Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์, 564000003100001, download, 6w, hbv…
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อไวรัสรับอักเสบชนิดเอ (hepatitis A virus: HAV)
เกิดจากการติดเชื้อ hepatitis A virus ซึ่งเชื้อไวรัสสามารถทำให้ตับเกิดการอักเสบ ไวรัสตับอักเสบเอ
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และ ปวดศีรษะ มักไม่มีอาการของดีซ่านอาการจะมีอยู่ 10-15 วัน
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
สตรีตั้งครรภ์มีการติดเชื้อในระยะใกล้คลอด อาจมีการแพร่กระจายเชื้อไปยังทารกในระยะคลอด หรือระยะหลังคลอดได้
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การขับถ่าย การสัมผัสเชื้อโรค
การตรวจร่างกาย
การป้องกันและการรักษา
immune serum globulin (ISG) ในรายที่สัมผัสเชื้อ หรือรายที่ต้องไปอยู่ในถิ่นที่มีการแพร่กระจายเชื้อ เพื่อป้องกันหรือลดความรุนแรงของตับอักเสบไวรัสเอ ส่วนทารกที่คลอดจากสตรีตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อในระยะใกล้คลอดควรได้รับ ISG ขนาด 0.5 mg แก่ทารกทันทีหลังคลอด
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรค
แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว ดังนี้
2.1 พักผ่อนอย่างเพียงพอ
2.2 รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และย่อยง่าย และดื่มน้ำให้เพียงพอ
2.3 มาตรวจตามนัดเพื่อประเมินสภาวะของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
2.4 หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อตับ
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B virus)
เกิดจากการติดเชื้อ Hepatitis B virus ผ่านทางเลือด น้ำลาย อสุจิ สิ่งคัดหลั่งทางช่องคลอด น้ำนม และผ่านทางรก
พยาธิสรีรภาพ
พยาธิสรีรภาพแบ่งได้เป็น 4 ระยะ
1.ตรวจเลือดHBeAg positivepositiveและ Hepatitis B virus DNA (viral load) จานวนมาก
2.ตรวจพบเอนไซม์ตับสูงขึ้น ในระยะนี้ร่างกายจะสร้าง anti HbeHbeขึ้นมาเพื่อทาลาย H BeAgBeAgตรวจเลือดพบ anti HBe positive และจานวน Hepatitis B virus DNA ลดลง
3.ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน และเข้าสู่ระยะโรคสงบ (inactive carrier) ซึ่งหากตรวจเลือดจะพบ HBeAgHBeAgให้ผลลบ anti HBeHBeให้ผลบวก และค่าเอนไซม์ ตับปกติ
4.HBeAgให้ผลลบ และ anti HBeHBeให้ผลบวก ในระยะนี้ถ้า anti HBeHBeไม่สามารถทาลาย HBeAgHBeAgได้จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL จะเข้าสู่ภาวะตับอักเสบเรื้อรังจนเนื้อตับเสียหาย มีพังผืดแทรกจนเป็นตับแข็งและกลายเป็นมะเร็งตับ
อาการและอาการแสดง
เชื้อจะฟักตัว 50-150 วัน (เฉลี่ย 120 วัน) ดังนั้นในระยะแรกผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่ถ้ามีอาการจะเริ่มด้วยมีไข้ต่ำ ๆ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง อาจปวดทั่วไปหรือปวดบริเวณชายโครงขวา
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด
ผลต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ทารกตายในครรภ์ หรือเสียชีวิตแรกเกิด
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติการเป็นพาหะของโรคตับอักเสบจากไวรัสบี
การตรวจร่างกาย พบอาการและอาการแสดง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจการทำงานของตับ และตรวจหา antigen และ antibody
แนวทางการป้องกันและรักษา
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกราย โดยตรวจหา HBsAg
กรณีได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ Hepatitis B virus
2.1 ให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ งดการออกแรงทำงานหนัก หรือออกกำลังกาย
2.2 แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูง
2.3 ในรายที่มีอาการเบื่ออาหารและอาเจียน
2.4ทารกที่เกิดจากสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ Hepatitis B virus
ฉีด Hepatitis B immunoglobulin (HBIG) ให้เร็วที่สุดหลังคลอดถ้าไม่สามารถฉีด HBIG
ได้ทันทีหลังคลอดจะต้องฉีดภายใน 7 วัน หลังคลอด
ฉีด HB vaccine ภายใน 12ชั่วโมงหลังคลอด
ฉีด HB vaccine อีกครั้งเมื่ออายุ 1 เดือน
2.5มารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อ Hepatitis B virus
สามารถเลี้ยง BF ได้ทันที
ยกเว้นรายที่ Hepatitis B virus DNA ในกระแสเลือด > 20,000 IU/ml ร่วมกับค่าเอนไซม์ตับสูง > 2เท่าของค่าปกติ
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ตรวจคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกคนว่าเป็นพาหะของโรคหรือไม่
ให้คำแนะนำแก่สตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับสาเหตุ การติดต่อ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
อธิบายแก่สตรีตั้งครรภ์เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการมาตรวจตามนัด
ในรายที่มีการติดเชื้อเรื้อรัง แนะนำการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ระยะคลอด
ให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียงและให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป
หลีกเลี่ยงการเจาะถุงน้ำคร่ำ และการตรวจทางช่องคลอดเพื่อป้องกันถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการคลอด
เมื่อศีรษะทารกคลอด ดูดมูก เลือดและสิ่งคัดหลั่งต่าง ๆ ออกจากปากและจมูกของทารกให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงการทำให้เกิดรอยถลอกหรือบาดแผลบริเวณผิวหนังของทารก
ทำความสะอาดทารกทันทีที่คลอด
ดูแลให้ทารกได้รับภูมิคุ้มกันภายหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
ไม่จำเป็นต้องงดให้นมมารดาแก่ทารก
แนะนำการปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดทั่วไป
แนะนำให้นำทารกมารับวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
หัดเยอรมัน (Rubella/German measles)
เกิดจากการติดเชื้อ rubella virus (german measles virus) โดยติดต่อผ่านทางเดินหายใจ มีระยะฟักตัว 14-21 วัน ระยะติดเชื้อ 7 วันก่อนผื่นขึ้นและ 4 วันหลังผื่นขึ้น
พยาธิสรีรภาพ
กลุ่มไม่มีอาการทางคลินิก โดยกลุ่มนี้จะตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหัดเยอรมันอย่างเดียว
กลุ่มที่มีอาการทางคลินิก คือมีผื่นที่ใบหน้า ลามไปที่ลำตัวและแขนขา ลักษณะของผื่นจะเป็นตุ่ม เกิดได้ตั้งแต่วันที่ 7-10 หลังได้รับเชื้อ และจะคงอยู่ 4 สัปดาห์
อาการและอาการแสดง
อาการจะเกิดขัดเจนในวันที่ 7-10 และจะคงอยู่ 4 สัปดาห์ จากนั้นผื่นจะจางหายไป แต่ในบางรายที่ไม่มีอาการข้างต้น จะมีเพียงอาการคล้ายเป็นหวัด แต่เมื่อตรวจเลือดจะพบภูมิคุ้มกันเชื้อหัดเยอรมั
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ไม่ทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราว เช่น ตับม้ามโต ตัวเหลือง
ความผิดปกติถาวร ได้แก่ หูหนวก หัวใจพิการ ตาบอด
ความผิดปกติที่ไม่พบขณะแรกเกิด แต่ปรากฏภายหลัง
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติการสัมผัสผู้ติดเชื้อหัดเยอรมัน หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ
การตรวจร่างกาย อาจพบผื่นสีแดงคล้ายหัด ตาแดง ไอ จาม เจ็บคอ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยตรวจ Hemagglutination inhibition test (HAI)
การป้องกันและการรักษา
เน้นการ ฉีดวัคซีนในเด็กหญิง สตรีวัยเจริญพันธุ์ และคัดกรองหารายที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันเพื่อให้วัคซีน
