Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมความต้องการด้านการหายใจ - Coggle Diagram
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมความต้องการด้านการหายใจ
หลักการระบายเสมหะ
กายภาพบำบัดทรวงอก (chest physiotherapy therapy : CPT)
ข้อบ่งชี้เพื่อพิจารณาให้กายภาพบำบัดทรวงอก
ในสภาวะที่มีเสมหะคั่งค้างในหลอดลมจำนวนมาก เช่น ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ หรือจาก การสำลักหลอดลมหรือหลอดลมฝอยอักเสบ โรคหืดที่มีเสมหะจำนวนมาก
ผู้ป่วยที่มีภาพรังสีทรวงอกแสดงภาวะปอดแฟบ เนื่องมาจากการอุดตันของเสมหะ
ผู้ป่วยเรื้อรังที่มีการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคของหลอดลม เช่น หลอดลมโป่งพอง
สภาวะผู้ป่วยหลังผ่าตัดเกี่ยวกับหัวใจ ปอด หรือท้อง เฉพาะในรายที่มีปัญหาของเสมหะที่ คั่งค้างในหลอดลม
สภาวะที่มีปัญหาทางระบบประสาทกล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถระบายเสมหะได้ด้วย ตนเอง
ในรายที่มีปัญหาทางพันธุกรรมที่มีผลให้กลไกการระบายเสมหะไม่ปกติ เช่น cystic fibrosis
สำลักสิ่งแปลกปลอม เช่น ถั่วลิสง แพทย์ส่องกล้องเพื่อคีบสิ่งที่สำลักแต่ไม่สามารถคีบออก ได้หมด
ผู้ป่วยหลังถอดท่อลมคอ และยังมีเสมหะมาก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ภาวะ ปอดแฟบ
เทคนิคของการให้กายภาพบำบัดทรวงอก
การจัดท่าเพื่อระบายเสมหะ (postural drainage)
การเคาะปอดและการสั่นสะเทือน (percussion and vibration)
การระบายเสมหะ (secretion removal)
การไออย่างมีประสิทธิภาพ (effective coughing)
การดูดเสมหะ (nasopharyngeal suctioning)
ข้อห้ามของการจัดท่าระบายเสมหะ (contra indications)
ผู้ป่วยที่มีภาวะ intracranial pressure > 20 mmHg
บาดเจ็บที่ศีรษะ คอ กระดูกสันหลัง รวมไปถึงกระดูกและซี่โครงที่หัก
ผ่าตัดเกี่ยวกับตา
ภาวะเลือดออกง่ายหรือภาวะ hemodynamic instability
ภาวะไอเป็นเลือดหรือ emphysema หรือ bronchopleural fistula, pulmonary embolism
Pulmonary edema associated with congestive heart failure
หลักการทั่วไปในการเคาะปอด
การเคาะ (Percussion) ใช้อุ้งมือไม่ควรใช้ฝ่ามือ โดยทำมือเป็นลักษณะคุ้มนิ้วแต่ละนิ้วชิดกันที่ เรียกว่า cupped hand เคาะบริเวณทรวงอกส่วนที่ได้รับการจัดท่า
ใช้ผ้ารองบนส่วนที่จะเคาะ
การเคาะแต่ละท่าควรใช้เวลาประมาณ 1 นาที
ขณะเคาะหากผู้ป่วยไอ ควรหยุดเคาะให้ใช้การสั่นสะเทือนแทนโดยใช้มือวางราบพร้อมทั้งเกร็ง กล้ามเนื้อบริเวณต้นแขนและหัวไหล่ ในจังหวะการหายใจเข้าเต็มที่และกำลังหายใจออก
ฝึกการไอให้มีประสิทธิภาพ โดยให้ผู้ป่วยหายใจเข้าเต็มที่ช้า ๆ กลั้นไว้สักครู่ และไอออก โดยเร็วแรง
ควรเคาะก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร ขณะท้องว่างอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการ สำลักและอาเจียน
การจัดท่าเพื่อระบายเสมหะ เป็นวิธีการที่อาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก (gravity) เป็นหลักโดยจัดให้ส่วนของปอดที่ต้องการระบายอยู่เหนือกว่าหลอดลมและปาก ทำให้เสมหะไหลออกจากหลอดลมเล็กสู่ หลอดลมใหญ่ และถูกขับออกโดยกระตุ้นให้ผู้ป่วยไอและบ้วนเสมหะออกได้
การเคาะปอดและการสั่นสะเทือน
การเคาะปอดและการสั่นสะเทือนมีวัตถุประสงค์เหมือนกัน คือ ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนผ่าน ผนังทรวงอกลงไปถึงแขนงหลอดลม ทำให้เสมหะที่เกาะอยู่บริเวณทางเดินหายใจส่วนปลายค่อย ๆ หลุดเลื่อน ไหลออกมา ตามแขนงหลอดลมจากเล็กไปใหญ่ และกระตุ้นให้ไอเพื่อระบายเสมหะออก
วิธีเคาะ
การใช้อุ้งมือทำเป็นรูปถ้วย (cup hand) หรือใช้ mechanical percussor เคาะเป็นจังหวะสม่ำเสมอลงบนทรวงอกตาม segment ของปอด ประมาณ 1 – 2 นาที ในแต่ละ segment
วิธีการสั่น
การออกแรงสั่นบนผนังทรวงอกที่ต้องการระบายเสมหะ โดยใช้แรงสั่นผ่านทาง มือของผู้บำบัดในช่วงหายใจออกและขณะไอ แรงสั่นนี้จะช่วยทำให้เสมหะค่อย ๆ หลุดออกมาได้ดียิ่งขึ้น หรือ อาจใช้อุปกรณ์บางอย่างช่วยให้เกิดแรงสั่น เช่น แปรงสีฟันไฟฟ้า หรือเครื่องนวดตัว
ข้อห้ามของการเคาะปอดและการสั่นสะเทือน
รายที่อยู่ในภาวะ acute inflammatory pulmonary process
รายที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดซึ่งไม่ได้รับการรักษาโดยการระบายลมออกจากช่องเยื่อหุ้มปอด ก่อน (untreated tension pneumothorax)
รายที่มีภาวการณ์ทำงานของหัวใจไม่คงที่ (unstable cardiac condition)
รายที่มีเลือดออกง่ายหรือตกเลือด (hemorrhage) (ผู้ป่วยที่มี platelet count ต่ำกว่า 30,000/ลบ.มม.)
