Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อที่มาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, download (4), big (1),…
การติดเชื้อที่มาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคที่ติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งผ่านการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรค หรือผู้ที่ติดเชื้อไม่ว่าจะเป็นทางปาก ทางช่องคลอด หรือทางทวารหนัก นอกจากนี้โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิดยังสามารถแพร่กระจายเชื้อจากสตรีตั้งครรภ์ไปสู่ทารก
การตกขาวผิดปกติ
เกิดจากเชื้อรากลุ่ม candida albicans ซึ่งมีระยะฟักตัว 1-4 วันหรือเป็นเชื้อโรคที่มีอยู่ในร่างกายตามปกติ (normal flora) ที่พบได้ในร่างกายมนุษย์ในช่องปาก ทางเดินอาหาร และอวัยวะสืบพันธุ์
ปัจจัยและปัจจัยเสี่ยง
การรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาบางชนิดอย่างต่อเนื่อง
การได้รับฮอร์โมนสเตียรอยด์ และได้รับยากดภูมิต้านทานทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง
การรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดที่มีปริมาณฮอร์โมนมาก (high dose) ยาเม็ดคุมกำเนิดทำให้มีการเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย และกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อราได้
ภูมิต้านทานของร่างกายถูกกดจากการเป็นโรคเอดส์ หรือการได้รับเคมีบำบัด
การตั้งครรภ์ พบว่าขณะตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น ทำให้ระดับ glycogen ในช่องคลอดสูงขึ้นตาม ซึ่งเป็นการเพิ่มสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของเชื้อรา และเพิ่มความสามารถของเชื้อราในการเกาะติดเยื่อบุช่องคลอด นอกจากนี้ขณะตั้งครรภ์ปฏิกิริยาของ T-cell ซึ่งทำหน้าที่สร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายลดลง ส่งผลให้เชื้อราเจริญเติบโตขึ้น และทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุช่องคลอดชนิด squamous
ขบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตขณะตั้งครรภ์ ภาวะความเป็นกรด-ด่าง ในช่องคลอดที่เปลี่ยนไป ทาให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี
อาการและอาการแสดง
นมตกตะกอน (curd-liked discharge หรือ cottage-cheese vaginal discharge) ตกขาวนี้จะเกาะติดแน่นกับผนังช่องคลอด ไม่มีกลิ่น หรือมีกลิ่นอับ
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ความระคายเคือง คันช่องคลอดมากขึ้น การติดเชื้อราในช่องคลอดทั้งแบบไม่มีอาการและมีอาการ
ผลกระทบต่อทารก
ทารกที่คลอดทางช่องคลอดจากมารดาที่มีการติดเชื้อราในช่องคลอด จะเป็นเชื้อราในช่องปาก (oral thrush)
การประเมินและการวินิจฉัย
การPE : PV พบช่องคลอดบวมแดง ตกขาวขุ่นรวมตัวกันเป็นก้อนเหมือนนมตกตะกอน (curd likeddischarge หรือ cottage cheese vaginal discharge)
แนวทางการรักษา
ใช้ยารักษาภายนอกเฉพาะที่ ซึ่งไม่มีผลเสียทั้งต่อมารดาและทารกในครรภ์
2% Miconazole cream 5 กรัม ทาช่องคลอด 7 วัน
Miconazole 100 มิลลิกรัม 1 เม็ด เหน็บช่องคลอดก่อนนอนเป็นเวลา 7 วัน
Clotrimazole 100 มิลลิกรัม 1 เม็ด เหน็บช่องคลอดก่อนนอนเป็นเวลา 6 วัน หรือ1% Clotrimazole cream 5 กรัม ทางช่องคลอด 6 วัน
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์ เข้าใจสาเหตุของการติดเชื้อ
2.แนะนำการใช้ยาทา และยาเหน็บช่องคลอดตามแพทย์สั่ง โดยการเหน็บยาในช่องคลอดอย่างมีประสิทธิภาพ และรักษาติดต่อกันจนยาหมด หากอาการยังไม่ดีขึ้น หรือยังมีอาการหลงเหลืออยู่ ให้ไปพบแพทย์ เพื่อการรักษาอย่างต่อเนื่อง
ระยะคลอด
สามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ
ระยะหลังคลอด
เน้นการดูแลความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาดและแห้งเสมอ ชุดชั้นในต้องสะอาดและแห้ง ไม่อับชื้น
ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเทอโรนลดลง อาการของการติดเชื้อราในช่องคลอดจะดีขึ้น
การตกขาวจากการติดเชื้อพยาธิ (Vaginal trichomoniasis)
พยาธิที่ไม่ต้องการออกซิเจน มีรูปร่างค่อนข้างกลมป้อม มีหนวด 3-5 เส้น มีนิวเคลียสเป็นรูปวงรี เคลื่อนไหวในลักษณะคืบเป็นจังหวะตลอดเวลา เจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่เป็นด่าง pH ประมาณ 5.8-7 อุณหภูมิ
อาการและอาการแสดง
ลักษณะของตกขาวมีสีขาวปนเทา หรือสีเหลืองเขียว ตกขาวเป็นฟอง (foamy discharge) มีกลิ่นเหม็น
มีอาการระคายเคืองที่ปากช่องคลอด ในช่องคลอด ปากช่องคลอดบวมแดง และอาจทำให้ปากมดลูกอักเสบ มีจุดเลือดออกเป็นหย่อม ๆ (strawberry spot หรือ flea bitten cervix)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด มีความสัมพันธ์กับภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกคลอดก่อนกำหนด และทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อย
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติ ได้แก่ประวัติการมีตกขาวจำนวนมาก เป็นฟอง
การตรวจร่างกาย การตรวจภายในช่องคลอด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วย wet mount smear
แนวทางการรักษา
ยาที่ใช้ได้ผลดีที่สุดต่อการติดเชื้อพยาธิ คือ metronidazole แต่ห้ามใช้ในไตรมาสแรก เพราะอาจเป็น teratogen
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้คำแนะนำและการดูแลเหมือนสตรีตั้งครรภ์ทั่วไป
แนะนำการเหน็บยา หรือการรับประทานยาตามแผนการรักษาอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ
แนะนำให้สามีมารับการรักษาพร้อมกัน
แนะนำการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยโดยการสวมถุงยางอนามัย
แนะนำการรักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้แห้งสะอาดเสม
ระยะคลอด
ให้การพยาบาลผู้คลอดในระยะคลอด โดยให้คลอดทางช่อคลอดได้ตามปกติ
ระยะหลังคลอด
ให้การพยาบาลเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
แนะนำให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
หากอาการยังไม่ดีขึ้น ให้พบแพทย์และดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเสมอ
4.แนะนำการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยโดยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
การตกขาวจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial vaginosis)
ติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์เป็นส่วนใหญ่ สตรีที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ก็อาจพบการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้จากการใช้สบู่ หรือเจลอาบน้ำที่มีสารระคายเคือง การใช้ห่วงคุมกำเนิด การนั่งโถสุขภัณฑ์ การลงสระว่ายน้ำ การสวนล้างช่องคลอดบ่อยๆ
อาการและอาการแสดง
มีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อนปากช่องคลอด ในช่องคลอด ถ่ายปัสสาวะลำบาก แสบขัด เจ็บขณะร่วมเพศ ตกขาวสีขาว สีเทา หรือสีเหลือง ข้นเหนียว มีกลิ่นเหม็นเน่าเหมือนคาวปลา (fishy smell)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
(endometritis)(septic abortion)(chorioamnionitis)
ผลกระทบต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย และทารกคลอดก่อนกำหนด
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติ ได้แก่ ประวัติการมีตกขาวจำนวนมาก
