Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นโยบายสุขภาพ นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ - Coggle Diagram
นโยบายสุขภาพ นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ
นโยบายสุขภาพ (Health Policy)
หมายถึง
ข้อความที่เป็นการประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อสุขภาพของประชาชน ตัวอย่างนโยบายสุขภาพ
ตัวอย่างนโยบายสุขภาพ
นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค
นโยบายการจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อโครงการป้องกันการสูบบุหรี่
ปี 2564
ระบบสุขภาพปฐมภูมิเข้มแข็ง
ยกระดับระบบบริการปฐมภูมิ และ อสม. ให้คนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจาตัว 3 คน
พัฒนาระบบบริการทุติยภูมิให้เป็นจุดเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพ
เศรษฐกิจสุขภาพ
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและนวัตกรรมด้านสุขภาพ สร้างรายได้ให้กับประชาชนและประเทศ
สมุนไพร กัญชา กัญชง
เพื่อสุขภาพ ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างครอบคลุม ปลอดภัยเกิดการเพิ่มมูลค่าทาง เศรษฐกิจ
สุขภาพดีวิถีใหม
มุ่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบ New Normal เน้นอาหาร ออกกาลังกาย เพื่อการมีสุขภาพด
COVID -19
เพิ่มศักยภาพความมั่นคงทางสุขภาพในการจัดการกับโรคอุบัติใหม่ เป็นองค์กรหลักในการบูรณาการ สร้างระบบสาธารณสุข ที่เหมาะสมสาหรับประเทศไทยและทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย
หน่วยบริการก้าวหน้า
ผลักดัน 30 บาทรักษาทุกท
ให้ประชาชนเข้าถึงระบบบริการสุภาพ ลดความแออัด ลดรอคอย ด้วยการแพทย์วิถีใหม
จัดระบบบริการให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
มุ่งเน้นการดูแลในกลุ่มเด็กปฐมวัย และผู้สูงอายุ
พัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจิตเชิงรุก
บริหารด้วยหลักธรรมาภิบาล
ยึดหลักธรรมาภิบาล สุจริต โปร่งใส ประโยชน์ของประชาชน
องค์กรแห่งความสุข
พัฒนาองค์กรแห่งความสุขที่มีคุณภาพ งานได้ผล คนเป็นสุข สร้างผู้นารุ่นใหม่ ให้สามารถดูแล สุขภาพ ประชาชนได้อย่างยั่งยืนปลอดภัยท้ังผู้ให้และผู้รับบริการ (2P Safety)
นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ
(Health Public Policy)
หมายถึง
นโยบายสาธารณะที่คำนึงถึงผลกระทบของนโยบายที่จะมีต่อสุขภาพ เป็นนโยบายที่สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งผลดีต่อสุขภาพของคนทุกกลุ่มอย่างเป็นธรรม ไม่ก่อให้เกิดภาวะที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยตรง รวมทั้งไม่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงและการได้รับบริการสุขภาพที่จำเป็น
จำเป็นต้องมีการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดสิ่งต่างๆ ได้แก่
ช่วยกันสร้างความตระหนักในคุณค่าของสุขภาพ
ฝ่ายที่ทำงานทางวิชาการต้องสนับสนุนข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับผลกระทบด้านสุขภาพจากการดำเนินการนโยบายสาธารณะต่างๆ
สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกัน
ช่วยกันนำเสนอทางเลือกของนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพที่สามารถปฏิบัติได้ให้มากๆ
เข้าร่วมกระบวนการสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อให้ได้นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพที่ดี
เครื่องมือสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ
เครื่องมือพัฒนากระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ (Policy
Formulation Process)
“สมัชชาสุขภาพ”
หมายถึง “กระบวนการที่ให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเรียนรู้อย่างสมานฉันท์ เพื่อนำไปสู่การเสนอแนะนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพหรือความมีสุขภาพของประชาชน
แบ่งตามลักษณะการพัฒนากระบวนการหรือการสร้างพื้นที่สาธารณะ
การประยุกต์กระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมาใช้
การขับเคลื่อนนโยบายด้วยกระบวนการถกแถลง
แบ่งตามรูปแบบการเคลื่อนไหวเชิงกระบวนการ
แบบค้นหาปัญหาและหาแนวทางแก้ไข
แบบสร้างภาพฝัน แล้วพัฒนาตาม
แบบสร้างแบบอย่างที่ดี แล้วขยายสู่นโยบาย
แบบเฝ้าระวังเตือนภัยให้สังคม
แบบการพัฒนาและติดตามผลนโยบาย
เครื่องมือประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health Impact Assessment : HIA)
การประมาณการณ์ผลกระทบของการกระทำใดการกระทำหนึ่งที่มีต่อสุขภาพของประชากรกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อาจครอบคลุมตั้งแต่ระดับโครงการ ระดับแผนงานและระดับนโยบาย โดยคาดการณ์ไปข้างหน้าก่อนที่จะดำเนินการตามแผนที่วางไว้
เครื่องมือกำหนดกรอบการดำเนินงานด้านสุขภาพที่ดี
เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 นำไปสู่การมีสุขภาวะของคนและสังคม คือ “ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพ” ซึ่งได้ถูกบัญญัติไว้ในกฎหมายให้เป็นกรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ ซึ่งปัจจุบันได้มีการประกาศใช้ "ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552"
เนื้อหาสาระสำคัญใน 12 เรื่อง
ปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ
คุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพ
การจัดให้มีหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ
การสร้างเสริมสุขภาพ
การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ
การส่งเสริม สนับสนุน การใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ
การคุ้มครองผู้บริโภค
การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ
การผลิตและการพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข
การเงินการคลังด้านสุขภาพ
ตัวอย่างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ
ระดับรัฐบาล และประเทศ
การควบคุมการบริโภคบุหรี่ และสุราด้วยมาตรการต่างๆ
การพัฒนาพลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ
การส่งเสริมเกษตรปลอดสารพิษ เกษตรผสมผสาน เกษตรธรรมชาติ หรือเกษตรที่เอื้อต่อสุขภาพ
การพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ตามกระแสพระราชดำรัส
ระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การเพิ่มสวนสาธารณะ ลานกีฬา มุมสาธารณะ เพื่อให้คนในชุมชนใช้จัดกิจกรรมชุมชน อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การส่งเสริมเครือข่ายเกษตรปลอดสารพิษ และเชื่อมโยงเกษตรกรเข้ากับผู้บริโภค
การส่งเสริมชุมชนทำแผนแม่บทชุมชน ค้นหาแนวทางพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ลดปัญหาหนี้สิน ปัญหาการทำมาหากิน และอื่นๆ เป็นต้น
ระดับหน่วยงาน / องค์กร
การทำโครงการลด ละ เลิกบุหรี่ เหล้า จัดสถานที่และสร้างบรรยากาศให้พนักงาน ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การส่งเสริมให้พนักงานบางประเภท นำงานกลับไปทำที่บ้าน จะได้มีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น
การขยายฐานการผลิตบางอย่าง ที่เป็นมิตรกับชุมชน และธรรมชาติเข้าไปตั้งในชุมชน เป็นต้น
ระดับชุมชน
การรวมตัวกันเป็นเครือข่ายเกษตรปลอดสารพิษ
การรวมตัวกันดูแลป่าชุมชน เพื่อการจัดกิจกรรมกองทุนต่างๆ เพื่อการพึ่งพากันเองในชุมชน
การจัดกิจกรรมกองทุนต่างๆ เพื่อการพึ่งพากันเองในชุมชน เป็นต้น