Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ, นางสาวเมธาวดี ลาสอน 621201147 - Coggle…
กระบวนการเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ
การเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
ระบบผิวหนัง
เช่น ผิวหนังเหี่ยวและมีรอยย่น มีรงควัตถุเป็นแห่งๆ เล็บแข็งและหนาขึ้น
ระบบประสาทและประสาทสัมผัส
ระบบประสาทส่วนกลาง
จำนวนเซลล์สมองและเซลล์ประสาทลดลง
ระบบประสาทส่วนปลาย
ปฏิกิริยาการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆลดลง การเคลื่อนไหวและความคิดเชื่องช้า
ระบบประสาทอัตโนมัติ
การมองเห็นไม่ดี การได้ยินลดลง หูตึงมาก การดมกลิ่นไม่ดี การรับรสของลิ้นเสียไป
ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
แคลเซียมสลายออกจากกระดูกมากขึ้น ทำให้กระดูกเปราะและหักง่าย หลังค่อมมากขึ้น
ระบบการไหลเวียนเลือด
ขนาดของหัวใจโตขึ้น
กำลังการหดตัวและอัตราการเต้นของหัวใจลดลง
หัวใจเต้นผิดจังหวะหลอดเลือดเกิดภาวะเสื่อม
ผนังหลอดเลือดสูยเสียความยืดหยุ่น
ปริมาณเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆลดลง
ระบบทางเดินหายใจ
ความยืดหยุ่นของปอดลดลง
การไหลเวียนเลือดในหลอดเลือดฝอยที่ถุงลมไม่ดีทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซภายในปอดลดลง
รีเฟล็กซ์การขย้อนและรีเฟล็กซ์การไอลดลง ทำให้การกำจัดสิ่งแปลกปลอมไม่ดี
ระบบทางเดินอาหาร
เซลล์สร้างฟันลดลง
ฟันผุง่ายขึ้น
ต่อมน้ำลายทำงานน้อยลง ทำให้ปากลิ้นแห้ง เกิดการติดเชื้อในช่องปากได้
กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณปลายหลอดอาหารหย่อนตัว อาหารไหลย้อนกลับ เกิดการแสบร้อนบริเวณหน้าอกและเกิดการสำลักได้
เยื่อบุทางเดินอาหารเสื่อม ทำให้ดูดซึมอาหารลดลง
ปริมาณน้ำดีลดลงแต่ระดับคลอเลสเตอรอลและความหนืดของน้ำดีมากขึ้น จึงเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้
ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพัธ์
การไหลเวียนเลือดในไตลดลง อัตราการกรองของไตลดลง
ขนาดของกระเพราะปัสสาวะลดลง ทำให้ต้องถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
ในผู้ชายต่อมลูกหมากโตทำให้ปัสสาวะลำบากได้
ลูกอัณฑะเหี่ยวมีขนาดเล็กลงผลิตอสุจิได้น้อยลง
ในผู้หญิงรังไข่ฝอเล็กลง สารหล่อลื่นภายในช่องคลอดลดลง
ระบบต่อมไร้ท่อผลิตฮอร์โมนต่างๆ ลดลง ทำให้เกิดโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น เบาหวาน
ระบบต่อมไร้ท่อ
TSH และ T3 ลดลง ทำให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะพร่องธัยรอยด์
ตับอ่อนมีการหลั่งอินซูลินลดลง เนื้อเยื่อต่างๆของร่างกายมีการตอบสนองต่ออินซูลิน ลดน้อยลง เป็นผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ
มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
ปัจจัยภายนอก: การสูญเสียคนรัก การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ปัจจัยภายใน: บุคลิกภาพส่วนตัว โรคประจำตัวหรือการเจ็บป่วย
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุเกิดผลกระทบต่ออารมณ์ ได้แก่ เกิดความโศกเศร้า รู้สึกผิด รู้สึกโดดเดี่ยว ซึมเศร้า วิตกกังวล รู้สึกอ่อนแอและขาดความช่วยเหลือและเกิดความรุนแรงทางอารมณ์ นำไปสู่ภาวะซึมเศร้า
การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
1.การเกษียณอายุ ทำให้ผู้สูงอายุสูญเสียรายได้สูญเสียบทบาท
2.การเสียชีวิตของเพื่อนสนิท ทำให้เกิดการสูญเสียหุ้นส่วนของชีวิต
3.การเป็นหม้าย ทำให้สูญเสียผู้ให้ความช่วยเหลือ