รายที่มีการบาดเจ็บที่ไขสันหลังเฉียบพลัน (acute spinal cord injury)
รายที่มีซี่โครงหัก (fractured rib)
รายที่มีบาดแผล (wound), skin graft และมีภาวะ burn
อันตรายจากการเคาะปอดและการสั่นสะเทือน
หลอดลมหดเกร็งมากขึ้น
ซี่โครงหัก
การติดเชื้อหรือเนื้องอกแพร่กระจายเป็นวงกว้างขึ้น (spread of infection or tumor)
เสมหะเป็นจำนวนมากหลั่งไหลมารวมตัวกันและอุดทางเดินหายใจส่วนต้น (over mobilization)
การระบายเสมหะ
การไออย่างมีประสิทธิภาพ เป็นกลไกที่สำคัญในการระบายเสมหะ การไอที่ดีควรประกอบด้วย ขั้นตอนต่อไปนี้
หายใจเข้าลึก ๆ เพื่อเพิ่มปริมาตรของปอด
กลั้นหายใจ เป็นช่วงที่ glottis ปิด และตามด้วยการหดตัวของ expiratory muscle ทำ ให้ความดันในทรวงอกสูงขึ้นอย่างมาก
ช่วงที่ไอ เป็นช่วงที่ glottis เปิดออกทันทีพร้อม ๆ กับลมในปอดพุ่งออกมาอย่างแรงและเร็ว ผลักดันให้เสมหะหลุดออกจากทางเดินหายใจ
การดูแลจมูก (Nose care)
กรณีน้ำมูกน้อย
1.1 เด็กเล็ก ๆ ที่ปริมาณน้ำมูกไม่มากแนะนำให้ใช้ผ้านุ่มพันปลายแหลมสอดเข้าไปในรูจมูกเพื่อซับน้ำมูกทั้ง 2 ข้าง หรือดูดออกด้วยลูกยางแดงหรือลูกยางดูดน้ำมูก
1.2 ในรายน้ำมูกแห้งกรัง คัดจมูก ให้ใช้ไม้พันสำลี (cotton bud) จุ่มน้ำเกลือ 0.9% แล้วสอดเข้าไปเช็ดในรูจมูกทีละข้าง น้ำมูกจะติดปลาย cotton bud ออกมา หรือหยอดน้ำเกลือ 0.9% เข้าในรูจมูกข้างละ 1-2 หยด ทิ้งไว้ประมาณ 1 นาที เพื่อให้น้ำมูกแห้งอ่อนตัว และไหลลงคอ ทำ ให้จมูกโล่งขึ้น
1.3 ในกรณีของเด็กทารก ไม่ควรหยอดน้ำเกลือทิ้งไว้โดยไม่ใช้ลูกยางดูดน้ำมูกออก ทั้งนี้เนื่องจากน้ำมูกที่แห้งจะพองตัวและอุดรูจมูกทำให้หายใจไม่สะดวก
1.4 เด็กโตให้สั่งน้ำมูกออกเอง
ประโยชน์ของการล้างจมูก
ช่วยล้างน้ำมูกที่เหนียวข้น หรือที่คั่งค้างในจมูก ทำให้โพรงจมูกสะอาด
ช่วยลดอาการไอที่เกิดจาก postnasal drip
ให้ความชุ่มชื้นแก่จมูก
บรรเทาอาการคัดแน่นจมูกทำให้หายใจโล่งขึ้น
บรรเทาอาการระคายเคืองจมูก
ระบายหนองจากไซนัสได้ดีขึ้น
ป้องกันการลุกลามของเชื้อโรคจากจมูกและไซนัสไม่ให้ไปที่ปอด
ช่วยลดจำนวนเชื้อโรค ของเสีย สารก่อภูมิแพ้และสารที่เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อ สารภูมิแพ้
การล้างจมูกก่อนพ่นยาทำให้ยาพ่นจมูกมีประสิทธิภาพที่ดี
10.เป็นวิธีการเก็บสิ่งคัดหลั่งจากบริเวณโพรงจมูกเพื่อส่งตรวจ
11.ประโยชน์อื่นๆได้แก่ เป็นการดูแลจมูกที่สำคัญในเด็กที่ใส่ nasal CPAP เนื่องจากเด็กที่ใส่ nasal CPAP มักจะมีน้ำมูกในจมูกจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการใส่ nasal CPAP
ข้อแนะนำการล้างจมูก
ควรล้างจมูกเมื่อมีน้ำมูกเหนียวข้นจำนวนมาก
ควรล้างจมูกอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ช่วงตื่นนอนตอนเช้าและก่อนเข้านอนหรือก่อนใช้ยาพ่น จมูก
แนะนำให้ทำในช่วงท้องว่างเพราะจะได้ไม่เกิดอาการอาเจียน
น้ำเกลือและอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูกต้องสะอาด โดยเฉพาะน้ำเกลือไม่ควรใช้ขวดใหญ่เพราะ การเปิดใช้ทิ้งไว้และใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานจะทำให้เชื้อโรคสะสมอยู่ได้ โดยทั่วไปใช้ขวดละ 100 cc เพื่อให้หมดเร็ว จะได้ไม่เกิดการติดเชื้อ
ห้ามใช้น้ำประปาล้างแทนน้ำเกลือ 0.9% เพราะจะทำให้เยื่อบุจมูกบวมเพราะความเข้มข้นไม่ เหมาะสมกับเซลล์ร่างกาย
น้ำเกลือ 0.9% ที่ใช้ล้างจมูกให้เก็บไว้ในที่อุณหภูมิห้อง ไม่ต้องแช่ตู้เย็น เนื่องจากใช้ น้ำเกลือที่เย็นเกินไปล้างจมูกจะทำให้ปวดในโพรงจมูกและเป็นไซนัสได้
หลังฉีดน้ำเกลือเข้าไปในโพรงจมูกให้สั่งน้ำมูกออกทันทีไม่ควรกลั้นหายใจเพราะน้ำเกลือ อาจจะไหลย้อนไปที่ไซนัสได้
การสั่งน้ำมูกให้สั่งเบาๆและไม่ต้องอุดจมูกอีกข้าง เพราะอาจทำให้ปวดหูและแก้วหูทะลุได้
การดูดเสมหะ (suction)
วิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถบ้วนหรือขับเสมหะได้ด้วยตนเอง มักใช้การดูด เสมหะหลังจากการเคาะปอด หรือจัดท่าเพื่อระบายเสมหะ หรืออาจดูเสมหะไปพร้อม ๆ กับการเคาะปอด การดูดเสมหะออกจากทางเดินหายใจ มี 2 แบบ
1) การดูดเสมหะแบบระบบปิด (Close suctioning system)
เป็นวิธีการดูดเสมหะ โดยไม่ต้องปลอดอุปกรณ์ที่กำลังให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วย เนื่องจากมีอุปกรณ์ที่ สามารถดูดเสมหะผ่านอุปกรณ์ที่ให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วยได้ ซึ่งผู้ป่วยยังคงสามารถได้รับออกซิเจนคงที่ และ เครื่องช่วยหายใจทำงานอยู่ตลอดเวลาขณะที่ทำการดูดเสมหะ
