Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ - Coggle Diagram
การพยาบาลเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
วิธีการแพร่กระจายเชื้อ
Vectorborne transmission แพร่กระจายเชื้อโดยแมลง หรือสัตว์นำโรค
Air bone transmission แพร่กระจายโดยการสูดหายใจเอาเชื้อที่ลอยอยู่ในอากาศเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ
Common Vehicle transmission แพร่กระจายจากการที่มีเชื้อจุลชพปนเปื้อนอยู่ในเลือด อาหาร น้ำ ยา สารน้ำที่ให้กับผู้ป่วย
Contact transmission
1.Direct contact จากคนสู่คน
2.Indirect contact การสัมผัสสิ่งของหรืออุปกรณ์การแพทย์ที่มีเชื้อปนอยู่ หรือการที่รับเชื้อเข้าสู่รับร่างโดยผ่านตัวกลาง
3.Droplet spread เกิดจากการสัมผัสกับฝอย ละออง น้ำมูก น้ำลาย
โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล Nosocomial infection
เกิดจากการได้รับเชื้อขณะที่ผู้ป่วยได้รับการตรวจ หรือได้รับการพยาบาล และติดเชื้อของบุคลากรจากการปฏิบัติิงาน (ปกติจะเกิดขึ้นภายใน 48-72 ชั้วโมง หรือ 2-3 วัน เมื่อรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล)
ภาวะปลอดเชื้อและเทคนิคปลอดเชื้อ
หรือการกีดกั้นเชื้อ (Asepsis) คือ การปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่จะเกิดกับเครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ในการควบคุมการติดเชื้อ ลดแหล่งของเชื้อโรคและการแพร่กระจายเชื้อ
เทคนิคปลอดเชื้อ
(Aseptic technique)
การกีดกั้นเชื้อชนิดไม่เคร่งครัด
(Medical asepsis)
เทคนิคการทำให้สะอาด
(Clean technique)
การแยกผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อด้วยวิธีการแยกเฉพาะ
(Isolation technique)
การกีดกั้นเชื้อชนิดเคร่งครัด
(Surgical asepsis)
เทคนิคการทำให้สะอาด
(การใส่ถุงมือ,เสื้อคลุม ที่นึ่งแล้ว)
การใช้ปากคีบที่ทำให้ไร้เชื้อหยิบเครื่องมือเครื่องใช้
ที่สะอาดปราศจากเชื้อ
เทคนิคปราศจากเชื้อ
(Sterile technique)
เครื่องมือเครื่องใช้ปราศจากเชื้อ
(sterile)
การทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้
การล้าง
(Clensing)
เป็นขั้นแรกที่สำคัญที่สุดสาหรับการทำลายเชื้อในขั้นต่อไป น้ำยาไม่สามารถทำลายเชื้อไได้ าหกไม่มีการล้าง เพราสิ่งที่เปื้อนจะทำปฏิกิริยากับน้ำยาหรือเป็นเกราะป้องกันเชื้อโรคไม่ให้สัมผัสกับน้ำยา
วัตถุประสงค์ของการล้างเครื่องมือก่อนนำไปทำลายเชื้อ
1.เพื่อลดจำนวนเชื้อโรคบนเครื่องมือให้เหลือปริมาณน้อยที่สุด
2.เพื่อเป็นการลดสิ่งปนเปื้อนที่ติดอยู่บนผิวของเครื่องมือ
3.ความสกปรกที่ติดแน่นบางอย่าง ไม่สามารถหลุดได้
4.ช่วยลดอันตรายในการหยิบจับอุปกรณ์ของเจ้าหน้าที่เป็นเบื้องต้น
ข้อควรคำนึงในการล้าง
1.กำจัดสารคัดหลั่งต่างๆ ออกก่อนทำความสะอาดเสมอ
2.ไม่ทำให้อุปกรณ์ เครืื่องใช้ชำรุดเสียหายจากการทำความสะอาด
3.ไม่ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้สกปรกกว่าเดิม
