Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงของระบบต่อมไร้ท่อและฮอร์โมน - Coggle Diagram
การเปลี่ยนแปลงของระบบต่อมไร้ท่อและฮอร์โมน
รก (placenta)
HCG กระตุ้นการเจริญเติบโตของคอร์ปัสลูเที่ยมที่ทำหน้าที่สร้างเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนจนกว่าจะสามารถผลิตฮอร์โมนทั้งสองชนิดได้
เอสโตรเจน สร้างฮอร์โมนนี้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 6-12 และเพิ่มมากขึ้นจนครรภ์ครบกำหนดซึ่งจะสูงกว่าขณะไม่ตั้งครรภ์ประมาณ 100 เท่า โดยเอสโตรเจนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในหญิงตั้งครรภ์
อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกใหญ่ขึ้น
กระตุ้นการทำงานของท่อน้ำนมต่อมน้ำนม และหัวนมทำให้เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น และคัดตึง
เนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกล้ามเนื้ออ่อนตัว (soften effect) มีผลให้หลังแอ่น ปวดหลัง
กระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
เพิ่มการคั่งของน้ำ และโซเดียม มีผลให้ปริมาณเลือดเพิ่มขึ้น
กระตุ้นการทํางานของต่อมน้ำลายทำให้มีน้ำลายเพิ่มขึ้น
การเจริญเติบโต และการทํางานของมดลูก
อารมณ์แปรปรวนได้ง่าย และมีอารมณ์ทางเพศเพิ่มขึ้น
โปรเจสเตอโรน
หญิงตั้งครรภ์รู้สึกอ่อนเพลีย และเหนื่อยง่ายกว่าปกติ
กระตุ้นการเจริญเติบโตของต่อมและท่อน้ำนม ทำให้เด้นมคัดตึง
ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัวมีการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกลดลง
กระตุ้นการเจริญเติบโตของเยื่อบุผนังมดลูกเพื่อรองรับการฝังตัวของทารก
มีผลต่ออุณหภูมิของร่างกายโดยจะสูงขึ้น
ลิวแมน พาเซนตา แลคโตรเจน
กระตุ้นการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
ลดการเผาผลาญโปรตีนในนมมารดา
ยับยั้งการทำงานของอินซูลิน
ลดการสร้างและการหลั่งน้ำนม
ต่อมพาราธัยรอยด์ (parathyroid gland)
จะโตขึ้นเล็กน้อย ฮอร์โมนจากพาราธัยรอยด์เพิ่มขึ้นสูงเกือบสองเท่าในสัปดาห์ที่ 15 - 35 ของการตั้งครรภ์ และกลับสู่ภาวะปกติในระยะหลังคลอด การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนจากต่อยพาราธัยรอยด์ทำให้การดูดซึมแคลเซียมในสำได้ดีขึ้นเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของทารกในครรภ์
ต่อมธัยรอยด์ (thyroid gland)
จะสร้างฮอร์โมน thyroxin เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานเพิ่มขึ้น 20% ระดับฮอร์โมน T4 จะเพิ่มขึ้น แต่ T3 ลดลง มีผลให้การเพาผลาญอาหารเพิ่มขึ้น 25% ทำให้ชีพจรเร็ว หัวใจเต้นเร็ว อารมณ์แปรปรวน อ่อนเพลีย เหงื่อออกมาก ทนต่ออากาศร้อนได้น้อย
ฮอร์โมนต่อมใต้สมอง (pituitary gland)
ต่อมใต้สมองส่วนหน้า
โปรแลคตินฮอร์โมน (prolactin hormone) ช่วยให้มีการพัฒนาการของเต้านม ในระยะตั้งครรภ์เตรียมสำหรับการสร้างน้ำนม โดยปริมาณเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า แต่ปริมาณ estrogen และ progesterone ระดับสูง จะยับยั้งการสร้างน้ำนม และ Hypothalamus จะหลั่ง prolactin -inhibitor factor ซึ่งทำให้ไม่มีการสร้างน้ำนมด้วย
โกรทฮอร์โมน (growth hormone) ซึ่งมีผลต่อเมตาบอลิซึมของโปรตีน คาร์โบไฮเดต และใขมันจะลดลงในระหว่างการตั้งครรภ์ และกลับสู่สภาพเดิมภายหลังคลอด 6-8 สัปดาห์
ต่อมใต้สมองส่วนหลัง
หลั่งฮอร์โมน Oxytocin และ vasopressin โดย oxytocin จะกระตุ้นการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกการเจ็บครรภ์คลอดและการหลั่งน้ำนมในระยะหลังคลอด vasopressin ทำให้เส้นเลือดหดรัดตัวซึ่งจะทําให้ความดันโลหิตสูง
ภาวะไม่สุขสบายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านสรีรวิทยา
อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย (Mood swing)
บทบาทพยาบาล 1. แนะนำสามี และครอบครัวให้กำลังใจ และรับฟังปัญหาของสตรีตั้งครรภ์
อธิบาย และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเตรียมตัว
สาเหตุ
จากความไม่สบายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอาจเป็นสาเหตุทำให้มีความเครียดขึ้นได้
มีความเครียด กังวลเรื่องการเจริญเติบโตของทารก การคลอด และการเลี้ยงดูลูกที่จะเกิดขึ้นมา
จากบทบาทที่ต้องเปลี่ยนไป
อาการอ่อนเพลีย (Fatigue)
สาเหตุ 1. การเพิ่มของฮอร์โมน estrogen และ progesterone
ขาดการออกกำลังกาย โรคโลหิตจาง
สภาวะทางจิตใจ และรวมทั้งความเครียดของร่าง
กายในการปรับตัวจากการตั้งครรภ์ใหม่
การพยาบาล
การพักผ่อน
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
บุคคลใกล้ชิดดูแลด้านจิตใจ
น้ำลายมาก (ptyalism, salivation)
สาเหตุ
การเพิ่มของระดับฮอร์โมน estrogen
บทบาทพยาบาล
แนะนำให้รับประทานอาหารน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง
ปวดหลัง
สาเหตุ
มดลูกมีขนาดที่โตขึ้น
การยืดขยายของเส้นเอ็นที่ยึดข้อต่อต่างๆ
การเคลื่อนไหวที่ไม่ถูกต้อง เช่น การเดินการก้มเก็บของ
บทบาทพยาบาล
แนะนำให้หลีกเลี่ยงการทำงานหนักการนั่งพับเข่าและพักผ่อนในท่านอนตะแคง
แนะนำให้ใส่รองเท้าส้นเตี้ยไม่สูงเกินไป
ให้ยืนหรือนั่งในท่าหลังตรง
ให้ญาติช่วยนวดบริเวณหลัง จะช่วยผ่อนคลายอาการปวด
แนะนำให้ออกกำลังกาย ยืนเดินในท่าที่สบาย เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
แนะนำไม่ให้ซื้อยาแก้ปวดมากินเอง (ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้ไปพบแพทย์)
ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต (adrenals gland)
progesterone ทำให้ต่อมหมวกไตมีการหลัง aldosterone เพิ่มขึ้นระยะแรกของไตรมาสที่ 2 ขณะที่ estrogen ทำให้ระดับ cortisol ในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต และไขมัน
ฮอร์โมนจากตับอ่อน (pancreas)
ในระยะแรกเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนจากรก มีผลทำให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินเพิ่มขึ้น เพื่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ การผลิตฮอร์โมนอินซูลินมากขึ้น แต่ความสามารถในการใช้ลดลงเนื่องจากเป็นกลไกป้องกันการสะสมน้ำตาลกลูโคส จึงทําให้หญิงตั้งครรภ์มีอาการคล้ายเบาหวานได้