2) การดูดเสมหะแบบระบบเปิด (Open suctioning system)
เป็นวิธีการดูดเสมหะโดยการปลดอุปกรณ์ที่กำลังให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วยก่อนทำการดูด เสมหะ
หมายถึง
การใช้สายยางดูดเสมหะที่สะอาดปราศจากเชื้อผ่านเข้าทางปาก จมูก หรืออุปกรณ์ที่ใส่เข้าไปในหลอดลม เพื่อนำเสมหะออกจากทางเดินหายใจ การดูดเสมหะมีความจำเป็นสำหรับ ผู้ป่วยที่มีเสมหะเหนียว หรือปอดทำหน้าที่ลดลงทำให้กลไกการไอไม่เป็นปกติ หรือในผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนเพลีย มาก ไม่สามารถไอขับเสมหะออกมาได้
วัตถุประสงค์ของการดูดเสมหะ
เพื่อขจัด/ขับเสมหะออกจากทางเดินหายใจ ทำให้ผู้ป่วยมีทางเดินหายใจโล่ง
เพื่อกระตุ้นให้เกิดการไอขับเสมหะ
ส่งเสริมให้มีการระบายอากาศในระบบทางเดินหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ปอดมีการ แลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ดียิ่งขึ้น
เพื่อป้องกันการสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าปอด เช่น น้ำ เลือด อาเจียน ป้องกันภาวะปอดอักเสบ ถุงลมปอดแพบ และการติดเชื้อในระบบทางเดินหยใจจากการมีเสมหะคั่งค้าง
ข้อบ่งชี้ในการดูดเสมหะ
หายใจเสียงดัง
กระสับกระส่าย
อัตราชีพจรและการหายใจเพิ่มขึ้น
มีอาการเขียวคล้ำจากการขาดออกซิเจน
สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการดูดเสมหะ
การประเมิน ด้วยการฟังหรือคลำที่ทรวงอกของผู้ป่วยก่อนเสมอ นอกจากนี้ระหว่างดูดหรือ หลังดูดเสมหะ ควรประเมินซ้ำว่าเสมหะลดลงหรือทางเดินหายใจโล่งหรือยังมีปัญหาแทรกซ้อนเกิดขึ้นหรือไม่
การเลือกอุปกรณ์ควรใช้เครื่องดูดเสมหะที่เหมาะสมเครื่องที่ดีควรมีคุณสมบัติที่สามารถปรับ แรงดูดของเครื่องได้ โดยควรปรับแรงดูดให้เหมาะสมตามลักษณะของเสมหะของผู้ป่วยและความแตกต่างของ เด็กเป็นรายกรณีเพราะถ้าเลือกเครื่องที่ใช้แรงดูดมากเกินไป อาจเกิดอันตรายต่อเยื่อบุทางเดินหายใจได้
ระยะเวลาที่ใช้ดูดเสมหะ ไม่ควรเกินประมาณ 15 – 20 วินาที
การเลือกขนาด และชนิดของสายดูดเสมหะควรเลือกขนาดที่เหมาะสมและผลิตจาก วัสดุที่ไม่แข็งเกินไป
วิธีการดูดเสมหะ ควรทำด้วยความนุ่มนวลและถูกเทคนิค เช่น การใส่สายความลึกของสาย ดูดเสมหะ ควรประมาณความยาวของสายจากปลายจมูกถึงติ่งหู ถ้าใส่สายลึกเกินไปอาจเข้าไปในกระเพาะอาหาร
ควรใช้ finger tip หรือ Y connector เพื่อช่วยควบคุมแรงดูดของเครื่องในระหว่างดูด เสมหะ
ช่องทางของการดูดเสมหะ มี 2 ช่องทาง
การดูดเสมหะทางจมูกและทางปาก (Nasopharyngeal and Oropharyngeal Suctioning)
การดูดเสมหะผ่านทางท่อหายใจทางจมูก Nasopharyngeal tube หรือ nasal airway ซึ่งมี ลักษณะเป็นท่อยาวภายในกลวง ลักษณะของท่อโค้ง และมีความยืดหยุ่นให้สามารถสอดใส่เข้าทางรูจมูกผ่านไป ถึงโพรงจมูกด้านหลัง (nasopharyngeal) ได้สะดวก การดูดเสมหะผ่านทางท่อหายใจทางจมูก Nasopharyngeal tube มักใช้ในกรณีผู้ป่วยขบกัด Oral airway บ่อย ๆ
การดูดเสมหะผ่านทางท่อหายใจทางปาก (Oropharyngeal tube หรือ oral airway) ซึ่งเป็นท่อ ขนาดใหญ่กว่าสอดใส่เข้าทางปากผ่านช่องปาก (Oropharyngeal) ไปถึงโคนลิ้น
วิธีการใส่ Oral airway
ให้ผู้ป่วยอ้าปาก แล้วใช้ไม้กดลิ้น เพื่อให้ใส่oral airway ได้ง่ายกดบริเวณกึ่งกลางลิ้น ไม่เกิด การบาดเจ็บในช่องปาก
จับ Oral airway ในลักษณะหงายแล้วค่อย ๆ สอด Airway เข้าช่องปากทางด้านข้าง เพื่อ ไม่ให้กระตุ้น gag reflex
เมื่อส่วนปลายของ oral airway เข้าเลยตำแหน่งกึ่งกลางของลิ้น จึงดึงไม้กดลิ้นออก แล้ว หมุน Oral airway กดลิ้นไว้ตาม Oral cavity พร้อมทั้งค่อย ๆ เลื่อนเข้าไปจน แนวโค้งของลิ้น Oral airway อยู่ในลักษณะคว่ำ
การดูดเสมหะทางท่อหายใจและท่อเจาะคอ (Endotracheal and tracheostomy Suctioning)
การดูดเสมหะทางท่อช่วยหายใจและทางท่อเจาะคอ ช่วยให้สามารถดูดเสมหะที่อยู่ในทางเดิน หายใจส่วนล่างออกมาได้ง่าย โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ไม่สามารถไอขับเสมหะออกได้ การใส่ Endotracheal tube เข้าทางปาก (orotracheal) หรือทางจมูก (nasotracheal) โดยผ่าน epiglottis และ vocal cord เข้าสู่ trachea อย่างไรก็ตามการใส่ Endotracheal tube สามารถใส่ไว้ได้นานไม่เกิน 3-4 สัปดาห์ จึงเปลี่ยนเป็น tracheostomy tube ซึ่งเป็นการใส่เข้าสู่ trachea โดยตรง
ข้อควรระวังในการดูดเสมหะ
การระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ ขณะใส่สายดูดเสมหะให้เปิดด้านหนึ่งของตัวต่อ ป้องกัน การดูดอากาศออกมากเกินไป และจนกว่าสายดูดเสมหะเข้าไปถึงที่ต้องการ จึงปิดรูเพื่อให้เกิดแรงดูด ขณะดูด เสมหะให้หมุนสายยางไปรอบ ๆ และค่อย ๆ ดึงสายดูดเสมหะขึ้นมา
การใช้น้ำเกลือนอร์มัล (Normal saline solution: NSS) หยอดในท่อช่วยหายใจทั้งก่อนและหลัง ไม่ได้ช่วยให้เสมหะอ่อนตัว หรือช่วยให้เสมหะที่เหนียวขับออกไปได้ง่าย แต่กลับทำให้เกิดการกระตุ้นการไอของ ผู้ป่วยมากขึ้น ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดลดลง หลอดลมหดเกร็ง ความดันในกะโหลกศีรษะสูง แบคทีเรียสามารถผ่านลงสู่ทางเดินหายใจส่วนล่างและเจริญเติบโต เกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง และอาจจะไม่สามารถเอาน้ำเกลือนอร์มัลที่เข้าไปออกมาหมดได้
กรณีที่เสมหะเหนียวมาก ให้ใช้การปรับ อุณหภูมิของเครื่องช่วยหายใจให้มีความชื้นในทางเดินหายใจอย่างเพียงพอ
ภาวะขาดออกซิเจน ควรให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนที่มีความเข้มข้น 100 % เป็นเวลา 30-60 วินาที ก่อนดูดเสมหะ เพื่อคงไว้ซึ่งระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดให้ปกติ คือ 95-100 % สำหรับการดูด เสมหะระบบเปิด ผู้ปฏิบัติสามารถทำได้โดยกดปุ่มออกซิเจน 100 % บนหน้าจอของเครื่องช่วยหายใจ หรือ กรณีไม่มีเครื่องช่วยหายใจแบบควบคุมปริมาตร ผู้ปฏิบัติสามารถใช้ถุงลมช่วยหายใจแบบมือบีบ (Air Mask bag Unit: AMBU) ที่ต่อกับออกซิเจน 100 % ด้วยอัตราการไหล 10-15 มิลลิลิตรต่อนาที โดยบีบช้าๆ ประมาณ 4-6 ครั้ง เพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจน และช่วยขยายปอดป้องกันภาวะปอดแฟบ (Lung atelectasis) จากการดูดซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ฉะนั้น จำนวนครั้งที่ใช้ในการดูดเสมหะแต่ละรอบไม่ควรมากกว่า 2 ครั้ง มากที่สุดไม่ควรเกิน 3 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 15 วินาที และระยะห่างของแต่ละครั้ง ประมาณ 20-30 วินาที
การประเมินสภาพผู้ป่วย ก่อนการดูดเสมหะ
สังเกตลักษณะการหายใจค่อนข้างแรงมาก อัตราการหายใจเร็ว
ฟังเสียงปอดได้ยินเสียงเสมหะ
ผู้ป่วยมีอาการรู้สึกเหนื่อย หายใจลำบาก ได้ยินเสียงดังขณะหายใจเข้าและหายใจออก
ลักษณะสีผิว เล็บ และริมฝีปาก มีอาการ Cyanosis
ผู้ป่วยมีอาการซึมลง
การไอไม่มีประสิทธิภาพที่จะขับเสมหะออกได้
ลักษณะเสมหะ เหนียว และมีจำนวนมาก
ผู้ป่วยอาเจียนหรือขย้อนอาหารอยู่ในปาก
หลักการปฏิบัติการดูดเสมหะทางท่อหลอดลมคอ
1.ล้างมือให้สะอาดก่อนดูดเสมหะ
2.บอกอธิบายผู้ป่วยและญาติให้เข้าใจ เพื่อช่วยลดความกลัวและให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการ ปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล
3.ใช้เครื่องฟังตรวจ ฟังเสียงการทำงานของปอด สังเกตและบันทึกการหายใจ เพื่อเปรียบเทียบ กับภายหลังที่ผู้ป่วยได้รับการดูดเสมหะ
4.เตรียมอุปกรณ์ต่างๆให้ครบ พร้อมทั้งตรวจสอบเครื่องดูดเสมหะให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้ได้ และการใช้ความดันในการดูดเสมหะควรใช้ให้เหมาะสม คือ ผู้ใหญ่ประมาณ100-120 มม.ปรอท เด็กประมาณ 70-80 มม.ปรอท เพื่อป้องกันเลือดออก หรือระคายเคืองต่อเยื่อบุและเนื้อเยื้อต่างๆ
5.จัดท่านอนให้ผู้ป่วย นอนหงายศีรษะสูง 30-45 องศา (Semi-fowler’s position) เพื่อให้ หลอดลมตรงและเปิดกว้าง สะดวกต่อการใส่สายดูดเสมหะลงไป
6.ก่อนดูดควรให้ออกซิเจน 100 % เพื่อป้องกันภาวะที่ร่างกายขาดออกซิเจน เพราะการดูด เสมหะนั้นจะดูดอากาศที่มีออกซิเจนออกมาด้วย
7.สวมถุงมือสะอาดปราศจากเชื้อและจับสายดูดเสมหะต่อเข้ากับหัวต่อเครื่องดูดเสมหะ มืออีก ข้างเปิดเครื่องดูดเสมหะ
8.ใส่สายดูดเสมหะลงไปบริเวณที่มีเสมหะมากและไม่มีข้อห้ามใดๆ อาจดูดเสมหะไปถึงบริเวณที่ แยกจากหลอดลมใหญ่
9.ขณะที่ใส่สายดูดเสมหะควรปิดสายดูดเสมหะไว้ก่อน หรือถ้าเป็นหลอดสำหรับต่อรูปตัว Yก็ยัง ไม่ใช้นิ้วอุดบริเวณที่ไม่ได้ต่อกับสายจนกว่าสายดูดเสมหะเข้าไปในที่ต้องการจึงเปิดสายดูดเสมหะ หรือใช้นิ้วอุด หลอดรูปตัว Y ส่วนที่ไม่ได้ต่อกับสาย เพื่อป้องกันการดูดอากาศมากเกินไปและระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดิน หายใจ และหากผู้ป่วยมีอาการไอขณะที่ดูดเสมหะควรดึงสายดูดเสมหะออกก่อนเพื่อป้องกันความดันใน หลอดลมเพิ่มขึ้น
10.ขณะดูดเสมหะให้ใช้นิ้วปิดรูตรงหัวข้อต่อ เพื่อให้ภายในสายดูดมีแรงดูดเกิดขึ้นแล้วค่อยๆหมุน สายยางไปรอบๆ และค่อยๆ ดึงสายดูดเสมหะออกมาช้าๆ เพื่อให้รูเปิดของสายดูด ดูดเสมหะภายในท่อทางเดิน หายใจโดยรอบ
11.ใช้เวลาในการดูดเสมหะไม่นานเกิน 15 วินาที หรือเวลาประมาณเท่ากับการกลั้นหายใจของผู้ ดูดเสมหะ
12.ล้างสายดูดเสมหะลงในขวดน้ำที่สะอาด ดูดน้ำผ่านสายดูดเสมหะเพื่อชะล้างภายในสาย ปิด สวิทซ์เครื่องดูดเสมหะ ปลดปลายสายดูดเสมหะทิ้งและเช็ดปลายสายที่ต่อกับสายดูดเสมหะด้วยสำลี แอลกอฮอล์70% และแขวนเข้าที่ให้เรียบร้อย
13.หลังดูดเสมหะควรให้ออกซิเจน 100% เพื่อช่วยลดภาวะขาดออกซิเจน
14.ใช้เครื่องฟังตรวจ ฟังเสียงการทำงานของปอดภายหลังการดูดเสมหะ เพื่อประเมิน ประสิทธิภาพของการดูดเสมหะ
การดูดเสมหะในช่องทางเดินหายใจ (Suction in the airway)
จุดประสงค์
เพื่อนำเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ที่คั่งค้างออกจากช่องทางเดินหายใจส่วนต้น
เพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจโล่ง หายใจสะดวก
หลักการดูดเสมหะในช่องทางเดินหายใจ
ใช้แรงดูดในระดับที่น้อยที่สุดที่สามารถดูดเสมหะออกมาได้ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละคน
ต้องสังเกตสัญญาณชีพ อาการ และอาการแสดงของผู้ป่วยขณะดูดเสมหะด้วย
อุปกรณ์
ชุดเครื่องดูดเสมหะแบบติดผนังหรือแบบเคลื่อนที่ได้พร้อมชุดสายต่อ
Finger Tip หรือ Y tube ปลอดเชื้อ กรณีสายดูดเสมหะเป็นแบบธรรมดา
สายดูดเสมหะปลอดเชื้อขนาดเหมาะสมกับผู้ป่วย คือ
เด็ก ใช้ขนาด 8-10 Fr.
ผู้ใหญ่ ใช้ขนาด12-16 Fr.
ถุงมือปลอดเชื้อข้างที่ถนัด 1 ข้าง
ขวดปลอดเชื้อบรรจุ Sterile water หรือ NSS
สำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% 2 – 3 ก้อน
ชุดให้ออกซิเจนแบบหน้ากาก (O2 mask )
ผ้าปิดปากและจมูก (Mask)
ขวดและหรืออ่างใส่น้ำยาแช่สายดูดเสมหะและถุงมือใช้แล้ว (กรณีใช้สายดูดเสมหะเป็นแบบ นำกลับมาใช้อีก Re –use)
การเตรียมการ
ประเมินสภาพผู้ป่วย โดยพิจารณาลักษณะการหายใจ เช่น ต้องออกแรงหายใจ มีเสียง เสมหะ เสียงครืดคราดในคอ กระสับกระส่าย เป็นต้น ถ้ามีข้อบ่งชี้ดังกล่าว แสดงว่าอาจมีเสมหะในทางเดิน หายใจ ถ้าผู้ป่วยไอออกเองไม่ได้ต้องทำการดูดเสมหะ
ตรวจดูประวัติการผ่าตัดและการบาดเจ็บบริเวณปาก จมูก เพื่อหลีกเลี่ยงบริเวณนั้น ขณะดูด เสมหะ
บอกผู้ป่วยว่าจะดูดเสมหะให้ อธิบายขั้นตอนวิธีการ เพื่อให้ผู้ป่วยร่วมมือขณะดูดเสมหะ
ปิดประตูหรือกั้นม่านถ้าผู้ป่วยต้องการ
จัดท่าให้เหมาะสม โดยถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัว จัดให้นอนท่า Semi Fowler's position โดย ศีรษะหันมาทางพยาบาลที่จะทำการดูดเสมหะและแหงนหน้าเล็กน้อย และถ้าผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวจัดให้นอนตะแคง หันหน้ามาทางพยาบาลที่จะดูดเสมหะ
ล้างมือ สวมผ้าปิดปากและจมูก(mask) และเตรียมอุปกรณ์และมาที่เตียงผู้ป่วย
วิธีการปฏิบัติ
เข้ายืนข้างเตียงผู้ป่วยทางด้านที่จะใช้มือข้างถนัดได้สะดวก
ฉีกหรือตัดซองสายดูดเสมหะด้านที่มีหัวสวมเตรียมไว้ (ถ้าใช้สายที่อยู่ในซอง)
ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% เช็ดปลายสายยางที่ต่อจากเครื่องดูดเสมหะ แล้วแขวนลอยไว้ ระวังมิให้สัมผัสสิ่งใด ๆ
สวมถุงมือข้างที่ถนัด ด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ
ใช้มือข้างที่ไม่ได้สวมถุงมือ หยิบสายดูดเสมหะเลื่อนให้สายดูดเสมหะพ้นจากซอง พร้อมกับ ใช้มืออีกข้างที่ใส่ถุงมือปลอดเชื้อดึงสายดูดเสมหะให้ออกจากซองและพันไว้กับมือ 1 รอบ โดยให้ส่วนที่ เป็น Finger tip อยู่ในอุ้งมือ
ต่อ Finger tip เข้ากับสายยาง ที่ต่อจากขวดดูดเสมหะ ซึ่งเตรียมไว้
เปิดเครื่องดูดเสมหะและปรับแรงดูดให้เหมาะสมกับผู้ป่วย โดยใช้นิ้วปิดรูของ Finger tip (หรือใช้จุกที่มีในตัวปิด) แรงดันที่เหมาะสม
เครื่องดูดเสมหะชนิดติดฝาผนัง (Wall suction)
ผู้ใหญ่ 100 – 120 mmHg. หรือ ประมาณ 13-16 Kpa
เด็กโต 80 - 100 mmHg. หรือ ประมาณ 10-13 Kpa
เด็กเล็ก 50 – 90 mmHg. หรือ ประมาณ 6-12 Kpa
** 1 กิโลกรัมปาสคาล เท่ากับ ประมาณ 7.5 มิลลิเมตรปรอท เครื่องดูดเสมหะชนิดรถเคลื่อนที่ใช้ไฟฟ้า (Portable suction machine)
ผู้ใหญ่ 10 - 15 mmHg
เด็กเล็ก 2 - 5 mmHg.
เด็กโต 5 - 10 mmHg.
ถ้าช่องจมูกมีเสมหะด้วยต้องดูดในจมูกก่อนดูดในช่องปาก
การดูดเสมหะในช่องปากโดย
9.1 ค่อยๆ สอดสายดูดเสมหะ (โดยเปิดรูเปิดของ Finger Tip หรือ Y tube) เข้า ไปในปากจนถึงด้านหลังของช่องปาก ซึ่งจะใส่ลึกประมาณ 3 – 4 นิ้ว เมื่อใส่ลึกได้ตามที่ต้องการแล้ว จึงเริ่ม ปิดรูเปิดของ Finger Tip แล้วค่อยๆ ดึงสายออกมา โดยขณะดึงออกหมุนสายเล็กน้อย เพื่อจะได้ดูดเสมหะได้ ดีขึ้น หลังดูดเสมหะในแต่ละตำแหน่งหยุดพักให้ผู้ป่วยหายใจ 5 – 10 ครั้งก่อน และในระหว่างดูดเสมหะ สังเกตสัญญาณชีพ อาการ และอาการแสดงของผู้ป่วย ถ้ามีอาการเหนื่อยให้ O2 mask ก่อนและหลังดูด เสมหะด้วย
9.2 ทำการดูดเสมหะในกระพุ้งแก้มและใต้ลิ้น ด้วยวิธีเดียวกับการดูดบริเวณ ด้านหลังของช่องปากในข้อ 9.1
เมื่อดูดเสมหะทางปากเสร็จแล้ว ล้างสายดูดเสมหะลงในขวด Sterile water หรือ NSS ดูด ไล่เสมหะในสายออกให้สะอาดใส
ปิดเครื่องดูดเสมหะ ปลดสายดูดเสมหะออกจากข้อต่อแช่ในขวดหรือกะละมังที่มีน้ำยาฆ่า เชื้อ กรณีต้องการนำกลับมาใช้ซ้ำอีก
เช็ดปาก-จมูกของผู้ป่วยให้สะอาด จัดให้อยู่ในท่าที่สบายและไม่ขัดต่อแผนการรักษา
ถอดถุงมือแช่ในกาละมังที่มีน้ำยาฆ่าเชื้อนำอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ไปล้างและเก็บเข้าที่
ล้างมือให้สะอาด
บันทึกลักษณะจำนวนเสมหะลงในบันทึกการพยาบาล
หมายเหตุ
กรณีใช้ครั้งเดียวทิ้ง สามารถถอดถุงมือคลุมสายดูดเสมหะก่อนทิ้ง เพื่อป้องกันการ กระเด็นของสารคัดหลั่ง
การประเมินผล
ฟังเสียงการหายใจที่ปอด (Lung sound) หลังดูดเสมหะ
ติดตามดูอาการ อาการแสดงของผู้ป่วยหลังดูดเสมหะ
ข้อควรคำนึงถึง
การสอดใส่สายดูดเสมหะอย่างไม่ระมัดระวังและการใช้แรงดูดสูง จะทำให้เกิดการทำลายของ เยื่อบุในช่องปากและจมูก ทำให้ระคายเคืองและเลือดออกได้
การดูดเสมหะในหลอดลม (Tracheobronchial suction)
สามารถทำได้โดยใส่สายผ่านเข้าไปเพื่อดูดเสมหะ ได้ 3 ทาง
ใส่ผ่านทางจมูก Nasotracheal suction
ใส่ผ่านทาง Endotracheal tube
ใส่ผ่านทาง Tracheostomy tube
จุดประสงค์
เพื่อนำเสมหะและสิ่งคัดหลั่งออกจากหลอดลมและปอด
เพื่อให้ทางเดินหายใจเปิดโล่ง
หลักการดูดเสมหะในหลอดลม
ต้องใช้เทคนิคปลอดเชื้อในการดูดเสมหะ
ต้องให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วยให้เพียงพอก่อนและหลังดูดเสมหะ
ต้องสอดสายดูดเสมหะอย่างเบามือ ระวังการกระแทกและการถูกทำลายของเนื้อเยื่อของ หลอดลมและปอด
ระยะเวลาการดูดเสมหะแต่ละครั้งไม่เกิน 15 วินาที
ขณะดูดเสมหะต้องสังเกตอาการ อาการแสดง และสัญญาณชีพ
อุปกรณ์
ชุดเครื่องดูดเสมหะแบบติดผนังหรือแบบเคลื่อนที่ได้พร้อมชุดสายต่อ
Finger Tip (หรือ Y tube) ปลอดเชื้อ
สายดูดเสมหะปลอดเชื้อ ขนาดเหมาะสมกับผู้ป่วย
ถุงมือปลอดเชื้อข้างที่ถนัด 1 ข้าง
ขวดปลอดเชื้อบรรจุ Sterile water หรือ NSS
สำลีปลอดเชื้อชุบแอลกอฮอล์ 70% จำนวน 2 ก้อน
ชุดให้O2 mask หรือทางเครื่องช่วยหายใจที่ผู้ป่วยได้รับอยู่ขณะนั้น
ผ้าปิดปากและจมูก (Mask)
ขวดหรืออ่างใส่น้ำยาแช่ถุงมือและสายดูดเสมหะใช้แล้ว
Nasal airway
การเตรียมการ
ประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนดูดเสมหะ ถ้าประเมินได้ว่าผู้ป่วยมีเสมหะจึงจะทำการดูดเสมหะ โดยพิจารณาจากลักษณะการหายใจ เช่น ต้องออกแรงหายใจ มีเสียงเสมหะเสียงดังครืดคราดในทางเดินหายใจ อาการกระสับกระส่าย เป็นต้น
บอกผู้ป่วยว่าจะดูดเสมหะ ให้อธิบายขั้นตอนและวิธีการเพื่อให้ผู้ป่วยร่วมมือในขณะทำการ ดูดเสมหะ
ปิดประตูหรือกั้นม่านถ้าผู้ป่วยต้องการ
จัดให้ผู้ป่วยนอนในท่า Semi-Fowler's position
ใส่ Nasal airway ถ้าจะดูดเสมหะในหลอดลมผ่านทางจมูก
ล้างมือ สวมผ้าปิดปากและจมูก (Mask) และเตรียมอุปกรณ์นำมาที่เตียงผู้ป่วย
วิธีการปฏิบัติ
ปฏิบัติเช่นเดียวกับการดูดเสมหะท่อทางเดินหายใจ ตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 7
บอกให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ 4-5 ครั้ง หรือให้ออกซิเจนด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ให้ทาง Resuscitation bag/AMBU, ตั้งเครื่องช่วยหายใจให้มีการถอนหายใจ ตามความเหมาะสมให้ เพียงพอก่อนดูดเสมหะ โดยใช้มือข้างที่ไม่ได้สวมถุงมือ
ทำการดูดเสมหะในหลอดลม โดย
3.1 การดูดเสมหะในหลอดลมผ่านทางจมูก
3.1.1 สอดสายดูดเสมหะผ่านทาง Nasal airway อย่างเบามือแต่เร็ว โดยยังไม่ใช้แรงดูดขณะสอดเข้าไป สอดเข้าลึกจนรู้สึกมีแรงต้าน ดึงขึ้นมาประมาณ 1-2 ซม. จึงใช้แรงดูดแล้วค่อยๆ หมุน สายพร้อมค่อยๆ ดึงขึ้นมา โดยระยะเวลาในการดูดเสมหะตั้งแต่สอดสายเข้าจนถึงดึงสายพ้น Nasal airway ไม่ควรเกิน 15 วินาที
3.1.2 ให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วยโดยครอบ O2 mask แล้วให้ผู้ป่วยหายใจเข้า-ออกลึกๆ ประมาณ 5 – 10 ครั้ง ถ้าทำได้
3.1.3 ดูดเสมหะซ้ำด้วยวิธีเดิม ถ้าจำเป็นแต่ต้องเว้นระยะห่างของแต่ละครั้ง อย่างน้อย ประมาณ 20-30 วินาที
3.1.4 ให้ออกซิเจน
3.1.5 นำสายดูดเสมหะดูดน้ำในขวดบรรจุSterile water หรือ NSS ให้เสมหะหลุด ออกจากสาย
3.2 การดูดเสมหะในหลอดลมคอผ่านทาง Endotracheal tube
ก่อนการดูดเสมหะในท่อช่วยหายใจ ให้ทำการดูดเสมหะน้ำลายในปากและลำคอก่อน โดยใช้คน ละสายกับท่อช่วยหายใจ จะช่วยป้องกันการสำลัก (Aspiration) ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการดูดเสมหะภายใน ท่อช่วยหายใจ ความดันที่ใช้ดูดเสมหะน้ำลายในปากและลำคอ ไม่ควรเกิน 80 มิลลิเมตรปรอท และควรทำ ความสะอาดภายในช่องปาก (Oral hygiene) ในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจก่อนการดูดเสมหะ เพื่อลดการสะสม และการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปาก ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อจากการใส่ท่อช่วยหายใจ และลด การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง (Lower respiratory tract infection) ได้
3.2.1 สอดสายดูดเสมหะอย่างเบามือแต่เร็วเข้าไปใน Endotracheal tube ถ้า เป็นไปได้ควรใส่เข้าไปในช่วงหายใจเข้า (Inspiration) ซึ่งการดูดเสมหะในท่อจะใช้สายดูดเสมหะคนละสายกับ ที่ใช้ดูดในปาก การใส่สายดูดเสมหะในท่อช่วยหายใจจะไม่ใส่ลึกมากเกินไป เพราะจะเป็นสาเหตุของการไอ และไปกระตุ้นเส้นประสาทวากัส (Vagus nerve) ซึ่งตำแหน่งความลึกที่เหมาะสมของการดูดเสมหะคือ ตำแหน่งทางแยกของแขนงหลอดลม (Carina) เมื่อใส่สายดูดเสมหะเข้าไปภายในท่อแล้ว จนกระทั่งถึงตำแหน่ง Carina แล้ว ให้ถอยสายออกมาประมาณ 1-2 เซนติเมตร แล้วจึงทำการดูดเสมหะ โดยใช้แรงดูดพร้อมกับ ค่อยๆ หมุนและดึงสายดูดเสมหะขึ้นมา บอกให้ผู้ป่วยไอถ้าทำได้ ระยะเวลาในการดูดเสมหะแต่ละครั้งไม่ควร เกิน 15 วินาที
3.2.2 ให้ออกซิเจน 100 %
3.2.3 ดูดเสมหะด้วยวิธีเดิมซ้ำถ้าจำเป็น โดยเว้นระยะห่างของแต่ละครั้ง ประมาณ 20-30 วินาที
3.2.4 ต้องประเมินสภาพผู้ป่วยด้วยการสังเกตลักษณะการหายใจ และการเต้นของ หัวใจด้วย
3.2.5 หลังดูดเสมหะเสร็จ ต่อเข้ากับเครื่องช่วยหายใจหรือให้ออกซิเจนตามเดิม
3.2.6 นำสายดูดเสมหะดูดน้ำในขวดบรรจุ Sterile water หรือ NSS ให้เสมหะหลุดออกไปจากสาย
3.2.7 หลังดูดเสมหะในท่อหลอดลมเสร็จแล้ว ดูดเสมหะในช่องทางเดินหายใจส่วนต้น ได้แก่ ในช่องปากและจมูกด้วยถ้าจำเป็น
3.3 การดูดเสมหะในหลอดลมผ่านทาง Tracheostomy tube
3.3.1 สอดสายดูดเสมหะอย่างเบามือแต่เร็วเข้าไปใน Tracheostomy tube จน รู้สึกติด ดึงกลับขึ้นมาเล็กน้อยประมาณ 1-2 ซม. แล้วจึงใช้แรงดูดพร้อมกับหมุนสายและค่อยๆ ดึงขึ้นมาใช้ เวลาไม่เกิน 15 วินาที
3.3.2 ให้ออกซิเจน 100 %
3.3.3 ดูดเสมหะตามขั้นตอนเดิมซ้ำถ้าจำเป็น โดยปล่อยให้มีช่วงพักอย่างน้อย 20-30 วินาที
3.3.4 ต้องประเมินสภาพผู้ป่วยจากลักษณะการหายใจ ชีพจร ในระหว่างทำการดูดเสมหะ
3.3.5 หลังดูดเสมหะเสร็จ ต่อเข้ากับเครื่องช่วยหายใจหรือให้ออกซิเจนตามเดิม
3.3.6 นำสายดูดเสมหะไปดูดน้ำในขวดปลอดเชื้อบรรจุ Sterile water หรือ NSS เพื่อไล่เสมหะออกจากสาย
หลังดูดเสมหะในหลอดลมเสร็จแล้ว ดูดเสมหะในช่องทางเดินหายใจส่วนต้น ได้แก่ ในช่อง ปากและจมูกด้วยถ้าจำเป็น
ปลดสายดูดเสมหะออกจาก Finger Tip
( หรือ Y tube) และถอดถุงมือนำลงแช่ใน กะละมังที่ใส่น้ำยาสำหรับฆ่าเชื้อ ปิดเครื่องดูดเสมหะ
Dressing แผลรอบๆ Tracheotomy ขยับสายผูกใหม่ หรือเปลี่ยนใหม่ถ้าเปียกเปื้อน โดย Inflated cuff (ใส่ลมเข้าไป cuff โป่ง) ไว้ในระหว่างทำ แล้วเอาลมออกหลังทำเสร็จ เมื่อมั่นใจว่าผูกสายแน่น ดีแล้วเพื่อป้องกันไม่ให้ท่อหลุด เวลาผู้ป่วยไอ
จัดท่าให้ผู้ป่วยให้อยู่ในท่าสบายและไม่ขัดต่อแผนการรักษา
บันทึกผลการกระทำ ระบุชนิด จำนวนของ Secretion และลักษณะการหายใจของผู้ป่วย
หมายเหตุ กรณีใช้ครั้งเดียวทิ้ง สามารถถอดถุงมือคลุมสายดูดเสมหะก่อนทิ้ง เพื่อป้องกันการ กระเด็นของสารคัดหลั่ง
การประเมินผล
ติดตามอาการ อาการแสดง เช่น ลักษณะการหายใจ สีผิว เสียงการหายใจ
ฟังเสียงการหายใจที่ปอด (lung sound)
ข้อควรคำนึงถึง
การดูดเสมหะในหลอดลม ถ้าทำโดยไม่ใช้เทคนิคปลอดเชื้อจะเป็นการนำเชื้อเข้าสู่ทางเดิน หายใจและปอดโดยตรง
การดูดเสมหะในหลอดลมแต่ละครั้ง ถ้าใช้เวลานานเกิน 15 วินาที อาจทำให้ผู้ป่วยขาด ออกซิเจนและมีอาการเขียวคล้ำ หัวใจเต้นเร็ว และหยุดหายใจได้
การดูแลรักษาท่อหลอดลมเทียม (Providing Tracheostomy care)
จุดประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมการหายใจและป้องกันการอุดกั้นทางเดินหายใจจากการคั่งค้างของสารคัดหลั่ง
เพื่อส่งเสริมความสะอาดและป้องกันการติดเชื้อและการทำลายผิวหน้าบริเวณรอบๆท่อหลอดลมเทียม
อุปกรณ์
ถุงมือปลอดเชื้อ
ก้านสำลีปลอดเชื้อ
ก๊อซปลอดเชื้อ (4” x 4”)
เชือกผูกยึดท่อหลอดลมเทียม
กรรไกรปลอดเชื้อ
น้ำยาฆ่าเชื้อ (Hydrogen Peroxide)
NSS
แปรงทำความสะอาด
ภาชนะใส่น้ำยา 2 อัน
การเตรียมการ
จุดเตรียมอุปกรณ์ให้ครบ
ล้างทำความสะอาดมือ
น้ำยา Hydrogen Peroxide และ NSS ใส่ในภาชนะโดยแยกภาชนะกัน
วิธีการปฏิบัติ
ใส่ถุงมือปลอดเชื้ออย่างถูกวิธี
โดยปลดท่อตัวใน (inner cannula) โดยการหมุนปลดล็อคตามเข็มนาฬิกา
แช่ท่อตัวใน (inner cannula) ในน้ำยาฆ่าเชื้อ (Hydrogen peroxide)
ทำความสะอาดภายในช่องของท่อตัวใน (Lumen) และบริเวณผิวด้านนอกของท่อตัวใน
(inner cannula) โดยใช้แปรงขัดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ hydrogen peroxide
ล้างท่อตัวใน (inner cannula) โดยแช่ในน้ำยา Normal saline โดยให้น้ำผ่านเข้าใน ช่องของท่อ (lumen)
เช็ดให้แห้งด้วยก๊อซปลอดเชื้อ
ใส่ท่อตัวในลงไปในช่องของท่อหลอดลมเทียม (outer cannula) จากนั้นหมุนปิดล็อค (lock) โดยหมุนทวนเข็มนาฬิกา
เช็ดทำความสะอาดรอบ ๆ ท่อหลอดลมเทียบและใต้แผ่นรอง (faceplate) ด้านก้านสำลีชุบ NSS
เปลี่ยนสายผูกท่อหลอดลมเทียม โดยขณะทำการเปลี่ยนระวังจังหวะที่ผู้ป่วยเคลื่อนไหวและไอ จาม อาจทำให้ท่อหลอดลมเทียมเกิดการเคลื่อนที่ของตำแหน่งไปจากเดิมได้
ตัดก๊อซปลอดเชื้อเป็น 2 แฉก ประมาณ ½ ของความ
ยาวก๊อซ หรือใช้ก๊อซพับครึ่ง 2 ชิ้น (ข้างละชิ้น/ซ้ายและขวา)
สอดกอซที่เตรียมไว้ใต้แผ่นรอง (faceplate) โดยให้รอยแยกอยู่ระหว่างท่อหลอดลมเทียม โดยใช้ก้านสำลีช่วยกันกอซใต้แผ่นรอง (faceplate)
ถอดถุงมือ
จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สุขสบาย
ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
บันทึกการพยาบาล
การติดตามภายหลังการดูดเสมหะ
ภายหลังการดูดเสมหะทุกชนิด จะต้องมีการติดตามโดย สังเกตและบันทึกสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อทราบการเปลี่ยนแปลงและหาทางช่วยเหลือได้ทันท่วงที
สัญญาณชีพ
จำนวน สีและความเหนียวเสมหะ
การไอ
การหายใจติดขัด
ความบ่อยครั้งของการดูดเสมหะ
การมีเลือดออก
การตอบสนองอย่างอื่น หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจพบ เช่น การกระสับกระส่าย คลื่นไส้ อาเจียน ชีพจรช้า การติดเชื้อบริเวณที่ได้รับการผ่าหลอดลมระบาย หลอดลมตีบหรือ มีรูทะลุระหว่างหลอดลม และหลอดอาหาร ร่างกายขาดออกซิเจน ความดันโลหิตต่ำ หัวใจหยุดเต้น เป็นต้น
อาการและอาการแสดงที่แสดงถึงการดูดเสมหะได้ผลดี
ทางเดินหายใจโล่งไม่มีเสมหะอุดตันทางเดินหายใจ
ร่างกายได้รับออกซิเจนเพียงพอโดยการประเมินจากค่า O2Satuation
ไม่เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจ
ผิวหนังและเยื่อบุในจมูก ปากและรอบ ๆ หลอดหรือท่อใส่ภายในหลอดลมคอปกติ
ไม่มีการทำลายหรือระคายเคืองของหลอดลม
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการดูดเสมหะ
มีเสมหะ ซึ่งอาจทำให้เกิดการอุดตันทางเดินหายใจ
ขาดออกซิเจน หัวใจเต้นช้า ปอดแฟบ
ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
มีการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ
เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจ
มีรอยแผล หรือ รอยแดงของผิวหนังรอบๆ หลอดหรือท่อที่ใส่ภายในหลอดลมคอ
กระทบกระเทือนหลอดลม เช่น มีเนื้อตายหรือทะลุ