4.การย้ายกลับภูมิลำเนาเดิม ทำให้สูญเสียพื้นที่ส่วนตัว
5.การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ทำให้สูญเสียความสามารถในการทำหน้าที่ของตน
6.การถูกจัดประเภทผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุลดคุณค่าของตนเองทัศนคติในแง่ลบกับการสูงอายุ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ เนื่องจากการทำงานของระบบทางเดินอาหารลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
O: ตรวจพบฟัน 5 ซี่ - O:ขย้อนอาหาร หรือ สำลักอาหารบ่อยๆ
O: ใช้แบบประเมิน MNA พบคะแนนมีความเสี่ยงต่อการเกิดทุพโภชนาการ
S: ผู้สูงอายุบ่นว่า "รู้สึกอยากอาหารลดลง" "ฟันไม่มี เคี้ยวอาหารลำบาก" "รับประทานอาหารได้น้อย"
เป้าหมายการพยาบาล
ไม่เกิดภาวะทุพโภชนาการ
เกณฑ์การประเมินผล
มีฟันเคี้ยวอาหารได้ ไม่มีอาการขย้อนอาหาร สำลักอาหาร
BMI อยู่ในเกณฑ์ปกติ 18.5-24.9
Albumin ในร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ 3.5-5 g/dl
กิจกรรมการพยาบาล
เลือกอาหารที่ผู้สูงอายุพอรับประทานได้ กลิ่น รส ไม่จัด เช่น ขนมปังกรอบ ให้เป็นอาหารว่าง
เครื่องดื่มควรเป็นชนิดให้พลังงาน เช่น นม น้ำเต้าหู้ น้ำผลไม้ น้ำหวาน หลีกเลี่ยงอาหารมันและทอด แบ่งมื้ออาหารเป็น 5-6 มื้อ โดยเพิ่มมื้อสายและเย็น
เตรียมอาหารให้สุก อ่อนนุ่ม เช่น หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นึ่งหรือตุ๋น ผักหรือผลไม้อาจปั่น บดให้ละเอียด หลีกเลี่ยงอาหารแห้ง เช่น ข้าวเหนี่ยว ขนมปังกรอบ ให้อาหารเสริมทางการแพทย์ หรือ ไอศครีม
กรณีมีภาวะปากแห้ง ลิ้นแห้ง เลือกอาหารอ่อน เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม หลีกเลี่ยงอาหารแห้ง ใช้น้ำเกลือกลั้วปากและคอ
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะพลัดตกหกล้ม หรืออุบัติเหตุเนื่องจากการมองเห็นลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
O: ตรวจร่างกายพบลานสายตาแคบ กล้ามเนื้อลูกตาเสื่อม ความไวในการมองภาพลดลง
S:มองเห็นภาพไม่ชัดเวลาขับรถ หรือช่วงกลางคืน
เป้าหมายการพยาบาล
ปลอดภัยจากอุบัติเหตุภายในบ้าน การพลัดตกหกล้ม หรือรถยนต์
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่มีอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม หรือรถยนต์ สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินการมองเห็นโดยใช้เครื่องมือในการประเมินทั่วไปคือ Snellen chart/E-chart
ประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้ม โดยใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้ม ประกอบด้วย 6 ปัจจัยได้แก่ ประวัติการหกล้ม การทรงตัวบกพร่อง เพศหญิง การใช้ยาบางประเภท การมองเห็นบกพร่อง การอาศัยอยู่ในบ้านทรงไทย
ปรับ ปรับพื้นลื่นให้มีความหยาบป้องกันการลื่นล้ม จัดบ้านและอุปกรณ์ต่างๆภายในบ้านให้เป็นระเบียบไม่กีดขวางทางเดิน มีแสงสว่างเพียงพอ
อาจเกิดภาวะร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจและปอดลดลงจากร่างกายเสื่อมสภาพ
เป้าหมายการพยาบาล
ร่างกายได้รับออกซิเจนเพียงพอ
เกณฑ์การประเมินผล
V/S ปกติ โดยเฉพาะชีพจรอยู่ในช่วง 60-80 ครั้ง/นาที ฟังเสียงหัวใจไม่มี murmur
ระดับออกซิเจนในเลือดเท่ากับ 95 โดยไม่ได้ให้ออกซิเจน
อัตราการหายใจ 16-20 ครั้ง/นาที
เลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายได้ดี capillary refill time ไม่เกิน 2 วินาที
