Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์, :<3:, :<3:, :<3:, :<3:, :<3…
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อไวรัสรับอักเสบชนิดเอ (hepatitis A virus: HAV)
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลียเบื่ออาหารปวดเมื่อยกล้ามเนื้อปวดข้อและปวดศีรษะมักไม่มีอาการของดีซ่าน
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
หากมีการติดเชื้อ HAV ขณะตั้งครรภ์นั้นร่างกายมารดาจะสร้าง antibody ต่อเชื้อ HAV ซึ่งสามารถผ่านไปยังทารกในครรภ์ได้
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติเกี่ยวกับการรับประทานอาหารการขับถ่ายการสัมผัสเชื้อโรค
การตรวจร่างกายตรวจพบลักษณะอาการทางคลินิกของการติดเชื้อ HAV
การตรวจทางห้องปฏิบัติการตรวจหา antibody-HAV และ IgM-anti HAV
การป้องกันและการรักษา
รักษาแบบประคับประคองตามอาการที่ปรากฏถึงแม้ว่าเชื้อ HAV จะไม่ผ่านรก อาจพิจารณาให้ immune serum globulin (ISG) ในรายที่สัมผัสเชื้อ
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรคการรักษาการดูแลตนเองที่เหมาะสม
แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว
2.1 พักผ่อนอย่างเพียงพอ
2.2 รับประทานอาหารที่สุกสะอาดและย่อยง่ายและดื่มน้ำให้เพียงพอ
2.3 มาตรวจตามนัดเพื่อประเมินสภาวะของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
2.4 หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อตับ ได้แก่ acetaminophen และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B virus)
อาการและอาการแสดง
เริ่มด้วยมีไข้ต่ำ ๆ เบื่ออาหารอาเจียนปวดท้องอาจปวดทั่วไปหรือปวดบริเวณชายโครงขวาคลำพบตับโตกดเจ็บปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีขาแก่ในปลาย
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
อาการแสดงของตับอักเสบจะไม่เสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น
ผลกระทบต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยทารกตายในครรภ์หรือเสียชีวิต
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติการเป็นพาหะของโรคตับอักเสบจากไวรัสบีหรือเคยมีอาการแสดงของโรคตับอักเสบจากไวรัสบี
การตรวจร่างกายพบอาการและอาการแสดงคลื่นไส้อาเจียนเบื่ออาหารตับโตตัวเหลืองตาเหลือง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการตรวจการทำงานของตับและตรวจหา antigen และ antibody
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ตรวจคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกคนว่าเป็นพาหะของโรคหรือไม่หากผลการตรวจพบ HBsAg และ HBeAg เป็นบวก
ให้คำแนะนำแก่สตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับสาเหตุการติดต่อการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
อธิบายแก่สตรีตั้งครรภ์เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการมาตรวจตามนัด
ในรายที่มีการติดเชื้อเรื้อรังแนะนำการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ระยะคลอด
ให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียงและให้การดูแล
หลีกเลี่ยงการเจาะถุงน้ำคร่ำและการตรวจทางช่องคลอด
เมือศีรษะทารกคลอดดูดมูกเลือดและสิ่งคัดหลังต่าง ๆ ออกจากปากและจมูกของทารกให้มากที่สุด
ทำความสะอาดทารกทันทีที่คลอดเพื่อลดการสัมผัสกับเชื้อที่อยู่ในเลือดและสารคัดหลั่ง
ดูแลให้ทารกได้รับภูมิคุ้มกันภายหลังคลอดโดยฉีด Hepatitis B immunoglobulin (HBIG)
ระยะหลังคลอด
ไม่จำเป็นต้องงดให้นมมารดาแก่ทารกเนื่องจากอัตราการถ่ายทอดเชื้อจากมารดาสู่ทารกผ่านน้ำนมพบได้น้อยมาก
แนะนำการปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดทั่วไปโดยเน้นการรักษาความสะอาดของร่างกายการป้องกันการปนเปื้อนของเลือดห
แนะนำให้นำทารกมารับวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบบีและนำบุตรมาตรวจตามนัดเพื่อติดตามอาการและป้องกันการติดเชื้อ
หัดเยอรมัน (Rubella / German measles)
อาการและอาการแสดง
มีไข้ต่ำ ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัวเบื่ออาหารตาแดงไอเจ็บคอและต่อน้ำเหลืองบริเวณหลังหู
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นจึงไม่เกิดผลกระทบต่อมารดา แต่อาจรู้สึกไม่สุขสบายเล็กน้อย