4.สารจากสบู่มีฤทธิ์เปป็นด่าง ถ้าล้างออกไม่หมดจะช่วยเคลือบเชื้อจุลชีพไว้ (ไม่ควรมีสารตกค้างหลงเหลืออยู่)
วิธีทำ
1.ใส่อุปกรณ์ป้องกันความสกปรกตามความเหมาะสม ระมัดระวังไม่ให้เปื้อนบริเวณใกล้เคียง
2.ล้างคราบสิ่งสกปรก และคราบสารผงซักฟอกออกให้หมดโดยใช้น้ำก็อกที่ไหลชะผ่าน
3.เช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาด หรือวางผึ่งลมก่อนเก็บเข้าที่หรือแยกไปทำให้ปราศจากเชื้อ
4.ทำความสะอาดอุปกรณ์ขัดล้างให้สะอาด ทำให้แห้ง รวมทั้งถุงทือและอ่างน้ำ
การต้ม
(Boiling)
เป็นวิธีการทำลายเชื้อที่ดี ง่าย ประหยัด และมีประสิทธิภาพดี
การต้มเดือดที่มีประสิทธิภาพที่เชื่อถือได้ ควรจะต้มเดือดนาน20 นาทีขึ้นไปและน้ำต้องท่วมของที่ต้องการต้ม
การเตรียมสิ่งของที่จะต้ม
-หม้อต้มที่สะอาดมีฝาปิด
-ใส่น้ำสำหรับการต้มให้มีปริมาณมากพอ
-ของที่จะต้มควรได้รับการทำความสะอาดดีแล้ว
-แยกชนิดสิ่งของที่จะต้ม
-เครื่องใช้มีคมไม่ควรต้ม
-ของที่ต้มครบเวลาแล้ว ต้องเก็บไว้ในภาชนะที่ปราศจากเชื้อหรือสะอาดมีฝาปิดมิดชิด
หลักสำคัญในการต้ม
-น้ำต้องท่วมของทุกชิ้นอย่างน้อย1นิ้ว
-เครื่องมือเครื่องใช้ที่มีน้ำหนักเบา ควรใช้ของที่มีน้ำหนักทับเพื่อให้จม
-ปิดฝาหม้อต้ม เริ่มนับเวลาเมื่อน้ำเดือดเต็มที่
-ขณะต้มต้องไม่เปิดฝาหม้อต้ม
-ครบกำหนดให้เก็บของที่ต้มแล้วลงในภาชนะที่ปราศจากเชื้อหรือสะอาดมีฝาปิดมิดชิด
การใช้สารเคมี
(Chemical method)
Disinfectant
สารเคมีหรือน้ำยาที่ใช้ทำลายจุลินทรีย์ แต่ไม่สามารถทำลายชนิดที่มีสปอร์ น้ำยานี้จะทำลายเนื้อเยื่อด้วย ฉะนั้นจะใช้กับผิวหนังไม่ได้
Antiseptics
สารเคมีที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ สามารถใช้กับสิ่งมีชีวิตได้ปลอดภัย
น้ำยาที่ใช้ในการทำลายเชื้อ
แอลกอฮอล์(Alcohols)
-ทำลายเชื้อได้ดีแต่ไม่ทำลายสปอร์
-อาจทำให้เครื่องมือโลหะเกิดสนิม
อัลดีฮัยด์(Aldehydes)
-ทำลายเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส รา ในเวลา 10 นาที
-ทำลายสปอร์แบคทีเรียได้ใน 10 ชั่วโมง
-ราคาแพง
-ระคายเคืองผิวหนัง ทางเดินหายใจ ตา
ไดกัวไนด์(Diguanide)
สารที่ใช้คือ chlorhexidine ถ้าความเข้มข้นต่ำกว่า 0.2% ไม่สามารถทำลายแบคทีเรียแกรมบวก เชื้อไวรัส เชื้อรา และสปอร์ของแบคทีเรียได้
ฮาโลเจน(Halogens)
สามารถทำลายเชื้อโรคได้ต่างกัน ตามความเข้มข้นของน้ำยา "กลิ่นเหม็น โลหะเป็นสนิม ระเหยง่าย ต้องเก็บในภาชนะทึบแสง ห้ามผสมกับกรด และฟอร์มาลิน
ฮัยโดเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide)
สามารถทำลายเชื้อโรครวมทั้งไวรัส โดยใช้ Hydrogen peroxide 6% นาน 30 นาที
น้ายาที่ฟีนอล (Phenols)
สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย เชื้อวัณโรค เชื้อรา ยกเว้นเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และสปอร์ของแบคทีเรีย
การทำให้ปราศจากเชื้อ
วิธีทางกายภาพ
Radiation
