Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โครงสร้างในภาษาไทย - Coggle Diagram
โครงสร้างในภาษาไทย
ประโยค
ประโยค หมายถึง ข้อความที่มีทั้งภาคประธาน และภาคแสดง มีใจความสมบูรณ์ครบถ้วน รู้ว่าใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไรประโยคแบ่งตามจำนวนเนื้อความได้ ๔ ชนิด คือ
๑. ประโยคความเดียว (เอกัตถประโยค) คือประโยคที่มีใจความเดียว คือมีบทประธานบทเดียว และบทกริยาเพียงบทเดียว เช่น
-ก้อยเล่นแบดมินตันที่สโมสร
-รถของคุณแม่เสียบ่อย ๆ
-เจ้าแต้มสุนัขข้างบ้านจะกัดเจ้าวุ่นของฉัน
-ฉันกำลังอ่านหนังสือสารคดีด้วยความสนใจ
-น้อง ๆ ชั้นปีที่ ๑ เชื่อฟังพวกเราพี่ชั้นปี ๒ อย่างดี
ข้อสังเกต ประโยคความเดียว สันธานที่ใช้เชื่อมบทกรรมหรือวิเศษณ์เป็นการเชื่อมคำ
๒. ประโยคความรวม (อเนกัตถประโยค) คือ ประโยคที่รวมประโยคความเดียวตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปเข้าด้วยกัน โดยมีสันธานเป็นเครื่องเชื่อม เช่น
-เก่งทำงานบ้านและร้องเพลงเบา ๆ
-อาหารและยาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์
-หลานช่วยพยาบาลย่าจึงหายป่วยเร็ว
-ดีทูบีเป็นนักร้องแต่คัทรียาเป็นดาราภาพยนตร์
-เธอจะทานผลไม้หรือขนมหวาน
ข้อสังเกต สันธานใช้เชื่อมประธานหรือกริยาเป็นการเชื่อมประโยค
๓. ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค)
ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค) หมายถึง ประโยคที่รวมประโยคความเดียว ๑ ประโยคเป็นประโยคหลัก แล้วมีประโยคความเดียวอื่นมาเสริม มีข้อสังเกตคือ ประโยคหลัก (มุขยประโยค) กับ ประโยคย่อย (อนุประโยค) ของประโยคความช้อนมี น้ำหนังไม่เท่ากัน
ลักษณะของประโยคความซ้อน
๑.เป็นประโยคที่รวมเอาประโยคความเดียว ๒ ประโยคไว้ด้วยกัน และมีสันธานเป็นเครื่องเชื่อม
๒.เมื่อแยกประโยคความซ้อนออกจากกันแล้ว จะมีน้ำหนักหรือความสำคัญไม่เท่ากัน ประโยคหนึ่งจะเป็นประโยคหลัก อีกประโยคหนึ่งจะเป็นประโยคย่อย
๓.ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็น
-ประธานของประโยค
-กรรมของประโยค
-วิเศษณ์ขยายกริยา หรือวิเศษณ์ของประโยค
-วิเศษณ์ขยายประธานหรือกรรม
๔.ประโยคตามเจตนาการสื่อสาร
ประโยคที่ใช้ในการสื่อสารโดยทั่วไป จำแนกตามเจตนาของผู้ส่งสารได้ตามชนิดของประโยค คือ ประโยคเเจ้งให้ทราบ ถามให้ตอบ บอกให้ทำ
ประโยคตามเจตนาของผู้ส่งสาร แบ่งออกได้ 3 ประเภท
1.ประโยคแจ้งให้ทราบ คือ ประโยคที่ผู้พูดต้องการส่งสารถึงผู้รับสารหรือผู้ฟังเพื่อให้ได้รับรู้เนื้อหาสาระ (เเจ้งให้ทราบเฉยๆ)
2.ประโยคถามให้ตอบ คือ ประโยคที่ผู้พูดใช้ประโยคคำถามเพื่อต้องการคำตอบจากผู้ฟัง (เป็นการถามเพื่อต้องการคำตอบ)
3.ประโยคบอกให้ทำ คือ ประโยคที่ผู้พูดใช้ถ้อยคำเชิงคำสั่ง ขอร้อง ตักเตือนให้ผู้ฟังปฏิบัติตาม
พยางค์
พยางค์ หมายถึง เสียงที่เปล่งออกครั้งหนึ่ง ๆ โดยเสียงนั้นจะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ โดยเสียงที่เปล่งออกมา ๑ ครั้ง เรียกว่า ๑ พยางค์ หรือถ้าเปล่งเสียงออกมา ๒ ครั้ง เรียกว่า ๒ พยางค์ เช่น ประวัติศาสตร์ อ่านว่า ประ-หวัด-ติ-สาด มีจำนวน ๔ พยางค์
สวรรค์ อ่านว่า สะ-หวัน มีจำนวน ๒ พยางค์
องค์ประกอบของพยางค์
พยางค์หนึ่งจะประกอบด้วยเสียงอย่างน้อยที่สุด ๓ เสียง คือ เสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ (บางพยางค์อาจมีเสียงพยัญชนะท้ายเพิ่มอีก ๑ เสียง ซึ่งเรียกว่า “ตัวสะกด” )
คำ
คำ เป็นหน่วยของภาษาที่สื่อถึงความหมายซึ่งประกอบด้วยพยางค์หนึ่งคำหรือมากกว่า ปกติแล้วในแต่ละคำจะมีรากศัพท์ของคำแสดงถึงความหมายและที่มาของคำนั้น โดยการนำคำหลายคำมาประกอบกันจะทำให้เกิดวลีหรือประโยคซึ่งใช้สื่อความหมายใช้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นไป
-
วลี
วลี เป็นกลุ่มคำที่ประกอบขึ้นจากคำต่างๆ ตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป ได้ใจความ แต่ไม่สมบูรณ์เหมือนอย่างประโยค วลี จะไม่สามารถจำแนกเป็นภาคประธานและภาคแสดงได้
เช่น นักเดินทาง ผ่อนคันเร่ง นกบิน
วลี แบ่งออกเป็น 7 ชนิด ซึ่งเรียกชื่อวลีตามชนิดของคำที่นำหน้าวลีนั้น ดังนี้
1.นามวลี หมายถึง กลุ่มคำที่มีคำนามนำหน้า
ตัวอย่าง ครูวิชาวิทยาศาสตร์
2.สรรพนามวลี หมายถึง กลุ่มคำที่มีคำสรรพนามนำหน้า
ตัวอย่าง เราทั้งหมด
3.กริยาวลี หมายถึง กลุ่มคำที่มีกริยานำหน้า
ตัวอย่าง เดินเชื่องช้า
4.วิเศษณ์วลี หมายถึง กลุ่มคำที่มีคำวิเศษณ์นำหน้า
ตัวอย่าง เลวทรามหยาบช้า
5.บุพบทวลี หมายถึง กลุ่มคำที่มีคำบุพบทนำหน้า
ตัวอย่าง ในครั้งก่อน
6.สันธานวลี หมายถึง กลุ่มคำที่มีคำสันธานนำหน้า
ตัวอย่าง ตั้งแต่ครั้งโน้น
7.อุทานวลี หมายถึง กลุ่มคำที่มีคำอุทานนำหน้า
ตัวอย่าง เฮ้อ! โล่งอกเสียที