Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นิทานชีวิต - Coggle Diagram
นิทานชีวิต
-
สมอง (Brain)
สมอง (Brain) คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และรักษาสมดุลภายในร่างกาย เช่น การเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต สมดุลของเหลงในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังเกี่ยวข้องกับการรู้ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว และความสามารถอื่นๆที่เกี่ยวกับการเรียนรู้
- สมองส่วนท้าย ( Hindbrain )
-
-
-
ซีรีเบลลัม ( Cerebellum ) ตรงนี้คือส่วนที่เราเรียกกันว่า “ สมองน้อย ” เป็นส่วนหลักในการประมวลการรับรู้และควบคุมการสั่งงานของสมอง
นอกจากนี้ก็ยังมีองค์ประกอบที่เราต้องรู้จักเพิ่มเติมอีก 2 อย่าง คือ ปมประสาทเบซัล และ สมองส่วนอมิกดาลา
3.1 ปมประสาทเบซัล ( Basal Ganglia ) : เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทสั่งการ ทำหน้าที่ประสานงานเกี่ยวกับคำสั่งจากสมองเนื้อเทา ซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทั้งการวิ่ง เดินและการขยับแขนขา นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยควบคุมพฤติกรรมที่สืบเนื่องมาจากแรงกระตุ้นความต้องการของมนุษย์ที่เรียกว่า impulse control อีกด้วย
3.2 สมองส่วนอมิกดาลา ( Amygdala ) : อมิกดาลาเป็นส่วนของสมองที่ถูกค้นพบจากการวิจัยเกี่ยวกับความกลัวของมนุษย์ เป็นสมองส่วนเล็กๆ ที่มีขนาดเท่ากับเมล็ดอัลมอนด์เท่านั้น ฝังอยู่ที่ซีรีเบลลัมและเชื่อมต่อกับไฮโปทาลามัส อมิกดาลาจะไวต่อความหวาดกลัวค่อนข้างมาก รวมไปถึงความปวดร้าว และความเจ็บช้ำใจด้วย เมื่ออมิกดาลาถูกกระตุ้นก็จะเกิดกระบวนการเชื่อมโยงกับสมองส่วนอื่นๆ เพื่อบันทึกเป็นความทรงจำด้วย
- สมองส่วนหน้า ( Forebrain )
สมองส่วนหน้าเป็นส่วนของก้อนสมองที่ใหญ่ที่สุด และมีรอยหยักมากที่สุดด้วย มีหน่วยย่อยที่ทำหน้าที่หลายอย่างรวมกันอยู่ในส่วนนี้ หน่วยย่อยเหล่านั้น ได้แก่
ออลเฟกทอรีบัลบ์ ( Olfactory Bulb ) : เป็นส่วนที่อยู่ด้านหน้าสุดของก้อนสมอง มีหน้าที่หลักในการดมกลิ่นต่างๆ สมองส่วนนี้ไม่มีการพัฒนามากนักในมนุษย์ แต่เราใช้เยื่อบุในโพรงจมูกช่วยในการดมกลิ่นแทน
ซีรีบรัม ( Cerebrum ) : นี่คือส่วนสำคัญที่เกี่ยวกับการเรียนรู้และการเพิ่มพูนความสามารถต่างๆ เป็นศูนย์กลางการทำงานด้านประสาทสัมผัสของร่างกาย ส่วนนี้ยังแยกย่อยได้อีก 4 ส่วนคือ
สมองกลีบหน้า ( Frontal Lobe ) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับความคิด การตัดสินใจ สติปัญญา บุคลิก ความรู้สึก ความประทับใจ การมีเหตุผลคิดอย่างเป็นนามธรรม ( Abstract Thinking ) การพูด การใช้ภาษาและการออกเสียง
สมองกลีบขมับ ( Temporal Lobe ) ซีกซ้ายจะทำหน้าที่รับรู้และเข้าใจภาษา ส่วนซีกขวาจะเกี่ยวข้องกับการเข้าใจเสียงสูงต่ำในประโยค หรือในบทเพลง
สมองกลีบข้างขม่อม/กระหม่อม ( Parietal Lobe ) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ การสัมผัส การรับรส ความเข้าใจในมิติสัมพันธ์ของร่างกายและสิ่งแวดล้อม
สมองกลีบท้ายทอย ( Occipital Lobe ) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเห็นภาพ ซึ่งเชื่อมโยงสัมพันธ์กับสมองกลีบข้างขม่อม ( parietal lobe ) คือเมื่อมองเห็นแล้วก็รับรู้ได้ว่าสิ่งที่เห็นนั้นคืออะไร หรือสิ่งที่ได้สัมผัสนั้นเป็นอย่างไร เป็นต้น
ทาลามัส ( Thalamus ) : เป็นศูนย์รวมของกระแสประสาทที่ผ่านเข้า-ออกทั้งหมด พูดให้เข้าใจง่ายก็คือเป็นสถานีถ่ายทอดที่ทำหน้าที่กระจายคำสั่งไปยังส่วนต่างๆ ทาลามัสเป็นอีกส่วนหนึ่งของสมองที่มีรายละเอียดเยอะมาก และร่างกายจะเจ็บปวดอย่างรุนแรงหากส่วนนี้ถูกทำลายไป
ไฮโปทาลามัส ( Hypothalamus ) : ศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติ และสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองอีกที เกี่ยวเนื่องกับการปรับอุณหภูมิของร่ายกาย อารมณ์ ความรู้สึก และวงจรชีวิตเกือบทั้งหมด เช่น การนอนหลับและตื่น อาการหิวและอิ่ม เป็นต้น
2.สมองส่วนกลาง ( Midbrain )
ส่วนนี้ต่อเนื่องมาจากสมองส่วนหน้า และมี ออพติกโลบ ( Optic Lobe ) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของนัยย์ตาและการเปิดปิดของรูม่านตาด้วย
กระดูก(Bone)
กระดูกทั้งหมดจัดเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือเป็นกระดูกแกนกลางของร่างกาย เรียกว่า axial joints ได้แก่ กระโหลกศีรษะ กระดูกไฮออยด์ กระดูกอก กระดูกซี่โครง และกระดูกสันหลัง เป็นต้น ส่วนกระดูกแขน-ขา กระดูกของข้อไหล่และกระดูกเชิงกรานจัดเป็นส่วนรยางค์หรือนิยมเรียกว่า peripheral (appendicular) joints กระดูกต้นขาเป็นกระดูกที่ยาวที่สุดในร่างกายมีความยาวประมาณหนึ่งในสี่ของความสูงทั้งหมด กระดูกของแขน-ขา เช่น ต้นแขนต้นขา หน้าแข้ง ท่อนแขน จัดเป็นกระดูกที่มีความยาวมากกว่าความกว้างเรียกว่ากระดูกชนิดยาวหรือ long bones ส่วนกระดูกข้อมือ-ข้อเท้าเป็นตัวอย่างของกระดูกชนิดสั้นที่เรียกว่า short bones ลักษณะทั่วไปเป็นรูปลูกบาศก์ มือซ้ายและมือขวามีกระดูกชนิดสั้นข้างละ 27 ชิ้น กระดูกที่สั้นที่สุดในร่างกายคือกระดูกรูปโกลนในหูชั้นกลางกระดูกรูปโกลนเป็นกระดูกชนิดสั้นซึ่งมีความยาวเพียง 1/10 นิ้วสำหรับกระดูกชิ้นที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายคือกระดูกเชิงกรานกระดูกที่มีรูปร่างลักษณะแบนเรียกว่า flat bones ได้แก่ กระดูกซี่โครงกระดูกข้อไหล่ และกระดูกภายในกระโหลกศีรษะกระดูกส่วนที่ประกอบขึ้นเป็นใบหน้ามีทั้งหมด 14 ชิ้นกระดูกสันหลังและกะโหลกศีรษะบางส่วนจัดเป็นชนิดรูปร่างไม่แน่นอน
หน้าที่ของกระดูก
ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว กระดูกทำงานร่วมกับกล้ามเนื้อทำให้เกิดการเปลี่ยนตำแหน่งของร่างกายหรือรักษาท่าทางตำแหน่งของร่างกายให้คงอยู่
-
-
เป็นที่เก็บสะสมแร่ธาตุ เป็นที่เก็บและให้แคลเซียมและฟอสฟอรัส เพื่อช่วยรักษาปริมาณแร่ธาตุที่จำเป็นในของเหลวของร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ
-
โครงกระดูกมนุษย์ เป็นโครงประกอบภายในร่างกาย ประกอบไปด้วยกระดูกชิ้นต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยโครงสร้างของข้อต่อ เอ็น กล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน และอวัยวะต่าง ๆ กระดูกในมนุษย์ผู้ใหญ่มีประมาณ 206 ชิ้น และคิดเป็นประมาณ 20 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักร่างกาย อย่างไรก็ดี จำนวนของกระดูกอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทารกแรกเกิดจะมีกระดูกจำนวนประมาณ 300 ชิ้น ซึ่งต่อมากระดูกบางชิ้นจะมีการเชื่อมรวมกันระหว่างการเจริญเติบโต[1] เช่นส่วนกระเบนเหน็บและส่วนก้นกบของกระดูกสันหลัง นอกจากนี้ในทารกแรกเกิดยังมีโครงสร้างของกระดูกอ่อนอยู่มาก เพื่อให้มีการสร้างโครงสร้างของกระดูกระหว่างการเจริญเติบโต และจะมีการพัฒนาไปเป็นกระดูกทั้งหมดเมื่อสิ้นสุดช่วงวัยรุ่น
โครสร้งของกระดูก
-
-
กระดูกสันหลัง (Vertebral Column) 33 ชิ้น (ในวัยเด็ก) หรือ 26 ชิ้น (ในวัยผู้ใหญ่) ทำหน้าที่ค้ำจุนและรองรับน้ำหนักของร่างกาย
กระดูกทรวงอก (Thorax) 1 ชิ้นบริเวณสันอก (Sternum) และกระดูกซี่โครง (Rips) อีก 12 คู่ ทำหน้าที่รวมกับกล้ามเนื้อเพื่อช่วยในการหายใจและปกป้องอวัยวะภายในที่สำคัญ เช่น ปอดและหัวใจ
กระดูกรยางค์ (Appendicular Skeleton) หมายถึง กระดูกนอกเหนือไปจากบริเวณลำตัวมีอยู่ทั้งหมด 126 ชิ้น ประกอบด้วย
กระดูกไหล่ (Pectoral Girdle) ทั้งหมด 4 ชิ้น ซึ่งประกอบด้วยกระดูกไหปลาร้า (Clavicle) กระดูกสะบัก (Scapula) ชนิดละ 2 ชิ้น ทำหน้าที่รองรับแขนและช่วยในการเคลื่อนไหว
กระดูกแขน (Upper Extremities) ข้างละ 30 ชิ้น รวมทั้งสิ้น 60 ชิ้น ทำหน้าที่เป็นฐานเชื่อมโยงกับกระดูกอื่น ๆ ในร่างกาย
กระดูกขา (Lower Extremities) ข้างละ 30 ชิ้น รวมถึงกระดูกเชิงกราน (Pelvic Girdle) และกระดูกสะโพก (Hip Bones) อีก 2 ชิ้น รวมทั้งหมด 62 ชิ้น
เซลล์ประสาท(Neuron)
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้และการตอบสนอง แต่ละเซลล์อาจมีการเชื่อมโยงเกี่ยวพันกับเซลล์ประสาทอื่นเป็นพันๆเซลล์นับเป็นเรื่องอัศจรรย์มากกี่เซลล์จำนวนมากสามารถทำงานเกี่ยวกับการรับส่งสัญญาณระหว่างสิ่งเร้าภายนอกกับภายในร่างกายได้อย่างมีระบบ
เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของระบบประสาท เซลล์ประสาทมีเยื่อหุ้มเซลล์ไซโทพลาสซึมและนิวเคลียสแต่มีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันออกไป เซลล์ประสาทประกอบด้วยตัวเซลล์ และเส้นใยประสาทมี2แบบ คือ เดนไดรต์(Dendrite)ทำหน้าที่นำกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์และแอกซอน(Axon)ทำหน้าที่นำกระแสประสาทออกจากตัวเซลล์ไปยังเซลล์ประสาทอื่นๆ
1.เซลล์ประสาทรับความรู้สึก
รับความรู้สึกจากอวัยวะสัมผัส เช่น หู ตา จมูก ผิวหนัง ส่งกระแสประสาทผ่านเซลล์ประสาทประสานงาน
2.เซลล์ประสาทประสานงาน เป็นตัวเชื่อมโยงกระแสประสาทระหว่างเซลล์รับความรู้สึกกับสมอง ไขสันหลัง และเซลล์ประสาทสั่งการพบในสมองและไขสันหลังเท่านั้น
-
รูปร่างของเซลล์ประสาท จะมีความสัมพันธ์กับหน้าที่ โดยรูปร่างจะบ่งถึงการติดต่อกับเซลล์ประสาทอื่นๆ และมีอิทธิพลต่อทิศทางที่จะก่อให้เกิดการส่งต่อของข้อมูล เซลล์ประสาทมีรูปร่างหลายแบบ และประกอบด้วย ส่วนของตัวเซลล์ เรียกว่า soma หรือ cell body และแขนงที่ยื่นออกไป (processes) ได้แก่ dendrite และ axon
รูปร่างของเซลล์ประสาท จะถูกกำหนดโดยปัจจัยภายใน ซึ่งสามารถพิสูจน์โดยการนำเอาเซลล์ประสาทจากตัวอ่อน มาเพาะเลี้ยงในจานเลี้ยงเซลล์ พบว่า เซลล์ประสาทอ่อนนี้ จะเจริญเป็นเซลล์ประสาทที่มีรูปร่างเหมือนกับ ในเซลล์ประสาทที่เจริญเต็มที่ในตัวสัตว์ทดลอง (Directer 1978. Barker and Cowan 1979) สำหรับรูปแบบของ dendrite และ axon นั้น จะขึ้นกับปัจจัยภายนอกซึ่งพบว่าปัจจัยสำคัญคือ input ที่เข้ามา นอกจากนี้ neuroglia ที่อยู่รอบๆ ก็มีอิทธิพลเช่นกัน