ทารกแรกเกิดที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมัน ภายหลังคลอดต้องเก็บเลือดจากสายสะดือส่งตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อและตรวจร่างกายอย่างละเอียด
การพยาบาล
ให้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อเยอรมันแก่สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนมาก่อนโดยก่อน ฉีดวัคซีนจะต้องแน่ใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นพาหะของเชื้อหัดเยอรมัน โดยเฉพาะในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
แนะนำให้มาฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ
ประเมินสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับการได้รับภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก
อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจ การดำเนินของโรค
กรณีที่ตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ เตรียมร่างกายและจิตใจของสตรีตั้งครรภ์ให้พร้อมสำหรับการ ทำแท้งเพื่อการรักษา
สุกใส (Varicella-zoster virus: VZV)
โดยการสัมผัสถูกตุ่มน้ำโดยตรง สัมผัสกับของใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ จากตุ่มน้ำของคนที่เป็นสุกใส หรือจากการสูดหายใจเอาละอองเชื้อโรคของตุ่มน้ำ
พยาธิสรีรภาพ
ระยะฟักตัวนาน 10-20 วัน ในกรณีที่โรคสุกใสเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอด จะเรียกว่า congenital varicella syndrome ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์
อาการและอาการแสดง
มักจะมีไข้ต่ำ ๆ นำมาก่อนประมาณ 1-2 วันแล้วค่อยมีผื่นขึ้น ลักษณะของผื่น และตุ่ม มักจะขึ้นตามไรผม หรือหลังก่อน จะเห็นเป็นตุ่มน้ำใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ำค้างบนกลีบกุหลาบ (dewdrops on a rose petal)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ความรุนแรงของการติดเชื้อสุกใสมากขึ้น โดยเฉพาะในระยะอายุครรภ์ใกล้ครบกำหนดคลอดจะยิ่งอันตราย
ผลกระทบต่อทารก
การติดเชื้อในครรภ์ในไตรมาสแรก อาจทำให้ทารกเกิดความพิการก่อนกำเนิดได้ที่เรียกว่า congenital varicella syndrome
การติดเชื้อปริกำเนิดการติดเชื้อสุกใสในระยะก่อนคลอด 5 วัน และหลังคลอด 2 วัน เนื่องจากหากเป็น โรคก่อนคลอด 5 วัน จะยังไม่มีภูมิคุ้มกัน (antibody)
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ การสัมผัสผู้ติดเชื้อสุกใส หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ
การตรวจร่างกาย มีไข้ มีผื่นตุ่มน้ำใสตามไรผม ตุ่มน้ำใสๆ บนฐานสีแดง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgM ต่อไวรัสสุกใส ไวรัสงูสวัด (VZV) ด้วยเทคนิค ELISA
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การป้องกันโดยไม่สัมผัสโรค หลีกเลี่ยงคนที่ป่วยเป็นสุกใส
การรักษาแบบประคับประคอง เพื่อบรรเทาอาการ
3.หลีกเลี่ยงยาในกลุ่มแอสไพริน เพราะอาจทำให้เกิด Reye’s syndrome ทำให้เด็กเสียชีวิตได้
4.การรักษาแบบเจาะจง โดยการใช้ยาต้านเชื้อไวรัสสุกใส Acyclovir ซึ่งควรจะให้ในระยะเวลา24-48 ชั่วโมง หลังมีผื่นขึ้น ซึ่งการให้ยาในช่วงนี้สามารถทำให้ระยะเวลาของโรคสั้นลง แผลตกสะเก็ดเร็วขึ้น
การพยาบาล
ระยะก่อนตั้งครรภ์
หลีกเลี่ยงการรับวัคซีนในระยะตั้งครรภ์ หรือการเว้นระยะการตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือนภายหลังการฉีดวัคซีน เนื่องจากวัคซีนสุกใสที่ได้รับเป็นวัคซีนที่มีชีวิต
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง วิตามินซีสูง
2.อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงภาวะของโรค การแพร่กระจายเชื้อและการปฏิบัติตน
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก
ระยะคลอด
