Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเกี่ยวกับการป้องกัน และ ควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ - Coggle…
การพยาบาลเกี่ยวกับการป้องกัน
และ
ควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
คำศัพท์
Infection = การติดเชื้อ
Infectious disease = โรคติดเชื้อ
Communicable disease = โรคติดต่อ
Sterilization = ขบวนการทำลายเชื้อโรคทุกชนิด รวมทั้งพวกที่มีสปอร์ให้หมดสิ้นไป
Sterile = สิ่งของหรือเครื่องมือที่ปราศจากเชื้อโรค รวมทั้งชนิดที่มีสปอร์
Contamination = การสัมผัส การปนเปื้อนเชื้อโรค
Disinfection = ขบวนการทำลายเชื้อโรคแต่ไม่สามารถทำลายชนิดที่มีสปอร์ได้ วิธีลายเชื้อโรคแบบ เช่น การต้ม การแช่น้ำยา
Disinfectant = สารเคมีหรือน้ำยาที่ใช้ทำจุลินทรีย์ แต่ไม่ามารถทำลายชนิดที่มีสปอร์ น้ำยานี้จะทำลายเนื้อเยื่อด้วย ใช้กับผิวหนังไม่ได้
Antiseptics = สารเคมีที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลทรีย์
cirtical items = เครื่องมือเครื่องใช้ที่สัมผัสกับเยื่อบุ ก่อนใช้ต้องสะอาดไม่มีเชื้อโรค ยกเว้นสปอร์ของแบคทีเรีย
semi-critical or intermediate items
เครื่องมือเครื่องใช้ทีสัมผัสเยื่อบุ ก่อนใช้ต้องสะอาดไม่มีเชื้อโรค ยกเว้นสปอร์ของแบคทีเรีย
ข้อมูลควรรู้
กลไกการป้องกันการติดเชื้อ
ระบบทางเดินหายใจ
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ระบบทางเดินอาหาร
ปาก
ผิวหนัง
ทางออกของเชื้อโรคในการแพร่กระจาย
ทางเดินหายใจ
ทางเดินอาหาร
ทางเดินปัสสาวะ
อวัยวะสืบพันธุ์
เลือด
ผิวหนัง
สิ่งนำเชื้อ
เชื้อโรคแพร่กระจายได้จำเป็นต้องมีพาหนะในการนำเชื้อ
อากาศ
อาหารและน้ำ
สัมผัสโดยตรงกับคน
วัตถุต่างๆ
แมลงและสัตว์
บุคคลที่มีเชื้อโรคนั้นเอง
วิธีการแพร่กระจายเชื้อ
Air bone transmission
เป็นการแพร่กระจายเชื้อโดยการสูดหายใจเอาเชื้อที่ลอยอยู่ในอากาศเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ
Contact transmission
1.Direct contact เป็นการแพร่กระจายเชื้อจากคนสู่คน (person-to-person spread)
2.Indirect contact เป็นการสัมผัสสิ่งของหรืออุปกรณ์การแพทย์ที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่เป็นการที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านทางตัวกลาง
3.Droplet contact เกิดจากการสัมผัสกับฝอย ละออง น้ำมูก น้ำลาย
Common Vehicle transmission
เป็นการแพร่กระจายเชื้อ จากการที่มีเชื้อจุลชีพ ปนเปื้อนอยู่ในเลือด ผลิตภัณฑ์ของเลือด น้ำ ยา สารที่ให้แก่ผู้ป่วย
Vectorbrone transission
