอาจจะทำให้เกิดคราบบนผิววัสดุที่ต้ม หรือต้องใช้เวลาต้มนาน
หลักการสำคัญของการต้ม
น้ำต้องท่วมของทุกชิ้นอย่างน้อย 1นิ้ว
เครื่องมือเครื่องใช้ที่มีน้ำหนักเบา ควรใช้ของที่มีน้ำหนักทับเพื่อให้จม
ปิดฝาหม้อต้ม เริ่มนับเวลาเมื่อน้ำเดือดเต็มที่
ในขณะต้มต้องไม่เปิดฝาหม้อต้ม เพราะจำทำให้อุณหภูมิภายในหม้อต้มลดลง และต้องไม่เพิ่มสิ่งของอื่นลงไป เมื่อของที่ต้มอยู่ยังต้มไม่ครบ 15 หรือ20 นาที
เมื่อครบกำหนดให้เก็บของที่ต้มแล้วลงในภาชนะที่ปราศจากเชื้อหรือสะอาดมีฝาปิดมิดชิด
การใช้สารเคมี
Disinfectant
สารเคมีหรือน้ำยาที่ใช้ทำลายจุลินทรีย์แต่ไม่สามารถทำลายชนิดที่มีสปอร์
Antiseptics
สารเคมีที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ สารมารถใช้กับสิ่งมีชีวิตได้ปลอดภัย
น้ำยาที่ใช้ฆ่าเชื้อ
แอลกอฮอร์ alcohols
ทำลายเชื้อได้ดีแต่ไม่ทำลายสปอร์
อัลดีฮัยด์ Aldehydes
ทำลายเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส รา ในเวลา 10นาที
ทำลายสปอร์แบคทีเรียได้ใน 1 ชั่วโมง
ราคาแพง
ไดกัวไนด์ Diiguanida สารที่ใช้คือ chlorhexidineไม่สามารถทำลายแบคทีเรียแกรมบวก เชื้อไวรัสเชื้อราและสปอร์ของแบคทีเรีย
ฮาโลเจน Halogens
สามารถทำลายเชือโรคได้ต่างกันกลิ่นเหม็น โลหะเป็นสนิม ระเหยง่าย
ฮัยโดเจนเปอร์ออกไซด์
สามารถทำลายเชื้อโรครวมทั้งไวรัสโดยใช้ hydrogen peroxide6%นาน 30 นาที
น้ำยาที่ฟีนอล
สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย เชื้อวัณโรค เชื้อรา ยกเว้นเชื้อไวรัสตับบีอักเสบและสปอร์ของแบคทีเรีย
การทำให้ปราศจากเชื้อ
วิธีทางกายภาพ
Radiation
Dry heat or hot air sterillization
steam under pressure
วิธีทางเคมี
การใช้ก๊าช Ethylene oxide
การใช้ 2 % Glutaradehyde
การใช้ Peracetic acid
Radiation
เป็นแสงอัลตราไวโอเลตซึ่งเป็นแสงสีม่วงสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสบางชนิดแต่ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสตับบีอักเสบและไวรัสเอดส์
Dry heat or hot air sterilization
การใช้ hot air oven ลักษณะคล้ายเตาอบขนมปังสามารถทำลายเชื้อโดยใช้ความร้อนแห้งที่อุณหภูมิ 165-170 องศาเซลเซียสระยะเวลาอย่างน้อย3ชั่วโมง
Steam under pressure
เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่มากที่สุด เชื่อถือได้ และประหยัดค่าใช้จ่ายในการฆ่าเชื้อและสปอร์ของเชื้อ
การใช้ก๊าช Ethylene oxide
เป็นก๊าชที่มีคุณสมบัติทำลายเชื้อสูง สามารถทำลายได้ทั้งไวรัสแบคทีเรียรวมทั้งสปอร์ของแบคทีเรีย
การใช้ 2% Glutaradehyde
เป็นสารที่ใช้มากที่สุดในการทำให้ปราศจากเชื้อมีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อและสปอร์ของแบคทีเรียเป็นสารที่ไม่ทลายยางหรือพลาสติก
การใช้ Peracetic acid
