Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
{9.1} การติดเชื้อระบบขับถ่ายปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์ (Urinary system…
{9.1} การติดเชื้อระบบขับถ่ายปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์
(Urinary system Infection during pregnancy)
(1)ชนิดของการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
1.การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะแต่ไม่แสดงอาการ (Asymptomatic bacteriuria: ASB)
พบแบคทีเรียในปัสสาวะมากกว่า 105 colony forming unit/ml (cfu/ml)
2.การติดเชื้อเฉียบพลันที่กระเพาะปัสสาวะ (Acute cystitis) จากการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมกับมีอาการเจ็บขณะถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะแสบขัด
3.การติดเชื้อเฉียบพลันที่กรวยไต (Acute pyelonephritis) เป็นการตรวจพบแบคทีเรียในปัสสาวะ มากกว่า 105 cfu/ml
4.กลุ่มอาการโรคไตรั่ว หรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ (Nephrotic syndrome)
พบโปรตีนในปัสสาวะมากประมาณ 5 กรัมต่อวัน ไขมันในเลือดสูง
5.ภาวะไตวาย (renal failure)
5.1)ไตวายเรื้อรัง (chronic renal failure) สาเหตุมาโรค
เช่น DM, SLE, glomerulonephritis
5.2)ไตวายเฉียบพลัน (acute renal failure) มีสาเหตุจากการแท้งติดเชื้อ
(2)สาเหตุ
จากการติดเชื้อ Escherichia Coli (E. Coli)
(3)อาการและอาการแสดง
1.การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (Lower UTI)
เช่น ท่อปัสสาวะอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น
2.การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน (Upper UTI)
เช่น กรวยไตอักเสบ ปัสสาวะเป็นสีขุ่นหรือสีน้ำล้างเนื้อ
เจ็บบริเวณชายโครง มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน
(4)ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
เสี่ยงต่อการแท้ง
การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
(5)ผลต่อทารก
ทารกคลอดก่อนกำหนด
ทารกน้ำหนักตัวน้อย
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
ทารกตายคลอด
(6)แนวทางการป้องกันและรักษา
[6.1]การป้องกัน
1.แนะนำให้ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังขับถ่าย
2.แนะนำให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
3.คัดกรองการติดเชื้อโดยการตรวจเพาะเชื้อปัสสาวะ (urine culture)
[6.2]การรักษา
1.รายที่มีการติดเชื้อแบบ ASB ดูแลการได้รับยาปฏิชีวนะ
2.รายที่มีการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ ดูแลการได้รับยาปฏิชีวนะที่มีความไวต่อเชื้อและปลอดภัยต่อมารดาและทารก
3.รายที่เป็นกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ต้องรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อให้ยาและสารละลายทางหลอดเลือดดำ
(7)กิจกรรมการพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
1.แนะนำการมาตรวจครรภ์ตามนัดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
2.แนะนำการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ นอนท่าตะแคง
3.แนะนำการดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว
4.ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายโดยเฉพาะอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
5.แนะนำการรับประทานยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดยาเอง
6.แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติที่ต้องรีบาพบแพทย์
ระยะคลอด
1.การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกทุกครั้งหลังการขับถ่าย
2.ในกรณีที่คลอดก่อนกำหนด และการสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ
3.เตรียมอุปกรณ์ในการช่วยเหลือทารกแรกเกิดให้พร้อม
ระยะหลังคลอด
1.การป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
และการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
2.ให้คำแนะนำการคุมกำเนิด ในรายที่มีบุตรเพียงพอแล้วหรือเป็นโรคไตติดเรื้อรังควรคุมกำเนิดแบบถาวร