Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ, จัดทำโดย นางสาวปุณฑริกา สิทธิ รหัสนักศึกษา…
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ
แผนพัฒนาการสาธารณสุขฉบับที่1-12
แผนพัฒนาการสาธารณสุขฉบับที่1 (2504-2509)
เน้นการเติบโตทาง
เศรษฐกิจด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
แผนพัฒนาการสาธารณสุขฉบับที่ 2 (2510-2514)
เอกชนเข้ามามี
บทบาทในการพัฒนามากขึ้น
แผนการพัฒนาสาธารณสุขฉบับที่ 3 (2515-2519)
มีนโยบายการให้บริการรักษาพยาบาลฟรี
แก่ผู้รายได้น้อยเป็นครั้งแรกพ.ศ. 2518
แผนการพัฒนาสาธารณสุขฉบับที่ 4 (2520-2524)
ตั้งเป้าหมายสุขภาพดีถ้วนหน้าในปี 2543 โดยกลยุทธ์สาธารณสุขมูลฐาน
แผนการพัฒนาสาธารณสุขฉบับที่ 5 (2525-2529)
จัดตั้งโรงพยาบาลระดับอำเภอให้ครบทุกอำเภอ รวมทั้งยกฐานะสำนักงานยกฐานะสำนักงานผดุงครรภ์ให้เป็นสถานีอนามัย
ทั้งหมด
แผนพัฒนาการสาธารณสุขฉบับที่ 6 (2530-2534)
เริ่มแนวคิดเรื่องหลักประกันสุขภาพ
แผนการพัฒนาสาธารณสุขฉบับที่ 7 (2535-2539)
เน้นการพัฒนา คุณภาพบริการ สถานบริการสาธารณสุขทุกระดับมีการกระจายครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง
แผนพัฒนาการสาธารณสุขฉบับที่ 8(2540-2544)
เน้นการพัฒนาศักยภาพของคน ในด้านสุขภาพโดยเฉพาะพฤติกรรมสุขภาพเน้น
เรื่องความครอบคลุมหลักประกันสุขภาพให้บริการที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 9 (2545-2549)
ยึดปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อมุ่งสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 10 (2550-2554)
น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการพัฒนาสุขภาพและยึดหลักการสุขภาพดีเป็นผลจากสังคมดี
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 11 (2555-2559)
พัฒนาระบบสุขภาพพอเพียงโดยยึดหลักธรรมาภิบาลสร้างภูมิคุ้มกันต่อภัยคุกคาม และสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงการใช้ภูมิปัญญาไทย
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560 – 2564)
ยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” “การ
พัฒนาที่ยั่งยืน” และ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา”
ยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 1: เร่งการเสริมสร้างสุขภาพคนไทยเชิงรุก
วัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างความเข้มแข็งของ บุคคล ชุมชน ประชาชน องค์กร
2) เพื่อสร้างระบบสุขภาพเชิงรุกที่มุ่งสร้างเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีสุขภาพดี
3) เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่เกิดจากความ ร่วมมือของครอบครัว ชุมชนและ สถานพยาบาล ให้มีความพอเพียง
เป้าหมายและตัวชี้วัด
เป้าหมายและตัวชี้วัด
1) ระดับพัฒนาการเด็กไทยสมวัย
( ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85)
2) IQ เฉลี่ยเด็กไทย
(ไม่ต่ำกว่า 100)
3) EQ เด็กไทย สูงกว่าคะแนน มาตรฐาน (ร้อยละ 70)
4) อัตราการเสียชีวิตจากการ บาดเจ็บทางถนน (ไม่เกิน 16 คน ต่อประชากรแสนคน)
5) อัตราตายก่อนวัยอันควรจาก โรค NCD (ลดลง จากปี2559 ร้อยละ 25)
6) อัตราของ Healthy Ageing เพิ่มขึ้น
(ADL มากกว่า 12 คะแนน)
7) อัตราการเจ็บป่วยจาก ผลิตภัณฑ์สุขภาพและสิ่งแวดล้อม (ลดลงร้อยละ 5 เมื่อเปรียบเทียบ กับปี 2559)
8) ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ของคนไทย (ระดับดีมาก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25)
