Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
{9.3}การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
{9.3}การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์
1.การติดเชื้อไวรัสรับอักเสบชนิดเอ (hepatitis A virus: HAV)
(1.1)สาเหตุ
การรับประทานอาหาร หรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคตับอักเสบเอเข้าไป
(2)อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย
เบื่ออาหาร
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ปวดข้อ และ ปวดศีรษะ
(3)การพยาบาล
1.อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษา และการป้องกันภาวะแทรกซ้อน
2.แนะนำเกี่ยวกับกับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
3.แนะนำเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่สุก สะอาด และย่อยง่าย และดื่มน้ำให้เพียงพอ
4.แนะนำการมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
5.หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อตับ และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
2.การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B virus)
(1)สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อ Hepatitis B virus ผ่านทางเลือด น้ำลาย อสุจิ สิ่งคัดหลั่งทางช่องคลอด น้ำนม และผ่านทางรก
(2)อาการและอาการแสดง
ไข้ต่ำ ๆ
เบื่ออาหาร
อาเจียน ปวดท้อง
คลำพบตับโต กดเจ็บ
ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชาแก่
(3)ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ถ้าเกิดการติดเชื้อในไตรมาสที่ 3 เพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด
(4)ผลต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย
ทารกตายในครรภ์
ทารกคลอดตาย
(5)การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
1.ตรวจคัดกรองพาหะในสตรีตั้งครรภ์
2.ให้คำแนะนำแก่สตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับการติดต่อ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การดำเนินของโรค
3.เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์ได้ระบายความรู้สึก
4.การมาตามนัดอย่าสม่ำเสมอ
ระยะคลอด
1.ให้สตรีตั้งครรภ์นอนพักบนเตียง
2.หลีกเลี่ยงการเจาะถุงน้ำคร่ำ
3.หลังคลอด หลีกเลี่ยงการทำให้เกิดรอยถลอก
หรือบาดแผลบริเวณผิวหนังของทารก
4.ดูแลให้ทารกได้รับภูมิคุ้มกันโดยฉีด
Hepatitis B immunoglobulin (HBIG)
ระยะหลังคลอด
2.การรักษาความสะอาดของร่างกาย
3.แนะนำให้ทารกมารับวัคซีนให้ครบ
1.กระตุ้นมารดาเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่
3.หัดเยอรมัน (Rubella/German measles)
(1)สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อ rubella virus (german measles virus)
(2)อาการและอาการแสดง
มีไข้ต่ำ ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว
เบื่ออาหาร
ตาแดง
ไอ เจ็บคอ
ต่อมน้ำเหลืองบริเวณหลังหูโต
(3)ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ไม่มีผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์ อาจมีความไม่สุขสบายเล็กน้อย
(4)ผลกระทบต่อทารก
1.ความผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราว เช่น ตับม้ามโต ตัวเหลือง โลหิตจาง
2.ความผิดปกติถาวร ได้แก่ หูหนวก หัวใจพิการ ตาบอด
3.ความผิดปกติที่ไม่พบขณะแรกเกิด แต่ปรากฏภายหลัง
เช่น ภาวะเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ สูญเสียการได้ยิน
(5)การพยาบาล
3.แนะนำให้มาฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ
2.หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นพาหะของเชื้อหัดเยอรมัน
1.ให้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อเยอรมันแก่สตรีวัยเจริญพันธุ์
4.สุกใส (Varicella-zoster virus: VZV)
(1)สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ Varicella-zoster virus (HZV)
(2)อาการและอาการแสดง
ตุ่มมีลักษณะเป็นน้ำใสๆ เหมือนหยาดน้ำค้างบนกลีบกุหลาบ
(dewdrops on a rose petal)
ผื่นเริ่มขึ้นบริเวณไรผมหรือหลังก่อน
มีไข้ต่ำ ๆ ประมาณ 1-2 วัน
(3)ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ภาวะปอดอักเสบ
ระบบหายใจล้มเหลว
อาจมีอาการทางสมอง
(4)ผลกระทบต่อทารก
ต้อกระจก
ปัญญาอ่อนศีรษะขนาดเล็ก
แขนขาลีบเล็ก
มีแผลเป็นตามตัว
(5)การพยาบาล
ระยะก่อนตั้งครรภ์
การฉีดวัคซีนป้องกันสุกใสก่อนการตั้งครรภ์
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ 6-8 ชั่วโมง
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก
รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง วิตามินซีสูง
ระยะคลอด
1.ให้การดูแลในระยะคลอด เน้นหลัก Universal precaution
2.ทำความสะอาดร่างกายทารกและเช็ดตัวให้แห้งหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
1.ถ้ามารดามีอาการ ให้แยกทารกแรกระยะ 5 วันแรก
2.แนะนำการรับประทานอาหารโปรตีนและวิตามินซีสูง
3.ดูแลให้ทารกแรกเกิดรับวัคซีน VariZIG ทันที
4.มาตรวจตามนัดสม่ำเสมอ
5.โรคติดเชื้อไซโทเมกะโรไวรัส (Cytomegalovirus: CMV)
(1)สาเหตุ
การติดเชื้อไซโตเมกะโลไวรัส (Cytomegalovirus: CMV) จากให้เลือด การสัมผัสทางปาก หรือทางเพศสัมพันธ์
(2)อาการและอาการแสดง
ไข้สูงนาน
ปวดกล้ามเนื้อ
มีอาการปอดบวม
ตับอักเสบ
(3)ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
เสี่ยงต่อการแท้ง
คลอดก่อนกำหนด
รกลอกตัวก่อนกำหนด
การติดเชื้อของถุงน้ำคร่ำ
(4)ผลกระทบต่อทารก
ภาวะ IUGR
คลอดก่อนกำหนด
น้ำหนักแรกเกิดน้อย
ทารกเสียชีวิตในครรภ์
(5)การพยาบาล
ระยะคลอด
1.ให้การดูแลในระยะคลอด เน้นหลัก Universal precaution
2.ทำความสะอาดร่างกายทารกและเช็ดตัวให้แห้งหลังคลอด
ระยะตั้งครรภ์
1.ซักประวัติ เพื่อคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกราย
2.อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับอาการและอาการแสดง ผลกระทบ
และแผนการรักษาพยาบาล
3.งดมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
ระยะหลังคลอด
2.การรักษาความสะอาดของร่างกาย
3.สังเกตอาการผิดปกติของทารกและมาตรวจตามนัดสม่ำเสมอ
1.งดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
6.การติดเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasmosis)
(1)สาเหตุ
การติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัว Toxoplasma gondii จากแมว
(2)อาการและอาการแสดง
ปอดบวม
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
ปวดกล้ามเนื้อ
(3)ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
คลอดก่อนกำเนิด
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
การแท้ง
รกลอกตัวก่อนกำหนด
(4)ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
หินปูนจับในสมอง
ทารกหัวบาตร
ตับและม้ามโต
ตาและตัวเหลือง
(5)การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
1.อธิบายความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรค
2.ติดตามผลการตรวจเลือด
3.เน้นการรับประทานยาและรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
ระยะคลอด
1.ให้การดูแลในระยะคลอด เน้นหลัก Universal precaution
2.เช็ดตาทารกทันที จากนั้นป้ายตาด้วย 1% tetracycline ointment
ระยะหลังคลอด
1.เฝ้าระวังการตกเลือดและการติดเชื้อหลังคลอด
2.การรักษาความสะอาดร่างกาย
3.การมาตรวจตามนัดสม่ำเสมอ
7.การติดเชื้อไวรัสซิก้า (Zika)
(1)สาเหตุ
เกิดจากเชื้อฟลาวิไวรัส (Flavivirus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค
(2)อาการและอาการแสดง
มีอาการไข้ ผื่นแดง
ปวดเมื่อยตามตัว
ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ
เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง
(3)ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มีผื่นขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์
หนาวสั่นรู้สึกไม่สุขสบาย
ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ต่อมน้ำเหลืองโต
บวม ตามปลายมือปลายเท้า
(4)ผลกระทบต่อทารก
ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า
การมองเห็นผิดปกติ
ทารกตายในครรภ์
(5)การพยาบาล
ระยะก่อนตั้งครรภ์
1.ใช้ยากำจัดแมลงหรือยาทาป้องกันยุงกัด
2.นอนในมุ้ง ปิดหน้าต่าง-ประตู ติดมุ้งลวด
3.กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
ระยะตั้งครรภ์
1.ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิ
ดูแลให้ได้รับยาลดไข้ตามแผนการรักษา
2.ประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ โดยการฟังเสียงหัวใจทารก
และการวัดระดับยอดมดลูก
3.มาตรวจตามนัดสม่ำเสมอ
ระยะคลอด
1.ให้การดูแลในระยะคลอด เน้นหลัก Universal precaution
2.ทำความสะอาดร่างกายทารกและเช็ดตัวให้แห้งหลังคลอด
3.นำทารกมาตรวจตามนัดสม่ำเสมอ
8.โรคโควิด-19 กับการตั้งครรภ์
(COVID-19 during Pregnancy)
(1)สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสตระกูล Corona ชื่อ SARS-CoV-2 การติดต่อจากสัมผัสละอองฝอยจากการไอ หรือจาม
(2)อาการและอาการแสดง
ไข้สูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส
ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ
หายใจติดขัด หรือหายใจลำบาก
(3)ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
คลอดก่อนกำหนด
การติดเชื้อของเยื่อหุ้มเด็ก
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
รกเสื่อม
รกลอกตัวก่อนกำหนด
(4)ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกในครรภ์พัฒนาการล่าช้า
คลอดน้ำหนักตัวน้อย
คลอดก่อนกำหนด
(5)การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
1.หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ที่มีอาการหรือผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง
2.สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งและรักษาระยะห่าง (social distancing)
3.รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอ
4.ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาดนาน
ระยะหลังคลอดที่มีความเสี่ยง
1.แยกตนเองออกจากครอบครัว และสังเกตอาการจนครบ 14 วัน
2.งดการออกไปในที่ชุมชนสาธารณะโดยไม่จำเป็น
3.สวมหน้ากากอนามัย ตลอดการเตรียมนม และการปั๊มนม
4.ทำความสะอาดบริเวณเต้านมและหัวนมด้วยน้ำและสบู่