ใช้แสงอัลตราไวโอเลตซึ่งเป็นแสงสีม่วง สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และไวรัสบางชนิด แต่ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสเอดส์
Dry heat or hot air sterilization
สามารถทำลายเชื้อโดยใช้ความร้อนแห้งที่อุณหภูมิ 165-170 องศาเซลเซียส ระยะเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง การใช้ความร้อนแห้งนี้เหมาะสำหรับเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นของมีคม ไม่ทำให้ของเสียคม ใช้สาหรับเครื่องแก้วที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ
Steam under pressure
เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เชื่อถือได้ และประหยัดค่าใช้จ่ายในการฆ่าเชื้อและสปอร์ของเชื้อ
วิธีทางเคมี
การใช้ก๊าซ Ethylene oxide
เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติทำลายเชื้อสูง สามารถทำลายได้ทั้งไวรัส แบคทีเรียรวมทั้งสปอร์ของแบคทีเรีย นิยมใช้ทำให้ปราศจากเชื้อในเครื่องมือเครื่องใช้ที่ไม่สามารถทนความร้อนและความชื้นได้
การใช้ 2% Glutaradehyde
Glutaradehyde เช่น Cidex เป็นสารเคมีที่ใช้มากที่สุดในการทำให้ปราศจากเชื้อมีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อและสปอร์ของแบคทีเรีย เป็นสารที่ไม่ทำลายยางหรือพลาสติก
การใช้ Peracetic acid
มีคุณสมบัติในการกัดกร่อนสูง แต่ต้องละลายในน้ำอุ่น
การหยิบจับของปราศจากเชื้อ
เมื่อจะหยิบจับของเหล่านี้ไปใช้ จะต้องรักษาของที่หยิบและของที่เหลือให้ปราศจากเชื้อโดยใช้ปากคีบ ที่มีลักษณะยาวและแช่อยู่ในกระปุกที่แช่น้ำยา(Transfer forceps)หยิบ
วิธีการใช้ปากคีบหยิบของที่ปราศจากเชื้อ
-เมื่อหยิบปากคีบออกจากภาชนะที่แช่ ต้องระวังไม่ให้ปากคีบแยกออกจากกัน
-ขณะที่ถือให้ปลายปากคีบอยู่ต่ำ
-ระวังไม่ให้ปากคีบถูกต้องกับภาชนะอื่น ๆ ที่ไม่ปราศจากเชื้อ
-เมื่อใช้ปากคีบเสร็จแล้วให้จับตรงกลางด้ามให้ปลายชิดกันแล้วใส่ลงในกระปุกตรง ๆ
วิธีการหยิบของในหม้อนึ่ง ในอับ หรือการแบ่งของที่สะอาดปราศจากเชื้อ
-เมื่อเปิดฝา ถ้าต้องการจะวางกับโต๊ะให้หงายฝาขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ขอบฝาสัมผัสกับโต๊ะ ถ้าถือไว้ให้คว่าฝาลง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคจากอากาศตกลงไปที่ฝานั้น
-ห้ามเอื้อมข้ามของsterileที่เปิดฝาไว้
-ของที่หยิบออกไปแล้ว แม้ว่าจะยังไม่ได้ใช้ ก็ไม่ควรนำเข้าไปเก็บในหม้อนั้นอีก
หลักพื้นฐานของภาวะปราศจากเชื้อ
ดูแลให้ของปลอดเชื้อนั้นคงความปลอดเชื้อ
1.1 ปากคีบปลอดเชื้อ (Transfer forceps) ใช้สาหรับหยิบจับ เคลื่อนย้ายของปลอดเชื้อต้องสะอาดและคงความปลอดเชื้อตลอดเวลา
1.2การเทน้ำยาปลอดเชื้อ ให้ถือขวดน้ำยาสูงกว่าภาชนะ
ปลอดเชื้อประมาณ 6 นิ้ว
1.3หลีกเลี่ยงการทำน้ำยาหกเปื้อนผ้า ห่อของปลอดเชื้อ
1.4หลีกเลี่ยงการพูดคุย ไอ จาม หรือข้ามกรายของปลอดเชื้อ
1.5 อุปกรณ์ทางการแพทย์ทุกชนิดที่จะสอด/ ใส่ผ่านผิวหนังเข้าไปในร่างกายผู้ป่วยจะต้องปลอดเชื้อ
1.6 การเทน้ำยาหรือวางของปลอดเชื้อไม่ควรชิดขอบด้านนอกของภาชนะ
1.7 การเปิดห่อผ้าของปลอดเชื้อให้จับมุมบนสุดของผ้าเปิดไปทางด้านตรงกันข้ามกับผู้ทำ เปิด 2 มุมผ้าด้านข้าง ซ้าย-ขวาก่อน สุดท้ายจับมุมผ้าด้านในสุดของห่อผ้าเปิดออกโดยไม่ข้ามกรายของปลอดเชื้อ ถ้าเป็นห่อสาเร็จรูป ใช้มือทั้งสองข้างฉีกห่อสาเร็จรูปแยกออกจากกันโดยไม่สัมผัสด้านในของห่อปลอดเชื้อ
หากของปลอดเชื้อสัมผัสกับสิ่งที่ไม่ปลอดเชื้อให้ถือว่าของนั้นไม่ปลอดเชื้อ
2.1 ใช้ปากคีบปลอดเชื้อในการหยิบของปลอดเชื้อ
2.2ถ้าหยิบจับของปลอดเชื้อด้วยมือ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ปลอดเชื้อ
2.3 การใช้ปากคีบหยิบจับของปลอดเชื้อไม่ควรใช้ปากคีบหยิบบริเวณขอบของภาชนะ
2.4ของปลอดเชื้อที่มีรอยฉีกขาด รอยเปิดสัมผัสกับภายนอก ถือว่าไม่ปลอดเชื้อ
2.5ดูแลให้ของปลอดเชื้อสัมผัสกับอากาศน้อยที่สุด
2.6ห่อของปลอดเชื้อที่เปิดใช้แล้ว แสดงว่าเกิดการปนเปื้อน ไม่นำไปรวมกับของปลอดเชื้อ
ของปลอดเชื้อต้องอยู่สูงกว่าระดับเอวและอยู่ในสายตา
วิธีห่อของส่งนึ่ง
-คลี่ผ้าห่อของบนโต๊ะ สูงระดับเอวให้มุมใดมุมหนึ่งอยู่ด้านผู้ห่อ
-วางของไว้ที่ศูนย์กลางของผ้าห่อ
-จับมุมผ้าด้านผู้ห่อ วางพาดบนของ และพับมุมกลับเล็กน้อย
-ดึงผ้าให้เรียบตึง ห่อด้านซ้ายให้มิดของ ดึงให้ตึง และพับมุมเล็กน้อย
-ห่อด้านขวาให้มิด ดึงให้ตึงพับมุมเช่นกัน เข้าเล็กน้อย
-จับผ้าที่เหลือมุมสุดท้าย ดึงให้ตึงพับมุมเข้าเล็กน้อยจัดห่อให้มิดชิดไม่หลุด
-ตรึงห่อของให้แน่นด้วยเทปกาว และระบุหอผู้ป่วย ชื่อสิ่งของ วันที่ส่งนึ่ง และชื่อผู้ห่อของ
-ติด Autoclave tape
การเปิดห่อของที่ปราศจากเชื้อ
-สำรวจป้ายชื่อห่อของให้ตรงกับวัตถุประสงค์การใช้ และตรวจสอบความ
ปราศจากเชื้อ จาก Autoclave tape
-วางห่อของบนโต๊ะที่สะอาดสูงระดับเอว โดยให้มุมนอกสุดของห่อของอยู่ไกลตัว
-แกะเทปกาว ป้ายชื่อห่อของที่ระบุวันนึ่ง และ Autocave tape ออก
-จับมุมผ้าด้านนอก ห่างขอบประมาณ 1 นิ้ว เปิดมุมแรกออกไปทางด้านตรงข้ามกับผู้เปิด
-เปิดมุมผ้าด้านข้างออกทีละด้านแล้วเปิดมุมผ้าด้านในที่สุด
การปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
การล้างมือ
(Hand washing)
เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการลดการติดเชื้อที่เกิดจากการสัมผัสโดยตรง สามารถทาได้ง่ายและสิ้นเปลืองน้อยที่สุด
การล้างมือแบบธรรมดา(NormalหรือSocial hand washing)
เป็นการล้างมือเพื่อสุขภาพอนามัยทั่วไป ให้ล้างมือตามขั้นตอนด้วยสบู่ก้อนหรือสบู่เหลว ใช้เวลาในการฟอกมือนานอย่างน้อย15 วินาที
1.ฝ่ามือถูกัน
2.ฝ่ามือถูหลังมือและนิ้วถูซอกนิ้ว
3.ฝ่ามือถูหลังมือและนิ้วถูซอกนิ้ว
4.หลังนิ้วมืิถูฝ่ามือ
5.ถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอบด้วยฝ่ามือ
6.ปลายนิ้วถูขวางฝ่ามือ
7.ถูรอบข้อมือ