9) พฤติกรรมสุขภาพของคนไทย
มาตรการและแนวทางพัฒนา
1) เสริมสร้างภาคีเครือข่ายและ
พันธมิตรด้านสุขภาพ
2) พัฒนากระบวนการ กำหนดนโยบาย และกฎหมายด้านสุขภาพตามหลัก Health in All Policy
3) สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
4) พัฒนาระบบเพื่อจัดการกับ
ปัจจัยที่กำหนดสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 2: สร้างความเป็นธรรม
ลดความเหลื่อมล้ำในระบบบริการสุขภาพ
เป้าหมายและตัวชี้วัด
1) ความครอบคลุมของหน่วย บริการปฐมภูมิ (PCC) ที่มีทีม แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว (ร้อยละ 100)
2) จำนวนศูนย์แพทย์เชี่ยวชาญ เฉพาะทาง 4 สาขาหลัก (มะเร็ง หัวใจ อุบัติเหตุ ทารกแรกเกิด) ใน 12 เขตสุขภาพ (มีครบทั้ง 4 สาขาทุกเขตสุขภาพ)
3) อัตราส่วนเตียง (ในระบบประกันสุขภาพภาครัฐ)ต่อ ประชากรภาพรวมทั้งประเทศ (ไม่น้อยกว่า 2 : 1,000) และการกระจายระหว่างพื้นที่ (แตกต่างกันไม่เกิน ร้อยละ 10)
4) ระยะเวลารอคอยในการรับการรักษาพยาบาลที่แผนกผู้ป่วยนอก (ลดลงร้อยละ 30 จากค่าเฉลี่ยของปี 2557, 2558, 2559)
5) อัตราการส่งต่อออกนอกเขตสุขภาพ
(ลดลงร้อยละ 50)
6) อัตราตายจากโรคที่สำคัญ (มะเร็งตับ หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง) (ลดลงร้อยละ
5 จากค่าเฉลี่ยของปี 2557, 2558, 2559)
7) ความพึงพอใจของผู้รับบริการสุขภาพ
(ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90)
8) ความพึงพอใจของผู้ให้บริการ สุขภาพ(ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90)
มาตรการและ
แนวทางพัฒนา
1) จัดกลุ่มหน่วยบริการปฐมภูมิ(Primary Care Cluster)
2) เพิ่มขีดความสามารถของหน่วย
บริการทุกระดับ
3) พัฒนาความร่วมมือกับภาคี
เครือข่ายและพันธมิตร
วัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างและพัฒนาระบบ บริการปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวประจำให้ครบทุกแห่ง
2) เพื่อยกระดับขีดความสามารถของหน่วยบริการทุกระดับให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน
3) เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสามารถในการแข่งขันให้กับระบบสุขภาพของประเทศ
4) เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการ ได้รับบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
ยุทธศาสตร์ที่ 3: พัฒนาและสร้างกลไกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ
วัตถุประสงค์
1) เพื่อวางแผนกำลังคนด้าน สุขภาพที่สอดรับกับการออกแบบ ระบบสุขภาพและความจำเป็นด้านสุขภาพ
2) เพื่อบูรณาการระบบการผลิตกำลังคนด้านสุขภาพ
ของประเทศให้ตั้งอยู่บนฐานของความร่วมมือ
3) เพื่อสร้างกลไกและระบบการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ
4) เพื่อสร้างเครือข่ายกำลังคนด้าน
สุขภาพที่ประกอบด้วยภาครัฐ เอกชน
เป้าหมายและตัวชี้วัด
1) อัตราส่วนกำลังคนด้านสุขภาพต่อประชากร แพทย์ 1 : 1,800
ทันตแพทย์ 1 : 3,600 เภสัชกร 1 : 2,300 พยาบาลวิชาชีพ 1 : 300
2) สัดส่วนแพทย์ต่อประชากรระหว่างพื้นที่ (แตกต่างกันไม่เกิน ร้อยละ 20)
3) ขีดความสามารถของบุคลากรด้านสุขภาพ
(อยู่ใน ระดับ 1 ใน 3 ของเอเชีย)
4) ระดับความสุขในการ ปฏิบัติงานของบุคลากรด้านสุขภาพ (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80)
มาตรการและแนวทางพัฒนา
1) พัฒนาระบบและกลไกการขับเคลื่อนการบริหารจัดการและการบูรณาการ
2) เร่งผลิตและพัฒนากำลังคนด้าน สุขภาพ
3) สร้างกลไกการสื่อสารและภาคี
เครือข่ายกำลังคนด้านสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 4: พัฒนาและสร้างความเข้มแข็งในการอภิบาลระบบสุขภาพ
วัตถุประสงค์
1) เพื่ออภิบาลระบบสุขภาพอย่างมีธรรมาภิบาล
เป็นเอกภาพ อันจะส่งผลให้มีความมั่นคงยั่งยืนของระบบสุขภาพ
2) เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการ บริการสุขภาพ ระบบข้อมูลข่าวสาร ด้านสุขภาพ การเงินการคลังด้าน สุขภาพ รวมถึงยาและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ
เป้าหมายและตัวชี้วัด
1) ความครอบคลุมของ หน่วยงานด้านสุขภาพที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ITA (Integrity and
Transparency Assessment) (ร้อยละ 93)
2) ระดับการใช้ประโยชน์ได้ทั้งการบริหารจัดการและบริการประชาชนของระบบข้อมูลสุขภาพ ครอบคลุมประเด็นข้อมูลที่สำคัญ (ใช้ประโยชน์ได้ในระดับนโยบายและการปฏิบัติ)
3) จำนวนผลงานวิจัย/ นวัตกรรมด้านสุขภาพที่
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้(เพิ่มขึ้นร้อยละ 5)
4) สัดส่วนมูลค่าการนำเข้ายา และเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (ไม่เพิ่มขึ้น)
5) รายจ่ายด้านสุขภาพต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (ไม่เกินร้อยละ 5)
6) มีกลไกที่สามารถสร้างความเป็นเอกภาพด้านสุขภาพอย่างยั่งยืน
มาตรการและแนวทางพัฒนา
1) สร้างระบบธรรมาภิบาลและการจัดการความรู้
2) ส่งเสริมระบบการวิจัยและการสร้าง
นวัตกรรมด้านสุขภาพ
3) พัฒนาระบบยา เวชภัณฑ์และ
เทคโนโลยีทางการแพทย์ของประเทศ
4) เสริมสร้างกลไกและกระบวนการ
ในการบริหารจัดการข้อมูล
5) ปรับปรุงและพัฒนาระบบ
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
6) สร้างและพัฒนากลไกการดูแลด้าน การเงินการคลังสุขภาพของประเทศ ให้มี S A F E
แนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ
ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) สู่การปฏิบัติ
ดำเนินการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจ
สร้างความเชื่อมโยงระหว่างแผนพัฒนาฯ
12 และนโยบายรัฐบาล
ผู้บริหารทุกระดับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญใช้เป็นกรอบแนวทางดำเนินงาน
จัดตั้งคณะกรรมการก ากับทิศทางการขับเคลื่อน) เพื่อกำกับการดำเนินงาน ติดตามประเมินผลแผนฯ
จัดให้มีกลไกในการพัฒนาวิธีหรือกระบวนการยกร่างแผนพัฒนาสุขภาพฯ ฉบับต่อไป
ไทยแลนด์ 4.0
“เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม”
ต่อยอด ด้วย 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
1) กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ
2) กลุ่ม สาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์
3) กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบ เครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็คทรอนิกส์ควบคุม
4) กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเตอร์เนตที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว
5) กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่ มีมูลค่าสูง ทั้ง 5 กลุ่ม ต้องเร่งพัฒนาต่อยอดให้เกิดมูลค่าเพิ่มและฐานเศรษฐกิจใหม
ไทยแลนด์ 4.0 ด้านสาธารณสุข
มี Roadmap ในการสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการแพทย์เพื่อ
ผลักดันให้เป็นเทศไทยเป็น Medical Hub ของอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2568
จัดทำโดย นางสาวปุณฑริกา สิทธิ
รหัสนักศึกษา 61102301085 กลุ่ม A4