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
เกิดการติดเชื้อจากมารดาไปยังทารกในครรภ์ทำให้เกิดการแท้งตายคลอดหรือพิการ
การป้องกันและการรักษา
ให้ภูมิคุ้มกันเนื่องจากเป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงคุ้มกับค่าใช้จ่ายและควรเน้นการฉีดวัคซีนในเด็กหญิงสตรีวัยเจริญพันธุ์
ทารกแรกเกิดที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมันภายหลังคลอดต้องเก็บเลือดจากสายสะดือส่งตรวจ
การพยาบาล
ให้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อเยอรมันแก่สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนมาก่อน
ในสตรีที่มาฝากครรภ์ควรตรวจดูว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่หากยังไม่มีภูมิคุ้มกันแนะนำให้สตรีตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการเข้าชุมชนในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อหัดเยอรมัน
แนะนำให้มาฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอและมารับการตรวจที่โรงพยาบาลทันทีที่สงสัยสามีการติดเชื้อหัดเยอรมัน
ประเมินสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับการได้รับภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมันการสัมผัสกับผู้ที่เป็นโรคและอาการแสดงของโรค
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึกและซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับผลของการติดเชื้อต่อสุขภาพของตนเองและทารกในครรภ์
สุกใส(Varicella-zoster virus: VZV)
พยาธิสรีรภาพ
เชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจซึ่งเชื้อโรคมีระยะฟักตัวนาน 10-20 วันในกรณีที่โรคสุกใสเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอดจะเรียกว่า congenital varicella Syndrome
อาการและอาการแสดง
มีไข้ต่ำ ๆ นำมาก่อนประมาณ 1-2 วันแล้วค่อยมีผื่นขึ้นลักษณะของผืนและตุ่มมักจะขึ้นตามไรผม
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มีภาวะภูมิคุ้มกันที่ลดลงจากการตั้งครรภ์พบว่าความรุนแรงของการติดเชื้อสุกใสมากขึ้น
ผลกระทบต่อทารก
ทารกขึ้นอยู่กับระยะอันตรายที่สตรีตั้งครรภ์มีการติดเชื้อ
การพยาบาล
ระยะก่อนตั้งครรภ์
แนะนำให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่วางแผนตั้งครรภ์ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันสุกใสก่อนการตั้งครรภ์
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำให้พักผ่อนอย่างเต็มที่และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคโดยอธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงภาวะของโรคการแพร่กระจายเชื้อ
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึกเพื่อลดความวิตกกังวล
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไปโดยเน้นหลัก Universal precaution
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็วทำความสะอาดร่างกาย
ระยะหลังคลอด
กรณีที่มารดามีอาการให้แยกทารกแรกเกิดจากมารดาในระยะ 5 วันแรกหลังคลอด
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคโดยการใช้หลัก universal precaution
กรณีพ้นระยะการติดต่อหรือมารดามีการตกสะเก็ดแล้วสามารถแนะนำเกี่ยวกับการให้นมมารดาได้
แนะนำการรับประทานอาหารโปรตีนและวิตามินซีสูงพักผ่อนเพียงพอออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ดูแลให้ทารกรับวัคซีน VaiZIG แก่ทารกแรกเกิดทันที
เน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการมาตรวจตามนัดและมาพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติ
โรคติดเชื้อไซโทเมกะโรไวรัส (Cytomegalovirus: CMV)
พยาธิสรีรภาพ
เชื้อ CMV ติดต่อเข้าสู่ร่างกายได้หลายทางทั้ง ทารกได้รับเชื้อจากมารดาในครรภ์ในระยะคลอดในระยะให้นมการถ่ายเลือดการปลูกถ่ายอวัยวะเพศสัมพันธ์ทางหายใจพบได้จากสารคัดหลั่งหลายชนิดเช่นน้ำลายปัสสาวะน้ำอสุจิสารคัดหลั่งจากปากมดลูกน้ำนมน้ำตาอุจจาระและเลือดโดยไม่มีอาการของโรคนอกจากบางกลุ่มที่อาจเป็นโรค Mononucleosis ซึ่งมีอาการไข้สูงเป็นเวลานานมีตับอักเสบเล็กน้อย
อาการและอาการแสดง
ไข้สูงนานปวดกล้ามเนื้อหรือมีอาการปอดบวมตับอักเสบและอาการทางสมองการติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ระบบภูมิคุ้มกันจะลดลงหากไวรัส CMV ที่แฝงตัวอยู่มีการติดเชื้อ
ผลกระทบต่อทารก
แท้ง fetal distress คลอดก่อนกำหนดน้ำหนักแรกเกิดน้อยทารกเสียชีวิตในครรภ์
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ซักประวัติเพื่อคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกรายเกี่ยวกับการเจ็บป่วยติดเชื้อ CMV ในอดีต
อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวทราบเกี่ยวกับโรคสาเหตุอาการและอาการแสดงการดำเนินของโรค
แนะนำและเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ระยะคลอด
. ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไปโดยเน้นหลัก Universal precaution
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็วทำความสะอาดร่างกายทันที
ระยะหลังคลอด
ให้การดูแลในระยะหลังคลอดเหมือนมารดาทั่วไปโดยเน้นหลัก Universal precaution
งดให้นมมารดาหากมารดาหลังคลอดมีการติดเชื้อ
แนะนำการปฏิบัติตนหลังคลอดเน้นย้ำเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความสำคัญของการมาตรวจตามนัดหลังคลอด
แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติของทารกที่ต้องรีบพามาพบแพทย์
การติดเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasmosis)
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลียปวดกล้ามเนื้อ แต่อาจมีกลุ่มอาการของ Mononucleosis
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การแท้งคลอดก่อนกำเนิดถุงน้ำคร่ำและเยื่อหุ้มทารกอักเสบถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดรกลอกตัวก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารก
ไข้ชักทารกหัวบาตร microcephaly, chorioretinitis, หินปูนจับในสมอง (Cerebral calcification) ตับและม้ามโตตาและตัวเหลืองทารกมักเสียชีวิตหลังคลอดและทารกที่ติดเชื้อสมองและตาจะถูกทำลาย
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรคเช่นแมวเป็นต้นประวัติมีอาการอ่อนเพลียปวดกล้ามเนื้อ
การตรวจร่างกายมักไม่แสดงอาการหรือมีอ่อนเพลียเล็กน้อยอาจพบภาวะปอดบวมหัวใจอักเสบ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ติดตามผลการตรวจเลือด
เน้นการรักษาอย่างต่อเนื่องการรับประทานยาและการสังเกตอาการข้างเคียงของยา
แนะนำเกี่ยวกับการสัมผัสเชื้อ
ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเปิดโอกาสให้ซักถามและให้กำลังใจในการรักษา
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไปโดยเน้นหลัก Universal precaution
ภายหลังทารกคลอดเช็ดตาด้วย 0.99% NSS เช็ดตาทันทีจากนั้นป้ายตาด้วย 1% tetracycline ointment
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังการตกเลือดและการติดเชื้อหลังคลอด
แนะนำการปฏิบัติตนหลังคลอดเน้นเรื่องการรักษาความสะอาด
การติดเชื้อไวรัสซิก้า(Zika)
อาการและอาการแสดง
มีอาการไข้ผื่นแดงปวดเมื่อยตามตัวปวดข้อปวดกล้ามเนื้อเยื่อบุตาอักเสบตาแดง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
อาการไข้หนาวสั่นรู้สึกไม่สุขสบายปวดข้อปวดเมื่อยกล้ามเนื้อกล้ามเนื้อตึงตัวอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรงตัวตาเหลืองชาอัมพาตครึ่งซีกปวดศีรษะตาแดงและเยื่อบุตาอักเสบต่อมน้ำเหลืองโตปวดตามร่างกาย
ผลกระทบต่อทารก
ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาทตาและการมองเห็นทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้าทารกตายในครรภ์และตายหลังคลอด
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การป้องกัน
กำหนดมาตรการด้านการเฝ้าระวังคัดกรองโรคโดยได้มีระบบการเฝ้าระวังครอบคลุม 4 ด้านคือระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาระบบเฝ้าระวังทางกีฏวิทยาระบบเฝ้าระวังทารกที่มีความพิการ แต่กำเนิดและระบบเฝ้าระวังกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบประสาทร่วมกับการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย
การรักษา
การพักผ่อนให้เพียงพอดื่มน้ำมาก ๆ และรักษาตามอาการเช่นใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้หรือบรรเทาอาการปวดทั้งนี้ห้ามรับประทานยาแอสไพริน
การพยาบาล
ให้คำเเนะนำการป้องกันสาเหตุเเละปัจจัยที่มำให้เกิดโรค เเละวิธปฏิบัติอตัว
โรคโควิด -19 กับการตั้งครรภ์ (COVID-19 during Pregnancy)
อาการและอาการแสดง
ไม่แสดงอาการใด ๆ และมีอาการและอาการแสดงของอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
ผลกระทบต่อการสตรีตั้งครรภ์เเละทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดมีการติดเชื้อของเยื่อหุ้มเด็กถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดรกเสื่อมและรกลอกตัวก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารก
ทารกในครรภ์พัฒนาการล่าช้าคลอดน้ำหนักตัวน้อยคลอดก่อนกำหนดการติดเชื้อ
การพยาบาล
การดูแลสตรีตั้งครรภ์มารดาหลังคลอดที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีประวัติการเดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงหรือสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วย COVID-19
2.1 แยกตนเองออกจากครอบครัวและสังเกตอาการจนครบ 14 วันงดการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
2.2 งดการออกไปในที่ชุมชนสาธารณะโดยไม่จำเป็นและงดการพูดคุยหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่นในระยะใกล้กว่า 2 เมตร
2.3 กรณีครบกำหนดนัดฝากครรภ์ต้องแจ้งพยาบาลผดุงครรภ์ให้ทราบว่าตนเองอยู่ระหว่างการเฝ้าระวัง 14 วันเพื่อพิจารณาเลื่อนการฝากครรภ์และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
2.4 กรณีเจ็บครรภ์คลอดต้องไปโรงพยาบาลทันทีและแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบว่าตนเองอยู่ระหว่างการเฝ้าระวัง 14 วัน
การดูแลทารกแรกเกิดในกรณีมารดาเป็นผู้ที่สงสัยติดเชื้อและติดเชื้อ COVID-19 ยังไม่มีหลักฐานการติดต่อผ่านทางรกหรือผ่านทางน้ำนมสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วันบุคลากรทางการแพทย์ควรอธิบายถึงความเสี่ยงความจำเป็นและประโยชน์ของการแยกแม่ออกจากทารกชั่วคราวให้แม่เข้าใจและปฏิบัติตาม
แนวทางการปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อคำนึงถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถกินนมแม่ได้โดยปฏิบัติตามแนวทางป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด
ข้อแนะนำการปฏิบัติสำหรับมารดาหลังคลอดในกรณีแม่เป็นผู้ที่สงสัยว่าจะติดเชื้อหรือมารดาที่ติดเชื้อ COVID-19 แล้วและมีสภาพร่างกายพร้อมที่จะปั้มนมได้ควรปฏิบัติดังนี้
5.1 ก่อนเริ่มกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเตรียมนมและการปั๊มนม
5.2 อาบน้ำหรือเช็ดทำความสะอาดบริเวณเต้านมและหัวนมด้วยน้ำและสบู่
5.3 ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่นานอย่างน้อย 20 วินาที
5.4 สวมหน้ากากอนามัยตลอดการทำกิจกรรมเกี่ยวกับการเตรียมนมและการปั๊มนม
5.5 หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเตรียมนมและการปั้มนม
5.6 ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์เช่นที่ปั้มนมขวดนมด้วยน้ำยาล้างอุปกรณ์และทำการนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อ
การดูแลและการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19
1.1 หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการไอเป็นไข้หรือผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงและในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดหรือรวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมาก
1.2 รักษาระยะห่าง Social distancing ในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นด้วยการอยู่ห่างกัน 1-2 เมตร
1.3 หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณดวงตาปากและจมูก
1.4 รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอหรือปรุงอาหารให้สุกร้อนทั่วถึง
1.5 หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะรับประทานอาหารและของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
1.6 ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาดนานอย่างน้อย 20 วินาทีทุกครั้งที่มีการไอจามสัมผัสสิ่งแปลกปลอมก่อนรับประทานอาหารหรือออกจากห้องน้ำหากไม่มีสบู่ให้ใช้แอลกอฮอล์เจล 70 เปอร์เซ็นต์
1.7 ในขณะไม่ได้สวมหน้ากากอนามัยถ้ามีอาการไอจามให้ใช้ต้นแขนด้านบนปิดปากทุกครั้ง
1.8 สตรีตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหากมีอาการป่วยเล็กน้อยควรพักผ่อนอยู่ที่บ้านถ้ามีอาการไข้ไอเจ็บคอหายใจเหนื่อยควรรีบไปพบแพทย์
:<3:
:<3:
:<3:
:<3:
:<3:
:<3:
:<3:
:<3: