Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สื่อที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล (Transmission Media), นางสาวพิมพ์ชนก…
สื่อที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล
(Transmission Media)
สื่อประเภทเหนี่ยวนำ
(Conducted Media)
สายคู่บิดเกลียว
(Twisted Pair Wire)
ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดงที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 2 เส้นพันบิดเป็นเกลียว เพื่อให้เกิดสนามแม่เหล็ก ทั้งนี้เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกันหรือจากภายนอก เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวนี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ ถ้าจำนวนรอบพันสูง ก็จะทำให้สนามแม่เหล็กมีกำลังแรงขึ้น สามารถป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีขึ้น
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
แบบไม่มีฉนวนหุ้ม
(UTP : Unshielede Twisted Pair)
สายสัญญาณ UTP มีจำนวนสายบิดเกลียวภายใน 4 คู่ คู่สายในสายคู่ตีเกลียวจะไม่หุ้มฉนวนหรือหุ้มแต่บางมาก ตลอดสายจะหุ้มด้วยพลาสติก ป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก แต่ก็มีราคาต่ำกว่าและติดตั้งง่ายกว่า จึงเป็นที่นิยมใช้มากที่สุด
ตัวอย่างของสายสายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวนที่เห็นในชีวิตประจำวันคือสายโทรศัพท์ที่ใช้อยู่ในบ้าน
ข้อดีของสาย UTP
ราคาถูก
ติดตั้งง่าย เนื่องจากน้ำหนักเบา
มีความยืดหยุ่นและสามารถโค้งงอได้มาก
ข้อเสียของสาย UTP
ไม่เหมาะในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ห่างไกลมาก
มีความยาวของสายไม่เกิน
100 เมตร
มาตรฐานสายสัญญาณ UTP
Category 2/Class B : รองรับแบนด์วิธได้ถึง 4 Mhz
Category 3/Class C : ส่งข้อมูลได้ถึง 16 Mbps
Category 1/Class A : ใช้ในระบบโทรศัพท์อย่างเดียว
Category 4 : ส่งข้อมูลได้ถึง 20 Mbps
Category 5/Class D : ส่งข้อมูลแบบฟูลดูเพล็กซ์ที่ 1000 Mbps
Category 6/Class E : ส่งข้อมูลได้ถึง 10000 Mbps รองรับแบนด์วิธได้ถึง 250 MHz
Category 7/Class F : รองรับแบนด์วิธได้ถึง 600 MHz
แบบมีฉนวนหุ้ม
(STP : Shielded Twisted Pair)
สายสัญญาณ STP มีการนำสายคู่พันเกลียวมารวมอยู่และมีการเพิ่มฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน ซึ่งทำให้มีคุณสมบัติเป็นเกราะในการป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่ยแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ เรียกเกราะนี้ว่า ชิลด์ (Shield)
และเป็นสายสัญญาณที่ได้รับการพัฒนาต่อจากสาย UTP เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีมากยิ่งขึ้น
ข้อดีของสาย STP
ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงกว่า UTP
ป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุ
ข้อเสียของสาย STP
มีขนาดใหญ่และไม่ค่อยยืดหยุ่นในการงอพับสายมากนัก
ราคาแพงกว่าสาย UTP
สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
เป็นสายอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้ในการสื่อสารข้อมูลเป็นอย่างมาก เนื่องจาก มีฉนวนภายนอกที่มีความคงทนต่อการใช้งานสูงและเป็นช่องสื่อสารที่มีความกว้างมาก
โครงสร้างของสายชนิดนี้ ประกอบด้วย ลวดทองแดงสองเส้น สำหรับถ่ายทอดสัญญาณ ทองแดงเส้นใหญ่หนึ่งเส้นเป็นแกนกลาง เรียกว่า ตัวนำสัญญาณ
การส่งสัญญาณมี 2 แบบ
แบบบรอดแบนด์
(Broadband Transmission)
จะแบ่งสายออกเป็นช่องสัญญาณเล็กตามขนาดคลื่นความถี่
โดยมีช่องสัญญาณกันชน เรียกว่า Guard band ทำหน้าที่ป้องกัน
การรบกวนระหว่างช่องสัญญาณ
แบบเบสแบนด์ (Baseband Transmittion)
ถูกนำมาใช้ในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ
สายแบบยี้จะมีช่อสัญญาณเพียงช่องเดียว จึงมีความซับซ้อนน้อยกว่า
ข้อดี-ข้อเสียของ
สายโคแอกเชียล
ข้อดี
สามารถดักสัญญาณออกไปจากสายหลักได้ง่าย
ป้องกันสัญญาณแทรกสอด/รบกวนได้ดี
ข้อเสีย
การลดทอนของสัญญาณจะเพิ่มขึ้นตามระยะทาง
สายมีขนาดใหญ่ ไม่สะดวกต่อการติดตั้ง
สายใยแก้วนำแสง
(Fiber-Optic Cable)
จะมีวิธีการส่งข้อมูลแตกต่างไป
ซึ่งจะใช้แสงเป็นตัวส่งสัญญาณซึ่งมี
LED หรือ ลำแสงเลเซอรเป็นต้นกำเนิดแสง
มี 3 ประเภท
Step Index Multimode
Graded Index Multimode
Single Mode
ข้อดี-ข้อเสียของสายใยแก้วนำแสง
ข้อดี
ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
ไม่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า
ส่งข้อมูลได้ปริมาณมาก
ข้อเสีย
มีราคาแพงและค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูง
ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง
สื่อประเภทกระจายคลื่น
(Radiated Media)
คลื่นวิทยุ
มีการแพร่กระจายออกอากาศโดยทั่วไป
ทั้งในระบบ FM และ AM มีความถี่อยู่ในช่วง 30-300 MHz
การส่งคลื่นประเภทนี้จะเกิดขึ้นในทุกทิศทาง
ทำให้เสาอากาศที่ใช้รับสัญญาณไม่จำเป็นต้องตั้งทิศทางให้
ชี้ตรงมายังเสาส่งสัญญาณ
คลื่นไมโครเวฟ
ใช้ในการถ่ายทอดสัญญาณมีความถี่สูงมาก (3-30 GHz)
ซึ่งช่วยให้ส่งข้อมูลออกไปด้วยอัตราเร็วที่สูงมากด้วย
สัญญาณไมโครเวฟเดินทางเป็นแนวเส้นตรง การวางตำแหน่งและ
ทิศทางของเสาอากาศจึงมีผลโดยตรงต่อคุณภาพสัญญาณที่รับเข้ามา
นางสาวพิมพ์ชนก บริบูรณ์
62192117 Sec 3