Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่1 การพยาบาลเกี่ยวกับการป้องกันเเละควบคุมการเเพร่กระจายเชื้อ - Coggle…
บทที่1 การพยาบาลเกี่ยวกับการป้องกันเเละควบคุมการเเพร่กระจายเชื้อ
การทำลายเชื้อเเละการทำให้ปราศจากเชื้อ
(Disinfection and Sterilization)
ภาวะปลอดเชื้อและเทคนิคปลอดเชื้อ
ภาวะปลอดเชื้อหรือการกีดกั้นเชื้อ (Asepsis)
เป็นการปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่จะเกิดกับเครื่องมือเครื่องใช้และสิ่งแวดล้อม
เทคนิคปลอดเชื้อ (Aseptic Technique)
วิธีการปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่จะเกิดขึ้นกับเครื่องมือเครื่องใช้
• Medical asepsis
• Sterile technique (Surgical asepsis)
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
Sterile
สิ่งของหรือเครื่องมือที่ปราศจากเชื้อโรค รวมทั้งชนิดที่มีสปอร์
Contamination
การสัมผัส ปนเปื้อนเชื้อโรค
Sterilization
ขบวนการทำลายเชื้อโรคทุกชนิด รวมทั้งพวกที่มีสปอร์ให้หมดสิ้นไป
Disinfection
ขบวนการทำลายเชื้อโรคแต่ไม่สามารถทำลายชนิดที่มีสปอร์ได้ วิธีทำลายเชื้อโรคแบบนี้เช่น การต้ม การแช่น้ำยา
Disinfectant
สารเคมีหรือนำยาที่ใช้ทำลายจุลินทรีย์ แต่ไม่สามารถทำลายชนิดที่มีสปอร์ น้ำยานี้จะทำลายเนื้อเยื่อด้วย ฉะนั้นจะใช้กับผิวหนังไม่ได้
Antiseptics
สารเคมีที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์
การฆ่าเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อ
critical items : เครื่องมือเครื่องใช้ที่สัมผัสกับเยื่อบุ ก่อนใช้ต้องทำให้ปราศจากเชื้อ
semi-critical or intermediate items : เครื่องมือเครื่องใช้ที่สัมผัสเยื่อบุก่อนใช้ต้องสะอาดไม่มีเชื้อโรค ยกเว้นสปอร์ของแบคทีเรีย
non-critical items : เครื่องมือที่สัมผัสกับผิวหนังภายนอก ไม่ได้สัมผัสกับเยื่อบุต่างๆ ของร่างกาย ก่อนใช้ ต้องล้างให้สะอาด
การทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้
การล้าง (Cleansing)
การล้างเป็นขั้นแรกที่สำคัญที่สุดสำหรับการทำลายเชื้อในขั้นต่อไป สิ่งของที่ปนเปื้อนมากๆ น้ำยาไม่สามารถทำลายเชื้อได้ หากไม่มีการล้าง เพราะสิ่งที่เปื้อนนั้นจะทำปฏิกิริยากับน้ำยาหรือเป็นเกราะป้องกันเชื้อโรคไม่ให้สัมผัสกับน้ำยา
ดังนั้นจึงควรเน้นการล้างให้มากที่สุด การล้างอาจจะใช้สารเคมีที่ใช้ชำระล้าง (detergent) ช่วยหรือการใช้เครื่องล้างพิเศษแบบ ultrasonic Cleanser การล้างที่ถูกต้องสามารถขจัดจุลชีพออกจากวัสดุเกือบทั้งหมด และเพียงพอสำหรับการทำลายเชื้อสำหรับเครื่องใช้โดยทั่วไป
วัตถุประสงค์ของการล้างเครื่องมือก่อนนำไปทำลายเชื้อ
เพื่อลดจำนวนเชื้อโรคบนเครื่องมือให้เหลือปริมาณน้อยที่สุด
เพื่อเป็นการลดสิ่งปนเปื้อนที่ติดอยู่บนผิวของเครื่องมือ
ความสกปรกที่ติดแน่นบางอย่าง ไม่สามารถจะหลุดได้
ช่วยลดอันตรายในการหยิบจับอุปกรณ์ของเจ้าหน้าที่เป็นเบื้องต้น
ข้อควรคำนึงในการล้าง
กำจัดเลือด หนอง เมือก สารคัดหลั่งและอื่น ๆ ออกก่อนทำความสะอาดเสมอ
ไม่ทำให้อุปกรณ์ เครื่องใช้ชำรุดเสียหายจากวิธีการทำความสะอาด
ไม่ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้สกปรกมากกว่าเดิม เช่น การใช้น้ำสกปรกล้าง
สารจากสบู่มีฤทธิ์เป็นด่าง หากล้างออกไม่หมดจะช่วยเคลือบเชื้อจุลชีพไว้ ดังนั้นหลังจากทำความสะอาดแล้ว ไม่ควรมีสารตกค้างหลงเหลืออยู่
เครื่องใช้
1.อุปกรณ์ช่วยในการขัดถู มีขนาดและรูปร่างต่างๆ กัน ควรเป็นวัสดุที่มีความหยาบ
แต่ต้องไม่มีความคม จนเกิดรอยขีดข่วนขึ้นเมื่อขัดถู
สารซักฟอก หรือสบู่
อุปกรณ์สวมใส่เพื่อป้องกันความสกปรกกระเด็นถูกร่างกาย เช่น ถุงมือยาง
เอี๊ยมพลาสติก ผ้าปิดปากจมูก แว่นตา (goggle) เป็นต้น
วิธีทำ
สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความสกปรกตามความเหมาะสม ระมัดระวังไม่ให้เปื้อนบริเวณใกล้เคียง
สำรวจคราบลาสเตอร์ หากมีให้เช็ดด้วยเบนซินแล้วตามด้วยแอลกอฮอล์
คราบเลือดหรือสารคัดหลั่งติดแน่น ควรเช็ดหรือล้างด้วยน้ำเกลือหรือน้ำร้อน หากยังไม่หลุดให้ล้างด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) อีกครั้ง
อุปกรณ์ที่มีข้อห้ามในการใช้น้ำล้าง ให้ใช้ผ้าชุบน้ำยาทำความสะอาดบิดหมาดๆ
