Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 กระบวนการเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ - Coggle Diagram
บทที่ 3 กระบวนการเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ
ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ
1.1 ปัจจัยภายใน : สุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ประสบการณ์ชีวิต ความเชื่อและวัฒนธรรม
1.2 ปัจจัยภายนอก : การศึกษา เศรษฐานะและการเกษียณการทำงาน ปัญหาที่พบในผู้สูงอาย
1.3 ปัญหาทางด้านความรู้ ผู้สูงอายุไม่มีโอกาสได้รับความรู้เพื่อการพัฒนาตนเองให้เหมาะสม กับวัยและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปและเพื่อให้เข้ากันได้กับเยาวชนรุ่นใหม่
1.4 ปัญหาทางด้านสังคม ผู้สูงอายุอาจจะไม่ได้รับการยกย่องจากสังคมเหมือนเดิม โดยเฉพาะผู้ที่เคย เป็นข้าราชการตำแหน่งสูงซึ่งเคยมีอำนาจและบริวารแวดล้อม เมื่อเกษียณอายุราชการอาจเสียดาย อำนาจ และตำแหน่งที่เสียไป
1.5 ปัญหาทางด้านจิตใจ ผู้สูงอายุจะไม่ได้รับความเอาใจใส่และความอบอุ่นจากลูกหลานอย่าง เพียงพอ ทำให้รู้สึกว้าเหว่ อ้างว้างและอาจจะมีความวิตกกังวลต่าง ๆ
1.6 ปัญหาเกี่ยวกับครอบครัว ปัญหาผู้สูงอายุที่น่าเป็นห่วง คือ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ วัฒนธรรม ในอดีตจะเป็นครอบครัวใหญ่ที่เรียกว่า ครอบครัวขยายป๎จจุบันครอบครัวคนไทย โดยเฉพาะในเขตเมืองจะเป็น ครอบครัวเดี่ยวเป็นส่วนใหญ่ ลูกหลานจะมาท างานในเขตเมืองทิ้งพ่อแม่ให้เฝ้าบ้าน ทำให้ผู้สูงอายุอยู่อย่างโดด เดี่ยว
1.7 ปัญหาค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันความเปลี่ยนแปลงจากภาวะทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้เยาวชนมีความกตัญกตเวทีต่อพ่อแม่ ครูอาจารย์น้อยลง ผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแลต้องอาศัยสถานสงเคราะห์ คนชรา
การเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ
2.1 การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย (Physiological change) กระบวนการภาวะสูงอายุทางสรีระวิทยาและป๎จจัยที่เกี่ยวข้องที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามระบบต่างๆ
2.1.1 ระบบผิวหนัง ผิวหนังบางลงทั้งชั้น dermis , epidermis และ hypodermis เซลล์ผิวหนังลดลงความยืดหยุ่นของผิวหนังไม่ดี ผิวหนังเหี่ยวและมีรอยย่น กระบวนการผลัดเซลล์ผิวหนังมีระยะเวลายาวนานขึ้น
2.1.2 ระบบประสาทและประสาทสัมผัส ระบบประสาทในผู้สูงอายุ ทั้ง 3 ระบบคือ ระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทส่วนปลาย และระบบประสาทอัตโนมัติ ในวัยผู้สูงอายุจะเกิดการเปลี่ยนแปลง
2.1.2.1) โดยระบบประสาทส่วนกลางนั้น มี ขนาดและจำนวน
นิวรอน(Neurons)ลดลงมีการเปลี่ยนแปลงในเอนไซด์ที่ใช้ในการสังเคราะห์ของเซลประสาท การสูญเสียหน้าที่ในการเชื่อมต่อของประสาท ขนาดของสมองลดลง น้ าหนักสมองลดลง ประมาณร้อยละ 20 เมื่ออายุ 90 ปี
2.1.2.2) ด้านระบบประสาทส่วนปลาย ทั้งการสั่งการ (Motor) รับความรู้สึก (Sensory) และตอบสนอง (Reflexes) ลดจำนวนลง ประสาทรับความรู้สึก (Sensory receptors) เกิดการเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพการทำงานของสมองน้อยลง ปฏิกิริยาการตอบสนองต้องสิ่งต่างๆ
2.1.2.3) ระบบประสาทอัตโนมัติ มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใน Basal ganglia ทำให้การตอบสนองของระบบประสาท อัตโนมัติช้าลง
2.1.3 ระบบกล้ามเนื้อและกระดูกจำนวนและขนาดเส้นใยของกล้ามเนื้อลดลงกำลังการหดตัวของกล้ามเน้อลดลง การเคลื่อนไหวในลักษณะต่างๆ ไม่คล่องตัว กระดูกมีน้ำหนักลดลง เพราะแคลเซียมสลายออกจากกระดูกมากขึ้น ทำให้กระดูกเปราะและหักง่าย
2.1.4 ระบบการไหลเวียนเลือดขนาดของหัวใจอาจโตขึ้น ผนังหัวใจห้องล่างซ้ายหนาขึ้น ลิ้นหัวใจแข็งและหนาขึ้น มีแคลเซียมมาเกาะมากขึ้น ทำให้เกิดภาวะลิ้นหัวใจรั่วและตีบได้ ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง
2.1.5 ระบบทางเดินหายใจวามยืดหยุ่นของเนื้อปอดลดลง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจลดลง ผนังทรวงอกแข็งขึ้น ขยายตัวได้น้อยลง เยื่อหุ้มปอดแห้งการขยายและการหดตัวของปอดลดลง ทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก
2.1.6 ระบบทางเดินอาหารฟ๎นของผู้สูงอายุเคลือบฟ๎นจะมีสีคล้ าขึ้นและบางลงแตกงาย เหงือกหุ้มคอฟนรนลงไป เซลล์สร้างฟันลดลง ฟันผุง่ายขึ้น ส่วนใหญ่ของผู้สูงอายุจึงไม่ค่อยมีฟัน ต้องใส่ฟ๎นปลอม ทำให้การเคี้ยวอาหารไม่สะดวกต้องรับประทานอาหารอ่อนและย่อยง่าย ทำให้เกิดภาวะขาดอาหาร
2.1.7 ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์น้ำหนักและขนาดของไตลดลง การไหลเวียนเลือดในไตลดลงอัตราการกรองของไตลดลง ขนาดของกระเพาะปัสสาวะลดลงกล้ามเนื้อของกระเพาะป๎สสาวะอ่อนกำลังลง ดังนั้นหลังถ่ายปัสสาวะจึงมีปริมาณปัสสาวะค้างในกระเพาะป๎สสาวะเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องถ่ายป๎สสาวะบ่อยขึ้น
2.1.8 ระบบต่อมไร้ท่อต่อมธัยรอยด์มีพังผืดมาจับสะสมอยู่มากทำให้การทำงานของต่อมลดลง เนื่องจากกลไกการกระตุ้นของฮอร์โมนต่อมธัยรอยด์ (Thyroid stimulating hormone: TSH) ลดลง ทำให้ ฮอร์โมนไตรไอโอโดธัยโรนิน(Triiodothyronine: T3) น้อยลงเป็นผลทำให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะพร่องธัยรอยด์
2.2 การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ (Psychological change) ในวัยสูงอายุการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจในผู้สูงอายุ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านการรับรู้ ซึ่ง สันนิฐานว่ากลไกการเกิดประกอบด้วย 4 อย่างคือ ข้อมูลที่อยู่ในกระบวนการ การทำหน้าที่เกี่ยวกับการจดจำของสมอง ข้อจำกัดในการทำหน้าที่ของสมอง และการทำหน้าที่ของประสาทรับความรู้สึก
2.3 การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม (Sociology change) ในวัยสูงอายุการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในชีวิต ที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไปตามช่วงเวลาวงจรของชีวิตและมีผลต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