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินการทำงานของหัวใจ โดยการตรวจหาเสียงการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ เช่น murmur ติดตามการทำงานของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG
สังเกตอาการที่แสดงว่าเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ ได้แก่ หน้ามืด เป็นลม ใจสั่น เหนื่อยง่าย
ดูแลการพักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม จัดท่านอนศีรษะสูง เพื่อให้กระบังลมหย่อนตัวและปอดสามารถขยายตัวได้ดี
ฝึกหายใจแบบ deep breathing excercise โดยการกระตุ้นให้หายใจลึกๆ ยาวๆ เพื่อส่งเสริมให้ปอดขยายตัวได้ดี
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษา หากออกซิเจนน้อยกว่า 95 เปอร์เซ็น
BP ในท่านั่งและท่านอนไม่ควร แตกต่างกันเกิน 10 มม.ปรอท
บันทึก I/O เพื่อดูสมดุลน้ำและอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย
ชั่งน้ำหนักตัวเพื่อประเมินภาวะบวม
ประเมินลักษณะผิวหนังบริเวณส่วนปลาย เช่น เขียวคล้ำ อุณภูมิร่างกายมีลักษณะเย็น
การรับประทานอาหารสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือด ได้แก่ อาหารอ่อน รสจืด ไขมันน้อย มีเส้นใยอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีก๊าซ เช่น ถั่ว กระล่ำปลี น้ำอัดลม เพราะจะทำให้หายใจไม่สะดวก หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมมาก เช่น แฮม เบคอน อาหารตากแห้ง เป็นต้น
อาจเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากการตอบสนองระหว่าง จากประสิทธิภาพการทำงานของตับอ่อนและตัวรับอินซูลินมีประสิทธิภาพลดลง
เป้าหมายการพยาบาล
ไม่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและภาวะแทรกซ้อน เช่น ช็อค แผลหายช้า
เกณฑ์การประเมินผล
ระดับน้ำตาลอยู่ในระหว่าง 90-110 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น
ประเมินพฤติกรรมในการจัดการตนเองเกี่ยวกับโรคเบหวาน
ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตอาการระดับน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ เหงื่อออก ตัวเย็น ควรรับประทานอาหาร ข้าวกล้อง ขนมปังที่มีธัญพืช จำกัดผลไม้หวาน รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
แนะนำผู้สูงอายุเกี่ยวกับการบริหารยาลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
แนะนำเกี่ยวกับการดูแลเท้า และป้องกันอุบัติเหตุที่อาจทำให้เกิดบาดแผล
แนะนำให้ผู้สูงอายุมาตรวจร่างกายและระดับน้ำตาลในเลือดตามนัด
ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ
ปัจจัยภายใน
: สุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ประสบการณ์ชีวิต ความเชื้อและวัฒนธรรม
ปัจจัยภายนอก
: การศึกษา เศรษฐานะและการเกษียณการทำงาน
ปัญหาทางด้านความรู้
: ผู้สูงอายุไม่มีโอกาสได้รับความรู้เพื่อพัฒนาตนให้เหมาะสมกับวัยและสังคมที่เปลี่ยนแปลง
ปัญหาทางด้านสังคม
: ผู้สูงอายุอาจไม่ได้รับการยกย่องทางสังคมเหมือนเดิม โดยเฉพาะผู้ที่เคยเป็นข้าราชการตำแหน่งสูง
ปัญหาทางด้านจิตใจ
: ผู้สูงอายุไม่ได้รับความเอาใจใส่และความอบอุ่นจากลูกหลานอย่างเพียงพอ ทำให้รู้สึกหว้าเหว่
ปัญหาเกี่ยวกับครอบครัว
: ปัจจุบัน โดยเฉพาะเขตเมืองจะเป็นครอบครัวเดี่ยวเป็นส่วนใหญ่ ลูกหลานจะทำงานในเขตเมืองทิ้งพ่อแม่ให้เฝ้าบ้าน ทำให้ผู้สูงอายุโดดเดี่ยว
ปัญหาค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง
: ปัจจุบันความเปลี่ยนแปลงจากภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแลต้องอาศัยสถานสงเคราะห์ครชรา
นางสาวเมธาวดี ลาสอน
621201147