เป็นการแพร่กระจายเชื้อโดยแมลง หรือสัตว์นำโรค
ความไวของแต่ละบุคคลในการับการติดเชื้อ
ความเครียด
ภาวะโภชนาการ
อ่อนเพลีย
ภูมิแพ้
วัย
โรคติดเชิ้อในโรงพยาบาล Nosocomial infection
การติดเชื้อที่เกิดจากการได้รับเชื้อขณะที่ผู้ป่วยได้รับการตรวจ การได้รับการพยาบาล และการติดเชื้อของบุคคลากรจาการปฎิบัติงาน มักเกิดขึ้นภายใน 48-72 ชั่วโมง เมื่อรับผู้ป่วยไว้การรักษาในโรงพยาบาล
ภาวะปลอดเชื้อและเทคนิคปลอดเชื้อ
ภาวะปลอดเชื้อหรือการกีดกั้นเชื้อ(Asepsis)
หมายถึง การปฎิบัติเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่จะเกิดกับเครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งแวดล้อม เป็นการวางกลยุทธ์ในการควบคุมการติดเชื้อ ลดแหล่งของเชื้อโรคและการแพร่กระจายเชื้อ
ภาวะปลอดเชื้อและเทคนิคปลอดเชื้อ
เทคนิคปลอดเชื้อ (Aseptic technique)
การกีดกั้นเชื้อชนิดไม่เคร่งครัด (Medical asepsis)
การกีดกั้นเชื้อชนิดเคร่งครัด (Surgical asepsis)
เทคนิคปราศจากเชื้อ(Sterlie technique)
เครื่องมือเครื่องใช้ปราศจากเชื้อ (sterile)
การกีดกั้นเชื้อชนิดไม่เคร่งครัด (Medical asepsis)
เทคนิคการทำให้สะอาด(Clean technique)
การใส่ถุงมือ
เสื้อคลุมที่นึ่งแล้ว
การแยกผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อด้วยวิธีการแยกเฉพาะ(Isolation technique)
การทำความสะอาดเครื่องมิอเครื่องใช้
การล้าง(Cleansing)
การล้างเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุด
ล้างโดยใช้สารเคมีที่ใช้ชะระล้าง
การใช้เครื่องล้างแบบพิเศษ ultrasonic cleanser
การล้างสามารถขจัดจุลชีพออกจากวัสดุเกือบทั้งหมดและเพียงพอสำหรับการทำลายเชื้อสำหรับเครื่องใช้โดยทั่วไป
วัตถุประสงค์
เพื่อลดจำนวนเชื่อโรคบนเครื่องมือให้เหลือน้อยที่สุด
เพื่อลดสื่งปนเปือนที่อยู่บนผิวชองเครื่องมือ
ช่วยให้คราบสิ่งสงปรกที่ติดแน่นหลุดออกไปได้
ช่วยลดอันตรายในการหยิบจับอุปกรณ์ของเจ้าที่เบื้องต้น
ข้อควรคำนึง
กำจัดเลือด หนอง เมือก สารคัดหลั่งและอื่นๆ ออกก่อนทำความสะอาด
ล้างโดยไม่ทำให้อุปกรณ์ เครื่องใช้ชำรุดเสียหาย
ไม่ทำให้อุปกรณ์สกปรกกว่าเดิม
ควรล้างสบู่ออกให้หมด
เครื่องใช้
อุปกรณ์ขัดถูควรมีความหยาบแต่ต้องไม่มีความคม จนเกิดรอยข่วน
สารซักฟอก สบู่
อุปกรณ์ป้องกันความสกปรกกระเด็นถูกร่างกาย
วิธี
1.สวมอุปกรณ์ป้องกันความสกปรก ระวังไม่ให้เปื้อนบริเวณใกล้เคียง
คราบลาสเคอร์ เช็ดด้วยเบนซินแล้วตามด้วยแอลกอฮอล์
คราบเลือด สารคัดหลั่งติดแน่น ควรเช็ด/ล้างด้วยน้ำเกลือหรือน้ำร้อน หากยังไม่หลุดให้ล้างด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์อีกครั้ง
อุปกรณ์ที่มีข้อห้ามในการใช้น้ำล้าง ให้ใช้ผ้าชุบน้ำยาทำความสะอาดบิดหมาดๆ
ถ้าบริเวณที่ทำความสะอาดไม่ได้ ให้ใช้ไม้ก้านยาวพันสำลีชุบน้ำยาทำความสะอาดเช็ดในส่วนนั้น
ล้างคราบสิ่งสกปรกและคราบสารผงซักฟอกออกให้หมดโดยใช้น้ำก๊อกที่ไหลซะผ่าน
เช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาด/วางผึ่งลมก่อนเก็บเข้าที่หรือแยกไปทำให้ปราศจากเชื้อ
ทำความสะอาดอุปกรณ์ขัดล้างให้สะอาด ทำให้แห้งรวมทั้งถุงมือและอ่างน้ำ
การต้ม(Boiling)
เป็นวิธีการทำลายเชื้อที่ดี ง่าย ประหยัดและ
มีประสิทธิภาพดี
ต้มนาน 10 นาทีจะสามารถทำลายเชื้อได้ ยกเว้นสปอร์
เชื้อHIV แนะนำให้ต้นนาน 20 นาที
ควรต้มในน้ำเดือดและน้ำต้องท่วมของที่ต้องการต้ม
การเตรียมอุปกรณ์ต้ม
หม้อต้มที่สะอาดมีฝาปิด
ใส่น้ำสำหรับการต้มให้มากพอ
การเตรียมสิ่งของที่จะต้ม
สิ่งของที่จะต้มควรได้รับการทำความสะอาดดีแล้ว
แยกชนิดสิ่งของที่จะต้ม เครื่องมือกับเครื่องแก้วไม่ต้มด้วยกันเพราะเครื่องแก้วอาจแตกได้
เครื่องใช้มีคมไม่ควรต้ม
ของที่ใช้กับอวัยวะสะอาด ไม่ควรต้มปนกับของที่ใช้กับอวัยวะสกปรก
ของที่ต้มครบเวลาแล้ว ต้องเก็บไว้ใช้ในภาชนะที่ปราศจากเชื้อหรือสะอาดมีฝาปิดมิดชิด ถ้าไม่มีต้องภาชนะที่ใช้เก็บด้วย
หลักสำคัญในการต้ม
น้ำต้องท่วมของทุกชิ้นอย่างน้อย 1 นิ้ว
เครื่องมือเครื่องใช้ที่มีน้ำหนักเบา ควรใช้ของที่มีน้ำหนักทับเพื่อให้จมอยู่ใต้น้ำ
ปิดผาหม้อต้ม เริ่มนับเวลาเมื่อน้ำดือดเต็มที่
ในขณะต้มต้องไม่เปิดฝาหม้อต้ม เมื่อครบกำหนดให้เก็บของที่ต้มแล้วลงในภาชนะที่ปราศจากเชื้อหรือสะอาดมีฝาปิดมิดชิด
การใช้สารเคมี(Chemial method)
DIsinfectant = สารเคมีหรือนำยาที่ใช้ทำลายจุลินทรีย์แต่ไม่ทำลายชนิดที่มีสปอร์ น้ำยานี้จะทำลายเนื้อเยื่อด้วย ใช้กับผิวไม่ได้
Antiseptics = สารเคมีที่ยับยั้งการเจริญติบโตของจุลินทรีย์ สามารถใช้กับสิ่งมีชีวิตได้ปลอดภัย
น้ำยาที่ใช้ในการทำลายเชื้อ
แอลกอฮฮล์ (Alcohols)
ทำลายเชื้อได้ดีแต่ไม่ทำลายสปอร์
อาจทำให้เครื่องมือโลหะเกิดสนิท
อัลดีฮัยด์(Aldehydes)
ทำลายเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส รา ใน 10 นาที
ทำลายสปอร์แบคทีดรียได้ใน 10 ชั่วโมง
ราคาแพง
ระคายเคืองผิวหนัง ทางเดินหายใจ ตา
ไดกัวไนด์(Diguanide)
สารที่ใช้คือ chlorhexidine
ความเข้มข้นต่ำกว่า 0.2% ไม่สามารถทำลายแบคทีเรียแกรมบวก เชื้อไวรัส เชื้อราและสปอร์ของแบคทีเรียได้
ฮาโลเจน(Halogens)
สามารถทำลายเชื้อโรคได้ต่างกันตามความเข้มข้นของน้ำยาHypochloriteและlodine
กลิ่มเหม็น โลหะเป็นสนิม ระเหยง่ายต้องเก็บในภาชนะทึบแสง ห้ามผสมกับกรดและฟอร์มาลิน
ฮัยโดเจนเปอร์ออกไซด์(Hydrogen peroxide)
สามารถทำลายเชื้อโรครวมทั้งไวรัสโดยใช้ hydrogen peroxide 6% นาน 30นาที
น้ำยาที่ฟีนอล(Phenols)
สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย เชื้อวัณโรค เชื้อรา
ไม่ควรใช้กับทารกแรกเกิด บริเวณที่เตรียมอาหาร กลิ่นแรง ระคายเคืองผิวหนัง กัดกร่อนยางธรรมชาติและพลาสติก
QACs
มีฤทธิ์ทำลายเชื้อน้อย เช่น Benzalkonium chloride เป็นส่วนประกอบใน savlon
การทำให้ปราศจากเชื้อ
วิธีทางกายภาพ
Radiation = เป็นการใช้แสงอัลตราไวโอเลต ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและไวรัสเอดส์ เชื้อวัณโรคเมื่อถูกแสงแดดจะถูกทำลายภายใน 1-2 ชั่วโมง
Dry heat or hot air sterilization = การใช้ Hot air oven สามารถทำลายเชื้อโดยใช้ความร้อนแห้งที่อุณหภูมิ 165-170 องศาเซลเซียส เวลาอย่างน้อย 3ชั่วโมง เหมาะสมสำหรับเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นของมีคม เครื่องแก้วที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ
Steam under pressure = เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เชื่อถือได้ ประหยัด ภาชนะแสตนแลส วิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทนความร้อนสูงไม่ได้ อุณหภูมิที่ทำให้ปราศจากเชื้ออยู่ระหว่าง 121-123 ํC ภาใต้ความดัน 15-17 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว โดยใช้เวลานาน 15-45นาที
วิธีทางเคมี
การใช้ก๊าซ Ethylene oxide = มีคุณสมบัติทำลายเชื้อสูง สามารถทำลายไวรัส แบคทีเรียรวมทั้งสปอร์ของแบคทีเรีย อบก๊าซไว้ที่อุณหภูมิ 30 ํC นาน 3 ชั่วโมง เมื่ออบแล้วเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 5 วัน หรือ 8 ชั่วโมงภายใต้อุณหภูมิ 120 ํC
การใช้ 2% Glutaradehyde = Cidex เป็นสารเคมีที่ใช้มากที่สุด มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อและสปอร์ของแบคทีเรีย เป็นสารที่ไม่ทำลายยางหรือพลาสติก แช่ไว้นาน 3-10 ชั่วโมงเพื่อให้ปราศจากเชื้อ
การใช้ Peracetic acid = เป็นส่วนผสมระหว่างacetic acid กับ Hydrogen peroxide มีคุณสมบัติในการกัดกร่อนสูง อุปกรณ์แช่ใน Peracetic Acid เพื่อทำให้ปลอดเชื้อ ใช้เวลารวดเร็วคือ35-40 นาที ที่อุณหภูมิ 50-55 ํC โดยต้องล้างน้ำยาออกให้หมดและทำให้แห้ง
การจับหยิบจับของปราศจากเชื้อ
ของที่ปราศจากเชื้อจะอยู่ในภาชนะที่มีฝาปิดหรือท่อ จะใช้วิธีการหยิบโดยใช้ปากคีบ ที่มีลักษณะยาวและแช่อยู่ในกระปุกที่แช่น้ำยา(Transfer forceps) หยิบ
ปากคีบสำหรับหยิบส่งของควรเป็นชนิดปลายเป็นร่องและไม่มีเขี้ยว
ชนิดปลายเป็นเขี้ยวคีบสำลี ก๊อส จะติดปลาย เพื่อปราศจากเชื้อปากคีบควรควรแช่อยู่ในน้ำยาตลอดเวลาประมาณ 2/3 ของกระปุก
วิธีการใช้ปากคีบหยิบของที่ปราศจากเชื้อ
เมื่อหยิบปากคีบออกจากภาชนะที่แช่ต้องระวังไม่ให้ปากคีบแยกออกจากกันปละป้องกันไม่ให้ปลายปากคีบถุกกับภาชนะ รอให้น้ำยาหยดออกให้หมดสักครู่
ถือให้ปลายปากคีบอยู่ต่ำ เพื่อไม่ให้น้ำไหลไปสู่บริเวณที่ไม่ปราศจากเชื้อ ทำให้ปลายปากคีบสกปรก
ระวังไม่ให้ปากคีบถูกกับกับภาชนะอื่นๆที่ไม่ปราศจากเชื้อ
เมื่อใช้ปากคีบเสร็จแล้วให้จับตรงกลางด้ามให้ปลายชิดกัน แล้วใส่ลงในกระปุกตรง ๆ
วิธีการหยิบของในหม้อนึ่ง ในอับหรือการแบ่งของที่สะอาดปราศจากเชื้อ
เมื่อเปิดฝา ถ้าต้องการจะวางกับโต๊ะให้หงายฝาขึ้น ถ้าถือไว้ให้คว่ำลง
ห้ามเอื้อมข้ามของsterile ที่เปิดฝาไว้และห้ามจับด้านในของฝา
ของที่หยิบออกไปแล้ว แม้ว่ายังไม่ได้ใช้ ก็ไม่ควรนำเข้าไปเก็บในหม้อนั้นอีก
หลักพื้นฐานของภาวะปราศจากเชื้อ
1.ดูแลให้ของปลอดเชื้อนั้นคงความปลอดเชื้อ(Transfer forceps)
1.1 ปากคีบปลอดเชื้อ(Transfer forceps)
ใช้สำหรับหยิบจับ เคลื่อนย้ายของปลอดเชื้อต้องสะอาดและคงความปลอดเชื้อตลอดเวลา การถือปากคีบปลอดเชื้อ ควรถือให้สูงกว่าระดับเอวและปลายปากคีบชี้ลงเสมอ
1.2 การเทน้ำยาปลอดเชื้อ ให้ถือขวดน้ำยาสูงกว่าภาชนะปลอดเชื้อประมาณ 6นิ้ว ปากขวดต้องไม่สัมผัสกับของใช้หรือภาชนะรองรับ ระวังน้ำยากระเด็น
1.3 หลีกเลี่ยงการทำน้ำยาหกเปื้อนผ้า
1.4 หลีกเลี่ยงการพูดคุย ไอ จาม หรือข้ามกรายของปลอดเชื้อ
1.5 อุปกรณ์การแพทย์ที่จะสอด/ใส่ผ่านผิวหนังเข้าร่างกายจะต้องปลอดเชื้อ
1.6 การเทน้ำยาหรือวางของปลอดเชื้อไม่ควรชิดขอบนอกภาชนะหรือผ้าห่อของปลอดเชื้อควรห่างประมาณ 1 นิ้ว
1.7 การเปิดผ้าห่อของปลอดเชื้อ
ให้จับมุมบนสุดของผ้าเปิดไปทางด้านตรงข้ามกับผู้ทำ
ต่อมาเปิด 2 มุมผ้าด้านข้าง ซ้ายขวาก่อน
สุดท้ายจึงจับมุมผ้าด้านในสุดของห่อผ้าเปิดออกโดยไม่ข้ามกรายของปลอดเชื้อ
2.หากของปลอดเชื้อสัมผัสกับสิ่งที่ไม่ปลอดเชื้อถือว่าของนั้นไม่ปลอดเชื้อ เรียกว่า contamination
ใช้ปากคีบปลอดเชื้อในการหยิบของปลอดเชื้อ
หากใช้มือหยิบจับของปลอดเชื้อด้วยมือ/อุปกรณ์ที่ไม่ปลอดเชื้อถือว่าเครื่องมือนั้นปนเปื้อน
ไม่ควรใช้ปากคีบหยิบของบริเวณขอบของภาชนะหรือใช้เปิดผ้าห่อของปลอดเชื้อ
ของปลอดเชื้อที่มีรอยฉีกขาด สัมผัสกับภายนอกถือว่าไม่ปลอดเชื้อ
ดูแลให้ของปลอดเชื้อสัมผัสกับอากาศน้อยที่สุด
ห่อของที่ปลอดเชื้อที่เปิดใช้แล้ว แสดงว่าเกิดการปนเปือน
3.ของปลอดเชื้อต้องอยู่สูงกว่าระดับเอวและอยู่ในสายตา
จะต้องอยู่สูงกว่าเอวเพื่อแน่ใจว่าของปลอดเชื้อนั้นอยู่ในสายตา เพื่อลดการปนเปื้อน
เมื่อเปิดของปลอดเชื้อแลว ไม่ทิ้งหรือหันหลังให้ของปลอดเชื้อ
หากเกิดความไม่มั่นใจเกี่ยวกับความปลอดเชื้อกับของใช้นั้นให้เปลี่ยนอันทันที
วิธีห่อของส่งนึง
คลี่ผ้าห่อของบนโต๊ะ สูงระดับเอวให้มุมใดมุมหนึ่งอยู่ด้านผู้ห่อ
วางของไว้ศูนย์กลางของผ้าห่อ
จับมุมผ้าด้านผู้ห่อ วางพาดบนของและผับมุมกลับเล็กน้อย
ดึงผ้าให้เรียบตึง ห่อด้านซ้ายให้มิดของ ดึงให้ตึงและพับมุมเล็กน้อย
ห่อด้านขวาให้มิดของ ดึงให้ตึงพับมุมเข้าเล็กน้อย
จับผ้าที่เหลือมุมสุดท้าย ดึงให้ตึงพับมุมเข้าเล็กน้อยจัดห่อให้มิดชิดไม่หลุด
ตรึงห่อให้แน่นด้วยเทปกาว และระบุหอผู้ป่วย ชื่อสิ่งของ วันที่ส่งนึ่งและชื่อผู้ห่อของ
ติด Autoclave tape
การเปิดห่อของที่ปราศจากเชื้อ
จุดประสงค์
เพื่อความคงปลอดเชื้อของสิ่งของภายในห่อและผ้าห่อด้านใน
เครื่องใช้
ห่อของที่ปลอดเชื้อ
วิธีทำ
สำรวจป้ายชื่อห่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์การใช้และตรวจสอบความปราศจากเชื้อ จาก Autoclave tape
วางห่อของบนโต๊ะที่สะอาดสูงระดับเอว โดยให้มุมนอกสุดของห่อของไกลตัว
แกะเทปกาว ป้ายชื่อห่อของที่ระบุวันนึ่ง และAutoclave tape
จับมุมผ้าด้านนอก ห่างขอบประมาณ 1 นิ้ว เปิดมุมแรกออกตรงข้ามผู้เปิด
เปิดมุมผ้าด้านข้างออกทีละด้านแล้วเปิดมุมผ้าด้านในที่สุด
การปฎิบัติในการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
การล้างมือ(Hand washing) เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการลดการติดเชื้อที่เกิดจากการสัมผัสโดยตรง
เพื่อช่วยขจัดสิ่งสกปรก ขุยผิวหนัง เหงื่อ ไขมันที่หลั่งออกมาตามธรรมชาติ และลดจำนวนจุลชีพ
การล้างมือแบบธรรมดา
การฟอกมือนานอย่างน้อย 15 วินาที
วิธีการล้างมือ
1.ฝ่ามือถูกัน
2.ฝามือถูหลังมือและนิ้วถูกซอกนิ้ว
3.ฝามือถูฝ่ามือและนิ้วถูซอกนิ้ว
4.หลังมือนิ้วมือถูฝามือ
5.ถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอบด้วยฝ่ามือ
ุ6.ปลายนิ้วถูขวางฝ่ามือ
7.ถูรอบข้อมือ
การล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล มีน้ำยา alcohol70% หรือ alcohol70%ผสม chlorhexidine 0.5%
ใช้ในกรณีรีบด่วน ไม่สะดวกในการล้างมือด้วยน้ำและมือไม่ปนเปื้อนสิ่งสกปรก/สารคัดหลั่ง
การล้างมือก่อนปฏิบัติการพยาบาลที่ใช้เทคนิคปราศจากเชื้อและภายหลัง
การล้างมือภายหลังการสัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อหรือสิ่งปนเปื้อนเชื้อ
ล้างมือด้วยสบู่เหลวผสมยาทำลายเชื้อ