เน้นหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทำความสะอาดร่างกายทันที หลังคลอด
ระยะหลังคลอด
1.กรณีพ้นระยะการติดต่อ หรือมารดามีการตกสะเก็ดแล้ว สามารถแนะนำเกี่ยวกับการให้ นมมารดาได้
2.ดูแลให้ทารกรับวัคซีน VariZIG แก่ทารกแรกเกิดทันที หากมารดาการติดเชื้อในช่วง 5 วันก่อนคลอดถึง 2 วันหลังคลอด รวมทั้งประเมินภาวะการติดเชื้อของทารก
3.เน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการมาตรวจตามนัด และมาพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติ
โรคติดเชื้อไซโทเมกะโรไวรัส (Cytomegalovirus: CMV)
ติดเชื้อไวรัส CMV ครั้งแรก การติดเชื้อ CMV พบได้ทุกภูมิภาคทั่วโลก และในประชากรทุกกลุ่ม แต่จะพบมากในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ในกลุ่มประชากรที่มีเศรษฐานะต่ำ
พยาธิสรีรภาพ
ทารกได้รับเชื้อจากมารดาในครรภ์ ในระยะคลอด ในระยะให้นม การถ่ายเลือด การปลูกถ่ายอวัยวะ เพศสัมพันธ์ ทางหายใจ (โดยสัมผัสละอองฝอยในอากาศ) และทางการสัมผัส (โดยสัมผัสน้ำลาย ปัสสาวะ) แหล่งของเชื้อ CMV พบได้จากสารคัดหลั่งหลายชนิด
อาการและอาการแสดง
มีอาการแสดงของ mononucleosis syndromeการติดเชื้อในครรภ์ตรวจได้จากปัสสาวะภายใน 2 สัปดาห์หลังคลอด อาการในเด็กทารกมีตั้งแต่อาการอย่างอ่อน ถึงอาการที่รุนแรง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ทำให้เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด มีการติดเชื้อของถุงน้ำคร่ำ
ผลกระทบต่อทารก
ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อภาวะ IUGR แท้ง fetal distress คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดน้อย ทารกเสียชีวิตในครรภ์ และตายคลอด
การประเมินและการการวินิจฉัย
การซักประวัติ เกี่ยวกับประวัติการติดเชื้อในอดีต
การตรวจร่างกาย มีไข้ คออักเสบ ต่อมน้ำเหลืองโต ข้ออักเสบ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 การเจาะเลือดส่งตรวจพบ Atypical Lymphocytes
3.2 Amniocentesis for CMV DNA PCR
3.3 การตรวจ Plasma specimen for culture หรือ quantitative real-time PCR
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่มีการติดเชื้อ
สตรีที่เคยมีประวัติการติดเชื้อ CMV ควรวางแผนเว้นระยะการมีบุตรไปก่อนอย่างน้อย 2 ปี และควรเข้ารับการให้คำปรึกษาก่อนการมีบุตร
วิธีการหลักในการป้องกันคือการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ล้างมือด้วยสบู่
การรักษา
การให้ immunoglobulin ของ anti-cytomegalo viral human
การให้ยาต้านไวรัส เช่น Valtrex, Ganciclovil, Valavir
การประเมินอาการและอาการแสดงของทารกแรกเกิดที่มีการติดเชื้อ
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ซักประวัติ เพื่อคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกรายเกี่ยวกับการเจ็บป่วยติดเชื้อ CMV ในอดีต
อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวทราบเกี่ยวกับโรค
เน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ เช่น การงดมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
ระยะคลอด
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
เน้นย้ำเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความสำคัญของการมาตรวจตามนัดหลังคลอด
แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติของทารกที่ต้องรีบพามาพบแพทย์
การติดเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasmosis)
ติดเชื้อได้ทั้งในคนและสัตว์ มีพาหะหลักคือ แมว ส่วนพาหะชั่วคราวคือ หนู กระต่าย แกะ รวมทั้งคน การติดต่อเกิดขึ้นได้โดยการรับประทานผัก หรือผลไม้ที่ปนเปื้อนดินที่มี oocyte ของเชื้อซึ่งขับออกมาปนกับอุจจาระแม
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ แต่อาจมีกลุ่มอาการของ Mononucleosis รายที่รุนแรงจะมีพยาธิที่สมอง Chorioretinitis
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การแท้ง คลอดก่อนกำเนิด ถุงน้ำคร่ำและเยื่อหุ้มทารกอักเสบ ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
microcephaly, chorioretinitis,Cerebral calcification
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ ประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรค
การตรวจร่างกาย มักไม่แสดงอาการ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 การตรวจเลือดหา DNA ของเชื้อ
3.2 การวินิจฉัยก่อนคลอด โดยการตรวจเลือดสายสะดือทารกหรือน้ำคร่ำ
3.3 การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
แนวทางการป้องกันและการรักษา
ให้ผู้อื่นเป็นผู้ดูแลแมวแทนในช่วงที่ตั้งครรภ์ ไม่ปล่อยให้แมวออกนอกบ้าน
หากจำเป็นต้องทำความสะอาดอุจจาระแมว สวมถุงมือยาง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ปรุงสุก
เมื่อต้องให้การดูแลสวนหญ้า แนะนำให้สวมถุงมือยาง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
ระยะตั้งครรภ์
ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเปิดโอกาสให้ซักถาม
ติดตามผลการตรวจเลือด
เน้นการรักษาอย่างต่อเนื่อง การรับประทานยา และการสังเกตอาการข้างเคียงของยา
ระยะคลอด
เน้นหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ภายหลังทารกคลอดเช็ดตาด้วย 0.9%NSS เช็ดตาทันที จากนั้นป้ายตาด้วย 1% tetracycline ointment หรือ 0.5% erythromycin ointment หรือ 1% Silver nitrate (AgNO3) หยอดตาตาทารก หลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตา
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังการตกเลือดและการติดเชื้อหลังคลอด
การติดเชื้อไวรัสซิก้า (Zika)
สามารถติดต่อได้โดยการถูกยุงลายที่มีเชื้อกัด และโรคนี้ยังสามารถติดต่อ จากคนสู่คนได้โดยผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ มีระยะฟักตัว 3-12 วัน ก่อนแสดงอาการ สามารถพบเชื้อนี้ในน้ำอสุจิได้นาน 6 เดือน
อาการและอาการแสดง
เมื่อได้รับเชื้อระยะฟักตัวอยู่ที่ประมาณ 3-12 วัน ส่วนใหญ่มักมีอาการไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน โดยจะมีอาการที่ไม่รุนแรง และจะมีอาการเหล่านี้อยู่ประมาณ 2-7 วัน
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มักแสดงอาการมากในไตรมาสที่ 3 อาการที่พบบ่อยในคือ มีผื่นขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ และบางการศึกษาพบผื่นหลังคลอด
ผลกระทบต่อทารก
ภาวะศีรษะเล็กในทารกเป็นภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทหลักที่พบได้
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ โดยการซักประวัติอาการของผู้ป่วย
การตรวจร่างกาย มีไข้ อ่อนแรง เยื่อบุตาอักเสบ
การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ โดยใช้สิ่งส่งตรวจ เช่น เลือด ปัสสาวะ น้ำลาย
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การป้องกัน
ระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ระบบเฝ้าระวังทางกีฏวิทยา ระบบเฝ้าระวังทารกที่มีความพิการแต่กำเนิด และระบบเฝ้าระวังกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบประสาท
การรักษา
ใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้หรือบรรเทาอาการปวด ทั้งนี้ห้ามรับประทานยาแอสไพริน หรือยากลุ่มลดการอักเสบที่ไม่ใช่ สเตียรอยด์ (NSAIDs)
การพยาบาล
ให้คำแนะนำในการป้องกันสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสซิกา
อธิบายเกี่ยวกับการดำเนินของโรค สาเหตุ อาการและอาการแสดง ผลกระทบต่อ สตรีตั้งครรภ์และทารก การวินิจฉัย และการดูแลรักษาให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัว
การดูแลในระยะคลอดให้การดูแลเหมือนผู้คลอดทั่วไป ทั้งนี้ให้ยึดหลัก universal precaution
ตรวจร่างกายทารกแรกเกิด ประเมินสภาพร่างกายทั่วไปโดยเฉพาะการวัดขนาดของศีรษะ หากน้อยว่าปกติให้รีบรายงานกุมารแพทย์ทราบ
5.เน้นย้ำการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนและวิตามินสูง ในแม่ที่พ้นระยะการติดเชื้อสามารถให้เลี้ยงนมมารดาได้
โรคโควิด-19 กับการตั้งครรภ์ (COVID-19 during Pregnancy)
เกิดจากเชื้อไวรัสตระกูล Corona ชื่อ SARS-CoV-2 การติดต่อส่วนใหญ่ผ่านทางสัมผัสละอองฝอย
อาการและอาการแสดง
อาการแสดงของอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไอ น้ามูก เจ็บคอ หายใจติดขัด หรือหายใจลำบาก
ผลกระทบต่อการสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด มีการติดเชื้อของเยื่อหุ้มเด็ก ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด รกเสื่อม และรกลอกตัวก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกในครรภ์พัฒนาการล่าช้า คลอดน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ ประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสผู้ที่การติดเชื้อ
การตรวจร่างกาย มีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 การตรวจเลือดจะพบเม็ดเลือดขาวต่ำ
3.2 การยืนยันการติดเชื้อไวรัส โดยตรวจหา viralnucleic acid
แนวทางการรักษา
สถานที่และบุคลากร เน้นให้บุคลากรใส่ชุด PPE
2.การดูแลรักษา
2.1 สตรีตั้งครรภ์ที่สงสัยจะติดเชื้อโรคโควิด-19
2.1.1 ถ้ามีไข้ ห้ามใช้ยากลุ่ม NSAIDs
2.1.2 หากเป็นไปได้ให้เลื่อนการนัดผ่าตัดคลอด
2.2 สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อแต่อาการไม่รุนแรง
ให้ยาต้านไวรัส พิจารณาตามแนวทางของกรมควบคุมโรค
2.3 สตรีตั้งครรภ์ที่มีอาการรุนแรง
2.3.1 หากอาการแย่ลง เช่น หายใจเหนื่อยหอบมากขึ้น เจ็บหน้าอก หรือมี hypoxia เป็นต้น ควรคิดถึงภาวะ pulmonary embolism
2.4 การดูแลรักษากรณีฉุกเฉิน
หากไม่สามารถซักประวัติได้ ให้ทำการรักษาเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่เข้าข่ายการสืบสวนโรค และบุคลากรใส่ชุด full PPE
2.5 การดูแลขณะเจ็บครรภ์คลอด
2.5.1 On EFM ถ้าอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป
กรณีเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
การให้ corticosteroids สำหรับกระตุ้นปอดทารกในครรภ์ ควรปรึกษาอายรุแพทย์โรคติดเชื้อเพราะจะทำให้ผู้ป่วยที่อาการหนักแย่ลง หากอายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์จะไม่ให้
2.6 การดูแลทารกแรกเกิด
การให้ทารกดูดนมจากเต้า หรือการแยกทารกออกจากมารดาชั่วคราวขึ้นกับนโยบายของโรงพยาบาล และใช้การตัดสินใจใจร่วมกันระหว่างมารดากับทีมแพทย์ผู้ดูแล
2.7 การดูแลมารดาหลังคลอด
หลีกเลี่ยงการเข้าไปสัมผัสผู้ป่วยใกล้ชิด
2.8 การดูแลด้านจิตใจ
เฝ้าระวังและประเมินความเครียดและอาการซึมเศร้า
การพยาบาล
เน้นย้ำให้สตรีตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ตามนัดได้ตามปกติ หากมีอาการผิดปกติให้มาพบแพทย์ก่อนวันนัด
งดการออกไปในที่ชุมชนสาธารณะโดยไม่จำเป็น และงดการพูดคุย หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่นในระยะใกล้กว่า 2 เมตร
หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการไอ เป็นไข้ หรือผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง และในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด หรือรวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมาก
หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณดวงตา ปาก และจมูก
หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะรับประทานอาหารและของใช้ส่วนตัว ร่วมกับผู้อื่น