การล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล(Alcohol hand rub)
ในกรณีรีบด่วน ไม่สะดวกในการล้างมือด้วยน้ำ และมือไม่ปนเปื้อนสิ่งสกปรกหรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยให้ทำความสะอาดมือด้วย แอลกอฮอล์เจล ถูให้ทั่วมือทุกซอกทุกมุมจนน้ำยาแห้งใช้เวลาประมาณ 15-25วินาที แต่ถ้าต้องการให้เกิดประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อไวรัสต้องใช้เวลาในการฟอกนาน 30วินาที
การล้างมือก่อนปฏิบัติการพยาบาลที่ใช้เทคนิคปราศจากเชื้อ และภายหลัง (Hygienic hand washing)
การล้างมือภายหลังการสัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อหรือสิ่งปนเปื้อนเชื้อ ก่อนและหลังทำกิจกรรมที่ต้องใช้เทคนิคปราศจากเชื้อ ฟอกอย่างทั่วถึงตามขั้นตอนเหมือนการล้างมือแบบธรรมดาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า30 วินาที
การล้างมือก่อนทำหัตถการ (Surgical hand washing)
เป็นการล้างมือเพื่อหัตถการการทาคลอดที่ต้องป้องกันการติดเชื้อให้ล้างมือด้วยสบู่เหลวทำลายเชื้อ และใช้แปรงที่ปราศจากเชื้อแปรงมือและเล็บในครั้งแรกของวันนั้นๆ แล้วฟอกมือและแขนถึงข้อศอกให้ทั่วนานอย่างน้อย 5 นาที ในการล้างมือครั้งต่อไปฟอกมือนาน 3-5 นาที ล้างให้สะอาดและซับด้วยผ้าแห้งที่ปราศจากเชื้อ
การใส่ถุงมือ (Glove)
วัตถุประสงค์
1).ป้องกันและควบคุมเชื้อโรคจากตัวเราไปสู่ตัวผู้ป่วย จากผู้ป่วยไปสู่บุคคลอื่น
2)ป้องกันและควบคุมเชื้อโรคจากผู้อื่นไปสู่ผู้ป่วย
3)ป้องกันและควบคุมผู้สัมผัสเชื้อเป็นพาหะนำเชื้อไปสู่ผู้อื่น
ถุงมือปลอดเชื้อ (Sterile gloves)
1.หยิบจับของปลอดเชื้อ
2.ทำหัตถการต่างๆ
3.ป้องกันการติดเชื้อไปยังผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ถุงมือสะอาดหรือชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Clean,Disposable gloves)
1.ป้องกันสิ่งสกปรกสัมผัสมือ
2.ใช้เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายเครื่องมือเครื่องใช้ของผู้ป่วยที่ผ่านการใช้งานแล้วหรือระหว่างให้การพยาบาลผู้ป่วย
การใช้ผ้าปิดปาก - จมูก (mask)
ช่วยป้องกันการได้รับเชื้อโรคจากผู้ป่วยเข้าสู่ทางเดินหายใจ และเป็นการป้องกันผู้ป่วยได้รับเชื้อจากผู้อื่นเข้าสู่ทางเดินหายใจ
หลักการใช้
-ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังใช้
-ชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้งให้หันขอบที่มีลวดไว้ด้านบน
-เลี่ยงการใช้มือสัมผัสผ้าปิดปากและจมูก
-ไม่ควรใช้ซ้ำ
การใส่เสื้อกาวน์ (Gown)
1.จับเสื้อกาวน์บริเวณคอด้านในตัวเสื้อ ยกขึ้นเพื่อให้คลี่ออก ยกให้สูงพอควรเพื่อป้องกันชายเสื้อกาวน์สัมผัสพื้น
2.ผู้ใส่เสื้อสอดแขนเข้าเสื้อกาวน์ทั้งสองข้าง โดยมือยกขึ้นเหนือศรีษะ กางมือออกเล็กน้อย ปลายนิ้วมืออยู่ตรงขอบของแขนเสื้อ โดยไม่ต้องให้นิ้วมือโผล่ออกมา
3.ผูกเชือกบริเวณคอเสื้อจากด้านในและด้านนอก ผูกให้กระชับกับตัวผู้ใส่
