Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เคสกรณีศึกษาที่ 1
COPD, การบริหารการหายใจแบบเป่าปาก (Pursed lip…
เคสกรณีศึกษาที่ 1
COPD
-
-
ข้อบ่งชี้ที่สำคัญรวมทั้งอาการ อาการแสดงเกี่ยวกับภาวการณ์กำเริบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (exacerbation) ในผู้ป่วยรายนี้เป็นอย่างไร
ผู้ป่วยมีไข้ ไอ หายใจเหนื่อย มีเสมหะเหนียวขาวขุ่น ซึม อ่อนเพลีย หายใจตื้นเร็ว ปีกจมูกบานขณะหายใจ ใช้กล้ามเนื้อหน้าอกในการหายใจ ปลายมือปลายเท้าเขียว นิ้วมือมี clubbed fingers
เพราะเหตุใด ตรวจร่างกายจึงพบทรวงอก : Barral shape , clubbed fingers และฟัง lung : Wheezing Both Lung
- พบ Barral shape เนื่องจาก มีอากาศคั่งในปอดมากเกินไป ทำให้ A.P.diameter เพิ่มขึ้น
- พบ Clubbing เนื่องจากมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น เมื่อคาร์บอนไดออกไซด์คั่งมากขึ้น ทำให้หลอดเลือดแดงบริเวณนั้นขยาย ทำให้ปลายนิ้วมือ ปลายนิ้วเท้ามีการขยายตัว มือแดง มือสั่น เนื่องจากขาดออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์คั่ง
- พบ Wheezing Both Lung เนื่องจากหลอดลมมีขนาดสั้นและทางเดินหายใจแคบ เมื่อหายใจจึงได้ยินเสียง Wheezing
-
-
ท่านจะดูแลผู้ป่วยรายนี้ให้เกิดมาตรฐานทางการพยาบาลและให้ผู้ป่วยปลอดภัยท่านจะให้การพยาบาลโดยตั้งข้อวินิจฉัยการพยาบาล 2 อันดับแรก
-
กิจกรรมการพยาบาล
1)จัดท่านอนให้ผู้ป่วยอย่างเหมาะสม โดยจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าศีรษะสูงเพื่อช่วยให้ปอดขยายตัวได้มากที่สุด และช่วยให้เสมหะออกได้ง่ายขึ้น
2) ดูแลการได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ (Oxygen therapy)กรณีที่ให้ออกซิเจนแบบแคนนูลาจะเริ่มให้ที่ระดับความเข้มข้น (FiO2) 2 L/ min แต่หากเป็นชนิดอื่น ๆ ให้ความเข้มข้นของออกซิเจนในระดับที่ต่ำสุดเพื่อป้องกันการเกิดภาวะคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์จากการได้รับออกซิเจนปริมาณมากกว่าความต้องการของร่างกายผู้ป่วย
3) ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง (Airway Care)
-โดยกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้หรือใส่ท่อเครื่องช่วยหายใจควรช่วยเหลือโดยดูดเสมหะ ยึดหลักปราศจากเชื้อ หากผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้ รู้สึกตัวดี กระตุ้นให้ผู้ป่วยไอบ่อยๆ เพื่อขับเสมหะออกได้ง่ายขึ้น หากไม่มีข้อจำกัดต้องสอนให้ผู้ป่วยไออย่างมีประสิทธิภาพควรให้กำลังใจ อธิบายถึงความสำคัญของการกระตุ้นให้ผู้ป่วยไอ หากผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกหรือฝืนในการไอ คอยช่วยเหลือประคองตัวผู้ป่วยขณะกระตุ้นให้ไอ เพื่อลดความวิตกกังวลที่ต้องออกแรงในการไอ
กระตุ้นและช่วยเหลือให้ผู้ป่วยดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดามาก ๆ หากไม่มีข้อจำกัด ประมาณวันละ 2,000 - 3,000 มิลลิลิตร เพื่อช่วยให้เสมหะอ่อนตัวหลุดออกจากหลอดลมและถุงลมได้ง่ายขึ้นดูแลการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษาของแพทย์ดูแลการได้ให้ละอองน้ำหรือยาทาง Nebulizer เช่น การได้รับ 0.9% NSS 4 cC สลับกับBeradual fort 4 มิลลิลิตร (1 dose) ทุก 4-6 ชั่วโมง เพื่อให้สามารถขับเสมหะออกมาง่ายและหลอดลมขยายตัวได้ดีขึ้น ควรติดตามอาการหลังได้รับการพ่นยาทุกครั้ง
-กายภาพบำบัดทรวงอกโดยวิธีการเคาะปอด (percussion) และการสั่น (Vibration) เพื่อระบายเสมหะให้ผู้ป่วย โดยเน้นตรงกลีบปอดที่มีการอักเสบทุก 4 ชั่วโมง ซึ่งต้องประเมินเสียงปอดก่อนเคาะก่อนและหลังทุกครั้ง และกระตุ้นให้ผู้ป่วยไอเอาเสมหะออกมา แนะนำและช่วยเหลือผู้ป่วยในการรักษาความสะอาดช่องปาก โดยให้แปรงฟันและลิ้นอย่างสม่ำเสมอหลังรับประทานอาหาร หรือบ้วนปากด้วยน้ำยาทำความสะอาด ควรแนะนำการบ้วนปากหลังพ่นยา หรือหลังรับประทานอาหารทุกครั้งเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราบริเวณช่องปากจากอาการข้างเคียงของยา และป้องกันการติดเชื้อสู่ทางเดินหายใจ หากเกิดการติดเชื้อก็จะส่งผลต่อการเกิดมูกออกมาเพิ่มและมาอุดกั้นทางเดินหายใจได้
4) ช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร การอาบน้ำ เป็นต้นเนื่องจากภาวะกำเริบของโรคส่งผลต่อการใช้พลังงานมากกว่าปกติ ทำให้ผู้ป่วยอ่อนล้าไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเต็มที่
5) แนะนำและกระตุ้นการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยหลังเกิดภาวะกำเริบของโรคได้เพื่อที่ร่างกายจะสามารถทนต่อการปฏิบัติงานต่างๆ เพิ่มขึ้น ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะพร่องออกซิเจน สัญญาณชีพ ออกซิเจนที่ปลายนิ้ว (O2 Sat) ประเมินทางเดินหายใจ เพื่อติดตามอาการเปลี่ยนแปลง
-
-
- การบริหารการหายใจแบบเป่าปาก (Pursed lip breathing) เป็นการหายใจเข้าทางจมูก ช้าๆ (นับในใจ หนึ่ง และสอง) และหายใจออกทางปาก โดยห่อปากเล็กน้อย (นับในใจหนึ่ง สอง สาม และสี่) ซึ่งการหายใจออกยาวนานเป็นสองเท่าของการหายใจเข้า การบริหารการหายใจแบบเป่าปากชะลอการตีบแคบของหลอดลม ช่วยเพิ่มปริมาตรของอากาศ
- การรับประทานยาตามแผนการรักษา และการมาพบแพทย์ตามนัด การรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจำเป็นต้องใช้ยาหลายกลุ่มร่วมกันอย่างต่อเนื่อง 4. การไออย่างมีประสิทธิภาพ (Effective cough) ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่ผ่อนคลาย อาจจะเป็นท่านั่งหรือท่าศีรษะสูง หายใจเข้า-ออกลึกๆ ช้าๆ 2 – 3 ครั้ง และสูดหายใจเข้าอย่างช้าๆ ทางจมูกอย่างเต็มที่ แล้วกลั้นหายใจไว้ประมาณ 2 – 3 วินาที โน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย อ้าปากกว้างๆ และไอออกมาติดต่อกันประมาณ 2 – 3 ครั้ง ให้เสมหะออกมาและพักโดยการหายใจเข้า-ออกช้าๆ เบาๆ
- การออกกำลังกาย ได้แก่ การออกกำลังกายกล้ามเนื้อส่วนล่าง เช่น การเดินบนทางราบ การออกกำลังกาย กล้ามเนื้อส่วนบน เช่น การใช้แขนยืดสายยาง ทำติดต่อกันอย่างน้อย 20 นาทีต่อวัน สัปดาห์ละ 3 วัน เป็นเวลาติดต่อกัน 8 สัปดาห์
7.การผ่อนคลายทางด้านร่างกายและอารมณ์ ขณะที่ร่างกายอยู่ในสภาพที่ผ่อนคลาย ส่งผลให้การใช้ออกซิเจนและการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง สามารถลดอาการหายใจลำบาก การผ่อนคลายในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เช่นการปฏิบัติสมาธิ การฟังธรรมะ การฟังเพลง
8.การปรับปรุงภาวะโภชนาการ รับประทานอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง ควรเป็นอาหารอ่อน ย่อย ง่าย ควรเลือกรับประทานอาหารประเภทไขมันที่มี โคเลสเตอรอลต่ำเนื่องจากอาหารประเภทนี้ให้พลังงาน แก่ร่างกายสูงและควรเลือกรับประทานอาหารประเภทโปรตีนสูงเพื่อเพิ่มพลังงาน บำรุงกล้ามเนื้อ และกระดูก
- การใช้เทคนิคการสงวนพลังงาน การทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงทำให้ร่างกายของผู้ป่วยใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการหายใจลำบาก เทคนิคการสงวนพลังงาน ได้แก่ การนั่งขณะทำความสะอาดร่างกาย
ผู้ป่วยเพศชาย อายุ 58 ปีมีประวัติดังนี้
อาการสำคัญ : ไข้ ไอ หายใจเหนื่อย 3 ชม.
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน : 3 ชม. Case COPD ไข้ หายใจเหนื่อย ไอ เสมหะสีขาว เหนียว
ขุ่น พ่นยาเอง 2 ครั้ง อาการไม่ดีขึ้นญาตินำส่ง รพ.
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต : 2 ปีก่อนแพทย์วินิจฉัยว่าเป็น โรคถุงลมโป่งพอง
ประวัติการเสพสารเสพติด: สูบบุหรี่วันละ 20 มวน เป็นเวลา 25 ปี ปัจจุบันสูบบุหรี่ วันละ 2 มวนต่อวัน
อาชีพ : มีอาชีพรับจ้างขับรถบรรทุกหิน
การตรวจร่างกาย vital signs T= 38.5 P= 100/min R= 28 /min BP=130/70 mmHg O2 sat = 90 % General appearance : ซึม อ่อนเพลีย หายใจตื้นเร็ว ปีกจมูกบานขณะหายใจ ใช้กล้ามเนื้อหน้าอกในการหายใจ ปลายมือปลายเท้าเขียว นิ้วมือมี clubbed fingers
Lung : เสียงปอดพบ wheezing ทั้ง 2 ข้าง Chest : Barrel chest ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ/การตรวจพิเศษ Chest X- ray : infiltration both lung Lab : CBC : WBC 15,000 N 85 % L 12 % Eo 3% , Hct 55% การรักษา : Beradual 1 NB q 15 นาที 2 ครั้ง , Dexa 4 mg v State On O 2 2 L/min, ให้นอนรักษาในโรงพยาบาล การวินิจฉัยโรค : COPD with acute exacerbation
-
ผู้ป่วยรายนี้มี O2 sat = 90 % จึงให้ O2 Nasal Cannula 2 L/min เพื่อให้ผู้ป่วยรายนี้มีปริมาณออกซิเจนเพิ่มขึ้น ร้อยละ4 ทุกๆ 1 ลิตร และเนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะคาร์บอนไดออกไซน์ในเลือดสูง ทำให้หายใจได้ในระดับออกซิเจนต่ำ หากเพิ่มปริมาณออกซิเจนมากขึ้น คาร์บอนไดออกไซน์ก็จะเพิ่มมากขึ้นไปด้วย ดังนั้นจะเกิดกรดจากการหายใจ ผู้ป่วยอาจหยุดหายใจและเสียชีวิตได้