ในบริเวณที่ไม่สามารถเช็ดทำความสะอาดได้ เช่น เป็นรูเล็ก ๆ หรือท่อ ให้ใช้ไม้ก้านยาวพันสำลีชุบน้ำยาทำความสะอาดเช็ดในส่วนนั้น
ล้างคราบสิ่งสกปรก และคราบสารผงซักฟอกออกให้หมดโดยใช้น้ำก๊อกที่ไหลชะผ่าน
เช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาด หรือวางผึ่งลมก่อนเก็บเข้าที่ หรือแยกไปทำให้ปราศจากเชื้อ
ทำความสะอาดอุปกรณ์ขัดล้างให้สะอาด ทำให้แห้ง รวมทั้งถุงมือและอ่างน้ำ
การต้ม (Boiling)
การต้มเป็นวิธีการทำลายเชื้อที่ดี ง่าย ประหยัด และมีประสิทธิภาพดี การต้มเดือดนาน 10 นาที จะสามารถทำลายเชื้อได้ยกเว้นสปอร์ แต่สำหรับเชื้อโรคที่อันตราย เช่น ไวรัส HIV องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ต้มเดือดนาน 20 นาที เพื่อให้มั่นใจ ดังนั้นการต้มเดือดที่มีประสิทธิภาพที่เชื่อถือได้ ควรจะต้มเดือดนาน 20 นาทีขึ้นไป และน้ำต้องท่วมของที่ต้องการต้ม เครื่องใช้ที่นิยมทำลายเชื้อด้วยการต้มได้แก่ เครื่องใช้ที่เป็นโลหะและเครื่องแก้วทุกชนิด เครื่องเคลือบ เครื่องใช้ที่ไม่ควรต้มได้แก่ เครื่องใช้ที่ทำมาจากยาง และของมีคมเพราะจะทำให้เสื่อมคุณภาพและเสียคม
การเตรียมสิ่งของที่จะต้ม
แยกชนิดสิ่งของที่จะต้ม เครื่องมือกับเครื่องแก้วไม่ต้มด้วยกันเพราะเครื่องแก้วอาจแตกได้
เครื่องใช้มีคมไม่ควรต้ม เพราะจะทำให้เสียความคม
สิ่งของที่จะต้มควรได้รับการทำความสะอาดดีแล้ว
ของที่ใช้กับอวัยวะสะอาด ไม่ควรต้มปนกับของที่ใช้กับอวัยวะสกปรก ถ้าเป็นไปได้อาจจะแยกหม้อต้ม
ของที่ต้มครบเวลาแล้ว ต้องเก็บไว้ในภาชนะที่ปราศจากเชื้อหรือสะอาดมีฝาปิดมิดชิด ถ้าไม่มีต้องต้มภาชนะและฝาปิดพร้อมของที่ต้มด้วย
หลักสำคัญในการต้ม
น้ำต้องท่วมของทุกชิ้นอย่างน้อย 1 นิ้ว
เครื่องมือเครื่องใช้ที่มีน้ำหนักเบา ควรใช้ของที่มีน้ำหนักทับเพื่อให้จมอยู่ใต้น้ำ เช่นท่อพลาสติกแข็ง เป็นต้น
ปิดผาหม้อต้ม เริ่มนับเวลาเมื่อน้ำเดือดเต็มที่
ในขณะต้มต้องไม่เปิดฝาหม้อต้ม เพราะจำทำให้อุณหภูมิภายในหม้อต้มลดลง และต้องไม่เพิ่มสิ่งของอื่นลงไป เมื่อของที่ต้มอยู่ยังต้มไม่ครบ 15 หรือ 20 นาที
เมื่อครบกำหนดให้เก็บของที่ต้มแล้วลงในภาชนะที่ปราศจากเชื้อหรือสะอาดมีฝาปิดมิดชิด
การใช้สารเคมี (Chemical method)
Disinfectant หมายถึง สารเคมีหรือนำยาที่ใช้ทำลายจุลินทรีย์ แต่ไม่สามารถทำลายชนิดที่มีสปอร์ น้ำยานี้จะทำลายเนื้อเยื่อด้วย ฉะนั้นจะใช้กับผิวหนังไม่ได้
Antiseptics หมายถึง สารเคมีที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ สามารถใช้กับสิ่งมีชีวิตได้ปลอดภัย
น้ำยาที่ใช้ในการทำลายเชื้อ
แอลกอฮอล์ (Alcohols)
ทำลายเชื้อได้ดีแต่ไม่ทำลายสปอร์
*อาจทำให้เครื่องมือโลหะเกิดสนิท
อัลดีฮัยด์ (Aldehydes)
ทำลายเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส รา ในเวลา 10 นาที ทำลายสปอร์แบคทีเรียได้ใน 10 ชั่วโมง ราคาแพง ระคายเคืองผิวหนัง ทางเดินหายใจ ตา
ไดกัวไนด์ (Diguanide)
สารที่ใช้คือ chlorhexidine ถ้าความเข้มข้นต่ำกว่า 0.2% ไม่สามารถทำลายแบคทีเรียแกรมบวก เชื้อไวรัส เชื้อรา และสปอร์ของแบคทีเรียได้
ฮาโลเจน (Halogens)
สามารถทำลายเชื้อโรคได้ต่างกันตามความเข้มข้นของน้ำยา
Hypochlorite และ Iodine เช่น ไอโอดีน ไฮเตอร์ แต่ไม่สามารถทำลายสปอร์แบคทีเรียได้ กลิ่นเหม็น โลหะเป็นสนิม ระเหยง่าย ต้องเก็บในภาชนะทึบแสง ห้ามผสมกับกรด และฟอร์มาลิน
ฮัยโดเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide)
สามารถทำลายเชื้อโรครวมทั้งไวรัสโดยใช้ Hydrogen peroxide 6% นาน 30 นาที
น้ำยาที่ฟีนอล (Phenols)
สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย เชื้อวัณโรคเชื้อรา ยกเว้นเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และสปอร์ของแบคทีเรีย ไม่ควรใช้กับทารกแรกเกิด บริเวณที่เตรียมอาหาร กลิ่นแรง ระคายเคืองผิวหนัง กัดกร่อนยางธรรมชาติและพลาสติก
Quartemary Ammonium Compounds (QACs)
มีฤทธิ์ทำลายเชื้อน้อย เช่น Benzalkonium chlorideเป็นส่วนประกอบใน savlon
การทำให้ปราศจากเชื้อ
วิธีทางเคมี
การใช้ก๊าซ Ethylene oxide
การใช้ 2% Glutaradehyde
การใช้ Peracetic acid
การใช้ 2% Glutaradehyde
Glutaraldehyde เช่น Cidex เป็นสารเคมีที่ใช้มากที่สุดในการทำให้ปราศจากเชื้อมีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อและสปอร์ของแบคทีเรีย เป็นสารที่ไม่ทำลายยางหรือพลาสติกและไม่ทำให้เกิดสนิมใช้แช่เครื่องมือเครื่องใช้นาน 3-10 ชั่วโมง เพื่อให้ปราศจากเชื้อ เช่น เครื่องมือที่มีเลนส์ เครื่องมือทางทันตกรรม เครื่องช่วยหายใจ และเครื่องมือที่มีคม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องล้างน้ำยาให้หมดก่อนนำไปใช้
การใช้ Peracetic acid
เป็นส่วนผสมระหว่าง acetic acid กับ hydrogen peroxide มีคุณสมบัติในการกัดกร่อนสูง แต่ต้องละลายในน้ำอุ่น เครื่องมือเครื่องใช้ที่แช่ใน Peracetic Acid เพื่อทำให้ปลอดเชื้อจะต้องใช้เวลารวดเร็วคือ 35-40 นาที ที่อุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซียส โดยจะต้องล้างน้ำยาออกให้หมดและทำให้แห้งด้วยความระมัดระวังเพื่อให้เครื่องมือเครื่องใช้นั้นเกิดการปนเปื้อนใช้ในการทำให้ปราศจากเชื้อท่อส่ง ระบบน้ำทำไตเทียม และกล้องส่องตรวจต่างๆ
การใช้ก๊าซ Ethylene oxide
เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติทำลายเชื้อสูง สามารถทำลายได้ทั้งไวรัส แบคทีเรียรวมทั้งสปอร์ของแบคทีเรีย นิยมใช้ทำให้ปราศจากเชื้อในเครื่องมือเครื่องใช้ที่ไม่สามารถทนความร้อนและความชื้นได้ เช่นพลาสติกโพลีแอทธีลิน เป็นต้น ประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเครื่องมือเครื่องใช้อบก๊าซไว้ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง และเครื่องมือเครื่องใช้ที่ปลอดเชื้อจากการอบก๊าซนี้จะต้องเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 5 วัน หรือใช้เวลา 8 ชั่วโมงภายใต้อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส เพื่อให้ก๊าซระเหยออกก่อนนำไปใช้มิฉะนั้นอาจทำให้ผิวหนังไหม้เมื่อสัมผัสก๊าซที่หลงเหลืออยู่บนเครื่องมือเครื่องใช้
วิธีทางกายภาพ
Radiation
Dry heat or hot air sterilization
Steam under pressure
Radiation
เป็นการใช้แสงอัลตราไวโอเลตซึ่งเป็นแสงสีม่วง สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และไวรัสบางชนิด แต่ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสเอดส์ ในแสงแดดมีแสงอัลตราไวโอเลตอยู่ ดังนั้นในกรณีเชื้อวัณโรคเมื่อถูกแสงแดดจะถูกทำลายภายใน 1-2 ชั่วโมง แต่ถ้าอยู่ในที่มืดหรือไม่มีแสงแดดจะมีชีวิตอยู่ได้นานเป็นเดือนเป็นปีได้ นิยมใช้ลดจำนวนจุลชีพในอากาศ เช่นในห้องผ่าตัด ห้องปฏิบัติการ ห้องเด็ก ในการทำลายเชื้อจะใช้เวลาประมาณ 6-8 ชั่วโมง
Dry heat or hot air sterilization
การใช้ Hot air oven ลักษณะคล้ายเตาอบขนมปัง สามารถทำลายเชื้อโดยใช้ความร้อนแห้งที่อุณหภูมิ 165-170 องศาเซลเซียส ระยะเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง การใช้ความร้อนแห้งนี้เหมาะสำหรับเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นของมีคม ไม่ทำให้ของเสียคม ใช้สำหรับเครื่องแก้วที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ กระบอกฉีดยาชนิดนำกลับมาใช้อีก นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการเกิดสนิมในเครื่องมือเครื่องใช้ที่ไม่ได้ทำมาจากสแตนเลสได้แต่ไม่เหมาะที่จะให้กับเครื่องผ้าและยาง
Steam under pressure
เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เชื่อถือได้ และประหยัดค่าใช้จ่ายในการฆ่าเชื้อและสปอร์ของเชื้อ เครื่องมือเครื่องใช้ที่สามารถทำให้ปราศจากเชื้อด้วยวิธีนี้ ได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทนความร้อนและความชื้น มีผิวเรียบแข็ง เช่น เครื่องมือผ่าตัด ภาชนะที่ทำด้วยสแตนเลส วิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทนความร้อนสูงไม่ได้ อุณหภูมิที่ใช้ในการทำให้ปราศจากเชื้ออยู่ระหว่าง 121-123 องศาเซลเซียส ภายใต้ความดัน 15-17 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว โดยใช้เวลานาน 15-45 นาที เช่น การทำลายเชื้อโดยใช้ Autoclave เป็นการอบไอน้ำภายใต้ความดัน ส่วนใหญ่นิยมใช้ในทางการแพทย์ ประสิทธิภาพของการทำให้ปราศจากเชื้อด้วยวิธีนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ประเภทของอุปกรณ์ที่นำมาทำให้ปราศจากเชื้อ
หลักพื้นฐานของภาวะปราศจากเชื้อ
ของปลอดเชื้อต้องไม่สัมผัสกับสิ่งที่ไม่ปลอดเชื้อ
หากของปลอดเชื้อสัมผัสกับสิ่งที่ไม่ปลอดเชื้อให้ถือว่าของนั้นไม่ปลอดเชื้อ หรือเกิดการปนเปื้อนขึ้น เรียกว่า contamination
2.1 ใช้ปากคีบปลอดเชื้อในการหยิบของปลอดเชื้อ ไม่ใช้ปากคีบที่ไม่ปลอดเชื้อหรือผ่านการใช้งานแล้วหยิบของปลอดเชื้อ
2.2 หากหยิบจับของปลอดเชื้อด้วยมือ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ปลอดเชื้อ จะถือว่าเครื่องมือเครื่องใช้นั้นเกิดการปนเปื้อน
2.3 การใช้ปากคีบหยิบจับของปลอดเชื้อไม่ควรใช้ปากคีบหยิบบริเวณขอบของภาชนะ หรือใช้ปากคีบเปิดผ้าห่อของปลอดเชื้อ เพราะบริเวณเหล่านี้มีโอกาสเกิดการปนเปื้อน
2.4 ของปลอดเชื้อที่มีรอยฉีกขาด รอยเปิดสัมผัสกับภายนอก ถือว่าไม่ปลอดเชื้อ
2.5 ดูแลให้ของปลอดเชื้อสัมผัสกับอากาศน้อยที่สุด หากเปิดใช้ต้องรีบปิดทันที
2.6 ห่อของปลอดเชื้อที่เปิดใช้แล้ว แสดงว่าเกิดการปนเปื้อน ไม่นำไปรวมกับของปลอดเชื้อ
ของปลอดเชื้อต้องอยู่สูงกว่าระดับเอวและอยู่ในสายตา
3.1 การถือของปลอดเชื้อหรือบริเวณที่วางของปลอดเชื้อจะต้องอยู่สูงกว่าระดับเอวเพื่อให้แน่ใจว่าของปลอดเชื้อนั้นอยู่ในสายตา ลดโอกาสเกิดการปนเปื้อน
3.2 เมื่อเปิดของปลอดเชื้อแล้ว ไม่ละทิ้งหรือหันหลังให้ของปลอดเชื้อ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการปนเปื้อนเกิดขึ้นจากการวางของนั้นนอกสายตา
3.3 หากผู้ปฏิบัติเกิดความสงสัย ไม่มั่นใจเกี่ยวกับความปลอดเชื้อกับของใช้นั้น ต้องเปลี่ยนของนั้นใหม่ทันที
วิธีห่อของส่งนึ่ง
คลี่ผ้าห่อของบนโต๊ะ สูงระดับเอวให้มุมใดมุมหนึ่งอยู่ด้านผู้ห่อ
วางของไว้ที่ศูนย์กลางของผ้าห่อ
จับมุมผ้าด้านผู้ห่อ วางพาดบนของ และพับมุมกลับเล็กน้อย
ดึงผ้าให้เรียบตึง ห่อด้านซ้ายให้มิดของ ดึงให้ตึง และพับมุมเล็กน้อย
ห่อด้านขวาให้มิดของ ดึงให้ตึงพับมุมเช่นกัน เข้าเล็กน้อย
จับผ้าที่เหลือมุมสุดท้าย ดึงให้ตึงพับมุมเข้าเล็กน้อยจัดห่อให้มิดชิดไม่หลุด
ตรึงห่อของให้แน่นด้วยเทปกาว และระบุหอผู้ป่วย ชื่อสิ่งของ วันที่ส่งนึ่งและชื่อผู้ห่อของ
ติด Autoclave tape
ดูแลให้ของปลอดเชื้อนั้นคงความปลอดเชื้อ
1.1 ปากคีบปลอดเชื้อ (Transfer forceps) ใช้สำหรับหยิบจับ เคลื่อนย้ายของปลอดเชื้อต้องสะอาดและคงความปลอดเชื้อตลอดเวลา การถือปากคีบปลอดเชื้อควรถือให้สูงกว่าระดับเอวและปลายปากคีบชี้ลงเสมอ เพราะปากคีบปลอดเชื้อที่แช่ในน้ำยาหากถือให้ปลายปากคีบชี้ขึ้น น้ำยาจะไหลจากมือมายังบริเวณที่ปลอดเชื้อ ทำให้เกิดการปนเปื้อนขณะทำงานได้
1.2 การเทน้ำยาปลอดเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ 70% ให้ถือขวดน้ำยาสูงกว่าภาชนะปลอดเชื้อประมาณ 6 นิ้ว ปากขวดต้องไม่สัมผัสกับของใช้หรือภาชนะรองรับ ระวังน้ำยากระเด็นทำให้เกิดการปนเปื้อน และน้ำยาต้องไหลจากปากขวดลงภาชนะโดยไม่ไหลเปื้อนข้างขวดก่อนลงภาชนะ
1.3 หลีกเลี่ยงการทำน้ำยาหกเปื้อนผ้า ห่อของปลอดเชื้อ จะทำให้อุปกรณ์ที่อยู่ในผ้าห่อเกิดการปนเปื้อน
1.4 หลีกเลี่ยงการพูดคุย ไอ จาม หรือข้ามกรายของปลอดเชื้อ เพราะเชื้อโรคมีโอกาสแพร่กระจายไปตามละอองอากาศ
1.5 อุปกรณ์ทางการแพทย์ทุกชนิดที่จะสอด/ ใส่ผ่านผิวหนังเข้าไปในร่างกายผู้ป่วยจะต้องปลอดเชื้อ เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ในการฉีดยา ผ้าปิดแผล สายสวนปัสสาวะ
1.6 การเทน้ำยาหรือวางของปลอดเชื้อไม่ควรชิดขอบด้านนอกของภาชนะหรือผ้าห่อของปลอดเชื้อ ให้วางห่างจากขอบนอกของภาชนะหรือผ้าห่อของปลอดเชื้อถัดเข้ามาประมาณ 1 นิ้ว
1.7 การเปิดห่อผ้าของปลอดเชื้อให้จับมุมบนสุดของผ้าเปิดไปทางด้านตรงกันข้ามกับผู้ทำ ต่อมาเปิด 2 มุมผ้าด้านข้าง ซ้าย-ขวาก่อน สุดท้ายจึงจับมุมผ้าด้านในสุดของห่อผ้าเปิดออกโดยไม่ข้ามกรายของปลอดเชื้อ หากเป็นห่อสำเร็จรูป ใช้มือทั้งสองข้างฉีกห่อสำเร็จรูปแยกออกจากกันโดยไม่สัมผัสด้านในของห่อปลอดเชื้อ
การควบคุมการเเพร่กระจายเชื้อตามมาตรฐาน
(Standard Precaution)
การมีสุขาภิบาลและสุขอนามัยที่ดี (Sanitation and Hygiene)
เครื่องป้องกัน (Protection Barriers)
หลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ (Avoid Accidents)
เชื้อก่อโรคมีการแพร่กระจายเชื้อ ได้หลายทางคือ
การสัมผัส (Contact Transmission)
1.1 Direct Contact - การสัมผัสโดยตรง ระหว่างคนกับคน
1.2 Indirect Contact - การสัมผัสทางอ้อมโดยผ่านสิ่งแวดล้อมหรือเครื่องมือที่ไม่ปราศจากเชื้อ