การตรวจร่างกาย การตรวจทางช่องคลอดและการทำ pap smear
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 ตรวจ Wet smear โดยการหยด 10% Potassium Hydroxide (KOH)
3.2 การเพาะเชื้อ (culture) ตกขาวใน columbia agar
แนวทางการรักษา
ให้ยา metronidazole 250 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง หรืออาจให้ metronidazole 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 7-10 วัน
ให้ ampicillin 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้คำแนะนำและการดูแลเหมือนสตรีตั้งครรภ์ทั่วไป
และเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการมาตรวจตามนัด
แนะนำให้พาสามีไปตรวจและรักษาโรคพร้อมกัน
แนะนำการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
ระยะคลอด
ผู้คลอดสามารถคลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ โดยให้การพยาบาลเหมือนผู้คลอดทั่วไป
ระยะหลังคลอด
เน้นการทำความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ให้สะอาดและแห้งเสมอ
สามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยเน้นเรื่องการล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
ภาวะที่มีการตกขาวเพิ่มมากกว่าปกติ ร่วมกับมีอาการคัน หรือปวดแสบร้อน ตกขาวมีกลิ่นเหม็น และอาการจะไม่หายไปเอง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อและทำให้ช่องคลอดอักเสบ (vaginitis
การตกขาวจากการติดเชื้อรา (Vulvovaginal candidiasis)
2.ซิฟิลิส (Syphilis)
มีระยะฟักตัวประมาณ 10-90 วัน โดยเฉลี่ยประมาณ 3 สัปดาห์ เชื้อ T. Pallidum สามารถติดจากคนสู่คนโดยการสัมผัสโดยตรงกับแผลหรือเยื่อบุที่มีรอยถลอกเล็ก ๆ ที่ตาเปล่ามองไม่เห็
พยาธิสรีรภาพ
ภายหลังได้รับเชื้อสู่ร่างกายทางผิวหนังที่เป็นแผลถลอก หรือทางเยื่อบุต่าง ๆ ของร่างกาย ประมาณ 10-14 วัน ร่างกายจะสร้าง antibody ต่อเชื้อชนิด IgM และ IgG ขึ้นมา ขณะที่ร่างกายกำลังสร้าง antibody
ภายหลังจากรับเชื้อเข้าร่างกาย 6-8 สัปดาห์ จำนวนเชื้อที่แผลหรือที่เนื้อเยื่อจะค่อยๆ ลดลง ผื่นจะค่อยๆหายไป
อาการและอาการแสดง
ซิฟิลิสระยะแรก หรือระยะที่หนึ่ง (primary stage) หลังจากได้รับเชื้อ 10-90 วัน หรือประมาณ 3 สัปดาห์ จะเกิดแผล กลม นิ่ม ขอบนูนแข็ง ไม่เจ็บ เรียว่าแผล chancre บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ซิฟิลิสระยะที่สอง (secondary stage) ขณะที่แผลกำลังจะหาย หรือหลังจากแผลหายจะพบผื่นกระจายทั่วร่างกาย ฝ่ามือฝ่าเท้า เยื่อบุรวมทั้งอวัยวะสืบพันธุ์
ระยะแฝง (latent syphilis) ระยะนี้จะไม่มีอาการใด ๆ แต่กระบวนการติดเชื้อยังดำเนินอยู่และสามารถแพร่กระจายเชื้อได้
ซิฟิลิสระยะที่ 3 หรือระยะท้ายของโรคซิฟิลิส (tertiary syphilis) ระยะนี้เชื้อจะเข้าไปทำลายระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิด aortic aneurysm และ aortic insufficiency
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ทำให้ผิวหนังและเนื้อเยื่ออักเสบ คลอดก่อนกำหนด และแท้งบุตร
ผลต่อทารก
ทารกคลอดก่อนกำหนด ตายคลอด ทารกแรกเกิดติดเชื้อซิฟิลิส (neonatal syphilis) ทารกพิการแต่กำเนิดโดยอาจพบความพิการของตับม้ามโต ทารกตัวบวมน้ำ ตัวเหลือง เยื่อบุส่วนต่าง ๆ
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติ ประวัติเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อซิฟิลิส
การตรวจร่างกาย กรณีที่มีอาการและอาการแสดงอาจตรวจพบไข้ต่ำ ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 ระยะที่เป็นแผลสามารถวินิจฉัยโดยการตรวจหาเชื้อ T. Pallidum จากแผล chancre
3.2 หากไม่มีแผลหรือผื่น การวินิจฉัยทำโดยการตรวจเลือด
3.2.1 การตรวจหา antibody ที่ไม่จำเพาะต่อเชื้อ (nontreponemal test)
3.2.2 การตรวจหา antibody เพื่อยืนยันการติดเชื้อซิฟิลิส ที่จำเพาะต่อเชื้อ Treponema pallium โดยตรง (treponema test)
3.3 การคัดกรองส่วนใหญ่นิยมใช้การตรวจด้วยวิธี VDRL
แนวทางการรักษา
โดยยึดหลักการรักษาให้หาย ครบถ้วน และต้องให้สามีมารับการตรวจและรักษาพร้อมกัน
ให้ยา Penicillin G ซึ่งเป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาซิฟิลิสในสตรีตั้งครรภ์ และป้องกันการติดเชื้อของทารก
การรักษาในระยะ primary, secondary และ early latent syphilis รักษาด้วย Benzathine Penicillin G Sodium 2.4 ล้านยูนิต ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะโพกครั้งเดียว
หนองใน (Gonorrhea)
เกิดจากการติดเชื้อ Neiseria gonorrheae หรือ gonococcus (GC) ซึ่งเป็นแบคทีเรียทรงกลมอยู่เป็นคู่ (gram negative diplococci) ลักษณะคล้ายเม็ดถั่ว เชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือกต่างๆ ของอวัยวะสืบพันธุ์จากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อเชื้อ Neiseria gonorrheae เข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปเกาะติดกับเซลล์เยื่อบุและเซลล์ขับเมือก โดยจะพยายามผ่านเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเข้าไปเพิ่มจำนวนเซลล์ในชั้น subepithelial tissue จากนั้นเชื้อ Neiseria gonorrheae จะทำปฏิกิริยากับภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้เกิดสารเคมีที่เป็นพิษต่อเซลล์และเนื้อเยื่อ ส่งผลให้เนื้อเยื่ออักเสบเป็นหนอง
อาการและอาการแสดง
ตกขาวเป็นหนองข้นปริมาณมาก อาจพบอาการกดเจ็บบริเวณต่อมบาร์โธลิน (bartholin’s gland)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ทำให้ถุงน้ำคร่ำอักเสบและติดเชื้อ ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด แท้งบุตร และการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารก
เยื่อเมือกที่ตาของทารก ทำให้เกิดตาอักเสบ (ophalmia neonatorum) และอาจเป็นสาเหตุให้ตาบอดได้
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติ ประวัติเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อหนองใน
การตรวจร่างกาย ตรวจทางช่องคลอดจะพบหนองสีขาวขุ่น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจขั้นต้นโดยการเก็บน้ำเหลืองหรือหนองจากส่วนที่มีการอักเสบมาย้อมสีตรวจ gram stain smear
แนวทางการรักษา
ตรวจคัดกรองขณะตั้งครรภ์ตามปกติ (VDRL)
ทารกแรกเกิดทุกรายควรได้รับยาป้ายตาคือ 1% tetracycline ointment หรือ 0.5% erythromycin ointment หรือ 1% Silver nitrate (AgNO3) หยอดตาตาทารก หลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตา
หากพบว่ามีเชื้อให้ยา ceftriaxone, azithromycin, penicillin ได้ทั้งรับประทานและฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ทั้งนี้ควรระวังเรื่องของการเพิ่มของ blood level ระหว่างที่ได้รับยาเนื่องจากจะมีผลต่อการทำงานของหัวใจของสตรีขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อเริม (Herpes simplex)
เชื้อไวรัสคือ Herpes simplex virus (HSV) เข้าสู่ร่างกายโดยผ่านทางเยื่อบุ หรือแผลที่ผิวหนัง เชื้อแบ่งเป็น HSV–1และ HSV–2
พยาธิสรีรภาพ
ทำให้ผิวหนังเป็นตุ่มน้ำใส เล็ก ๆจำนวนมาก เมื่อตุ่มน้ำแตก หนังกำพร้าจะหลุดพร้อมกับทำให้เกิดแผลตื้น ทำให้รู้สึกปวดแสบปวดร้อนที่แผล
อาการและอาการแสดง
มักเกิด 3-7 วันหลังการสัมผัสเชื้อ โดยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน และคันบริเวณที่สัมผัสโรค จากนั้นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใสๆ แล้วแตกกลายเป็นแผลอยู่ 2 สัปดาห์ ก่อนจะตำสะเก็ด บางรายอาจมีอการคล้ายหวัด ได้แก่ ไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลัย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อครั้งแรกขณะตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้ง การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารก
ทารกมีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกคลอดก่อนกำหนด หากทารกมีการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ จะทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิดสูง
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ ประวัติเกี่ยวกับการเคยติดเชื้อเริมมาก่อนหรือไม่
การตรวจร่างกาย จะพบตุ่มน้ำใส หากตุ่มน้ำแตกจะพบแผลอักเสบ แดง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 การเพาะเชื้อใน Hank’s medium โดยนำของเหลวที่ได้จากตุ่มน้ำหรือจากก้นแผลมาทำการเพาะเชื้อ เป็นวิธีที่มีความแม่นยำสูงและมีความไวมาก
3.2 การขูดเนื้อเยื่อจากแผลมาทำการย้อมและดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ (exfoliative cytology
3.3 การทำให้ตุ่มน้ำแตกแล้วขูดบริเวณก้นแผลมาป้ายสไลด์แล้วย้อมสี (Tzanck’s test)
แนวทางการรักษา
ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษา herpes simplex ให้หายขาดได้
ให้ Acyclovir 200 mg รับประทานวันละ 5 ครั้ง นาน 5-7 วัน แต่หากมีอาการของระบบอื่นที่รุนแรงร่วมด้วยอาจให้ Acyclovir 5 mg/kg ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุก 8 ชั่วโมง นาน 5-7 วัน
3.เฝ้าระวังทารกเพื่อดูอาการของการติดเชื้อเริม แต่หากว่ารอยโรคอยู่ห่างจากอวัยวะสืบพันธุ์มากและรอยโรคไม่แตกอาจให้คลอดทางช่องคลอดได้
หูดหงอนไก่ (Condyloma acuminate)
การติดเชื้อ human papilloma virus (HPV) มีระยะฟักตัวนาน 2-3 เดือน ติดต่อจากการสัมผัสรอยโรคโดยเฉพาะทางเพศสัมพันธ์
อาการและอาการแสดง
มีรอยโรคเป็นติ่งเนื้อสีชมพูคล้ายหงอนไก่ ขนาดแตกต่างกัน มักเกิดบริเวณอับชื้นการติดเชื้อขณะตั้งครรภ์รอยโรคจะขยายใหญ่ มีผิวขรุยระคล้ายดอกกะหล่ำและยุ่ยมาก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ำให้เกิดการตกเลือดหลังคลอด และมารดาหลังคลอดมีโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกได้
ผลต่อทารก
ทำให้เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจส่วนบน เสียงเปลี่ยน (voice change) เสียงร้องไห้แหบผิดปกติ (abnormal cry)
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ ประวัติเคยติดเชื้อหูดหงอนไก่มาก่อน
การตรวจร่างกาย จะพบรอยโรคเป็นติ่งเนื้อสีชมพูคล้ายหงอนไก่ ผิวขรุขระคล้ายดอกกะหล่ำ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ควรวินิจฉัยแยกโรคออกจากซิฟิลิสและ genital cancer (CA vulva)
แนวทางการรักษา
แนะนำการรักษาความสะอาด หลีกเลี่ยงการอับชื้นบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ทาบริเวณรอยโรคด้วย 85% trichlorracetic acid หรือ bichloroacetic acid ทุก 7-10 วัน
ใช้ยาท่าร่วมกับการจี้ laser หรือ cryosurgery หรือ electrocoagulation with curettage
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส หนองใน เริม และหูดหงอนไก่
ระยะตั้งครรภ์
คัดกรองและประเมินภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ โดยการซักประวัติโดยละเอียด
แนะนำให้นำสามีมารับการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค และหากมีการติดเชื้อแนะนำให้รักษาพร้อมกัน และติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง
อธิบายให้เข้าใจถึงการดำเนินของโรค
แนะนำการปฏิบัติตัวของสตรีตั้งครรภ์และสามี
หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งจนกว่าจะรักษาจนหายขาด
หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลและหนอง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังการสัมผัสแผล หรือหนอง
กรณีมีแผลที่อวัยวะสืบพันธุ์แนะนำให้ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังการขับถ่ายและอาบน้ำ รวมทั้งดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
ระยะคลอด
ดูแลผู้คลอดโดยยึดหลัก universal precaution
หลีกเลี่ยงการทำหัตถการทางช่องคลอด
ดูแลให้ผู้คลอดและทารกได้รับยาตามแผนการรักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ผู้คลอดที่มีการ ติดเชื้อหนองใน
ทารกแรกเกิดต้องได้รับการป้ายตาด้วย 1% Tetracyclin ointment หรือ 0.5% Erythromycin ointment หรือ หยอดตาทารกแรกเกิดด้วย 1% Silver nitrate (1%AgNO3) เพื่อป้องกันภาวะ opthalmia neonatarum ซึ่งการให้ยาจะทำภายหลังจากศีรษะทารกคลอดแล้ว หรือเมื่อทารกคลอดครบแล้ว
ระยะหลังคลอด
ให้การพยาบาลมารดาหลังคลอดโดยยึดหลัก universal precaution
แนะนำมารดาหลังคลอดเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย
ประเมินอาการติดเชื้อของทารกแรกเกิด ได้แก่ มีไข้ อ่อนเพลีย ดูดนมไม่ดี ตัวเหลือง
แนะนำการเลี้ยงบุตร โดยล้างมือให้สะอาดก่อนจับทารกทุกครั้ง และหากไม่มีแผลบริเวณหัวนมหรือเต้านมสามารถให้นมมารดาได้ และหากสงสัยว่าทารกอาจมีตาอักเสบ ควรรีบมาพบแพทย์
การติดเชื้อเอชไอวีในสตรีตั้งครรภ์(Human Immunodeficiency Virus [HIV] during pregnancy)
การแพร่เชื้อจากมารดาสู่ทารก
การติดเชื้อ HIV ระหว่างตั้งครรภ์ เชื้อไวรัสสามารถผ่านทางรก
การติดเชื้อ HIV ระหว่างคลอด การติดเชื้อในทารกเกิดขึ้นขณะคลอด
การติดเชื้อ HIV ระยะหลังคลอด ภายหลังคลอดทารกจะติดเชื้อได้จากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของมารดา
พยาธิสรีรภาพ
เม็ดเลือดขาวในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง เกิดภาวะ seroconversion คือ มีไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยร่างกาย ต่อมน้ำเหลืองอาจโต เมื่อเม็ดเลือดขาวต่ำมากเท่าใดแสดงถึงภาวะที่ร่างกายมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ ฉวยโอกาสมากขึ้น โดยการติดเชื้อที่พบบ่อย ได้แก่ Pneumocystic Carinii Pneumonia (PCP)
อาการและอาการแสดง
ระยะเริ่มแรกของการติดเชื้อ HIV ระยะนี้เริ่มตั้งแต่ติดเชื้อ HIV จนกระทั่งร่างกายเริ่มสร้าง antibody กินเวลาประมาณ 1-6 สัปดาห์หลังติดเชื้อ
ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการจะนาน 5-10 ปี บางรายอาจนานมากกว่า 15 ปี
ระยะติดเชื้อที่มีอาการอาจพบอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่ มีอุณหภูมิร่างกายสูงมากกว่า 37.80C เป็นพักๆ หรือติดต่อกันทุกวัน ท้องเดินเรื้อรัง
ระยะป่วยเป็นเอดส์ จะมีอาการดังต่อไปนี้ คือ ไข้ ผอม ต่อมน้ำเหลืองโตหลายแห่ง ซีด อาจพบลิ้นหรือช่องปากเป็นฝ้าขาวจากเชื้อรา แผลเริมเรื้อรัง ผิวหนังเป็นแผลพุพอง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV และมีปริมาณ CD4 ต่ำ
ผลกระทบต่อทารก
มีโอกาสที่ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ทารกมีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์ และทารกตายคลอด
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ
การตรวจร่างกาย โดยการตรวจร่างกายทั่วไป
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 การตรวจเชื้อ HIV (HIV viral testing)
3.2 การตรวจหา antibody ต่อเชื้อ HIV
3.3 การตรวจนับเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 lymphocyte
การป้องกันและการรักษา
การให้ยาต้านไวรัสแก่สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV เพื่อลดปริมาณของเชื้อ HIV
กรณีที่สตรีตั้งครรภ์ไม่เคยได้รับยาต้านไวรัสมาก่อน ให้ยาต้านไวรัสทันทีเมื่อมาฝากครรภ์โดยไม่คำนึงถึงค่า CD4 ให้ยาต้านไวรัส 3 ตัว (HAART regimen)
การหยุดยาหลังคลอด กรณีที่จำเป็นต้องหยุดยาหลังคลอดให้ปฏิบัติดังนี้ หากได้ยา LVP/r-based HAART ก่อนคลอดสามารถหยุดยาทุกชนิดพร้อมกันได้เลย แต่หากได้รับยา TDF/FTC + EFV หรือ TDF + 3TC + EFV ก่อนคลอด ให้หยุด EFV ก่อน โดยให้ TDF/FTC หรือ 3TC ต่ออีก 14 วัน
พิจารณาระยะเวลาที่จะให้คลอด และวิธีการคลอด
การคลอดทางช่องคลอดจะพิจารณาสำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่มีปริมาณ viral load อยู่ในระดับต่ำ (50-999 copies/ml) สามารถรอให้เจ็บครรภ์คลอดเองได้จนถึงอายุครรภ์ 40-42 สัปดาห์
หลีกเลี่ยงการโกนขนบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และหลีกเลี่ยงการทำหัตถการที่จะทำให้ได้รับบาดเจ็บ หรือทารกมีโอกาสสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งจากมารดา
ทำให้รายที่มีข้อบ่งชี้ คือ GA ครบ 38 สัปดาห์ มีปริมาณ viral load ≥ 1,000 copi es/mLรับประทานยาไม่สม่าเสมอ หรือLate ANC ทาให้ได้รับยาต้านไวรัส< 4 wk. หรือไม่รู้ระดับ viral load หรือไม่เคยฝากครรภ์มาก่อน
ทำในราย previous C/S Sและปริมาณ viral load ≤ 1,000 copies /mL
หลีกเลี่ยงmethergineเนื่องจากจะทาให้หลอดเลือดหดรัดตัวรุนแรง
หลีกเลี่ยงการใส่NG tube
หลีกเลี่ยงการBF
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์และสามีที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดาเนินของโรค
แนะนาให้มาฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้ง
ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักมาตรฐานในการควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ติดตามผลLAB
ประเมินภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาต้านไวรัส
แนะนาการปฏิบัติตัวของสตรีตั้งครรภ์
ประเมินระดับความวิตกกังวล ความกลัวของสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV
ให้การพยาบาลด้วยท่าทีที่ปราศจากความรังเกียจ ให้กาลังใจ
ระยะคลอด
ยึดหลัก universal precaution
ให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป : V/S, FHS อย่างใกล้ชิด ติ
ดูแลให้ผู้คลอดและทารกได้รับยาต้านไวรัสตามแผนการรักษา
เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการช่วยเหลือNB และรายงานกุมารแพทย์
เมื่อศีรษะทารกคลอดออกมาควรดูดสิ่งคัดหลั่ง
ทำความสะอาดร่างกาย
เก็บ cord blood
ระยะหลังคลอด
ดูแลมารดาหลังคลอดโดยยึดหลัก universal precaution
ให้คาแนะนาแก่มารดาหลังคลอด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
แนะนำการFP : สามารถใช้วิธีคุมกาเนิดได้ทุกวิธี
ใช้Condom ทุกครั้ง
ไม่แนะนาให้ใช้spermicidesแนะนาให้ทาหมันชายหรือหญิง
นาทารกมาตรวจเลือด เพื่อประเมินการติดเชื้อ HIV และมารับภูมิคุ้มกันโรคตามปกติ
ทารกทุกรายที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อ HIV จะต้องได้รับการตรวจ anti HIV อีกครั้งเมื่ออายุ 18 mo . เพื่อยืนยันประวัติการวินิจฉัย
จัดให้บริการปรึกษาแก่มารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อ HIV อย่างต่อเนื่อง