เป็นส่วนผสมของระหว่าง acetic acid กับ hydrogen peroxideมีคุณสมบัติในการกัดกร่อนสูง แต่ต้องละลายในน้ำอุ่นเครื่องมือเครื่องใช้ที่แช่ใน peracetic acid เพื่อทำให้ปลอดเชื้อจะต้องใช้เวลารวดเร็วคือ35-40นาที
การหยิบจับของปราศจากเชื้อ
ของที่ปราศจากเชื้อจะอยู่ในภาชนะที่มีฝาปิดหรือในห่อเช่นหม้อนึ่งสำลี ก๊อสหรือถาดแช่เครื่องมือที่มีฝาปิด ปากคีบสำหรับหยิบส่งของควรเป็นชนิดปลายเป็นร่อง และไม่มีเขี้ยว จึงจะหยิบของได้แน่น ชนิดปลายเป็นเขี้ยวคีบสำลี ก๊อส จะติดปลาย เพื่อให้ปราศจากเชื้อปากคีบควรแช่อยู่ในน้ำยาตลอดเวลา
วิธีการใช้ปากคีบหยิบของที่ปราศจากเชื้อ
เมื่อหยิบปากคีบออกจากภาชนะที่แช่ต้องระวังไม่ให้ปากคีบแยกออกจากกันและป้องกันมิให้ปลายปากคีบถูกกับปากภาชนะและรอให้น้ำยาหยดออกให้หมดสักครู่
ขณะทีถือให้ปลายปากคีบอยู่ต่ำ เพื่อมิให้น้ำไหลไปสู่บริเวณที่ไม่ปราศจากเชื้อทำให้ปลายปากคีบสกปรก
ระวังมิให้ปากคีบถูกต้องกับภาชนะอื่นๆ ที่ไม่ปราศจากเชื้อ
เมื่อใช้ปากคีบเสร็จแล้วให้จับตรงกลางด้ามให้ปลายชิดกัน แล้วใส่ลงในกระปุกตรงๆ
วิธีการหยิบของในหม้อนึ่งใน อับหรือการแบ่งของที่สะอาดปราศจากเชื้อ
เมื่อเปิดฝาถ้าต้องการจะวางกับโต๊ะให้หงายฝาขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้ขอบฝาสัมผัสกับโต๊ะถ้าถือหว้ให้คล่ำฝาลงเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคจากอากาศตกลงไปที่ฝานั้น
ห้ามเอื่อมข้ามของ sterileที่เปิดฝาไว้และห้ามจับด้านในของฝา
ของที่หยิบออกไปแล้วแม้ว่าจะยังไม่ได้ใช้ก็ไม่ควรนำเข้าไปเก็บในหม้อนั้นอีก
หลักพื้นฐานของภาวะปราศจากเชื้อ
1ดูแลให้ของปลอดเชื้อนั้นคงความปลอดภัย
•ปากคีบปลอดเชื้อ ใช้สำหรับหยิบจับเคลื่อนย้ายของปลอดเชื้อต้องทำความสะอาดและคงความปลอดเชื้อตลอดเวลา
•การเทน้ำยาปลอดเชื้อ เช่นแอลกอฮอร์ 70%ให้ถือขวดน้ำยาสูงกว่าภาชนะปลอดเชื้อประมาณ6นิ้ว
•หลีกเลี่ยงการทำน้ำยาหกเปื้อนผ้าห่อของปลอดเชื้อ
•หลีกเลี่ยงการพูดคุย ไอจาม หรือข้ามกรายของปลอดเชื้อ
•อุปกรณ์ทางการแพทย์ทุกชนิดที่จะสอดใส่ผ่านผิวหนังเข้าไปในร่างกายผู้จะต้องปลอดเชื้อ
ของปลอดเชื้อต้องไม่สัมผัสกับสิ่งที่ไม่ปลอดเชื้อ
2หากของปลอดเชื้อสัมผัสกับสิ่งไม่ปลอดเชื้อให้ถือว่าของนั้นไม่ปลอดเชื้อหรือเกิดการปนเปื้อนขึ้น เรียกว่าcontamination
•ใช้ปากคีบปลอดเชื้อในการหยิบของปลอดเชื้อ ไม่ใช้ปากคีบที่ไม่ปลอดเชื้อหรือผ่านการใช้งานแล้ว
•หากหยิบจับของปลอดเชื้อด้วยถุงมือ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ปลอดเชื้อจะถือว่าเครื่องมือเครื่องใช้นั้นเกิดการปนเปื้อน
•การใช้ปากคีบหยิบจับของปลอดเชื้อไม่ควรใช้ปากคีบหยิบบริเวณขอบของภาชนะ
•ของปลอดเชื้อที่มีรอยฉีกขาด รอยเปิดสัมผัสกับภายนอกถือว่าไม่ปลอดเชื้อ
•ดูแลให้ของปลอดเชื้อสัมผัสกับอากาศน้อยที่สุด หากเปิดใช้ต้องรีบปิดทันที
3ของปลอดเชื้อต้องสูงกว่าระดับเอวและอยู่ในสายตา
•การถือของปลอดเชื้อหรือบริเวณที่วางของปลอดเชื้อจะต้องอยู่สูงกว่าระดับเอวเพื่อให้แน่ใจว่าของปลอดเชื้อนั้นอยู่ในสายตาลดโอกาสการปนเปื้อน
