Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 บทนำสู่การวิจัย (ต่อ) - Coggle Diagram
บทที่ 1
บทนำสู่การวิจัย (ต่อ)
การวิจัย
การวิจัยคือกระบวนการในการแสวงหาความรู้ความจริงของปรากฏการณ์ต่างๆด้วยวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีการที่มีระบบมีเหตุมีผลและมีความน่าเชื่อถือ
มุ่งหมายของการวิจัย
1.เพื่อการแก้ปัญหา
2.เพื่อสร้างทฤษฎี
3.เพื่อพิสูจน์ทฤษฎี
กระบวนการวิจัย
สามารถแบ่งออกได้เป็น 9 ขั้นตอนที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันดังนี้
1.การกำหนดและนิยามปัญหาวิจัย
2.การพัฒนากรอบแนวคิดและสมมุติฐานการวิจัย
5.การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
4.การพัฒนาเครื่องมือวิจัย
3.การออกแบบการวิจัย
6.การเก็บรวบรวมข้อมูล
7.การวิเคราะห์ข้อมูล
9.การเขียนรายงานการวิจัย
8.การแปลความหมายและสรุปผลการวิจัย
ลักษณะและธรรมชาติของการวิจัยทางสังคมศาสตร์
1.การวิจัยจะต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อการแสวงหาข้อเท็จจริงต่างๆที่จะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ การสร้างกฎเกณฑ์ หรือการพัฒนาทฤษฎีต่างๆ
2.การวิจัยจะต้องมีกระบวนการที่เป็นระบบ มีการวางแผนล่วงหน้าอย่างมีเหตุผล เชื่อถือได้
3.การวิจัยจะต้องมีปัญหาวิจัยที่สามารถตรวจสอบหรือหาคำตอบได้โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
4.การวิจัยจำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าทั้งในด้านเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5.การวิจัยต้องอาศัยข้อมูลที่เที่ยงตรงเชื่อถือได้
6.การวิจัยเป็นกระบวนการหาความรู้ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการใช้เหตุผล ทุกขั้นตอนของการวิจัยต้องมีเหตุผล และตรวจสอบได้
ข้อจำกัดของการวิจัยทางสังคมศาสตร์
การวิจัยทางสังคมศาสตร์มีข้อเสียเปรียบเมื่อเทียบกับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในหลายด้าน ที่เห็นได้ชัดคือการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาค้นคว้าทางกายภาพโดยใช้อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆที่มีความแม่นยำสูงกว่าเครื่องมือในวิจัยทางสังคมศาสตร์ การวิจัยทางสังคมศาสตร์นั้นการสร้างเครื่องมือต่างๆที่ใช้ศึกษาให้ความแม่นยำทำได้ยาก การควบคุมสภาพแวดล้อมหรือตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์ก็ทำได้ยาก ดังนั้นข้อค้นพบที่นำไปสร้างกฎเกณฑ์และทฤษฎีต่างๆทางสังคมศาสตร์จึงยืดหยุ่นได้และมีข้อยกเว้นเสมอ
ประโยชน์ของการวิจัย
1.ประโยชน์ต่อนักวิจัย
การศึกษาวิจัยมีผลต่อการพัฒนานักวิจัยโดยตรง ช่วยให้นักวิจัยได้พัฒนาความคิดของตนเอง คิดอย่างมีเหตุผลเป็นระบบมากขึ้น
2.ประโยชน์ต่อองค์กรของนักวิจัย
ผลการวิจัยสามารถช่วยให้ผู้บริหารมีสารสนเทศ เพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์วินิจฉัย ตัดสินใจ เพื่อประโยชน์ต่อการดำเนินที่รัดกุมมีประสิทธิภาพและแก้ปัญหาขององค์กรได้ดี
3.ประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
แก้ปัญหาของสังคมโดยรวมทำให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นเห็นแนวทางแก้ปัญหาในภาพกว้างได้ดี
4.ประโยชน์ทางวิชาการ
ช่วยให้เกิดพัฒนาในศาสตร์นั้น การค้นคว้าหาทฤษฎีใหม่ใหม่การตรวจสอบทฤษฎีการสร้างทฤษฎีในศาสตร์และศาสตร์สาขานั้นก็จะพัฒนาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆและมีความเป็นจริงของศาสตร์ถูกต้อง
ลักษณะของนักวิจัยทีดี
1.คุณสมบัติทางด้านความรู้สึกและอารมณ์
•เป็นผู้มีความสนใจอยากรู้อยากเห็นในสิ่งต่างๆอยู่ตลอดเวลา
•เป็นผู้ที่มีทัศนคติที่ดีต่อการแสวงหาความรู้หรือการทำวิจัยเป็นผู้ที่มีความสุขเพลิดเพลินต่องานวิจัยที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
2.คุณสมบัติทางด้านความรู้ความสามารถ
•เป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านการวิเคราะห์คือสามารถวิเคราะห์คัดเลือกงานวิจัยและความรู้จากเอกสารต่างๆที่ต้องการได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว
•เป็นคนที่ทำงานอย่างเป็นระบบสามารถวางแผนในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
•เป็นผู้ที่มีความรอบรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีการวิจัย
3.คุณสมบัติทางด้านการตัดสินใจ
•กล้าคิด กล้าตัดสินใจ
•มีความรอบคอบและใช้เหตุผลในการตัดสินใจ
•เป็นคนมีเหตุผลและเชื่อมั่นในหลักการของเหตุผล
•เป็นคนที่สามารถประเมินฐานะและศักยภาพของตนเองได้ดี