1.3 Droplet Contact- การสัมผัสผ่านละอองเสมหะ ในระยะไม่เกิน 3 ฟุต เช่นคางทูม ไข้หวัดใหญ่
Contact Precautions
(การติดเชื้อที่แพร่กระจายได้จากการสัมผัส)
แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกและปิดประตูทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วย
สวมถุงมือทุกครั้งเมื่อสัมผัสผู้ป่วยทั้งบุคลากรและญาติ
ล้างมือแบบ hygienic handwashing หลังถอดถุงมือและก่อนออกจากห้องแยก
Airborne Precautions
(การติดเชื้อที่แพร่กระจายทางอากาศ)
แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกพิเศษ และปิดประตูทุกคครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วย
ผู้ที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วยหรือดูแลผู้ป่วยต้องส่ผ้าปิดปาก-จมูก ชนิด N95
สวมถุงมือชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง ทุกครั้งที่สัมผัสผู้ป่วย
ล้างมือแบบ hygienic handwashing หลังถอดถุงมือและก่อนออกจากห้องแยก
ให้ผู้ป่วยใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปาก-จมูกเวลาไอ จาม และใส่ผ้าปิดปาก-จมูก ชนิดธรรมดาตลอดเวลา ยกเว้นเวลารับประทานอาหารและแปรงฟัน
ถ้าต้องมีความจำเป็นในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกนอก ห้องให้ผู้ป่วยใส่ผ้าปิดปาก-จมูกชนิดธรรมดา
Droplet Precautions
(การติดเชื้อที่แพร่กระจายได้ทางละอองในอากาศ )
แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกและปิดประตูทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วย
ผู้ที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วยหรือดูแลผู้ป่วยต้องใส่ ผ้าปิดปาก-จมูก ชนิด N95
สวมถุงมือชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง ทุกครั้งที่สัมผัสผู้ป่วย
ล้างมือแบบ hygienic handwashing หลังถอดถุงมือและก่อนออกจากห้องแยก
ให้ผู้ป่วยใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปาก-จมูกเวลาไอ จาม และใส่ผ้าปิดปาก-จมูก ชนิดธรรมดาตลอดเวลา ยกเว้นเวลารับประทานอาหารและแปรงฟัน
ถ้าต้องมีความจำเป็นในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกนอก ห้องให้ผู้ป่วยใส่ผ้าปิดปาก-จมูกชนิดธรรมดา
การระมัดระวังการแพร่กระจายเชื้อโรคที่ใช้กับผู้ป่วยทุกคนเป็นการป้องกันอันดับแรกเพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ โดยระมัดระวังเลือด สารคัดหลั่ง น้ำในร่างกาย
หลัก Standard precaution
สวมเครื่องป้องกัน ตามความเหมาะสม
-สวมถุงมือ
-ใช้ผ้าปิดปาก จมูก สวมแว่นตา หรือเครื่องกันหน้า
-สวมเสื้อคลุม
ระวังการบาดเจ็บจากเข็มและของมีคมต่าง ๆ
บุคลากรเมื่อมือมีบาดแผล หรือรอยถลอกควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรงก่อนที่จะใช้เครื่องป้องกันทางการแพทย์
ต้องล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังการใช้ทุกครั้งในการปฏิบัติงานทางการแพทย์หรือในห้องปฏิบัติการ
เทคนิคปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
(การล้างมือ การใช้ผ้าปิดปากและจมูก การสวมเสื้อกาวน์ การใส่ถุงมือปราศจากเชื้อ การหยิบจับของปราศจากเชื้อและการเปิดห่อของปราศจากเชื้อ)
การหยิบจับของปราศจากเชื้อ : ของที่ปราศจากเชื้อจะอยู่ในภาชนะที่มีฝาปิดหรือห่อ เช่น หม้อนึ่งสำลี ก๊อส หรือถาดแช่เครื่องมือที่มีฝาปิด เมื่อจะหยิบจับของเหล่านี้ไปใช้ จะต้องรักษาของที่หยิบและของที่เหลือให้ปราศจากเชื้อโดยใช้ปากคีบที่มีลักษณะยาวและแช่อยู่ในกระปุกที่แช่น้ำยา(Transfer forceps)หยิบ ปากคีบสำหรับหยิบสิ่งของควรเป็นชนิทปลายเป็นร่อง และไม่มีเขี้ยวจึงจะหยิบของได้แน่น ชนิดปลายเป็นเขี้ยวคีบสำลี ก๊อสจะติดปลาย เพื่อให้ปราศจากเชื้อปากคีบควรแช่อยู่ในน้ำยาตลอดเวลา โดยประมาณ 2/3 ของกระปุก ปากคีบและกระปุกจะต้องทำความสะอาดด้วยการต้ม นึ่งและเปลี่ยนน้ำยาตามกำหนด
วิธีการใช้ปากคีบหยิบของที่ปราศจากเชื้อ
2.ขณะที่ถือให้ปลายปากคีบอยู่ต่ำ เพื่อไม่ให้น้ำไหลไปยังบริเวณที่ไม่ปราศจากเชื้อ ทำให้ปลายคีบสกปรก
3.ระวังไม่ให้ปากคีบถูกต้องกับภาชนะอื่นๆที่ไม่ปราศจากเชื้อ
1.เมื่อหยิบปากคีบออกจากภาชนะที่แช่ ต้องระวังไม่ให้ปากคีบแยกออกจากกัน และป้องกันไม่ให้ปลายปากคีบถูกกับปากภาชนะ และรอให้น้ำยาหยดหมดก่อนสักครู่
