Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทนำสู่การวิจัย, image, image - Coggle Diagram
บทนำสู่การวิจัย
ลักษณะของทฤษฎีทางสังคมศาสตร์
ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ไม่มีบทบาทในการประเมินค่าข้อมูลที่ศึกษาในแง่ว่าควรหรือไม่ควรดีหรือไม่ดีคือเป็นทฤษฎีที่ตามสังคมไม่นำสังคม
เป็นทฤษฎีที่อธิบายสาเหตุของพฤติกรรมที่เป็นปรากฏการณ์ทางสังคม
3 นักสังคมศาสตร์ส่วนใหญ่เริ่มต้นด้วยการศึกษาทฤษฎี และนำทฤษฎี และนำทฤษฎีไปอธิบายข้อเท็จจริงทางสังคมมากกว่าจะเป็นนักสร้างทฤษฎี
ความรู้และการเรียนรู้ของมนุษย์
ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้
1.ความรู้คือความเข้าใจที่ตรงต่อสภาพความเป็นจริง
2.ความรู้ทำให้เราสามารถจัดการกับสถานการณ์และปัญหาต่างๆ
3.แบบแผนของความรู้ต้องเป็นแบบที่มีเหตุผลและพิสูจน์ได้
ความรู้ของมนุษย์
1.ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติที่แวดล้อมมนุษย์
2.ความรู้เกี่ยวกับสังคมที่มนุษย์เป็นสมาชิก
3.ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ที่ดีมีคุณค่า
ความรู้ความจริงทางสังคมศาสตร์
ความรู้ที่ได้จากประสาทสัมผัส แบ่งออกได้เป็นอีก 2 ส่วนคือ ความรู้ที่ได้จากประสาทสัมผัสโดยตรงจากลิ้น หู ตา จมูก และกาย ความรู้ที่ได้จากประสาทสัมผัส แต่ไม่ใช่ความรู้โดยตรง เนื่องจากเป็นความรู้ที่เกิดจากการใช้เครื่องมืออื่นช่วย
ความรู้ที่ได้จากการตีความเกิดจากการใช้ความคิด ใช้เหตุผล ใช้สติปัญญาความสามารถของบุคคล การสร้างความรู้สึกจากการตีความก็คือการเชื่อมโยงสิ่งที่ต่างกันเข้ามารวมกัน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเชื่อมโยงความหลากหลายเข้าเป็นเอกภาพนั้น เกิดจากความคิดของมนุษย์
ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และพฤติกรรมศาสตร์
วิทยาศาสตร์เป็นต้นแบบของการศึกษาทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ โดยสังคมศาสตร์ให้ความสำคัญกับการศึกษาสภาพจริงศึกษาในฐานะข้อเท็จจริงคล้ายๆกับวิทยาศาสตร์แต่วิทยาศาสตร์นั้นใช้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธรรมชาติเป็นข้อมูล ขณะที่สังคมศาสตร์ใช้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมเป็นข้อมูลในการศึกษา การที่สังคมศาสตร์ใช้ข้อเท็จจริงเป็นข้อมูลในการศึกษาเช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์ก็เพราะต้องการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับสังคมอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ให้มากที่สุดนั่นเอง