•เมื่อเปิดของลปอดเชื้อแล้วไม่ละทิ้งหรือหันหลังให้ของปลอดเชื้อเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการปนเปื้อนเกิดขึ้นจากการวางของนั้นนอกสายตา
•หากผู้ปฏิบัติเกิดความสงสัยไม่มั่นใจเกี่ยวกับความปงอดเชื้อกับของใช้นั้นต้องเปลี่ยนของนั้นใหม่ทันที
วิธีการห่อส่งนึง
คลีผ้าห่อของบนโต๊ะ สูงระดับเอวให้มุมใดมุมหนึ่งอยู่ด้านผู้ห่อ
วางของไว้ที่ศูนย์กลางของผ้าห่อ
จับมุมผ้าด้านผู้ห่อ วางพาดบนของแลพับมุมกลับเล็กน้อย
ดึงผ้าให้เรียบตึง ห่อด้านซ้ายให้มิดของดึงให้ตึงและพับมุมเล็กน้อย
ห่อด้านขวาให้มิดของ ดึงให้ตึงพับมุมเช่นกันเข้าเล็กน้อย
จับผ้าที่เหลือมุมสุดท้าย ดึงให้ตึงพับมุมเข้าเล็กน้อยจัดห่อให้มิดชิดไม่หลุด
ตรึงห่อของให้แน่นด้วยเทปกาวและระบุหอผู้ป่วยชื่อสิ่งของวันที่ส่งนึ่ง และชื่อผู้ห่อของ
จุดประสงค์ เพื่อคงความปลอดภัยเชื้อสิ่งของภายในห่อและผ้าห่อด้านใน
เครื่องใช้ ห่อของที่ปลอดเชื้อ
การล้างมือ
การล้างมือเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการลดการติดเชื้อที่เกิดจากการสัมผัสโดยตรง สามรถทำได้ง่ายและสิ้นเปลืองน้อยที่สุด การล้างมือควรกรทำก่อนที่จะปฏิบัติการพยาบาลและหลังการพยาบาลผู้ป่วยหลังสัมผัสอุปกรณ์เครื่องใช้ที่สกปรก
การล้างมือแบบธรรมดา เป็นการล้างมือเพื่อสุขภาพอนามัยทั่วไปเช่นเมื่อมือเปื้อนหรือก่อนสัมผัสผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ ก่อนและหลังการแจกยา ก่อนและหลังการรับประทานอาหารภายหลังการทำเตียงภายหลังการเข้าห้องน้ำ ให้ล้างมือตามขั้นตอนด้วยสบู่หรือสบู่เหลว ใช้เวลาในการฟอกมือนานอย่างน้อย 15 วินาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอร์ ในกรณีรีบด่วน ไม่สะดวกในการล้างมือด้วยน้ำ และมือไม่ปนเปื้อนสิ่งสกปรกหรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยให้ทำความสะอาดมือด้วย แอลกอฮอร์เจล ซึ่งมีน้ำยา Alcohol70% หรือalcohol70%ผสมchlorhexidine 0.5% ซึ่งมีลักษณะเป็นเจล สามารถกำจัดเชื้อโรคออกจากมือทั้งเเบคทีเรียแกรมบวก แกรมลบ เชื้อรา เชื้อที่ดื้อต่อยาหลายชนิดและไวรัส ด้วยการล้างมือด้วยน้ำยาโยการบีบน้ำยาประมาน10มิลลิเมตร ถูให้ทั่วมือทุกซอกทุกทุมจนน้ำยาแห้งใช้เวลาประมาณ15-25วิานที ต่หากฆ่าเชื้อตให้เกิดประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อไวรัสต้องใช้เวลาฟอกนาน30วินาที
การล้างมือก่อนปฏิบัตืการพยาบาลที่ใช้เทคนิคปราศจากเชื้อและภายหลัง การล้างมือภายหลังการสัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อหรือสิ่งสกปรกปนเปื้อนชื้อเช่น กระโถนถ่าย หรอสิ่งสกปรกเปรอะเปื้อนก่อนและหลังทำกิจกรรม ที่ต้องใช่เทคนิคปราศจากเชื้อเช่น การสวนปัสสาวะให้ล้างมือด้วยสบู่เหลวผสมยาทำลายเชื้อ เช่น คลอเฮ็กซิดิน กลูโคเนต 4% ไอโอโฟอร์7.5% ฟอกอย่างถั่วถึงตามขั้นตอนเหมือนการล้างมือแบบธรรมดาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า30วินาที
การล้างมือทำหัตถการ เป็นการล้างมือเพื่อหัตถการ การทำคลอดที่ต้องป้องกันการติดเชื้อให้ล้างมือด้วยสบู่เหลวทำลายเชื้อเช่น chlorhexidine4%และใช้แปรงที่ปราศจากเชื้อแปรงมือและเล็บในครั้งแรกของวันนั้นๆ แล้วฟอกมือและแขนถึงข้อศอกให้ทั่วนานอย่างน้อย5นาที ในการล้างมือครั้งต่อไปฟอกมือนาน3-5นาที ล้างให้สะอาดแล้วซับด้วยผ้าแห้งที่ปราศจากเชื้อ
การใส่ถุงมือ
ถุงมือจะช่วยป้องกันการติดต่อของเชื้อโรคทั้งทางตรงและทางอ้อมศูนย์ควบคุมโรคติดต่อได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการใส่ถุงมือไว้3ประการคือ
1ป้องกันและควบคุมเชื้อโรคจากตัวเราไปสู่ตัวผู้ป่วยจากผู้ป่วยไปสู่บุคคลอื่น
2ป้องกันและควบคุมเชื้อโรคจากผู้อื่นไปสู่ผู้ป่วย
3ป้องกันและควบคุมผู้สัมผัสเชื้อเป็นพาหะนำเชื้อไปสู่ผู้อื่น
ถุงมือปลอดเชื้อ
1หยิบจีบของปลอดเชื้อ
2ทำหัตถการต่างๆ เช่นการผ่าตัด
3ป้องกันการติดเชื้อไปยังผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ถุงมือสะอาดหรือชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง
•ป้องกันสิ่งสกปรกสัมผัสมือเช่น เมื่อมีโอกาสสัมผัสเลือด สารน้ำ สารคัดหลั่ง อุจจาระและปัสสาวะของผู้ป่วย
•เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายเครื่องมือเครื่องใช้ของผู้ป่วยที่ผ่านการใช้งานแล้วหรือระหว่างให้การพยาบาลผู้ป่วย
การใช้ผ้าปิดปาก-จมูก
การใช้ผ้าปิดปาก-จมูกจะช่วยป้องกันการได้รับเชื้อโรคจากผู้ป่วยเข้าสู่ทางเดิน หายใจและเป็นการป้องกันผู้ป่วยได้รับเชื้อจากผู้อื่นเข้าสู่ทางเดินหายใจตลอดจน สามารถป้องกันฝุ่นละอองทฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศได้ด้วย ในกรณีเชื้อโรคที่มีการ แพร่กระจายทางอากาศเช่นวัณโรคไข้หวัดนกควรใช้ผ้าปิดปาก-จมูกที่มีประสิทธิภาพในการกรองสูงเช่น N 95 mask ซึ่งสามารถกรองเชื้อโรคขนาดเล็กถึง 1 ไมครอนได้ ส่วน N 100 หรือ Hyper mask สามารถป้องกันเชือ้ โรคได้ 100 %
หลักสำคัญ
1)ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังใช้
2) หากเป็นชนิดใช้คร้ังเดียวทิ้งให้หันขอบที่มีลวดไว้ด้านบน ควรสวมให้ กระชับใบหน้า ไม่หลวมหรือคับจนเกินไป และกดขอบที่มีลวดแนบกับด้ังจมกู จะทาให้การใส่ผ้าปิดปากและจมูกกระชับมากขึ้นไม่ระคายเคืองบริเวณ นัยน์ตาขณะให้การพยาบาลผู้ป่วย
3)หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสผ้าปิดปากและจมูกขณะที่ส่วมใส่
4) ระยะเวลาทที่ใช้ผ้าปิดปากและจมูกจะต้องถอดทันทีภายหลังเสร็จสิ้น
กิจกรรมการพยาบาลและเมื่อเกิดความสกปรกหรือชื้นระยะเวลาในการใช้ผ้า ปิดปากและจมูกไม่ควรเกิน20-30 นาที ไม่ควรแขวนผ้าปิดปากจมูกไว้ทคที่คอ เพื่อรอการนากลับมาใช้ใหม่ เพราะผู้ปิดปากจมูกที่ใช้แล้วเป็นแหล่งสะสม ของเชื้อโรค
การใส่เสื้อกาวน์
การใส่เสื้อกาวน์ (Gown)