การป้องกันการติดเชื้อแบบมาตรฐาน
(Standard precaution)
เป็นการระมัดระวังการแพร่กระจายเชื้อโรคที่ใช้กับผู้ป่วยทุกคน
1.มีสุขาภิบาลและสุขอนามัยที่ดี
2.เครื่องป้องกัน
3.หลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ
การปฏิบัติที่ปลอดภัยจากการใช้ของมีคม
ไม่ส่งของมีคมด้วยมือต่อมือ
เข็มที่ใช้เจาะเลือดผู้ป่วยให้เก็บทิ้งคนเดียว
ปลดหลอดแก้วออกจากสายยาง ให้ใช้ forceps ปลด
ไม่ควรสวมปลอกเข็มคืน แต่ถ้าจำเป็นต้องสวม ให้สวมปลอกเข็มโดยใช้มือเดียว
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
การสัมผัส (Contact Transmission)
Direct Contact
สัมผัสโดยตรง ระหว่างคนกับคน
Indirect Contact
สัมผัสทางอ้อมโดยผ่านสิ่งแวดล้อมหรือเครื่องมือที่ไม่ปราศจากเชื้อ
Droplet Contact
สัมผัสผ่านละอองเสมหะ ในระยะไม่เกิน 3 ฟุต
-แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกและปิดประตูทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วย
-สวมถุงมือทุกครั้งเมื่อสัมผัสผู้ป่วยทั้งบุคลากรและญาติ
-ล้างมือแบบ hygienic handwashing หลังถอดถุงมือและก่อนออกจากห้องแยก
การติดเชื้อที่แพร่กระจายได้ทางละอองในอากาศ (Droplet Precautions)
-แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกพิเศษ และปิดประตูทุกคครั้ง หลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วย
-ผู้ที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วยหรือดูแลผู้ป่วยต้องส่ผ้าปิดปาก-จมูก ชนิด N95
-ล้างมือแบบ hygienic handwashing หลังถอดถุงมือและก่อนออกจากห้องแยก
-สวมถุงมือชนิดใช้ครั้ง เดียวทิ้ง ทุกครั้งที่สัมผัสผู้ป่วย
-ให้ผู้ป่วยใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปาก-จมูกเวลาไอ จาม และใส่ผ้าปิดปาก-จมูก ชนิดธรรมดาตลอดเวลา ยกเว้นเวลารับประทานอาหารและแปรงฟัน
-ถ้ามีความจำเป็นในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกนอก ห้องให้ผู้ป่วยใส่ผ้าปิดปาก-จมูกชนิดธรรมดา
เทคนิคการแยก (Isolation Technique)
คือ วิธีในการแยกผู้ป่วยเพื่อจำกัดการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากผู้ป่วยไปสู่บุคคลอื่น หรือจากบุคคลอื่นไปสู่ผู้ป่วย
จุดประสงค์
-ป้องกันการแพร่กระจายโรคติดต่อ
-ป้องกันการติดโรคจากผู้ป่วย
-ป้องกันการซ้าเติมโรคในผู้ป่วยที่มีความต้านทานต่ำ
การแยกผู้ป่วยอาจจำแนกออกเป็น 7แบบ
ผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ
ผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินอาหาร
ผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางบาดแผลและผิวหนัง
ผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงและติดต่อง่าย
ผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางเลือด และน้ำเหลือง
ผู้ป่วยในรายที่สงสัยว่าจะเป็นโรคติดต่อ
ผู้ป่วยในรายที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง