Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 การวางแผนครอบครัว (Family planning) - Coggle Diagram
บทที่ 2 การวางแผนครอบครัว
(Family planning)
แนวคิด
การวางแผนครอบครัว
การที่คู่สมรสวางแผนการตั้งครรภ์ไว้ล่วงหน้า
กำหนดการมีบุตรได้ตามความต้องการ จำนวนบุตรและอายุห่างตามความเหมาะสม
เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของแต่ละครอบครัว
วัตถุประสงค์
ลดอัตราป่วยและอัตราตายของมารดาและทารก
เป็นการเพิ่มประชากรที่มีคุณภาพ มีสุขภาพอนามัยที่ดี
เลือกวิธีการคุมกำเนิดให้เหมาะสมกับตนเอง
ป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม
ช่วยให้มีขนาดครอบครัวที่เหมาะสม ฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น
ช่วยแก้ปัญหาสาธารณสุข ลดการใช้งบประมาณแผ่นดิน
การให้คำปรึกษาก่อนสมรส
วัตถุประสงค์
ส่งเสริมให้ชีวิตคู่ มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน
เพื่อช่วยให้การครองคู่มีความสุขมากขึ้น
เพื่อให้มีความรู้และแนวทางแก้ไขปัญหาสุขภาพโดยเฉพาะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคทางพันธุกรรม
เพื่อให้คู่สมรสมีความรู้เกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว สามารถวางแผนได้อย่างเหมาะสม
หลักการ
สร้างบรรยากาศให้รู้สึกอบอุ่นเป็นกันเอง
ผู้ขอคำปรึกษาก่อนสมรสควรมีความพร้อมทั้ง 2 ฝ่าย
ให้ข้อมูลที่จำเป็นและถูกต้อง
ให้ผู้รับคำปรึกษาเป็นผู้ตัดสินใจ
อาจต้องแยกให้คำปรึกษาฝ่ายชายหญิง เป็นบางกรณี
ขั้นตอนการปฏิบัต
ซักประวัติ
ตรวจร่างกาย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ให้คำปรึกษาเรื่องเพศ
ใช้หลัก 5C
Confidence
ผู้ให้การปรึกษาต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเอง
Comfort
ผู้ให้การปรึกษาต้องมีทัศนคติที่ดีต่อเรื่องเพศ
Compassion
ผู้ให้การปรึกษาต้องมีความเมตตากรุณา แสดงท่าทีเห็นอกเห็นใจ
Communication
มีทักษะในการสื่อสาร ให้คำพูดที่เหมาะสม
Consultation
ผู้ให้บริการควรตระหนักถึงความสามารถของตน เพื่อให้การปรึกษาและบำบัดอย่างถูกวิธี
ให้คำปรึกษาเรื่องการคุมกำเนิด
ให้คำปรึกษาปัญหาทางพันธุกรรม
ให้คำปรึกษาภาวะมีบุตรยาก
ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาชีวิตสมรส
การให้คำปรึกษาครอบครัวที่มีปัญหามีบุตรยาก
ภาวะมีบุตรยาก (infertility)
ปฐมภูมิ
ผู้มีบุตรยากที่ไม่เคยมีบุตรมาก่อน หรือ ไม่เคยตั้งครรภ์เลย
ทุติยภูมิ
ผู้มีบุตรยากที่เคยมีบุตรมาแล้ว แต่ต่อมาไม่สามารถมีบุตรได้อีก หรือไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกหลังจากตั้งครรภ์ครั้งก่อนนาน 1 ปี
ปัจจัยที่ส่งผลให้มีภาวะมีบุตรยาก
สุขภาพกาย เช่น มีโรคประจำตัว มีคู่หลายคน
สุขภาพจิต เช่น ความเครียด วิตกกังกล
ความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธ์ุ
โรคที่ทำให้การสร้างอสุจิหรือการผ่านออกของน้ำอสุจิผิดปกติ เช่น คางทูม กามโรค