การล้างมือก่อนทำหัตถการ
การล้างทือด้วยสบู่เหลวทำลายเชื้อและใช้แปรงที่ปราศจากเชื้อแปรงมือและเล็บในครั้งแรกของวันนั้นแล้วฟอกมือและแขนถึงศอก อย่างน้อย 5 นาที ล้างมือคร้งต่อไปฟอกมือนาน 3-5นาที
การใส่ถุงมือ(glove)
วัตถุประสงค์
1.ป้องกันและควบคุมเชื้อโรคจากตัวเราไปสู่ตัวผู้ป่วย ไปสู่บุคคลอื่น
2.ป้องกันและควบคุมเชื้อโรคจากผู้อื่นไปสู่ผู้ป่วย
3.ป้องกันและควบคุมผู้สัมผัสเชื้อเป็นพาหะนำเชื้อไปสู่ผู้อื่น
ถุงมือปลอดเชื้อ
1.หยิบจับของปลอดเชื้อ
2.ทำหัตถการต่างๆ
3.ป้องกันการติดเชื้อไปยังผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ถุงมือสะอาดหรือชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง
ป้องกันสิ่งสกปรกสัมผัสมือ
เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายเครื่องมือเครื่องใช้ของผู้ป่วยที่ผ่านการใช้งานแล้วหรือระหว่างให้การพยาบาลผู้ป่วย
การใช้ผ้าปิดปาก-จมูก
ช่วยป้องกันการได้รับเชื้อโรคจากผู้ป่วยเข้าสู่ทางเดินหายใจ สามารถป้องกันฝุ่นละออง
หลักสำคัญ
1.ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังใช้
2.ถ้าเป็นชนิดใช้แล้วทิ้ง ให้หันขอบที่มีลวดไว้ด้านบน ควรสวมให้กระชับหน้า กดขอบลวดกับดั้ง
3.หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสผ้าปิดปากและจมูกขณะที่สวมใส่
4.จะต้องถอดทันทีหลังใช้เสร็จ ระยะเวลาในการใช้ผ้าปิดปากและจมูกไม่ควรเกิน 20-30นาที
การใส่เสื้อกาวน์(Gown)
ช่วยป้องกันการแพร่การจายเชื้อโรคได้ เสื้อกาวน์โดยทั่วไปจะเปิดด้านหลังและมีเชือกสำหรับผูกที่คอและเอว
การป้องกันการติดเชื้อแบบมาตารฐาน(Standard precaution)
เป็นการระมัดรังการแพร่กระจายเชื้อโรคที่ใช้กับผู้ป่วยทุกคน
1.การมีสุขาภิบาลและสุขภาพอนามัยที่ดี
2.เครื่องป้องกัน
3.หลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ
การปฎิบัติที่ปลอดภัยจากการใช้ของมีคม
1.ไม่ส่งของมีคมด้วยมีดต่อมือ
2.เข็มที่เจาะเลือดผู้ป่วยให้เก็บทิ้งคนเดียว
3.การเย็บแผลให้ใช้ forceps หยั่งแผลเวลาเย็บ
4.การปลดหลอดแก้วออกจากสายยางให้ใช้ forceps ปลด
5.ไม่ควรสวมปลอกเข็มคืน แต่ถ้าจำเป็นต้องสวมควรสวมปลอกเข็มโดยใช้มือเดียว
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
การสัมผัส(contact transmission)
1.3 Drople contact - การสัมผัสผ่านละอองเสมหะ ในระยะไม่เกิน 3 ฟุต
1.2Indirect contact - การสัมผัสทางอ้อมโดยผ่านสิ่งแวดล้อมหรือเครื่องมือที่ปราศจากเชื้อ
1.1Direct contact - การสัมผัสโดยตรงระหว่างคนกับคน
contact precautions(การติดเชื้อที่แพร่กระจายได้จากการสัมผัส)
แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกและปิดประตูทุกครั้งหลังเข้าหรืออกจากห้องผู้ป่วย
สวมถุงมือทุกครั้งเมื่อสัมผัสผู้ป่วยทั้งบุตลากรและญาติ
ล้างมือแบบ hygienic handwashing หลังถอดถุงมือและก่อนออกจากห้องแยก
Droplet Precaution การติดเชื้อที่แพร่กระจายได้ทางละอองในอากาศ
1.แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกและปิดประตูทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วย
2.ผู้ที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วยต้องใส่ผ้าปิดปาก-จมูกชนิดN95
3.สวมถุงมือชนิดใช้ทั้งเดียวทิ้ง ทุกครั้งที่สัมผัสผู้ป่วย
4.ล้างมือแบบhygienic handwashing หลังถอดถุงมือและก่อนออกจากห้องแยก
5.ให้ผู้ป่วยใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปาก-จมูกเวลาไอ จาม และใส่ผิดปาก-จมูกชนิดธรรมดาตลอดเวลา
6.ถ้าเคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้ใส่ผ้าปิดปาก-จมูกชนิดธรรมดา
หลัก Standard precaution
1.สวมเครื่องป้องกันตามความเหมาะสม
สวมถุงมือ
ใช้ผ้าปิดปาก จมูก สวมแว่นตา หรือเครื่องกันหน้า
เสื้อสวมคลุม
2.ระวังการบาดเจ็บจากเข็มและของมีคมต่างๆ
3.บุคลากรเมื่อมือมีบาดแผลหรือรอยถลอกควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรงก่อนที่จะใช้เครื่องป้องกันทางการแพทย์
4.ต้องล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังการใช้ทุกครั้งในการปฏิบัติงานทางการแพทย์หรือในห้องปฏิบัติการ
เทคนิกการแยก(Isolation Technique) - วิธีในการแยกผู้ป่วยเพื่อจำกัดการแพร่กระจายเชื้อโรคจากผู้ป่วยไปสู่คนอื่นหรือคนอื่นไปสู่ผู้ป่วย
จุดประสงค์
ป้องกันการแพร่กระจายโรคติดต่อ
ป้องกันการติดโรคจากผู้ป่วย
ป้องกันการซ้ำเติมโรคในผู้ป่วยที่มีต้านทานต่ำ ซึ่งเรียกว่าการแยกเพื่อป้องกันเชื้อเข้าสู่ผู้ป่วย
เพื่อทำลายเชื้อโรคซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดโรค
การแยกผู้ป่วยอาจจำแนกเป็น 7 แบบ
การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ
การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินอาหาร
การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางบาดแผลและผิวหนัง
การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงและติดต่อง่าย
การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางเลือดและน้ำเหลือง
การแยกผู้ป่วยในรายที่สงสัยว่าจะเป็นโรคติดต่อ
การแยกผู้ป่วยในรายที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง