Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การป้องกันและการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ - Coggle Diagram
การป้องกันและการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
กลไกการป้องกันการติดเชื้อ
ผิวหนัง
ปาก
ระบบทางเดินหายใจ
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ระบบทางเดินอาหาร
วงจงขบวนการติดเชื้อ
สิ่งนำเชื้อ
อากาศ
อาหารและน้ำ
สัมผัสโดยตรงกับคน
วัตถุต่างๆ
แมลงและสัตว์
บุคคลที่มีเชื้อโรค
ทางเข้าของเชื้อ
ผิวหนังบริเวณที่เป็นแผล
อวัยวะสืบพันธุ์
ความไวของบุคคลในการรับการติดเชื้อ
ความเครียด
ภาวะโภชนาการ
อ่อนเพลีย
ภูมิแพ้
เด็กอายุน้อย
ผู้สูงอายุ
จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ
แบคทีเรีย
ไวรัส
พยาธิ
แหล่งของเชื้อโรค
ดิน
อ่างน้ำ
ถังขยะ
สิ่งของใกล้ตัว เช่น โทรศัพท์ แปรงสีฟัน และอื่นๆ
ทางออกของเชื้อโรค
ทางเดินหายใจ
ทางเดินอาหาร
ทางเดินปัสสาวะ
อวัยวะสืบพันธุ์
เลือด ผิวหนัง
ความหมายของคำศัพท์
Sterilization ขบวนการทำลายเชื้อโรคทุกชนิด รวมทั้งพวกที่มีสปอร์ให้หมดสิ้นไป
Sterile สิ่งของที่ปราศจากเชื้อโรค รวมทั้งชนิดที่มีสปอร์
Contamination การสัมผัส ปนเปื้อนเชื้อโรค
Disinfection ขบวนการทำลายเชื้อโรคแต่ไม่สามารถทำลายชนิดที่มีสปอร์ได้ เช่นการต้ม การแช่น้ำยา
Disinfectant สารเคมีหรทอน้ำยาทำลายจุลินทรีย์ แต่ไม่สามารถทำลายชนิดที่มีสปอร์ น้ำยานี้จะทำลายเรื้อเยื่อด้วย ใช้กับผิวหนังไม่ได้
Antiseptics สารยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์
การฆ่าเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อ
Critical items เครื่องมือเครื่องใช้ที่สัมผัสกับเยื่อบุ ก่อนใช้ต้องทำให้ปราศจากเชื้อ
Semi-critical or intermediate items เครื่องมือเครื่องใช้ที่สัมผัสเยื่อบุ ก่อนใช้ต้องสะอาดไม่มีเชื้อโรค ยกเว้นสปอร์ของแบคทีเรีย
Non-critical items เครื่องมือที่สัมผัสกับผิวหนังภายนอก ไม่ได้สัมผัสกับเยื่อบุต่างๆ ของร่างกายก่อนใช้ต้องล้างให้สะอาด
โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล
เกิดจากการได้รับเชื้อขณะผู้ป่วยได้รับการตรวจ บุคลากรติดเชื้อจากปฏิบัติงาน มักเกิดขึ้นใน48-72ชั่วโมง
ภาวะปลอดเชื้อและเทคนิคปลอดเชื้อ
ภาวะปลอดเชื้อหรือการกีดกั้นเชื้อ(Asepsis) การปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ
เทคนิคปลอดเชื้อ(Aseptic Technique) วิธีการปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ
Medical asepsis การกีดกันเชื้อทั่วไป เช่น ล้างมือ
Sterile technique เทคนิคในโรงพยาบาล เช่น ก่อนผ่าตัดต้องทำความสะอาดคนไข้
การป้องกันการติดเชื้อแบบมาตรฐาน Standard precaution
การมีสุขาภิบาลและสุขอนามัยที่ดี Sanitation and Hygiene
เครื่องป้องกัน Protection Barriers
หลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ Avoid Accidents
การปฎิบัติที่ปลอดภัยจากการใช้ของมีคม
ไม่ส่งของมีคมด้วยมือต่อมือ
เข็มที่ใช้เจาะเลือดผู้ป่วยให้เก็บทิ้งคนเดียว
ไม่ควรสวมปลอกเข็มคืน แต่ถ้าจำเป็นต้องสวมควรสวมปลอกเข็มโดยใช้มือเดียว one hand technique
การปลดหลอดแก้วออกจากสายยางให้ใช้ forceps ปลด
การเย็บแผลให้ใช้ forceps หยั่งแผลเวลาเย็บ
เป็นการระมัดระวังการแพร่กระจายเชื้อโรคที่ใช้กับผู้ป่วยทุกคน โดยไม่คำนึงถึงการวินิจฉัยโรคและชนิดของชิ้นเนื้อทั้งผู้ป่วยที่ทราบและไม่ทราบว่าติดเชื้อหรือไม่ เป็นการป้องกันอันดับแรกเพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโดยระมัดระวังเลือด สารคัดหลั่ง น้ำในร่างกาย
การล้างมือ(Hand washing)
การล้างมือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดการติดเชื้อ ควรกระทำก่อนการพยาบาลเเละหลังการพยาบาลผู้ป่วย
1.การล้างมือเเบบธรรมดา (Normal หรือ Social hand washing)
เป็นการล้างมือเพื่อสุขภาพอนามัยทั่วไป ให้ล้างมือด้วยสบู่หรือสบู่เหลว ใช้เวลาการฟอกอย่างน้อย 15 วินาที เเล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด เเล้วซับให้เเห้งด้วยกระดาเช็ดมือหรือษผ้าเช็ดมือที่เเหังเเละสะอาด
วิธิการล้างมือ
2.ฝ่ามือถูหลังมือ นิ้วมือถูซอกนิ้ว
3.ฝ่ามือถูฝ่ามือ นิ้วมือถูซอกนิ้ว
1.ฝ่ามือถูกัน
4หลังนิ้วมือถูฝ่ามือ.
5.ถูนิ้วหัวเเม่มือโดยรอบด้วยฝ่ามือ
6.ปลายนิ้วถูขวางฝ่ามือ
7.ถูรอบข้อมือ
2.การล้างมือด้วยเเอลกอฮอล์เจล(Alcohol hand rub)
ใช้ในกรณีเร่งด่วน ไม่สามารถล้างด้วยน้ำ โดยที่มือไม่สกปรก ไม่สัมผัสกับสารคัดหลั่งให้ทำความสะอาดด้วยเเอลกอฮอล์เจล ซึ่งน้ำยา alcohol 70% หรือ alcohol 70% ผสม chlorhexidine 0.5%มีลักษณะเป็นเจล สามารถกำจัดเชื้อโรค เเบคทีเรียเเดรมลบ เชื้อรา เเละไวรัส บีบเจล 10 มิลลิลิตรถูให้ทั่วประมาณ 15-25 วินาที ถ้าอยากให้เกิดประสิทธิภาพควรฟอกนาน 30 วินาที
3.การล้างมือก่อนการปฎิบัติการพยาบาลที่ใช้เทคนิคปราศจากเชื้อเเละภายหลัง(Hygienic hand washing)
การล้างมือหลังการสัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อหรือสิ่งปนเปื้อนเชื้อ ให้ล้างมือด้วยสบู่เหลวผสมน้ำยาทำลายเชื้อ เช่น คลอเฮ็กซิดีน กลูโคเนต 4%( chlorhexidine gluconate 4 %) ไอโอโดฟอร์ 7.5 %( iodophor 7.5 %) ล้างมือเเบบการล้างมือธรรมดาทุกขั้นตอน ฟอกไม่น้อยกว่า30 วินาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาดเเล้วซับให้เเห้ง
4.การล้างมือก่อนทำหัตถการ(Surgical hand washing)
เป็นการทำคลอดที่ต้องป้องกันการติดเชื้อ ล้างมือด้วยสบู่เหลวทำลายเชื้อ chlorhexidine 4% ใช้แปรงที่ปราศจากเชื้อแปรงมือเล็บในครั้งแรกของวันนั้นๆ ฟอกมือแขนถึงข้อศอกให้ทั่วนานอย่างน้อย 5นาที ในการล้างมือครั้งต่อไปฟอกมือนาน 3-5นาที ล้างให้สะอาดและซับด้วยผ้าแห้งที่ปราศจากเชื้อ
การทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้
การต้ม (Boiling)
ทำลายเชื้อที่ดี ง่าย ประหยัด มีประสิทธิภาพดี