ความผิดปกติในช่องเชิงกราน เช่น มีเยื่อพังผืด เนื้องอกที่ไปเบียดท่อนำไข่
ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อเช่น เนื้องอกในสมอง ภาวะอ้วน ภาวะทุพโภชนาการ
อายุ
ชาย มากกว่า 30 ปี
หญิง 35 ปีขึ้นไป
ความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์
การมีเพศสัมพันธ์มากเกินไปอาจทำให้การผลิตอสุจิลดลง
การวินิจฉัย
ฝ่ายชาย
การวิเคราะห์น้ำอสุจิ
ลักษณะอสุจิที่ปกติ
น้ำอสุจิมีลักษณะสีขาวขุ่น ค่า pH 7.2 - 7.8
ภายหลังหลั่งออกมาใหม่จะมีลักษณะข้นเหนียว เมื่อตั้งทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที จะละลายตัว
ปริมาตรการหลั่งแต่ละครั้ง 3-6 มิลลิลิตร จำนวน 20-100 ล้านตัว/มิลลิลิตร
การเคลื่อนที่ของตัวอสุจิประมาณร้อยละ 50-60 จะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว
รูปร่างที่ปกติของอสุจิจะมีส่วนหัวเป็นรูปไข่ ประมาณร้อยละ 60 ของจำนวนอสุจิทั้งหมด
มีอสุจิประมาณร้อยละ 50 ที่มีชีวิตและไม่มีการตกตะกอน
ฝ่ายหญิง
Ultrasound
สามารถวัดขนาดหรือรูปร่างของมดลูกและรังไข่ได้ และดูความผิดปกติได้ เช่นเนื้องอก หรือถุงน้ำในรังไข่
Hysterosalpingogram/HSG
เพื่อหาความผิดปกติของมดลูกหรือการตันของท่อนำไข่
Rubin’s test
เพื่อดูการตีบตันของท่อนำไข่ ถ้ามีการตีบของท่อนำไข่ ก๊าซจะไม่สามารถผ่านท่อนำไข่เข้าสู่ช่องท้องได้
Laparoscopy
ตรวจการอุดตันของท่อนำไข่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ และพังผืดในอุ้งเชิงกราน
บทบาทพยาบาล
อธิบายให้เข้าใจถึงขั้นตอน วิธีการ ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษา ค่าใช้จ่าย ภาวะแทรกซ้อน ตลอดจนผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลังการรักษา
ให้กำลังใจ เนื่องจากการรักษาภาวะมีบุตรยาก อาจต้องใช้เวลานาน
ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ขณะทำการรักษา แนะนำให้คู่สมรสทำจิตใจให้สบาย ไม่เคร่งเครียด หรือวิตกกังวลมากเกินไป
แนะนำให้ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
แนะนำให้สมาชิกในครอบครัวและสามีเป็นกำลังใจให้
ยอมรับความจริงในกรณีที่พบว่า ไม่สามารถมีบุตรได้อีก
เทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านการเจริญพันธุ์
การผสมเทียม
(artificial insemination)
การฉีดน้ำอสุจิเข้าไปในช่องคลอดของฝ่ายหญิง เพื่อให้ตั้งครรภ์ โดยไม่ได้มีเพศสัมพันธ์
การทำเด็กหลอดแก้ว
(in vitro fertilization and embryo transfer, IVF-ET)
การนําเอาไข่ที่ได้จากการกระตุ้นรังไข่ เก็บไว้ในตู้อบ เพื่อให้ไข่เจริญเติบโตต่อไปอีกระยะ แล้วนําออกมา
ผสมกับอสุจิ ภายหลังปฏิสนธิ 16-19 ชั่วโมง เลือกตัวอ่อนท่ีมีลักษณะท่ีดีนําไปใส่ในโพรงมดลูก
การนำไข่และอสุจิรวมกันในท่อนำไข่
(gamete intrafallopian tubal transfer, GIFT)
