Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 9 มะเร็งระบบประสาท (Neuroblastoma) 92428790-02E7-4DFE-A76E…
กรณีศึกษาที่ 9
มะเร็งระบบประสาท (Neuroblastoma)
ปัญหาการพยาบาล
A1:เสี่ยงต่อภาวะขาดสารน้ำและสารอาหารเนื่องจากไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้จากภาวะหายใจลำบาก
การพยาบาล
3.การประเมินผล ทารกมีความตึงตัวของผิวหนังดี ริมฝีปากชุ่มชื้น ปัสสาวะออกดี
เหตุผล เพื่อประเมินภาวะที่บ่งบอกถึงอาการแสดงของการขาดน้ำและเกลือแร่ แต่ถ้าหากการเคลื่อนไหวดี ผิวหนังตึงตัวดี ถึงจะแสดงถึงการไม่ขาดน้ำและเกลือแร่
2.บันทึกจำนวนน้ำเข้าและออกจำนวนปัสสาวะต้องออกมากกว่า 1-4 ซีซี/กก/ชั่วโมง เพื่อดูความผิดปกติและเมื่อผิดปกติให้รีบรายงานแพทย์
เหตุผล เพื่อประเมินความสมดุลย์ของปริมาณน้ำเข้าและออก และสังเกตการปัสสาวะของทารกในแต่ละวัน
1.ดูแลให้ทารกได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษาของแพทย์
เหตุผล เพื่อดูแลป้องกันภาวะไม่สมดุลของสารน้ำและอิเลคโทรไลด์และปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน
ข้อมูลสนับสนุน
S: -
O:
Suction พบขี้เทาปนในน้ำคร่ำต้องใส่ท่อหลอดลมคอและช่วยหายใจ
ซึม ท้องโต ปัสสาวะกระปิดประปอย
ตรวจร่างกายพบก้อนในท้อง ลักษณะผิวขุระ กดเจ็บ
วัดสัญญาณชีพ อุณหภูมิ38.2 องศาเซลเซียส หายใจ 26 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 110/80 mmHg
วัตถุประสงค์
ป้องกันการขาดสารน้ำและสารอาหาร
เกณฑ์การประเมินผล
1.ความตึงตัวและความยืดหยุ่นของผิวหนังเป็นปกติดี
2.กระหม่อมไม่บุ๋ม แสดงว่าทารกไม่มีภาวะขาดน้ำ
3.ปัสสาวะออกไม่ต่ำกว่าวันละ 6 ครั้ง หรือออกไม่ต่ำกว่า 1-4 ซีซี/กก/ชม.
A3 : ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดบริเวณท้อง
ข้อมูลสนับสนุน
S : -
O :ซึม ท้องโต ตรวจร่างกายพบก้อนในท้อง ปัสสาวะประปิดกระปอย
ลักษณะผิวขรุขระ กดเจ็บ อุณหภูมิ 38.2 ความดันโลหิต 110/80 mmHg
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยมีอาการปวดทุเทาลง
เกณฑ์การประเมิน
1.ไม่ซึม กดท้องไม่เจ็บ pain score ไม่เกิน 3
2.อุณหภูมิร่างกายปกติ 36.7
3.ผู้ป่วยสามารถพักผ่อนนอนหลับได้อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
การพยาบาล
1.ประเมินความรุนแรงของความปวดทุก 2-4 ชั่วโมง
ด้วยการสังเกตและใช้แบบประเมินความปวด
เหตุผล เพื่อประเมินความผิดปกติ
2.จัดให้นอนท่าศีรษะสูง 35-40 องศา
เหตุผล เพื่อลดแรงดันในช่องท้องช่วยบรรเทาอาการแน่นท้อง
3.ดูแลให้ได้รับยาบรรเทาปวดตามแผนการรักษา ร่วมกับจัดการความปวดโดยไม่ใช้ยา (non-pharmacological management) และทำการประเมินซ้ำหลังจากนั้น หากอาการปวดไม่ทุเลา ควรรายงานแพทย์เพื่อให้การช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป
A2:เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากใส่ท่อหลอดลมคอและช่วยหายใจ
การพยาบาล
5.ช่วยขับเสมหะออกจากปอดและหลอดลมโดยการจัดท่านอนระบายเสมหะ / เคาะปอดทุก 2-4 ซม. ติดตามค่าก๊าซในเลือดแดงตามแผนการรักษาของแพทย์ถ้าผิดปกติรายงานแพทย์
6.ทำความสะอาดแผลเจาะคอ และเปลี่ยนผ้าก๊อสทุกวัน อย่างน้อยวันละ1- 2 ครั้ง หรือเมื่อเปียกแฉะ ในกรณีที่เป็นท่อปีกนิ่มอาจไม่ต้องใส่ผ้าก๊อสรองก็ได้ ทำความสะอาดท่อหลอดลมคอชั้นใน (inner tube) อย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง ขึ้นกับว่าเสมหะมากหรือเหนียวหรือไม่
4.ประเมินภาวะพร่องออกซิเจนเช่นหายใจลำบากเขียวซีดอัตราการหายใจการหายใจสัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจหรือไม่ถ้าพบอาการผิดปกติรายงานแพทย์
3.ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพทุก 1 ชั่วโมงหรือตามสภาพผู้ป่วย
2.ตรวจสอบการทำงานของ ventilator setting ที่ตั้งไว้ให้ถูกต้องตรงตามแผนการรักษาของแพทย์ทุก 4 ชม. และทุกครั้งที่มีการปรับตั้งใหม่
1.จัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนตะแคงหรือศีรษะสูงในเด็กเล็ก 15-30 องศาและเปลี่ยนท่านอนทุก 2 ชม. ประเมินความต้องการการดูดเสมหะ
A4 : เกิดภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากพยาธิสภาพของโรค
ข้อมูลสนับสนุน
ซึม, ท้องโต, หายใจ 26 ครั้ง/นาที
วัตถุประสงค์
1.เพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจนและได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
เกณฑ์การประเมิน
1.การหายใจค่าปกติ 35-40 ครั้ง/นาทีลักษณะการหายใจปกติไม่มีการหายใจเร็ว แรง ลึก
2.ไม่มีอาการของภาวะพร่องออกซิเจน เช่น หายใจหอบเหนื่อย ปลายมือปลายเท้าเขียว
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินภาวะพร่องออกซิเจน ประเมินอัตราการหายใจ ชีพจร สีของเล็บ ปลายมือปลายเท้า เยื่อบุผิวหนังลักษณะการซีด เขียว
เหตุผล หากมีอาการหายใจหอบ ชีพจรเร็ว ปลายมือปลายเท้า เยื่อบุผิวหนัง ลักษณะการซีดเขียว แสดงถึงภาวะพร่องออกซิเจน
2.จัดท่านอนศีรษะสูง 30-45 องศา
เหตุผล ทำให้กระบังคมเคลื่อนต่ำลง ปอดขยายตัวได้เต็มที่ เพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซมากขึ้น
ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนบนเตียง
เหตุผล การพักผ่อนบนเตียงจะช่วยลดการใช้ออกซิเจนในการทำกิจกรรม ทำให้อาการเหนื่อยอ่อนเพลียลดลง
Vital sign ทุก 4 ชั่วโมง
เหตุผล การประเมินสัญญาณชีพจะช่วยให้ทราบความรุนแรงของภาวะพร่องออกซิเจน
ผลการตรวจร่างกาย
ระบบไหลเวียนเลือด
ความดันโลหิต 110/80 mmHg
ค่าปกติ 110-70 mmHg
ระบบหายใจ
หายใจ 26 ครั้ง/นาที
ค่าปกติ 35-40 ครั้ง/นาที
อาการทั่วไป
พบก้อนในท้อง ลักษณะผิวขุระ กดเจ็บ
อุณหภูมิ 38.2 องศาเซลเซียส
ค่าปกติ 36.5-37 c
ซึม ท้องโต ปัสสาวะกระปิดประปอย
ระบบประสาท
ซึม
สถานการณ์และพยาธิสภาพของโรค
พยาธิสรีรวิทยา
Neuroblastoma จะหลั่งฮอร์โมนกลุ่ม cathecolamines เช่น epinephrine Nor- Epineprine ทำให้ผู้ป่วยหายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง เหงื่อออกมาก
Neuroblastoma เป็นก้อนเนื้องอกมักเป็นก้อนขนาดใหญ่ที่เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของ neural crest แต่มักพบที่ adrenal medulla จึงทำให้มีอาการท้องโต หรือคลำก้อนได้ในท้อง หรือ ตาม Sympathetic ganglion จึงอาจเบียดอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น กดหลอดลมคอ (trachea) ทำให้หายใจลำบาก กดประสาทไขสันหลัง (spinal cord) ทำให้ขาอ่อนแรง เดินไม่ได้
เมื่ออายุครรภ์ 5 สัปดาห์ จะมีการเคลื่อนตัวของ Neural crest cell ไปตามแนว vertebral column และรวมตัวกันด้านหลัง Aorta และกลายเป็นแหล่งกำเนิดประสาทอื่นๆต่อไป Neural crest cell เจริญผิดปกติ ---> เซลล์มะเร็ง
สถานการณ์
การศึกษาในสหรัฐอเมริกาพบความชุก 1:7,000 สำหรับทารกเกิดมีชีพ และพบผู้ป่วยรายใหม่ในเด็กที่มีอายุต่ำกวา่ 15 ปี ประมาณ 10.54 ราย ต่อประชากรเด็ก 1 ล้านคนต่อปี
สำหรับในประเทศไทยจากการศึกษาย้อนหลังระหว่างปี พ.ศ. 2543-2552 พบผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคนิวโรบลาสโตมาในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีจำนวน 117 ราย เป็ นเพศชายต่อหญิง เท่ากับ1.3 ต่อ 1 พบได้ตั้งแต่อายแุรกเกิดถึง 3 ปีระดับความรุนแรงของโรคพบว่าอยู่ในระยะที่ 4 ถึงร้อยละ 70 และผู้ป่วยร้อยละ36.4 (36 ใน 99 ราย) เสียชีวิตหลังการรักษา
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวกุลธิดา แก้วน้อย
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวมยุรี วงชารี
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวชญานี ขจรทวีกุล
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวมยุรี วงชารี
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวกุลสตรี จิตรไพศาล
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวศิรินธาร คมขำ