การใส่เสื้อ กาวน์จะช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคได้ เสื้อกาวน์ โดยทั่วไปจะเปิดด้านหลังและมีเชือก สำหรับผูกที่คอและเอว เสื้อควรจะใหญ่และยาวเล็กน้อยเพียงพอที่จะคลุมชุดเครื่องแบบได้มิดชิด แขนยาว ควรเปลี่ยนเสื้อกาวน์ทุกเวรกรณีถ้าเปื้อนหรือเปียกใหเ้ปลี่ยนทันทีโดยระวังการปนเปื้อนด้านนอกของเสื้อคลุม โดยการกลับเสื้อด้านในออกทิ้งในภาชนะทที่ตรียมไว้ และล้างมือให้สะอาดเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย เชื้อไปสู่ผู้ป่วยอื่นและส่ิงแวดล้อม
การป้องกันการติดเชื้อแบบมาตรฐาน
เป็นการระมัดระวังการแพร่กระจายเชื้อโรคที่ใช้กับผู้ป่วยทุกคนโดยไม่คำนึงถึงการวินิจฉัยโรค และชนิดของชิ้นเนื้อทั้งผู้ป่วยที่ทราบและไม่ทราบว่าติดเชื้อหรือไม่ เป็นการป้องกันอันดับแรกเพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโดยระมัดระวังเลือด สารคัดหลั่งน้ำในร่างกาย
การป้องกันการติดเชื้อแบบมาตตรฐาน
1การมีสุขภิบาลและสุขอนามัยที่ดี
2เครื่องป้องกัน
3หลีกเลี่ยงการเกิดอุบัตืเหตุ
การปฏิบัติที่ปลอดภัยจากการใช้ของมีคม
1 ไม่ส่งของมีคมด้วยมือต่อมือ
2เข็มที่เจาะเลือดผู้ป่วยให้เก็บทิ้งคนเดียว
3การเย็บแผลให้ใช้ forceps หยั่งแผลเวลาเย็บ
4การปลดหลอดแก้วออกจากสายยาง ให้ใช้ forceps ปลด
5 ไม่สมควรปลอกเข็มคืน แต่ถ้าจำเป็นต้องสวม ควรสวมปลอดเข็มโดยใช้มือเดียว
การป้องกันการแพร่กระจายเชื่อ
การสัมผัส contact transmission
Direct Contact การสัมผัสโดยตรง ระหว่างคนกับคน
Indirect Contact การสัมผัสทางอ้อมโดยผ่านสิ่งแวดล้อมหรือเครื่องล้างมือที่ไม่ปราศจากเชื้อ
Droplet Contact การสัมผัสผ่านละอองเสมหะ ในระยะไม่เกิน3ฟุตเช่น คางทูม ไข่หวัดใหญ่
การติดเชื้อที่แพร่กระจายได้จากการสัมผัส
แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกและปิดประตูทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วย
สวมถุงมือทุกครั้งเมื่อสัมผัสผู้ป่วยทั้งบุคคลากรและญาติ
ล้างมือแบบ hygienic handwashing หลังถอดถุงมือและก่อนออกจากห้องแยก
Droplet Precautions
แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกและปิดประตูทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วย
ผู้ที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วยหรือดูแลผู้ป่วยต้องใส่ ผ้าปิดปาก-จมูก ชนิด N95
3.สวมถุงมือชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง ทุกครั้งที่สัมผัสผู้ป่วย
ล้างมือแบบ hygienic handwashing
หลังถอดถุงมือและก่อนออกจากห้องแยก
ให้ผู้ป่วยใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปาก-จมูกเวลาไอ จาม และใส่ผ้าปิดปาก-จมูก
ชนิดธรรมดาตลอดเวลา ยกเว้นเวลารับประทานอาหารและแปรงฟัน
6.ถ้าต้องมีความจำเป็นในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกนอก ห้องให้ผู้ป่วยใส่ผ้าปิดปาก-จมูกชนิดธรรมดา