การปฏิสนธิของไข่และอสุจิเกิดขึ้นในร่างกาย ซึ่งเป็นสภาวะแวดล้อมท่ีเหมือนธรรมชาติท่ีสุด
ทําให้อัตราการตั้งครรภ์มีสูงข้ึน รวมทั้งลดขั้นตอนการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ
การฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในเซลล์ไข่
(intra cytoplasmic sperm injection, ICSI)
การปฏิสนธินอกร่างกาย โดยจะคัดเชื้ออสุจิที่สมบูรณ์แข็งแรง จำนวนเพียง 1 ตัว ฉีดเข้าไปในไข่โดยตรง โดยไม่รอให้เกิดการปฏิสนธิกันเอง
การย้ายตัวอ่อนระยะ 2 เซลล์
(zygote intrafallopian tubal transfer, ZIFT)
การเจาะเก็บไข่และนำมาปฏิสนธิกับอสุจิภายนอกร่างกาย แล้วเลี้ยงตัวอ่อน อีก 1-2 วันจากนั้นแพทย์จะทำการนำตัวอ่อน
ใส่กลับเข้าไปในท่อนำไข่โดยการเจาะผ่านทางหน้าท้อง ดังนั้นฝ่ายหญิงจะต้องมีท่อนำไข่ปกติอย่าง น้อย 1 ข้าง
Blastocyst Culture
เลี้ยงตัวอ่อนระยะ Blastocyst แบ่งเซลล์ 120-150 เซลล์ ซึ่งเป็นระยะที่พร้อมฝังตัว ใส่กลับคืนสู่โพรงมดลูก
ประเด็นจริยธรรม
ปัญหาเกี่ยวกับปฏิสนธินอกร่างกาย
การวิจัยตัวอ่อน (embryo research)
ต่างประเทศสามารถวิจัยตัวอ่อนไม่เกิน 14 วัน ใช้ได้เฉพาะตัวอ่อนที่เหลือ
จากการย้ายกลับ ในประเทศไทยทำการวิจัยได้เฉพาะตัวอ่อนที่ผิดปกติเท่านั้น
การบริจาคเซลล์สืบพันธุ์และตัวอ่อน (gamete and embryo donation)
อาจเกิดปัญหาแง่จริยธรรม เรื่องผลประโยชน์ ค่าตอบแทน การปกปิด หรือเปิดเผยที่มาของเซลล์สืบพันธุ์
และตัวอ่อน สิทธิการรับรู้ของเด็ก การรับบริจาคอสุจิของหญิงโสด อายุของผู้รับบริจาคไข่
การตั้งครรภ์แทน (surrogacy) หรือการอุ้มบุญ
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดที่เกิดจากการอุ้มบุญ
หญิงรับตั้งครรภ์แทนต้องมีสัญชาติไทย ในกรณีที่สามีหรือ
ภรรยาไม่ใช่สัญชาติไทย ต้องจดทะเบียนสมรสมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
หญิงรับตั้งครรภ์แทนต้องไม่มีความสัมพันธ์เป็นแม่หรือลูก
หญิงรับตั้งครรภ์แทนต้องเป็นญาติสืบสายโลหิตของสามีหรือภรรยา
ในกรณีที่ไม่มีญาติสืบสายโลหิต ให้หญิงอื่นรับตั้งครรภ์แทนได้
หญิงรับตั้งครรภ์แทนต้องเป็นหญิงที่เคยมีบุตรมาก่อนแล้วเท่านั้น
กรณีที่หญิงรับตั้งครรภ์แทนมีสามี ต้องได้รับความยินยอมจากสามีด้วย
ปัญหา
ด้านกฎหมายถือว่าสตรีที่คลอดบุตรเป็นมารดาที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ปัญหาเรื่องค่าตอบแทน ที่ต้องตั้งครรภ์จนครบกำหนดคลอด และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ จึงหาผู้ที่มาตั้งครรภ์แทนได้ยาก
เมื่อเด็กคลอดออกมาเกิดความผูกพัน จนไม่ยอมยกเด็กให้คู่สมรส หรือเด็กเกิดมามีความผิดปกติ คู่สมรสอาจไม่ยอมรับเด็กก็ได้
สตรีบางรายไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ใดๆ แต่ไม่อยากลำบากในการตั้งครรภ์ อาจไปจ้างสตรีอื่นให้ตั้งครรภ์แทน
การลดจำนวนตัวอ่อนขณะตั้งครรภ์ (embryo reduction)
กรณีแฝดสามขึ้นไปมีโอกาสคลอดก่อนกำหนดที่รอดชีวิตได้ยาก และผู้ตั้งครรภ์อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้สูง
จึงได้มีการลดจำนวนตัวอ่อนลง จึงมีนโยบายใส่กลับตัวอ่อน ไม่เกินครั้งละ 3 ใบ ทำให้ปัญหานี้ลดลง
การคุมกำเนิด (contraception)
คุณสมบัติที่ดี
Effective
มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการตั้งครรภ์
Safe
ปลอดภัย ไม่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรง ไม่มีอันตรายแม้จะใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
Reversible
เมื่อเลิกใช้แล้วต้องมีภาวะเจริญพันธุ์ภายหลังคุมกำเนิด
Simple and convenient
ใช้ง่ายและสะดวก
Acceptable
เป็นวิธีที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ยอมรับ
Inexpensive
ราคาถูก
ความหมาย
การป้องกันการปฏิสนธิของไข่และอสุจิ
ประเภท
ชั่วคราว
ฮอร์โมน
ยาเม็ดคุมกำเนิด
ฮอร์โมนรวม
ชนิดที่มีฮอร์โมนขนาดคงที่ (monophasic pills)
ยาทุกเม็ดจะมีฮอร์โมน estrogen และ progesterone ขนาดเท่ากันทุกเม็ด
ชนิดที่มีฮอร์โมนขนาดต่างกัน
ยาทุกเม็ดมีส่วนประกอบของฮอร์โมน estrogen และ progesterone ขนาดไม่เท่ากัน
ชนิดที่มีฮอร์โมนต่างกัน 2 ระดับ(biphatic pills)
ชนิดที่มีฮอร์โมนต่างกัน 3 ระดับ (triphasic pills)
ฮอร์โมนเดียว (mini pills)
ชนิด progesterone ปริมาณน้อย
ประกอบด้วย progesterone ขนาดน้อยเท่ากันทุกเม็ด
ใช้ในรายที่มีข้อห้ามใช้ estrogen
เหมาะสำหรับมารดาหลังคลอดที่เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
ที่นิยมใช้ ได้แก่ Exlution
เริ่มกินวันแรกของการมีประจำเดือน กินเวลาเดียวกันติดต่อกันทุกวัน
ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน
ชนิด progesterone ปริมาณสูง
ประกอบด้วย progesterone ปริมาณมากเพียงอย่างเดียว
ใช้ในรายที่ไม่ได้คุมกำเนิดมาก่อนหรือถูกข่มขืน หรือผิดพลาดในการใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นๆ
เช่น Postinor , Modonna
กินเม็ดแรกภายใน 72 ชม. หลังร่วมเพศ เม็ดที่สองห่างจากเม็ดแรก 12 ชม.
ชนิด estrogen ปริมาณสูง
เช่น Ovral
กินครั้งเดียว 4 เม็ดหลังร่วมเพศ
ใช้กรณีฉุกเฉินเท่านั้น เพราะอาการข้างเคียงสูง เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน
ปวดมวนในท้องประจำเดือนมาผิดปกติ เลือดออกกะปิดกะปอย ตั้งครรภ์นอกมดลูก มะเร็งเต้านม
ข้อดี
มีประสิทธิภาพสูง
มีประจำเดือนสม่ำเสมอ ปวดประจำเดือนลดลง
สามารถใช้จนถึงวัยหมดประจำเดือน
ข้อเสีย
Estrogen : คลื่นไส้อาเจียน,คัดตึงเต้านม, ฝ้าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น, ความดันโลหิตสูงขึ้น
Progesterone : เลือดออกกะปริดกะปรอย หรือ ประจำเดือนไม่มา , อารมณ์เปลี่ยนแปลง
ข้อห้าม
ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับโรคเลือด และโรคหลอดเลือดหัวใจ
ผู้ที่สูบบุหรี่
การทำงานของตับผิดปกติ
มะเร็ง
ไขมันในเลือดสูง
ความดันโลหิตสูง
เบาหวาน
คำแนะนำ
เริ่มรับประทานเม็ดแรกวันที่ 5 ของรอบเดือน
รับประทานช่วงเวลาเดียวกัน
กรณีที่ลืม
ถ้าลืม 1 เม็ด ให้รับประทานทันทีที่นึกได้
ถ้าลืม 2 เม็ด ให้รับประทาน วันละ 2 เม็ด เช้า เย็น 2 วันติดต่อกัน
ถ้าลืมมากกว่า 2 เม็ด หยุดยาแผงนั้น เริ่มแผงใหม่รอบประจำเดือนครั้งต่อไป
กรณีแท้ง
แท้งในช่วงไตรมาสแรก
สามารถกินยาได้ทันทีหลังแท้ง
แท้งในช่วงไตรมาสที่สอง
สามารถกินยาได้หลังแท้ง 2-3 สัปดาห์
ยาฉีดคุมกำเนิด
ฮอร์โมนเดียว
เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์คล้าย progesterone
ใช้กันโดยทั่วไป คือ
DMPA ออกฤทธิ์นาน 3 เดือน
NET-EN ออกฤทธิ์นาน 2 เดือน
ฮอร์โมนรวม
ฉีดทุก 4 สัปดาห์ จะมีฮอร์โมน progesterone และ estrogen
เช่น cyclofem ประกอบด้วย Medoxyprogesterone 50 มิลลิกรัม และ Estradiol cypionate 10 มิลลิกรัม
ข้อบ่งชี้
เหมาะสำหรับสตรีที่อายุไม่เกิน 50 ปี และมีบุตรที่มีชีวิตอยู่อย่างน้อย 1 คน
ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม สำหรับผู้ที่ต้องการให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ แต่ไม่สามารถใช้กับมารดาที่ให้นมบุตรได้
ข้อดี
ใช้ง่าย สะดวก
ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนม เหมาะสำหรับมารดาหลังคลอดที่เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
ข้อเสีย
เลือดออกกะปริดกะปรอย
ไม่มีประจำเดือน
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
อาการปวดศีรษะ
อารมณ์เปลี่ยนแปลง
หากใช้เป็นเวลานานเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก/รังไข่
ข้อห้าม
เลือดออกผิดปกติ
สตรีที่ยังไม่เคยมีบุตร
โรคมะเร็ง
โรคเบาหวาน
โรคตับ
โรคหลอดเลือดในสมองหรือหัวใจรุนแรง
คำแนะนำ
เริ่มฉีดยาภายใน 5 วันแรกของรอบประจำเดือน
ควรมาฉีดยาคุมกำเนิดตามนัด - DMPA ฉีดทุก 84 วัน - NET-EN ฉีดทุก 60 วัน
ในกรณีไม่สามารถมาตามนัดได้ ไม่ควรมาก่อนหรือหลังกำหนด 2 สัปดาห์
ภาวะเจริญพันธุ์ภายหลังหยุดใช้ยา จะมีประจำเดือนมาปกติภายใน 6 เดือน
ยาฝังคุมกำเนิด
ไม่สลายตัว
Norplant-6 ชนิด 6 หลอด คุมกำเนิดได้นาน 5 ปี
Norplant-2 ชนิด 2 หลอด คุมกำเนิดได้นาน 3 ปี
ปัจจุบันนิยมใช้ Implanon NXT ชนิด 1 หลอด บรรจุตัวยา Etonogestrel 68 มิลลิกรัม คุมกำเนิดได้ 3 ปี
สลายตัว
Capronor ใช้ 1 หลอด ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 18 เดือน
Norethindrone pellets ฝังครั้งละ 2-4 หลอด ป้องกันการตั้งครรภ์ได้นาน 1 ปี
ข้อบ่งชี้
สตรีที่มีบุตรอย่างน้อย 1 คน ต้องการคุมกำเนิดระยะยาว
สตรีที่มีข้อห้ามใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจ
สตรีที่ไม่ต้องการทำหมัน หรือยังไม่พร้อมที่จะผ่าตัดทำหมัน
สตรีวัยรุ่น
สตรีติดเชื้อ HIV
ข้อดี
มีประสิทธิภาพสูง
ออกฤทธิ์นาน และมีประสิทธิผลภายหลังฝังยาคุมกำเนิด 24 ชม.
ไม่มีผลต่อน้ำนม
ภายหลังหยุดฝังยา จะกลับสู่ภาวะเจริญพันธุ์ได้เร็ว เนื่องจากฮอร์โมน levonorgestrel ถูกขับออกจากร่างกายภายใน 96 ชั่วโมง
ข้อเสีย
เลือดออกกะปริดกะปรอย
ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
ข้อห้าม
ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำระยะเฉียบพลัน
มะเร็ง
เนื้องอกที่ตับ หรือการทำงานของตับผิดปกติ
มีเลือดออกจากช่องคลอดที่ไม่ทราบสาเหตุ
คำแนะนำ
ควรฝังยาคุมกำเนิดภายในวันที่ 5 ของรอบประจำเดือน
ยาฝังคุมกำเนิดสามารถฝังได้ทันทีหลังคลอด หรือเมื่อตรวจหลังคลอด 4-6 สัปดาห์ เนื่องจากไม่มีผลกระทบต่อการหลั่งของน้ำนม
ฝังยาได้ทันทีหลังแท้ง หรือหลังแท้ง 2-3 สัปดาห์
ไม่ควรให้แผลเปียกน้ำ 7 วัน
หลีกเลี่ยงการยกของหนัก 7 วัน
มาตรวจตามนัด1, 3, 6 ,12 เดือน และทุกๆ ปี
ใช้สิ่งกีดขวาง
ห่วงอนามัย
ชนิดไม่มีตัวยาออกฤทธิ์ป้องกันการตั้งครรภ์
ทำจากพลาสติก และอาบด้วย barium sulfate เพื่อให้ถ่ายภาพรังสีได้
ชนิดมีตัวยาออกฤทธิ์ป้องกันการตั้งครรภ์
Copper bearing IUD เป็นห่วงอนามัยที่มีสารทองแดงเป็นส่วนประกอบ เช่น CU T-380A
Hormone releasing IUD เป็นห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมนสังเคราะห์เป็นส่วนประกอบ เช่น Levonorgestrel T
ข้อบ่งชี้
สตรีที่มีบุตรแล้ว และต้องการเว้นระยะห่างของการมีบุตร
สตรีที่ต้องการคุมกำเนิดระยะยาว เมื่อเลิกใช้ภาวะเจริญพันธุ์กลับมาดังเดิม
สตรีหลังคลอดที่ต้องการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
สตรีที่มีปัญหาประจำเดือนผิดปกติ ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมนจะช่วยปัญหาประจำเดือนมามาก
ข้อดี
ประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการตั้งครรภ์
ปลอดภัย อาการข้างเคียงน้อย
ราคาถูก ใช้ได้นาน ไม่เป็นภาระ ไม่ต้องกลัวลืม
เมื่อเอาห่วงอนามัยออกสามารถตั้งครรภ์ได้ในระยะเวลาสั้น
ข้อเสีย
เลือดออกกะปริดกะปรอย, ปวดท้องน้อย , ตกขาวเพิ่มขึ้น
อาจเกิดการอักเสบของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน
อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือห่วงอนามัยหลุด
ข้อห้าม
ติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน หรือ ติดเชื้อในโพรงมดลูก
มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเลือด ภาวะโลหิตจาง โรคเบาหวาน โรคไตอย่างรุนแรง และความผิดปกติเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
มีเพศสัมพันธ์แบบเปลี่ยนคู่บ่อย
คำแนะนำ
ควรใส่ห่วงอนามัย ภายในวันที่ 10 ของรอบประจำเดือน
ไม่ควรใส่ทันทีหลังคลอด
ภายหลังใส่ห่วงอาจมีเลือดออก 2-3 วัน ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ 1 สัปดาห์ มาตรวจตามนัด ทุก 1, 3, 6 และ ทุกๆปี
ตรวจห่วงอนามัยด้วยตนเอง โดยตรวจดูผ้าอนามัยในขณะมีประจำเดือน หรือ ตรวจภายหลังประจำเดือนหมด 2-3 วัน และหลังการ
มีเพศสัมพันธ์ โดยล้างมือให้สะอาด ตัดเล็บให้สั้น สอดนิ้วเข้าไปในช่องคลอด หากตรวจไม่พบสายไนล่อน ให้ไปพบแพทย์
ถุงยางอนามัย
ถุงยางอนามัยสตรี
ทำจาก Polyurethan
ถุงยางอนามัยชาย
Skin condom
ทำจากลำไส้สัตว์
Latex Condom
ทำจากน้ำยางธรรมชาติ
Polyurethane Condom
ทำจากสารสังเคราะห์ สำหรับผู้แพ้ยางธรรมชาติ
ข้อดี
ใช้คุมกำเนิดและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ราคาไม่แพง พกพาได้สะดวก
ปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อผู้ใช้
มีประสิทธิภาพการป้องกันการตั้งครรภ์สูง หากใช้ถูกวิธี
ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูก
เหมาะกับคู่สมรสที่พบกันนานๆครั้ง
ข้อเสีย
ถุงยางอนามัยอาจแตกหรือหลุดได้
หากใช้เป็นเวลานาน ฝ่ายหญิงอาจระคายเคืองช่องคลอด
บางรายอาจมีอาการแพ้
บางรายอาจลดความรู้สึกขณะร่วมเพศ
คุมกำเนิดโดยวิธีธรรมชาติ
การงดร่วมเพศ
การนับระยะปลอดภัย
การนับจากปฏิทิน
สูตร
วันแรกของระยะไม่ปลอดภัย = รอบประจำเดือนที่สั้นที่สุด – 18
วันสุดท้ายของระยะไม่ปลอดภัย = รอบประจำเดือนที่ยาวที่สุด – 11
การวัดอุณหภูมิร่างกาย
ก่อนไข่ตกประมาณ 12-24 ชั่วโมง อุณหภูมิร่างกายจะลดต่ำลงกว่าปกติ
และหลังจากไข่ตกแล้วอุณหภูมิร่างกายจะเพิ่มขึ้น 0.2 – 0.5 องศาเซลเซียส
ควรงดร่วมเพศ ช่วง 2-3 วันก่อนไข่ตก
และ3-5 วันหลังไข่ตก
ต้องวัดทุกวัน
การสังเกตมูกบริเวณปากช่องคลอด
หลังหมดประจำเดือนใหม่ๆ
ไม่มีมูก หรือมีเล็กน้อย
ก่อนวันไข่ตก
มีมูกมากขึ้น สีเหลือง หรือขาว ขุ่นๆ เหนียวๆ
ระยะไข่ตก
มีมูกมาก ใส ลื่นๆ คล้ายไข่ขาวดิบ สามารถยืดได้ยาวมากกว่า 6 เซนติเมตร
ระยะหลังไข่ตกใหม่ๆ
มูกน้อยลง ขุ่นข้น ยืดเป็นเส้นไม่ได้
ก่อนมีประจำเดือน
แห้งหรือมีมูกเป็นน้ำใสๆ
การหลั่งน้ำอสุจินอกช่องคลอด
ฝ่ายชายถอนอวัยวะเพศออกจากช่องคลอดก่อนที่จะมีการหลั่งน้ำอสุจิ
การควบคุมไม่ให้มีการหลั่งน้ำอสุจิ
เมื่อฝ่ายชายรู้สึกว่าใกล้ถึงจุดสุดยอด ให้บังคับตนเองไม่ให้มีการหลั่งน้ำอสุจิจนกระทั่งความตื่นตัวทางเพศหมดไปเอง
การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
มีการหลั่งฮอร์โมน prolactin สูง ซึ่งจะยับยั้งการหลั่งฮอร์โมน FSH และ LH
ทำให้รังไข่ไม่ถูกกระตุ้น และไม่เกิดการตกไข่ ส่งผลให้ไม่มีประจำเดือน
ถาวร
ทำหมันหญิง
ทำหมันหลังคลอด หรือ หมันเปียก
ทำในระยะหลังคลอดประมาณ 24-48 ชั่วโมง เนื่องจากหลังคลอดระดับมดลูกอยู่สูง ทำให้สามารถผ่าตัดได้ง่าย
การทำหมันแห้ง
ทำหมันในช่วงเวลาปกติ หรือหลังคลอดมากกว่า 6 สัปดาห์
ข้อบ่งชี้
มีบุตรเพียงพอแล้วอย่างน้อย 2 คน และบุตรมีสุขภาพดี
มีโรคประจำตัวที่อาจมีผลต่อการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต โรคจิต และปัญญาอ่อน
คำแนะนำ
หลังทำหมันให้นอนพัก 2-3 ชั่วโมง ระวังไม่ให้แผลเปียกน้ำประมาณ 7 วัน
ในรายที่ทำหมันแห้ง งดทำงานหนัก 1 สัปดาห์ ในรายที่ทำหมันหลังคลอดงดทำงานหนัก 4-6 สัปดาห์
มาตรวจตามนัดหลังทำหมัน 1 สัปดาห์ เพื่อดูแลแผลทำหมันและตัดไหม นัดตรวจภายใน 6 สัปดาห์หลังผ่าตัด เพื่อตรวจหาความผิดปกติ หลังจากนั้นนัดตรวจร่างกายประจำปี
ในรายที่ส่องกล้อง อาจเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น อึดอัดแน่นท้อง จากก๊าซที่เหลือค้างในช่องท้อง
ทำหมันชาย
ข้อบ่งชี้
มีบุตรตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
ผู้ที่ภรรยาเป็นโรคทางอายุรกรรม ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้ถ้าทำหมันหญิง
ผู้ที่มีโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม
คำแนะนำ
หลังทำหมันจะยังไม่เป็นหมันทันที ต้องคุมกำเนิดชั่วคราวโดยใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วย เป็นเวลา 3 เดือน หรือหลั่งน้ำอสุจิ 15-20 ครั้ง