Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การรักษาโดยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง (Cesarean Section), D - Coggle Diagram
การรักษาโดยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง (Cesarean Section)
การทำคลอดทารกโดยผ่านทางรอยแผลผ่าตัดที่ผนังหน้าท้อง(Laparotomy)และผนังมดลูก(hysterotomy)
ข้อบ่งชี้C/S
การผ่าตัดคลอดโดยสมบูรณ์(Absolute indication)
ต้องผ่าตัดแน่นอน หากปล่อยไว้อาจมีอันตรายต่อมารดาและทารก เช่น รกเกาะต่ำ การคลอดติดขัดหรือการคลอดไม่ก้าวหน้าจาก CPD, ทารกอยู่ในท่าผิดปกติที่คลอดเองไม่ได้, มีก้อนเนื้องอก, Uterine dysfunction Umbilical cord prolapsed กระดูกเชิงกรานหัก มะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม Fetal distress
การผ่าตัดคลอดโดยอนุโลม(Relative indication)
ผ่าตัดหรือคลอดทางช่องคลอดก็ได้แล้วแต่สภาวะของมารดาหรือทารก เช่น มีแผลเป็นที่ผนังมดลูกมาก่อน หลังการเย็บซ่อมแซมผนังช่องคลอด การตกเลือดก่อนคลอด ทารกท่ากันที่ตัวใหญ่เป็นครรภ์แรกศีรษะแหงนเกินไป ครรภ์แฝดที่ทารกไม่ได้อยู่ในท่าศีรษะทั้งคู่ PIH ชนิดรุนแรง มีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ, Chorioamnionitis การติดเชื้อ Herpes ในระยะใกล้คลอด
ข้อห้ามในการช่วยคลอด
1.ทารกเสียชีวิตในครรภ์
2.ทารกพิการที่ไม่สามารถมีชีวิตรอดได้หลังคลอด
3.ผู้คลอดมีความผิดปกติของHemodynamic ที่ยังแก้ไขไม่ได้
การพยาบาล
การพยาบาลผู้คลอดก่อนได้รับการช่วยคลอด
1.อธิบายให้ทราบเหตุผลวิธีการผ่าตัดภาวะแทรกซ้อนการรักษาและการพยาบาลการปฏิบัติตัวเช่น deep breathing exercise, effective cough, early ambulation
2.เจาะเลือดส่ง Lab. เช่น CBC, BL. gr. & cross-match เตรียมเลือดอย่างน้อย 1 นิและให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
เตรียมผิวหนังบริเวณหน้าท้องและอวัยวะสืบพันธุ์ให้ NPO อย่างน้อย 6-8 ชม.
4.ประเมิน V / S และ FHS เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด
ดูแลความสะอาดให้อาบน้ำ, สระผม, เปลี่ยนเสื้อผ้าให้ถอดฟันปลอม (ถ้ามี)
6.Retained Foley's catheter
7.ตรวจความเรียบร้อยของมารดาและ Chart เตรียมอุปกรณ์ ยาที่ต้องนำไปOR
การพยาบาลผู้คลอดขณะได้รับการช่วยคลอด
1.เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัดและช่วยทารกให้พร้อมประสานกุมารแพทย์เพื่อทำหน้าที่ดูแลทารกแรกเกิด
2.การดูแลขณะทำผ่าตัดโดยจัดท่านอนทำความสะอาดผิวหนังช่วยแพทย์ในการทำผ่าตัดประเมินสภาพและให้การพยาบาลตามอาการดูแลทารกแรกเกิดจดบันทึกเวลาเกิด
3.สังเกตและบันทึกอาการและอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยาระงับความรู้สึกเช่นหายใจลำบากวิงเวียนศีรษะคลื่นไส้อาเจียนความดันโลหิตต่ำ
การพยาบาลผู้คลอดหลังได้รับการช่วยคลอด
เฝ้าระวัง PPH และภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยาระงับความรู้สึก
ประเมินสภาพร่างกายตามลำดับสำคัญดังนี้
1.1 ประเมิน V / S ทุก 15 นาทีในชั่วโมงแรกทุก 30 นาทีในชั่วโมงที่ 2 และทุก 1 ชม. จนปกติติดต่อกัน 2 ครั้งจากนั้นประเมินทุก 4 ชั่วโมง
1.2 ประเมินระดับความรู้สึกตัวแผลผ่าตัดอาการปวดแผลการหดรัดตัวของมดลูกเลือดที่ออกทางช่องคลอดความสมดุลของสารน้ำอิเลคโตรไลท์ปัสสาวะที่ออกและอาการไม่สุขสบายอื่น ๆ เช่นคลื่นไส้อาเจียนหนาวสั่น
ดูแลให้นอนหงายราบอย่างน้อย 8-12 ชั่วโมงในรายที่ได้รับ Spinal block รายที่ได้รับยาสลบควรจัดให้นอนตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันการสำลัก
แนะนำการลดความเจ็บปวดบริเวณแผลโดยใช้มือหรือผ้าประคองบริเวณแผลผ่าตัดขณะเปลี่ยนอิริยาบถหรือขณะไอ-จามหากปวดมากดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับสารน้ำและยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
ประเมินสารน้ำเข้าและออกจากร่างกาย
จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมให้ได้พักผ่อน
ดูแลความสุขสบายทั่วไปเช่นเช็ดตัวเปลี่ยนเสื้อผ้าที่แห้งทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ภายนอกเปลี่ยนผ้าอนามัย
ดูแลสาย Foley ไม่ให้หักพับงอหากเอาออกแล้วให้ประเมินว่าถ่ายปัสสาวะได้เองหรือไม่
ชนิดของการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องแบ่งตามลักษณะของการผ่าตัดที่ผนังมดลูก
Lower segment Cesarean section (ผ่าตัดที่บริเวณส่วนล่างของมดลูก)
-Low transverse incision (Kerr's)-ผ่าตัดตามแนวขวาง-เสียเลือดน้อยเย็บง่ายเกิดมดลูกแตกน้อย-นิยมทำมากที่สุด
-Low vertical incision (Beck's หรือ Kronig's)-ผ่าตามแนวตั้ง-แผลลึกหายช้า
Classical cesarean section (ผ่าตัดตามแนวตั้งที่ส่วนบนของมดลูก) เสียเลือดมากติดเชื้อง่ายมดลูกแตกในครรภ์ต่อไปได้มากกว่าใช้น้อยกรณีจำเป็นเช่นทารกอยู่ในท่าขวางที่หลังอยู่ด้านหลังรกเกาะต่ำทางด้านหน้าต้องนำทารกออกอย่างรวดเร็วเช่น Fetal distress
ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
มารดา: การติดเชื้อที่พบบ่อยคือเยื่อบุโพรงมดลูก มดลูก แผลผ่าตัด ทางเดินปัสสาวะ การบาดเจ็บต่ออวัยวะภายในช่องท้อง ภาวะตกเลือด ท้องอืดจากลำไส้ทำงานลดลง การเกิดพังผืด (Adhesion) ภาวะมีลิ่มเลือดในหลอดเลือด (Thromboembolism) ภาวะแทรกซ้อนจากยาระงับความเจ็บปวดหรือยาสลบ
ทารก:การบาดเจ็บเช่นแผลถูกคมมีด, แขนหรือขาหักจากการทำคลอดทารกลำบากภาวะหายใจเร็วชั่วคราว (TTNB) จากทรวงอกไม่ได้รับการบีบรัดจากช่องท้องคลอด
D