4.เมื่อใช้ปากคีบเสร็จแล้วให้จับตรงกลางด้ามให้ปลายชิดกันแล้วใส่ลงในกระปุกตรงๆ
วิธีหยิบของในหม้อนึ่ง ในอับหรือการแบ่งของที่สะอาดปราศจากเชื้อ
2.ห้ามเอื้อมข้ามของSterile ที่เปิดฝาไว้และห้ามจับด้านในของฝา
3.ของที่หยิบออกไปแล้วแม้ว่าจะยังไม่ได้ใช้ ก็ไม่ควรนำเข้าไปเก็บในหม้อนั้นอีก
1.เมื่อเปิดฝา ถ้าต้องการจะวางกับโต๊ะให้หงายฝาขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้ขอบฝาสัมผัสกับโต๊ะ ถ้าถือไว้ให้คว่ำฝาลงเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคจากอากาศตกลงไปที่ฝา
การเปิดห่อของที่ปราศจากเชื้อ : มีจุดประสงค์ในการคงความปลอดเชื้อของสิ่งของภายในห่อและผ้าห่อด้านใน เช่น ห่อของที่ปลอดเชื้อ
3.แกะเทปกาว ป้ายชื่อห่อของที่ระบุวันนึ่ง และAutoclave tape ออก
4.จับมุมผ้าด้านนอกห่างจากขอบประมาณ 1 นิ้ว เปิดมุมแรกออกไปทางด้านตรงข้ามกับผู้เปิด
2.วางห่อของบนโต๊ะที่สะอาดสูงระดับเอว โดยให้มุมนอกสุดของห่อของอยู่ไกลตัว
5.เปิดมุมผ้าด้านข้างออกทีละด้านแล้วเปิดมุมผ้าด้านในที่สุด
1.สำรวจป้ายชื่อห่อของให้ตรงกับวัตถุประสงค์การใช้และตรวจสอบความปราศจากเชื้อ จากAutoclave tape
การปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
การใส่ถุงมือ(Glove) : ถุงมือจะช่วยป้องกันการติดต่อของเชื้อโรคทัั้งทางตรงและทางอ้อม ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการใส่ถุงมือไว้3ประการคือ 1.ป้องกันและควบคุมเชื้อโรคจากตัวเราไปสู่ตัวผู้ป่วยจากผู้ป่วยไปสู่บุคคลอื่น 2.ป้องกันและควบคุมเชื้อโรคจากผู้อื่นไปสู่ผู้ป่วย 3.ป้องกันและควบคุมผู้สัมผัสเชื้อเป็นพาหะนำเชื้อไปสู้ผู้อื่น
ถุงมือปลอดเชื้อ(Sterile gloves) : 1.หยิบจับของปลอดเชื้อ 2.ทำหัตถการต่างๆ เช่น การผ่าตัด 3.ป้องกันการติดเชื้อไปยังผู้ที่เสี่ยงการติดเชื้อ
ถุงมือสะอาด(Clean, Disposable gloves) : 1.ป้องกันสิ่งสกปรกสัมผัสมือ เช่น เมื่อมีโอกาสสัมผัสเลือด สารน้ำ สารคัดหลั่ง อุจจาระและปัสสาวะของผู้ป่วยเป็นต้น 2.เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายเครื่องมือเครื่องใช้ของผู้ป่วยที่ผ่านการใช้งานแล้วหรือระหว่างให้การพยาบาลผู้ป่วย
การใช้ผ้าปิดปาก-จมูก(mask) : ช่วยป้องกันการรับเชื้อโรคจากผู้ป่วยเข้าสู่ทางเดินหายใจ และเป็นการป้องกันผู้ป่วยได้รับเชื้อจากผู้อื่นเข้าสู่ทางเดินหายใจ ตลอดจนสามารถป้องกันฝุ่นละอองที่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศได้ด้วย ในกรณีเชื้อโรคที่มีการแพร่กระจายทางอากาศ เช่น วัณโรค ไข้หวัดนก ควรใช้ผ้าปิดปาก-จมูกที่มีประสิทธิภาพในการกรองสูงเช่น N95 mask ซึ่งสามารถกรองเชื้อโรคขนาดเล็กถึง 1 ไมครอนได้ ส่วน N100 หรือ Hyper mask สามารถป้องกันเชื้อโรคได้100%
หลักสำคัญ : 1.ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังใช้ 2.หากเป็นชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้งให้หันขอบที่มีลวดไว้ด้านบน ควรสวมให้กระชับใบหน้า ไม่หลวมหรือคับจนเกินไปและกดขอบที่มีลวดแนบกับดั้งจมูกจะทำให้การใส่ผ้าปิดปากและจมูกกระชับมากขึ้น ไม่ระคายเคืองบริเวณนัยน์ตาขณะให้การพยาบาลผู้ป่วย 3.หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสผ้าปิดปากและจมูกขณะที่สวมใส่ 4.ระยะเวลาที่ใช้ผ้าปิดปากและจมูก จะต้องถอดทันทีภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมการพยาบาลและเมื้อเกิดความสกปรกหรือชื้น ระยะเวลาในการใช้ผ้าปิดปากและจมูกไม่ควรเกิน20-30นาที ไม่ควรแขวนผ้าปิดปากและจมูกไว้ที่คอเพื่อรอการนำกลับมาใช้ใหม่ เพราะผ้าปิดปากและจมูกที่ใช้แล้วเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
การล้างมือ(Hand washing) : การล้างมือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดการติดเชื้อที่เกิดจากการสัมผัสโดยตรง สามารถทำได้ง่ายและสิ้นเปลืองน้อยที่สุด การล้างมือควรกระทำก่อนที่จะปฏิบัติการพยาบาลและหลังการพยาบาลผู้ป่วย หลังสัมผัสอุปกรณืเครื่องใช้ที่สกปรก ก่อนจับต้องอาหารและทันทีที่เห็นว่ามือเปื้อน โดยทั่วไปแล้วจุดประสงค์ของการล้างมือเพื่อช่วยขจัดสิ่งสกปรกต่างๆ ขุย ผิวหนัง เหงื่อ ไขมันที่หลั่งออกมาตามธรรมชาติ และลดจำนวนเชื้อจุลชีพที่อาศัยอยู่บนผิวหนังอันเป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
การล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล(Alcohol hand rub) : ในกรณีรีบด่วน ไม่สะดวกในการล้างมือด้วยน้ำ และมือไม่ปนเปื้อนสิ่งสกปรกหรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยให้ทำความสะอาดมือด้วย แอลกอฮอล์เจล ซึ่งมีน้ำยาalcohol 70%หรือ alcohol70%ผสมchlorhexidine0.5% ซึ่งมีลักษณะเป็นเจล(gel)สามารถกำจัดเชื้อโรคออกจากมือทั้งแบคทีเรียแกรมบวกแกรมลบ เชื้อรา เชื้อที่ดื้อต่อยาหลายชนิดและไวรัส ด้วยการล้างมือด้วยน้ำยาโดยการบีบน้ำยาประมาณ10มิลลิลิตรถูให้ทั่วมือทุกซอกทุกมุมจนน้ำยาแห้ง ใช้เวลาประมาณ15-25วินาที แต่หากต้องการให้เกิดประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อไวรัสต้องใช้เวลาในการฟอกนาน30วินาที
การล้างมือก่อนการปฏิบัติการพยาบาลที่ใช้เทคนิคปราศจากเชื้อ และภายหลัง(Hygienic hand washing) : การล้างมือภายหลังจากการสัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อหรือเป็นสิ่งปนเปื้อนเชื้อ เช่นกระโถนถ่าย หรือสิ่งสกปรกเปรอะเปื้อน ก่อนและหลังการทำกิจกรรมที่ต้องใช้เทคนิคปราศจากเชื้อ เช่น การสวนปัสสาวะให้ล้างมือด้วยสบู่เหลวผสมยาทำลายเชื้อ เช่น คลอเฮ็กซิดีน กลูโครเนต4%(chlorhexidine gluconate4%) ไอโอโดฟอร์7.5%(iodophor7.5%) ฟอกอย่างทั่วถึงตามขั้นตอนเหมือนการล้างมือแบบธรรมดาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า30วินาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาดแล้วซับให้แห้งด้วยผ้าแห้งที่สะอาด
การล้างมือแบบธรรมดา(Normal หรือ Social hand washing) : เป็นการล้างมือเพื่อสุขภาพอนามัยทั่วไป เช่น เมื่อมือเปื้อนหรือก่อนสัมผัสผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันต่ำ ก่อนและหลังการแจกยา ก่อนและหลังการรับประทานอาหาร ภายหลังการทำเตียง ภายหลังการเข้าห้องน้ำ ให้ล้างมือตามขั้นตอนด้วยสบู่ก้อนหรือสบู่เหลว ใช้เวลาในการฟอกมือนานอย่างน้อย15วินาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ซับให้แห้งด้วยกระดาษเช็ดมือหรือผ้าเช็ดมือที่แห้งและสะอาด
การล้างมือก่อนทำหัตถการ(Surgical hand washing) : การล้างมือเพื่อหัตถการ การทำคลอดที่ต้องป้องกันการติดเชื้อ ให้ล้างมือด้วยสบู่เหลวทำลายเชื้อ เช่น chlorhexidine4% และใช้แปรงที่ปราศจากเชื้อแปรงมือและเล็บในครั้งแรกของวันนั้นๆ แล้วฟอกมือและแขนถึงข้อศอกให้ทั่วนานอย่างน้อย5นาทีในการล้างมือครั้งต่อไปฟอกมือนาน3-5นาที ล้างให้สะอาดและซับด้วยผ้าแห้งที่ปราศจากเชื้อ
การใส่เสื้อกาวน์(Gown) : การใส่เสื้อกาวน์จะช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคได้ เสื้อกาวน์โดยทั่วไปจะเปิดด้านหลังและมีเชือกสำหรับผูกที่คอและเอว เสื้อควรจะใหญ่และยาวเล็กน้อยเพียงพอที่จะคลุมชุดเครื่องแบบได้มิดชิด แขนยาว ควรเปลี่ยนเสื้อกาวน์ทุกเวร กรณีถ้าเปื้อนหรือเปียกให้เปลี่ยนทันที โดยระวังการปนเปื้อนด้านนอกของเสื้อคลุม โดยการกลับด้านในออกทิ้งในภาชนะที่เตรียมไว้ และล้างมือให้สะอาด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้ป่วยอื่นและสิ่งแวดล้อม
เทคนิคการเเยก
(Isolation Technique)
คือ วิธีในการแยกผู้ป่วยเพื่อจำกัดการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากผู้ป่วยไปสู่บุคคลอื่น หรือจากบุคคลอื่นไปสู่ผู้ป่วย
จุดประสงค์ในการแยกผู้ป่วย
ป้องกันการแพร่กระจายโรคติดต่อ
ป้องกันการติดโรคจากผู้ป่วย
ป้องกันการซ้ำเติมโรคในผู้ป่วยที่มีความต้านทานต่ำ
การแยกผู้ป่วยอาจจำแนกออกเป็น 7 แบบ คือ
การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ
การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินอาหาร
การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางบาดแผลและผิวหนัง
การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงและติดต่อง่าย
การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางเลือด และน้ำเหลือง
การแยกผู้ป่วยในรายที่สงสัยว่าจะเป็นโรคติดต่อ
การแยกผู้ป่วยในรายที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง
การติดเชื้อ(Infection)
การเจริญของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นบนร่างกายของโฮสต์ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดโรคได้
โรคติดเชื้อ (Infectious disease)
โรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อโรค การที่จะทำให้เกิดโรคมีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายประการ เช่นชนิดและปริมาณของเชื้อโรค ภูมิต้านทานของร่างกายผู้ป่วย ปัจจัยทางพันธุกรรม เป็นต้น บางครั้งเชื้อโรคก็ไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้ เช่น ภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ก็จะสามารถกำจัดเชื้อได้ แต่เมื่อร่างกายอ่อนแอลง เชื้อโรคก็จะก่อเหตุทันที
กลไกการป้องกันการติดเชื้อ
ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory tract)
เกิดจากการติดเชื้อโรคของระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่จมูก คอ หลอดลมไปจนถึงปอด เชื้อที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่จากเชื้อไวรัส ได้แก่ โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก และซาร์ส เป็นต้น การติดเชื้อจากแบคทีเรีย ได้แก่ ปอดบวม และวัณโรค เป็นต้น โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ที่เกิดขึ้นได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ บางคนอาจเป็นปีละหลายครั้ง เช่น โรคหวัด สามารถหายได้เองโดยการดูแลสุขภาพตนเองอย่างถูกต้อง
ระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract)
สาเหตุของโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สาคัญคือ แบคทีเรียโดยมีกลไกการติดเชื้อคือ แบคทีเรียดังกล่าวมีการเคลื่อนที่จากลำไส้มาปนเปื้อนบริเวณส่วนนอกน จากนั้นเข้าสู่บริเวณช่องเปิดของท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ
ปาก (Mouth)
การติดเชื้อในช่องปาก เช่น การติดเชื้อรา การติดเชื้อแบคทีเรีย รวมทั้งรอยโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันบางชนิด ทําให้มีความผิดปกติของเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากได้ เช่น ไลเคนแพลนัส เพมฟิกัส เพมฟิกอยด์ ฯลฯ อีกทั้งหลังการรักษามะเร็งด้วยเคมีบําบัด หรือรังสีรักษา สามารถทําให้เนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากเกิดความผิดปกติได้ เช่นกัน
ระบบทางเดินอาหาร (GI tract)
โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร (ท้องเสีย, อุจจาระร่วง,ลำไส้อักเสบ) เกิดขึ้นได้จากเชื้อหลายชนิด แต่การติดเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคติดเชื้อทางเดินอาหารในเด็ก ซึ่งเชื้อไวรัสที่พบบ่อยที่สุดคือเชื้อไวรัสโรต้า นอกจากนี้ยังพบเชื้อไวรัสตัวอื่นๆอีก ได้แก่ โนโรไวรัส (Norovirus) เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus)และอดีโนไวรัส (Adenovirus)
ผิวหนัง (skin)
แบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส มักเป็นสาเหตุของอาการติดเชื้อบริเวณผิวหนัง เช่นเดียวกับเชื้อโรคอันตรายทั้งหลาย พวกมันสามารถแพร่กระจายจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่งโดยการสัมผัสผิวกายของกันและกัน หรือโดยการสัมผัสกับบริเวณต่างๆ ของที่พักอาศัย มือ สัตว์เลี้ยง อาหาร และสิ่งของต่างๆ ในที่พักอาศัยที่มีเชื้อโรคแฝงอยู่
โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล (Nosocomial infection)
การติดเชื้อที่เกิดจากการได้รับเชื้อขณะที่ผู้ป่วยได้รับการตรวจ การได้รับการพยาบาลและการติดเชื้อของบุคคลากรจาการปฏิบัติงานมักเกิดขึ้นภายใน 48-72 ชั่วโมงเมื่อรับผู้ป่วยไว้การรักษาในโรงพยาบาล
วงจรของขบวนการติดเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ
แหล่งของเชื้อโรค
เป็นที่ให้เชื้อโรคเจริญเติบโตและมีการขยายตัว
ความไวของแต่ละบุคคลในการรับการติดเชื้อ
ความเครียด
ภาวะโภชนาการ
อ่อนเพลีย
ภูมิแพ้
ทางออกของเชื้อโรคในการแพร่กระจาย
สิ่งนำเชื้อ
เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายไปยังบุคคลอื่นได้ต้องออกจากแหล่งของมันก่อน
ทางเข้าของเชื้อที่ทำให้เกิดโรค
เมื่อเชื้อโรคออกจากแหล่ง
ของเชื้อโรคแล้วจะทำให้เกิดโรคได้ โดยการหาทางเข้าไปในร่างกายมนุษย์ใหม่