การต้มเดือดนาน 10 นาที ทำลายเชื้อได้ยกเว้นสปอร์
ต้มเดือดนาน 20 นาที เช่น ไวรัส HIV
การต้มที่มีประสิทธิภาพควรต้ม 20 นาทีขึ้นไป
น้ำต้องท่วมของที่ต้องการต้ม
นิยมทำลายเชื้อด้วยการต้ม ได้แก่ เครื่องใช้ที่เป็นโลหะ เครื่องแก้วทุกชนิด
การเตรียมอุปกรณ์การต้ม
ใส่น้ำสำหรับการต้มให้มีปริมาณที่มากพอ (น้ำกรอง)
หม้อต้มที่สะอาดมีฝาปิด ให้อุณหภูมิสม่ำเสมอขณะต้ม
การเตรียมสิ่งของที่จะต้ม
เครื่องใช้มีคมไม่ควรต้ม เพราะจะทำให้เสียคม
ของที่ใช้กับอวัยวะสะอาด ไม่ควรต้มปนกับของที่ใช้กับอวัยวะสกปรก เช่น ของที่ใช้กับตาไม่ควรต้มกับของที่ใช้กับขา เป็นไปได้แยกหม้อต้ม
แยกชนิดสิ่งที่จะต้ม เครื่องมือ เครื่องแก้วไม่ต้มด้วยกัน
ของที่ต้มครบเวลาแล้ว ต้องเก็บไว้ในภาชนะที่ปราศจากเชื้อหรือมีฝาปิดมิดชิด
สิ่งที่จะต้มควรทำความสะอาดดีแล้ว
หลักสำคัญในการต้ม
ปิดฝาหม้อต้ม เริ่มนับเวลเมื่อน้ำเดือดเต็มที่
ขณะต้มไม่เปิดฝาหม้อ และต้องไม่เพิ่มสิ่งของอื่นลงไป
เครื่องมือเครื่องใช้น้ำหนักเบา ควรใช้ของที่มีน้ำหนักมาทับไว้ให้จมอยู่ใต้น้ำ
เมื่อครบกำหนดให้เก็บของที่ต้มแล้วลงในภาชนะที่ปราศจากเชื้อ
สะอาดมีฝาปิด
น้ำต้มท่วมของทุกชิ้นอย่างน้อย 1 นิ้ว
การใช้สารเคมี (Chemical method)
Disinfectant - สารเคมีหรือน้ำยาที่ใช้ทำลายจุลินทรีย์
แต่ไม่สามารถทำลายชนิดที่มีสปอร์
น้ำยานี้ทำลายเนื้อเยื่อด้วยใช้กับผิวหนังไม่ได้
antiseptics - สารที่ยับยั้งกรเจริญเติบโตของจุลินทรีย์
สามารถใช้กับสิ่งมีชีวิตได้ปลอดภัย
น้ำยาที่ใช้ในการทำลายเชื้อ
ฮาโลเจน (Halogens)
ทำลายเชื้อโรคได้ต่างกันตามความเข้มข้นของน้ำยา Hypochlorite และ Lodine เช่น ไอโอดีน ไฮเตอร์
ไม่สามารถทำลายสปอร์ของแบคทีเรียได้
กลิ่นเหม็น โลหะเป็นสนิท ระเหยง่าย
ต้องเก็บในภาชนะทึบแสง ห้ามผสมกับกรอและฟอร์มาลิน
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hdrogen peroxide)
ทำลายเชื้อ รวมทั้งไวรัส โดยใช้ Hydrogen peroxide 6% นาน 30 นาที
เช็ดเลือดบนเสื้อได้
ไดกัวไนด์ (Diguanide)
สารที่ใช้คือ Chlorhexidine ถ้าความเข้มข้นต่ำกว่า 0.2% ไม่สามารถทำลายแบคทเรียแกรมบวก เชื้อไวรัส เชื้อรา และสปอร์ของแบคทีเรียได้
น้ำยาฟีนอล (Phenols)
ไม่ควรใช้กับทารกแรกเกิด และบริเวณที่เตรียมอาหาร
กลิ่นแรง ระคายเคืองผิวหนัง กัดกร่อนยางธรรมชาติและพลาสติก
ทำลายเชื้อแบคทีเรีย เชื้อวัณโรค เชื้อรา
ยกเว้นเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และสปอร์ของแบคทีเรีย
อัลดีฮัยด์ (Aldehydes)
ทำลายเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส รา ในเวลา 10 นาที
ทำลายสปอร์แบคทีเรียได้ ในเวลา 10 ชั่วโมง
ทางเดินหายใจ ตา
ราคาแพง
ระคายเคืองผิวหนัง
Quartemary Ammonium Compounds (QACs)
แช่เครื่องมือที่ใช้ในร่างกาย
มีฤทธิ์ทำลายเนื้อน้อย เช่น Benzalkonium chloride
เป็นส่วนประกอบใน savlon
แอลกอฮอล์ (Alcohols)
ทำลายเชื้อได้ดี แต่ไม่ทำลายสปอร์
อาจทำให้เครื่องมือโลหะเกิดสนิท
การล้าง (Cleansing)
วัตถุประสงค์การล้างก่อนนำไปฆ่าเชื้อ
เพื่อลดสิ่งปนเปื้อนที่ติดอยู่บนผิวของเครื่องมือ
เพื่อลดจำนวนเชื้อโรคบนเครื่องมือให้เหลือน้อยทีสุด ช่วยให้น้ำยามีประสิทธิภาพ ทำลายเชื้อโรคได้เร็วขึ้น
ช่วยให้คราบสกปรกที่ติดตามซอกมุมต่างๆของเครื่องมือโดยเฉพาะคราบที่ติดแน่นหลุดออกไป
ลดอันตรายในการหยิบจับอุปกรณ์ของเจ้าหน้าที่ก่อนนำไปทำลายเชื้อต่อไป
ข้อควรคำนึง
ไม่ทำอุปกรณ์ชำรุดเสียหายจากวิธีการทำความสะอาด
ไม่ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้สกปรกมากกว่าเดิม
กำจัดเลือด หนอง เมือก สารคัดหลั่งอื่นๆ ออกก่อนทำความสะอาดเสมอ
ล้างสารสบู่ออกให้หมด ไม่ควรมีสารตกค้างหลงเหลืออยู่
วิธีทำ
ล้างคราบสิ่งสกปรก และคราบสารผงซักฟอกออกให้หมดโดยใช้น้ำก๊อกที่ไหลชะผ่าน
เช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาด วางผึ่งลมหรือแยกไปทำให้ปราศจากเชื้อ
สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความสกปรก ระมัดระวังไม่ให้เปื้อนบริเวณใกล้เคียง
คราบเลือดหรือสารคัดหลั่งติดแน่น ควรเช็ดหรือล้างด้วยน้ำเกลือหรือน้ำร้อน หากไม่หลุดให้ล้างด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ อีกครั้ง
อุปกรณ์ที่ห้ามใช้น้ำล้าง ให้ใช้ผ้าชุบน้ำยาทำความสะอาดบิดหมาดๆ
สำรวจคราบลาสเตอร์ หากมีให้เช็ดด้วยเบนซินและตามด้วยแอลกอฮอล์
บริเวณที่ไม่สามารถเช็ดทำความสะอาดได้ เช่นเป็นรูเล็กๆ ให้ใช้ไม้ก้านยาวพันสำลีชุบน้ำยาทำความสะอาดในส่วนนั้น
ทำความสะอาดอุปกรณ์ขัดล้างให้สะอาด ทำให้แห้ง ทั้งถุงมือและอ่างน้ำ
การทำให้ปราศจากเชื้อ
วิธีทางกายภาพ
Dry heat or hot air sterilization (ความร้อนแห้ง)
เหมาะสำหรับเครื่องมือที่เป็นของมีคม เครื่องแก้วที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ กระบอกฉีดน้ำชนิดนำกลับมาใช้อีก
ป้องกันการเกิดสนิมเครื่องมือเครื่องใช้ที่ไม่ได้ทำมาจากสแตนเลส
การใช้ Hot air oven สามารถทำลายเชื้อโดยใช้ความร้อนแห้ง ที่อุณหูมิ 165-170 องศสเซลเซียส อย่างน้อย 3 ชั่วโมง
ไม่เหมาะที่จะใช้กับเครื่องผ้าและยาง
steam under pressure (ความร้อนชื้น)
เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทนความร้อนและความชื้น มีผิวเรียบแข็งแรง
เช่น เครื่องมือผ่าตัด ภาชนะที่ทำด้วยแสตนเลส
ทำให้ปราศจากเชื้ออยู่ระหว่าง 121-123 องศสเซลเซียล ภายใต้ความดัน 15-17 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ใช้เวลา 15-45 นาที
วิธีการที่มีประสิธิภาพมากที่สุด ประหยัดค่าใช้จ่ายในการฆ่าเชื้อและสปอร์ของเชื้อ
ทำลายเชื้อโดยใช้ Autoclave เป็นการอบไอน้ำภายใต้ความดัน
Radiation
(การใช้แสง)
นิยมใช้ลดจำนวนจุลชีพในอากาศ
เช่นในห้องผ่าตัด ห้องปฏิบัติการ ห้องเด็ก
เป็นแสงอัลตราไวโอเลตซึ่งเป็นแสงสีม่วง
ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสบางชนิด
ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสเอดส์
ในการทำลายเชื้อใช้เวลา 6-8 ชั่วโมง
วิธีทางเคมี
การใช้ก๊าซ Ethylene oxide
เครื่องมือเครื่องใช้ที่ไม่สามารถทนความร้อนและความชื้นได้
ประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเครื่องมือเครื่องใช้
อบไว้ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง
ทำลายเชื้อสูง ทำลายได้ทั้งไวรัส แบคทีเรียรวมทั้งสปอร์ของแบคทีเรีย
เมื่อปลอดเชื้อแล้วต้องเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 5 วัน
หรือใช้เวลา 8 ชั่วโมงภายใต้อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส
เพื่อให้ก๊าซระเหยออกก่อน มิฉะนั้นจะทำให้ผิวหนังไหม้
เมื่อสัมผัสก๊าซที่หลงเหลืออยู่บนเครื่องมือเครื่องใช้
การใช้ 2% Glutaradehyde
ไม่ทำลายยางหรือพลาสติก ไม่ทำให้เกิดสนิม
ใช้แช่เครื่องมือ 3-10 ชั่วโมง เพื่อให้ปราศจากเชื้อ
เครื่องมือที่มีเลนส์ เครื่องมือทันตกรรม เครื่องช่วยหายใจ เครื่องมีที่มีคม ทั้งนี้ต้องล้างน้ำยาให้หมดก่อนนำไปใช้
ทำลายเชื้อและสปอร์ของแบคทีเรีย
การใช้ Peracetic acid
ต้องล้างน้ำยาออกให้หมด ทำให้แห้งด้วยความระมัดระวัง
เครื่องมือเครื่องใช้นั้นเกิดการปนเปื้อนใช้ในการทำให้ปราศจากเชื้อท่อส่ง ระบบน้ำทำไตเทียม และกล้องส่องตรวจต่างๆ
กัดกร้อนสูง แต่ต้องละลายในน้ำอุ่่น ต้องใช้เวลารวดเร็วคือ 35-40 นาที อุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซียส
เครื่องใช้
สารซักฟอก หรือสบู่
อุปกรณ์สวมใส่เพื่อป้องกันความสกปรกกระเด็นถูกร่างกาย
อุปกรณ์ช่วยในการขัดถู ควรเป็นวัสดุที่มีความหยาบแต่ต้องไม่มีความคม จนเกิดรอยขีดข่วนขึ้นเมื่อขัดถู
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
การสัมผัส(Contact Transmission)
Direct Contact การสัมผัสโดยตรงระหว่างคนกับคน
Indirect Contact การสัมผัสทางอ้อมโดยผ่านสิ่งแวดล้อมหรือเครื่องมือที่ไม่ปราศจากเชื้อ
Droplet Contact การสัมผัสผ่านละอองเสมหะในระยะไม่เกิน3ฟุต เช่น คางทูม ไข้หวัดใหญ่
Contact Precaution การติดเชื้อที่แพร่กระจายได้จากการสัมผัส
แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกและปิดประตูทุกครั้งเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วย
ล้างมือแบบ Hygienic handwashing หลังถอดถุงมือและก่อนออกจากห้องแยก
สวมถุงมือทุกครั้งเมื่อสัมผัสผู้ป่วยทั้งบุคลากรและญาติ
Droplet Precautions การติดเชื้อที่แพร่กระจายได้ทางละอองในอากาศ
ผู้ที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วยหรือดูแลผู้ป่วยต้องใส่ ผ้าปิดปาก-จมูก ชนิด N95
สวมถุงมือชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง ทุกครั้งที่สัมผัสผู้ป่วย
ถ้าต้องมีความจำเป็นในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกนอก ห้องให้ผู้ป่วยใส่ผ้าปิดปาก-จมูกชนิดธรรมดา
แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกและปิดประตูทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วย
ล้างมือแบบ hygienic handwashing หลังถอดถุงมือและก่อนอออกจากห้องแยก
ให้ผู้ป่วยใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปาก-จมูก เวลาไอ จาม และใส่ผ้าปิดจมูก ชนิดธรรมดาตลอดเวลา ยกเว้นเาลารับประทานอาหารและแปรงฟัน
Airborne Precautions การติดเชื้อที่แพร่กระจายทางอากาศ
แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกพิเศษและปิดประตูทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วย
ผู้ที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วยหรือดูแลผู้ป่วยต้องใส่ผ้าปิดปาก-จมูก ชนิดN95
ล้างมือแบบ hygienic handwashing หลังถอดถุงมือและก่อนออกจากห้องแยก
ให้ผู้ป่วยใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปาก-จมูกเวลาไอ จาม และใส่ผ้าปิดปาก-จมูก ชนิดธรรมดาตลอดเวลา ยกเว้นเวลารับประทานอาหารและแปรงฟัน
สวมถุงมือชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง ทุกครั้งที่สัมผัสผู้ป่วย
ถ้าต้องมีความจำเป็นในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกนอกห้องให้ผู้ป่วยใส่ผ้าปิดปาก-จมูกชนิดธรรมดา
การแยกผู้ป่วยอาจจำเเนกออกเป็น 7 แบบ
1.การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ
เช่น COVID-19
2.การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินอาหาร
เช่น ลำไส้อักเสบ อหิวาตกโรค
3.การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางบาดแผลและผิวหนัง
เช่น เริม อีสุกอีใส
4.การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงและติดต่อง่าย
เช่น พิษสุนัขบ้า
5.การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางเลือด และน้ำเหลือง
เช่น HIV
6.การแยกผู้ป่วยในรายที่สงสัยว่าจะเป็นโรคติดต่อ
เช่น มีประวัติไปสัมผัสคนติดเชื้อ COVID-19
7.การแยกผู้ป่วยในรายที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง
เช่น วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก
:การใส่ถุงมือ (Glove)
1) ป้องกันเเละควบคุมเชื้อโรคจากตัวเราไปสู่ผู้ป่วย จากผู้ป่วยไปสู่บุคคลอื่น
2) ป้องกันเเละควบคุมเชื้อโรคจากผู้อื่นไปสู่ผู้ป่วย
3) ป้องกันเเละควบคุมผูสัมผัสเชื้อเป็นพาหะนำเชื้อไปสู่ผู้อื่น
ถุงมือปลอดเชื้อ(Sterile gloves)
2) ทำหัตถการต่างไป เช่นการผ่าตัด
3) ป้องกันการติดเชื้อไปยังผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
1) หยิบจับของปลอกภัย
ถุงมือสะอาดหรือใช้ครั้งเดียวทิ้ง(Clean, Disposable gloves)
1) ป้องกันสิ่งสกปรกสัมผัสมือ
2) เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายเครื่องมือเครื่องใช้ของผู้ป่วยที่ผ่านการใช้งานเเล้วหรือระหว่างการพยาบาลผู้ป่วย
หลัก Standard precaution
สวมเครื่องป้องกันตามความเหมาะสม
สวมถุงมือ
สวมเสื้อคลุม
ใช้ผ้าปิดปาก จมูก สวมแว่นตาหรือเครื่องกันหน้า
ระวังการบาดเจ็บจากเข็มและของมีคมต่างๆ
บุคลากรเมื่อมือมีบาดแผลหรือรอยถลอกควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรงก่อนที่จะใช้เครื่องมือป้องกันทางการแพทย์
ต้องล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังการใช้ทุกครั้งในการปฎิบัติงานทางการแพทย์หรือในห้องปฏิบัติการ
การใช้ผ้าปิดจมูก (mask)
การใช้ผ้าปิดปาก-จมูกช่วยป้องกันการได้รับเชื้อโรคจากผู้ป่วยเข้าสู่ทางเดินหายใจ เเละเป็นการป้องกันผู้ป่วยได้รับเชื้อจากผู้อื่นเข้าสู่ทางเดินหายใจ เเละช่วยป้องกันฝุ่นในอากาศได้ด้วย
หลักสำคัญ
ล้างมือให้สะอาดก่อนเเละหลังใช้
หากชนิดใช้ครั้งเดียวให้หันขอบลวดไว้ด้านบน สวมให้กระชับ ไม่หวมจนเกินไปเเละกดขอบลวดให้เเนบกับจมูก
หลีกเลี่ยงการสัมผัสผ้าปิดปากเเละจมูก
ระยะเวลาที่ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก ต้องถอดทิ้งหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมการพยาบาล หรือเกิดความชื้น ไม่ควรใส่ผ้าปิดปากปิดจมูกเกิน 20-30 นาที ควรเปลี่ยนชื้นใหม่
เทคนิคการแยก Isolation Technique
คือ วิธีในการแยกผู้ป่วยเพื่อจำกัดการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากผู้ป่วยไปสู่บุคคลอื่นหรือจากบุคคลอื่นไปสู้ผู้ป่วย
จุดประสงค์ในการแยกผู้ป่วย
ป้องกันการแพร่กระจายโรคติดต่อ
ป้องกันการซ้ำเติมโรคในผู้ป่วยที่มีความต้านทานต่ำเรียกว่าการแยกเเพื่อป้องกันเชื้อเข้าสู่ผู้ป่วย
ป้องกันการติดโรคจากผู้ป่วย
เพื่อทำลายเชื้อโรคซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดโรค
การใส่เสื้อกาวน์(Gown)
จะช่วยป้องกันกาเเพร่กระจายเชื้อโรคได้ โดยทั่วไปเสื้อกาวน์จะเปิดด้านหลังเเละมีเชือกผูกคอเเละเอวทางด้านหลัง เสื้อกาวน์ควรใหญ่เเละคลุมเครื่องเเบบมิดชิด ควรเปลี่ยนเสื้อกาวน์ในทุกเวร ถ้าเปียกให้เปลี่ยนทันที โดยระวังการปนเปื้อนด้านนอกเสื้อคลุม ให้กลับด้านในออกเเละทิ้งในภาชนะที่เตรียมไว้ เเล้วล้างมือเพื่อป้องกันการเเพร่เชื้อ
หลักพิ้นฐานของภาวะปราศจากเชื้อ
1.ดูแลให้ของปลอดเชื้อนั้นคงความปลอดเชื้อ
ปากคีบปลอดเชื้อใช้สำหรับหยิบจับ เคลื่อนย้ายของปลอดเชื้อต้องสะอาดและคงความปลอดเชื้อตลอดเวลา
การเทน้ำยาปลอดเชื้อ ให้ถือขวดน้ำยาสูงกว่าภาชนะปลอดเชื้อประมาณ6นิ้ว
หลีกเลี่ยงการทำน้ำยาหกเปื้อนผ้า
หลีกเลี่ยงการพูดคุย ไอ จาม หรือข้ามกรายของปลอดเชื้อ
อุปกรณ์ทางการแพทย์ทุกชนิดที่สอด/ ใส่ผ่านผิวหนังเข้าไปในร่างกายผู้ป่วยจะต้อง ปลอดเชื้อ
การเทน้ำยาหรือวางของปลอดเชื้อไม่ควรชิดขอบด้านนอกของภาชนะหรือผ้าห่อของปลอดเชื้อ
การเปิดห่อผ้าของปลอดเชื้อให้จับมุมบนสุดของผ้าเปิดไปทางด้านตรงข้ามกับผู้ทำต่อมาเปิด2มุมผ้าด้านข้าง
2.หากของปลอดเชื้อ หากของปลอดเชื้อสัมผัสกับสิ่งที่ไม่ปลอดเชื้อให้ถือว่าของนั้นไม่ปลอดเชื้อหรือเกิดการปนเปื้อนขึ้นเรียกว่าcontamination
ใช้ปากคีบปลอดเชื้อในการหยิบของปลอดเชื้อไม่ใช้ปากคีบที่ไม่ปลอดเชื้อหรือผ่านการใช้งานแล้วหยิบของปลอดเชื้อ
หากหยิบจับของปลอดเชื้อด้วยมือหรืออุปกรณ์ที่ไม่ปลอดเชื้อจะถือว่าเครื่องมือเครื่องใช้นั้นเกิดการปนเปื้อน
การใช้ปากคีบหยิบจับของปลอดเชื้อไม่ควรใช้ปากคีบหยิบบริเวณขอบของภาชนะหรือใช้ปากคีบเปิดผ้าห่อของปลอดเชื้อเพราะบริเวณเหล่านี้มีโอกาสเกิดการปนเปื้อน
ของปลอดเชื้อที่มีรอยฉีกขาด LINE เปิดสัมผัสกับภายนอกถือว่าไม่ปลอดเชื้อ
ดูแลให้ของปลอดเชื้อสัมผัสกับอากาศน้อยที่สุดหากเปิดใช้ต้องรีบปิดทันที
ห่อของปลอดเชื้อที่เปิดใช้แล้วแสดงว่าเกิดการปนเปื้อนไม่นำไปรวมกับของปลอดเชื้อ
3.ของปลอดเชื้อ ของปลอดเชื้อต้องอยู่สูงกว่าระดับเอวและอยู่ในสายตา
บริเวณที่วางของปลอดเชื้อจะต้องสูงกว่าระดับเอวเพื่อให้แน่ใจว่าของปลอดเชื้อนั้นอยู่ในสายตา
เเมื่อเปิดของปลอดเชื้อแล้วไม่หรืทิ้งหรือหันหลังให้ของบอกเชื้อเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการปนเปื้อนเกิดขึ้น
หากผู้ปฏิบัติเกิดความสงสัยไม่มั่นใจเกี่ยวกับความปลอดเชื้อกลับของใช้นั้นต้องเปลี่ยนของนั้นใหม่ทันที
วิธีห่อของส่งนึ่ง
คลี่ผ้าห่อของบนโต๊ะ สูงระดับเอวให้มุมใดมุมหนึ่งอยู่ด้านผู้ห่อ
วางของไว้ที่ศูนย์กลางของผ้าห่อ
จับมุมผ้าด้านผู้ห่อ วางพาดบนของและพับมุมกลับเล็กน้อย
ดึงผ้าให้เรียบตึงห่อด้านซ้ายให้มิดของดึงให้ตึงและพับมุมเล็กน้อย
ห่อด้านขวาให้มิดของดึงให้ตึงพับมุมเช่นกันเข้าเล็กน้อย
จับผ้าที่เหลือมุมสุดท้ายดึงให้ตึงพับมุมเข้าเล็กน้อยจัดห่อให้มิดชิดไม่หลุด
ตึงห่อของให้แน่นด้วยเทปกาวและระบุหอผู้ป่วย ชื่อสิ่งของ วันที่ส่งนึ่งและผู้ห่อของ
ติด auto Clave tape
การเปิดห่อของปราศจากเชื้อ
สำรวจป้ายชื่อห่อของให้ตรงกับวัตถุประสงค์การใช้ และตรวจสอบความปราศจากเชื้อ จากautoclave tape
วางห่อของบนโต๊ะที่สะอาดสูงระดับเอวโดยให้มุมนอกสุดของห่อของอยู่ไกลตัว
แกะเทปกาว ป้ายชื่อห่อของที่ระบุวันนึ่งและautocave tapeออก
จับมุมผ้าด้านนอก ห่างขอบประมาณ1นิ้วเปิดมุมแรกออกไปทางด้านตรงข้ามกับผู้เปิด
เปิดมุมผ้าด้านข้างออกทีละด้านและเปิดมุมผ้าด้านในที่สุด
การหยิบจับของปราศจากเชื้อ
วิธีการใช้ปากคีบของที่ปราศจากเชื้อ
เมื่อหยิบปากคีบออกจากภาชนะที่แช่ ต้องระวังไม่ให้ปากคีบแยกออกจากกัน และป้องกันมิให้ปลายปากคีบถูกปากภาชนะและรอให้น้ำยาหยดออกให้หมดสักครู่
ขณะที่ถือให้ปลายปากคีบอยู่ต่ำ เพื่อมิให้น้ำไหลไปสู่บริเวณที่ไม่ปราศจากเชื้อ ทำให้ปลายปากคีบสกปรก
ระวังมิให้ปากคีบถูกต้องกับภาชนะอื่นๆที่ไม่ปราศจากเชื้อ
เมื่อใช้ปากคีบเสร็จแล้วให้จับตรงกลางด้ามให้ไปชิดกันแล้วใส่ลงในกระปุกตรงๆ
วิธีการหยิบของในหม้อนึ่ง ในอับ หรือการแบ่งของที่สะอาดปราศจากเชื้อ
เมื่อเปิดฝา ถ้าต้องการจะวางกับโต๊ะให้หงายฝาขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ขอบฝาสัมผัสกับโต๊ะ ถ้าถือไว้ให้คว่ำฝาลง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคจากอากาศตกลงไปที่ฝานั้น
ห้ามเอื้อมข้ามของsterileที่เปิดฝาไว้และห้ามจับด้านในของฝา
ของที่หยิบออกไปแล้ว แม้ว่าจะยังไม่ได้ใช้ ก็ไม่ควรนำเข้าไปเก็บในหม้อนั้นอีก