Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อที่มาจาก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ - Coggle Diagram
การติดเชื้อที่มาจาก
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ซิฟิลิส (Syphilis)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ทําให้ผิวหนังและเนื้อเยื่ออักเสบ คลอดก่อนกําหนด และแท้งบุตร
ผลกระทบต่อทารก
ทารกคลอดก่อนกําหนด ตายคลอด ทารกแรกเกิดติดเชื้อซิฟิลิส ร่างกายเกิดการอักเสบ ผิวหนังที่ฝ่ามือฝ่าเท้าอักเสบและลอกเป็นขุย ปัญญาอ่อน เป็นโรคหัวใจแต่กําเนิด
การประเมินและวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย ตรวจพบไข้ต่ํา ๆครั่นเนื้อครั่นตัว ตรวจอวัยวะสืบพันธ์ภายนอกพบแผลที่มีลักษณะขอบแข็ง กดไม่เจ็บ อาจพบผื่นบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า ต่อมน้ําเหลืองที่ขาหนีบโตแต่กดไม่เจ็บ มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
หากไม่มีแผลหรือผื่น การวินิจฉัยทําโดยการตรวจเลือด การตรวจหา antibody ที่ไม่จําเพาะต่อเชื้อ ได้แก่การตรวจ (RPR), (VDRL) การตรวจหา antibody เพื่อยืนยันการติดเชื้อซิฟิลิส ที่จําเพาะต่อเชื้อ Treponema pallium โดยตรง
การคัดกรองส่วนใหญ่นิยมใช้การตรวจด้วยวิธี VDRL เนื่องจากเป็นวิธีที่ให้ผลเร็ว ใช้คัดกรองในสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรก หากยืนยันแล้วพบว่าผล reactive จะทําการตรวจต่อด้วยวิธี the Fluorescent treponemal antibody absorbed test for syphilis (FTA ABS) หากผลตรวจยืนยันเป็นบวก แสดงว่าร่างกายมีภูมิต้านทานเชื้อซิฟิลิส
ระยะที่เป็นแผลสามารถวินิจฉัยโดยการตรวจหาเชื้อ T. Pallidum จากแผล chancre หากพบเชื้อ T. Pallidum จะถือว่าเป็น definition diagnosis
การซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อซิฟิลิส ประวัติผลการตรวจซิฟิลิสได้ผลบวก รวมถึงประวัติเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อซิฟิลิส
อาการและอาการแสดง
ซิฟิลิสระยะแรก หรือระยะที่หนึ่ง (primary stage)หลังจากได้รับเชื้อ 10-90 วัน จะเกิดแผล hancre บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกหรือในช่องคลอดและปากมดลูก แผลจะเป็นอยู่ประมาณ 3-6 สัปดาห์ จากนั้นแผลจะหายได้เองไม่ได้รับการรักษา และจะเข้าสู่ซิฟิลิสระยะที่สอง
ซิฟิลิสระยะที่สอง (secondary stage)ขณะที่แผลกําลังจะหาย จะพบผื่นกระจายทั่วร่างกาย ฝ่ามือฝ่าเท้า เยื่อบุรวมทั้งอวัยวะสืบพันธุ์ วมกับมีอาการไข้ ต่อมน้ําเหลืองโต เจ็บคอ ผมร่วงเป็นหย่อมๆ ระยะนี้จะหายได้เองไม่ได้รับการรักษา จากนั้นประมาณ 3-12 สัปดาห์จะเข้าสู่ระยะแฝง
ระยะแฝง (latent syphilis)ระยะนี้จะไม่มีอาการ แต่การติดเชื้อยังคงอยู่และสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ ซึ่งระยะแฝงจะอยู่ได้นานเป็นปี หากยังไม่ได้รับการรักษาจะพัฒนาไปเป็นซิฟิลิสระยะที่ 3
ซิฟิลิสระยะที่ 3 (tertiary syphilis) ระยะนี้เชื้อจะเข้าไปทําลายระบบหัวใจและหลอดเลือด ถ้าเชื้อเข้าสู่ระบบประสาทจะเกิดผิวหนังอักเสบ กระดูกผุ เยื่อบุสมองอักเสบ และเสียชีวิตในที่สุด อาจตรวจพบรูม่านตาที่ค่อนข้างเล็ก และหดเล็กลงได้เมื่อมองใกล้ แต่ไม่หดเล็กลงเมื่อถูกแส
พยาธิสรีรภาพ
ลังได้รับเชื้อสู่ร่างกายทางผิวหนังที่เป็นแผลถลอก ร่างกายจะสร้างantibody ต่อเชื้อชนิด IgM และ IgG ขึ้น เชื้อจะแบ่งตัวทําให้บริเวณผิวหนังหรือบริเวณเนื้อเยื่อที่เชื้อผ่านเข้าไปจะเกิดการระคายเคือง เกิดปฏิกิริยา lymphocyte และ plasma cell reaction มาล้อมรอบเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบทําให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวและบวม เชื้อจะแทรกเข้าไปอยู่ระหว่างผนังหลอดเลือดและทําให้หลอดเลือดอุดตัน ส่งผลให้เนื้อเยื่อที่มีการอักเสบมีเลือดมาเลี้ยงลดลง เกิดการขาดเลือดกลายเป็นเนื้อตาย และกลายเป็นแผลที่มีลักษณะเป็นตุ่มแข็ง กดไม่เจ็บ
แนวทางการรักษา
การรักษาในระยะ primary, secondary และ early latent syphilisรักษาด้วยBenzathine Penicillin G Sodium 2.4 ล้านยูนิต ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะโพกครั้งเดียว
. การรักษาในระยะ late latent syphilis จะรักษาด้วย Benzathine Penicillin G Sodium 2.4 ล้านยูนิต ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะพก 3 สัปดาห์ติดต่อกัน
ให้ยา Penicillin G และป้องกันการติดเชื้อของทารก
การรักษาให้หายและต้องให้สามีมารับการตรวจและรักษาพร้อมกัน
การตกขาวผิดปกติ
การตกขาวจากการติดเชื้อพยาธิ (Vaginal trichomoniasis)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด มีความสัมพันธ์กับภาวะถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกคลอดก่อนกําหนด และทารกแรกเกิดมีน้ําหนักตัวน้อย
การประเมินและวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย การตรวจภายในช่องคลอด พบตกขาวเป็นฟองสีเหลือเขียว อาจพบจุดเลือดออกเป็นหย่อมๆ ที่ผิวปากมดลูก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วย wet mount smearื พบตัวเชื้อพยาธิเคลื่อนไหวไปมา ตกขาวมีฤทธิ์เป็นด่าง ค่า pH มากกว่า 4.5
ประวัติการตกขาวจากการติดเชื้อพยาธิ ประวัติการมีตกขาวจํานวนมาก เป็นฟอง มีกลิ่นเหม็น ร่วมกับอาการคัน
อาการและอาการแสดง
ลักษณะของตกขาวมีสีขาวปนเทา หรือสีเหลืองเขียว ตกขาวเป็นฟอง มีกลิ่นเหม็น
มีอาการระคายเคืองที่ปากช่องคลอด ในช่องคลอด ปากช่องคลอดบวมแดง และอาจทําให้ปากมดลูกอักเสบ มีจุดเลือดออกเป็นหย่อม ๆ
พบโรคคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นร่วมด้วยเช่น หนองใน มดลูกอักเสบแบบมูกปนหนอง
ปัสสาวะแสบขัดหรือบ่อย ปวดแสบปวดร้อนบริเวณต้นขาด้านใน
เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
แนวทางการรักษา
หลังไตรมาสแรกไปแล้ว จะรักษาด้วย metronidazole โดยให้รับประทาน 2 กรัม ครั้งเดียว
ให้การรักษาสามีไปด้วย โดยให้ metronidazole
ยาที่ใช้ได้ผล คือ metronidazole แต่ห้ามใช้ในไตรมาสแรก เพราะอาจเป็น teratogen ยาที่สามารถใช้ในไตรมาสแรกได้คือ clotriamazole 100 มิลลิกรัม สอดเข้าช่องคลอดก่อนนอนเป็นเวลา 6 วัน
การพยาบาล
ระยะคลอด
ให้การพยาบาลผู้คลอดในระยะคลอด โดยให้คลอดทางช่อคลอดได้ตามปกติ
ระยะหลังคลอด
แนะนําให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
หากอาการยังไม่ดีขึ้น ให้พบแพทย์และดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ให้การพยาบาลเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
การติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด ต้องได้รับการรักษาทั้งสามีและภรรยาให้หาย ในช่วงที่มีอาการ อาจต้องงดการมีเพศสัมพันธ์
ระยะตั้งครรภ์
แนะนําให้สามีมารับการรักษาพร้อมกัน
แนะนําการมีเพศสัมพันธ์โดยการสวมถุงยางอนามัย
แนะนําการเหน็บยา หรือการรับประทานยาตามแผนการรักษา
แนะนําการรักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้แห้งสะอาด
แนะนําและการดูแลเหมือนสตรีตั้งครรภ์ทั่วไป
การตกขาวจากการติดเชื้อแบคทีเรีย(Bacterial vaginosis)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ําหนักตัวน้อย และทารกคลอดก่อนกําหนด อาจตรวจพบว่ามีเชื้อแบคทีเรียในหลอดลมทําให้มีภาวะหายใจลําบาก มีแบคทีเรียในเลือด ต้องรีบรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
อาจทําให้เกิดการแท้งติดเชื้อ ถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนดและเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด
มารดาหลังคลอดอาจมีไข้ ปวดท้องมากและมีอาการแสดงของเยื่อบุมดลูกอักเสบ
ถ้าไม่ได้รักษา อาจทําให้มีการติดเชื้อราได้ง่ายขึ้น เชื้อแบคทีเรียยังจะเข้าสู่โพรงมดลูก ท่อนําไข่ ทําให้มีการติดเชื้อในมดลูก
การประเมินและวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย การตรวจทางช่องคลอดและการทําpap smear จะพบเชื้อแบคทีเรียตรวจความเป็นกรด-ด่างในช่องคลอด จะได้ผลมีฤทธิ์เป็นด่าง ค่า pH มากกว่า 4.5
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจ Wet smear โดยการหยด 10% Potassium Hydroxide(KOH) ลงไปบนตกขาว 2 หยดแล้ว คนให้เข้ากันจะได้กลิ่นเหม็นเน่าเหมือนคาวปลา ส่องกล้องจุลทรรศน์จะพบเชื้อ lactobacilli ลดลง เม็ดเลือดขาวมากว่า 5 cells/OF และพบ clue cells
การเพาะเชื้อ ตกขาวใน columbia agar ที่มีเลือดเป็นส่วนผสมหรือมี 5%CO2ใช้เวลา 3 วันเชื้อแบคทีเรียจะโตขึ้นเป็นกลุ่มเล็ก
การซักประวัติ ได้แก่ประวัติการมีตกขาวจํานวนมาก ปวดแสบปวดร้อนบริเวณปากช่องคลอดและในช่องคลอด ถ่ายปัสสาวะลําบา เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ประวัติการตกขาวจากการติดเชื้อแบคทีเรียและการรักษา
อาการและอาการแสดง
มีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อนปากช่องคลอด ในช่องคลอด ถ่ายปัสสาวะลําบาก แสบขัด เจ็บขณะร่วมเพศ ตกขาวสีขาว สีเทา หรือสีเหลือง ข้นเหนียว มีกลิ่นเหม็นเน่าเหมือนคาวปลา
แนวทางการรักษา
ให้ยา metronidazole 250 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง
ให้ampicillin 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน
ให้ metronidazole 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 7-10 วัน
การพยาบาล
ระยะคลอด
ผู้คลอดสามารถคลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ โดยให้การพยาบาลเหมือนผู้คลอดทั่วไป
ระยะหลังคลอด
สามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยเน้นเรื่องการล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
เน้นการทําความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ให้สะอาดและแห้งเสมอ
การดูแลเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
หากมีอาการผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์ทันที
ระยะตั้งครรภ์
รับประทานยาตามแพทย์สั่งให้ครบ และเน้นย้ําความสําคัญของการมาตรวจตามนัด
รักษาความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกไม่ให้อับชื้นโดยใช้น้ําธรรมดา
แนะนําและการดูแลเหมือนสตรีตั้งครรภ์ทั่วไป
แนะนําให้พาสามีไปตรวจและรักษาโรคพร้อมกัน
แนะนําการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้อง ท้องแข็งบ่อย มีเลือดออกทางช่องคลอด ให้รีบไปพบแพทย์
การตกขาวจากการติดเชื้อรา (Vulvovaginal candidiasis)
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
การตรวจภายในพบช่องคลอดบวมแดง และตกขาวมีลักษณะขุ่นรวมตัวกันเป็นก้อนเหมือนนมตกตะกอน
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจด้วยวิธี wet mount smear จะพบเซลล์ของยีสต์ (yeast cell) และเส้นใยของเซลล์เชื้อรา
การตรวจด้วยวิธีแกรมสเตน (gram stain) จะพบลักษณะเป็นเหมือนเส้นด้าย และมีรูปร่างเหมือนยีสต์
การซักประวัติ
ประวัติอาการและอาการแสดงระยะเวลาที่แสดงอาการ ประวัติอาการตกขาวผิดปกติและการรักษา
อาการและอาการแสดง
อาจมีอาการเจ็บขณะร่วมเพศ
มีอาการปัสสาวะลําบาก และแสบขัดตอนสุด
ปากช่องคลอดเป็นผื่นแดง ช่องคลอดอักเสบ และบวมแดงแต่ปากมดลูกปกติ ตกขาวมีลักษณะสีขาวขุ่น อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเหมือนนมตกตะกอน
ประมาณร้อยละ 20 ของผู้ติดเชื้อราจะไม่มีอาการ
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ทําให้อาการของการติดเชื้อราในช่องคลอดเป็นมากขึ้นเป็น 2 เท่า มีความระคายเคือง คันช่องคลอดมากขึ้น ไม่มีผลเสียต่อการตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อทารก
จะเป็นเชื้อราในช่องปาก (oral thrush) ได้มากกว่าปกติ 2-35 เท่า
ปัจจัยเสี่ยง
กินยาเม็ดคุมกําเนิด
ภูมิต้านทานของร่างกายถูกกดจากการเป็นโรคเอดส์ หรือได้รับเคมีบําบัด
การได้รับฮอร์โมนสเตียรอยด์ และได้รับยากดภูมิต้านทาน
การควบคุมภาวะเบาหวานไม่ดี
การรับประทานยาปฏิชีวนะ
การรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ําตาลมาก การดื่มเหล้ามาก
การใช้น้ํายาล้างทําความสะอาดช่องคลอด และปากช่องคลอดบ่อยๆ
การสวมใส่ชุดชั้นในที่แน่นเกินไป
การใส่แผ่นอนามัยโดยไม่เปลี่ยนระหว่างวัน
ความเครียด การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ
ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น
ภาวะความเป็นกรด-ด่าง ในช่องคลอดที่เปลี่ยนไป
การพยาบาล
ระยะคลอด
สามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ
ระยะหลังคลอด
ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเทอโรนลดลง อาการของการติดเชื้อราในช่องคลอดจะดีขึ้น
การดูแลมารดาหลังคลอดเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
เน้นการดูแลความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาดและแห้งเสมอ
สามารถเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยต้องล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
ทารกแรกเกิดอาจมีการติดเชื้อในช่องปาก ซึ่งจะพบมีฝ้าขาวในช่องปาก ให้ปรึกษากุมารแพทย์เพื่อการดูแลทารก
ระยะตั้งครรภ์
แนะนําการใช้ยาทา และยาเหน็บช่องคลอด อย่างมีประสิทธิภาพ
การทําความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และการทําความสะอาดชุดชั้นในต้องซักให้สะอาดและตากแดดให้แห้งเสมอ
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์ เข้าใจสาเหตุของการติดเชื้อ และการดูแลตนเองให้มีอาการสุขสบาย
หากอาการติดเชื้อเป็นซ้ําๆ หรือสามีมีอาการแสดง ควรพาสามีให้มารักษา
หนองใน (Gonorrhea)
อาการและอาการแสดง
การอักเสบของปากมดลูกและช่องคลอดทําให้ตกขาวเป็นหนองข้นปริมาณมาก อาจพบอาการกดเจ็บบริเวณต่อมบาร์โธลิน ถ้ามีการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างจะพบอาการปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มีบุตรยาก กรณีที่มีอาการขณะตั้งครรภ์จะทําให้ถุงน้ําคร่ำอักเสบและติดเชื้อ ถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด และการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อทารก
ทารกแรกเกิดที่คลอดปกติผ่านทางช่องคลอดมีการติดเชื้อหนองในที่ปากมดลูก ช่องคลอดยเฉพาะบริเวณเยื่อเมือกที่ตาของทารก ทําให้เกิดตาอักเสบ
พยาธิสรีรภาพ
เชื้อ Neiseria gonorrheaeเข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปเกาะติดกับเซลล์เยื่อบุและเซลล์ขับเมือก จากนั้นเชื้อ Neiseria gonorrheaeจะทําปฏิกิริยากับภูมิต้านทานของร่างกาย ทําให้เกิดสารเคมีที่เป็นพิษต่อเซลล์และเนื้อเยื่อ ส่งผลให้เนื้อเยื่ออักเสบเป็นหนอง ตําแหน่งที่มักพบการอักเสบคือ เยื่อเมือกบริเวณปากมดลูก ทวารหนัก ท่อปัสสาวะ ถ้าเข้าเชื้อสู่เชิงกรานจะไปทําลายถุงน้ําคร่ําทําให้ถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด เกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนดหากเชื้อเข้าสู่ช่องท้องจะทําให้ช่องท้องอักเสบ ตับอักเสบ และหากเข้าสู่กระแสเลือดจะทําให้ติดเชื้อในกระแสเลือด
การประเมินและวินิจฉัย
การตรวจร่างกายตรวจทางช่องคลอดจะพบหนองสีขาวขุ่น บางรายอาจพบเลือดปนหนอง หากมีการอักเสบมากขาหนีบจะบวม กดเจ็บบริเวณต่อมบาร์โธลิน
. การตรวจทางห้องปฏิบัติการตรวจโดยการเก็บน้ําเหลืองหรือหนองจากส่วนที่มีการอักเสบมาย้อมสีตรวจ gram stain smear หากมีการติดเชื้อจะพบintracellular gram negative diplocooci
การซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อหนองในหรือมีประวัติเคยป่วยด้วยโรคหนองใน รวมถึงประวัติเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อหนองใน
แนวทางการรักษา
ทารกแรกเกิดควรได้รับยาป้ายตาคือ 1% tetracycline ointment หรือ 0.5% erythromycin ointment หรือ 1% Silver nitrate (AgNO3)หยอดตาตาทารก หลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตา
ทารกที่พบว่ามีการติดเชื้อหนองในควรได้รับยาปฏิชีวนะceftriaxone
ให้ยา ceftriaxone, azithromycin, penicillin ได้ทั้งรับประทานและฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ควรระวังเรื่องการเพิ่ม blood level ระหว่างที่ได้รับยาเนื่องจากจะมีผลต่อการทํางานของหัวใจของสตรีขณะตั้งครรภ์
การรักษาในสตรีตั้งครรภ์ควรคํานึงว่ามีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นร่วมด้วย
ตรวจคัดกรองขณะตั้งครรภ์ตามปกติ (VDRL)
การติดเชื้อเริม (Herpes simplex)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้ง การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อทารก
การเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกคลอดก่อนกําหนด หากทารกมีการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ จะทําให้เกิดความพิการแต่กําเนิดสูง ส่งผลให้ทารกเสียชีวิตได้
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกายจะพบตุ่มน้ําใส หากตุ่มน้ําแตกจะพบแผลอักเสบ แดง ปวดแสบปวดร้อนบริเวณขอบแผลค่อนข้างแข็ง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การขูดเนื้อเยื่อจากแผลมาทําการย้อมและดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ วิธีนี้ทําได้ง่าย แต่ความไวในการตรวจพบเชื้อค่อนข้างต่ํา
การทําให้ตุ่มน้ําแตกแล้วขูดบริเวณก้นแผลมาป้ายสไลด์แล้วย้อมสี สามารถพบเชื้อร้อยละ 70-85
การเพาะเชื้อใน Hank’s medium โดยนําของเหลวที่ได้จากตุ่มน้ําหรือจากก้นแผลมาทําการเพาะเชื้อ เป็นวิธีที่มีความแม่นยําสูงและมีความไวมาก
การซักประวัติเกี่ยวกับการเคยติดเชื้อเริมมาก่อน หรือเคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นเริม รวมถึงซักประวัติเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อเริม
อาการและอาการแสดง
การติดเชื้อปฐมภูมิมักเกิด 3-7 วันหลังการสัมผัสเชื้อ จะมีอาการปวดแสบปวดร้อน และคันบริเวณที่สัมผัสโรค จากนั้นจะกลายเป็นตุ่มน้ําใสๆ แล้วแตกกลายเป็นแผลอยู่ 2 สัปดาห์ ก่อนจะตกสะเก็ด มีอการคล้ายหวัด ได้แก่ ไข้ต่ําๆ อ่อนเพลัย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมน้ําเหลืองที่ขาหนีบโต
แนวทางการรักษา
ให้ Acyclovir 200 mg รับประทานวันละ 5 ครั้ง นาน5-7 วัน แต่หากมีอาการของระบบอื่นที่รุนแรงร่วมด้วยอาจให้ Acyclovir 5 mg/kg ฉีดเข้าหลอดเลือดดํา ทุก 8 ชั่วโมง นาน 5-7 วัน
การรักษาในระยะคลอด
กรณีที่เคยติดเชื้อเริมมาก่อน แต่ขณะคลอดตรวจไม่พบรอยโรคให้คลอดทางช่องคลอด และเฝ้าระวังทารก เพื่อดูอาการของการติดเชื้อเริม
กรณีที่พบรอยโรคขณะคลอดไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อครั้งแรก หรือติดเชื้อซ้ํา ให้คลอดโดยการผ่าตัดคลอด และเฝ้าระวังทารกเพื่อดูอาการของการติดเชื้อเริม
ไม่มียาที่สามารถรักษา herpes simplex ให้หายขาดได้ การรักษาจึงเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะในรายที่มีการติดเชื้อซ้ําเติม ล้างแผลด้วย NSS
พยาธิสรีรภาพ
เชื้อเข้าสู่ร่างกายทําให้ผิวหนังเป็นตุ่มน้ําใส เล็กๆ เมื่อตุ่มน้ําแตก หนังกําพร้าจะหลุดพร้อมกับทําให้เกิดแผลตื้น ทําให้รู้สึกปวดแสบปวดร้อนที่แผล เชื้อก็จะเดินทางไปแฝงตัวที่ปมประสาท และกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ
หูดหงอนไก่ (Condyloma acuminate)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
เกิดการตกเลือดหลังคลอด และมารดาหลังคลอดมีโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกได้
ผลกระทบต่อทารก
ทารกอาจติดเชื้อหูดหงอนไก่ระหว่างตั้งครรภ์และขณะคลอด บางรายอาจเกิด laryngeal papillomatosis ทําให้เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจส่วนบนเสียงเปลี่ยน เสียงร้องไห้แหบผิดปกติ
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกายจะพบรอยโรคเป็นติ่งเนื้อสีชมพูคล้ายหงอนไก่ ผิวขรุขระคล้ายดอกกะหล่ําบริเวณปากช่องคลอด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา หรือตรวจ Pap smear หรือตรวจหาเชื้อ HPV โดยวิธี Polymerase Chain Reaction (PCR) หรือการตรวจ DNA (DNA probe)
การซักประวัติ เคยติดเชื้อหูดหงอนไก่ หรือเคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นหูดหงอนไก่ และอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อหูดหงอนไก่
อาการและอาการแสดง
มีรอยโรคเป็นติ่งเนื้อสีชมพูคล้ายหงอนไก่ มักเกิดบริเวณอับชื้น เช่น ปากช่องคลอด หรือในช่องคลอด การติดเชื้อขณะตั้งครรภ์รอยโรคจะขยายใหญ่ มีผิวขรุยระคล้ายดอกกะหล่ําและยุ่ยมาก
แนวทางการรักษา
ทาบริเวณรอยโรคด้วย 85% trichlorracetic acid หรือ bichloroacetic acid ทุก 7-10 วัน
ใช้ยาท่าร่วมกับการจี้ laser หรือ cryosurgery
แนะนําการรักษาความสะอาด หลีกเลี่ยงการอับชื้นบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ระยะคลอดหากหูดหงอนไก่มีขนาดใหญ่ อาจพิจารณาผ่าตัดคลอด เพื่อหลีกเลี่ยงการคลอดติดขัดและการตกเลือดหลังคลอด เพื่อป้องกันการติดเชื้อในทารกแรกเกิด
หูดหงอนไก่เกิดจากการติดเชื้อ human papilloma virus (HPV) มีระยะฟักตัวนาน 2-3 เดือน ติดต่อจากการสัมผัสรอยโรคโดยเฉพาะทางเพศสัมพันธ์
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส หนองใน เริม และหูดหงอนไก่
ระยะตั้งครรภ์
แนะนําให้นําสามีมารับการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค และหากมีการติดเชื้อแนะนําให้รักษาพร้อมกัน
อธิบายให้เข้าใจถึงการดําเนินของโรค อันตรายของโรคต่อการตั้งครรภ์ แผนการรักษาพยาบาล การป้องกันสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
คัดกรองและประเมินภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ โดยการซักประวัติโดยละเอียด ตรวจร่างกาย
แนะนําการปฏิบัติตัวของสตรีตั้งครรภ์และสามี
รับประทานยา ฉีดยา หรือทายาตามแผนการรักษา
หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งจนกว่าจะรักษาจนหายขาด
หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลและหนอง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังการสัมผัสแผล
กรณีมีแผลที่อวัยวะสืบพันธุ์แนะนําให้ทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังการขับถ่ายและอาบน้ํา
แนะนําเกี่ยวกับความสําคัญของการมาตรวจตามนัด การสังเกตอาการผิดปกติ
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการรักษาของสตรีตั้งครรภ์และสามีอย่างสม่ําเสมอ
ระยะหลังคลอด
แนะนํามารดาหลังคลอดเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดร่างกายการกําจัดสิ่งปนเปื้อนสารคัดหลั่งอย่างถูกต้อง เพื่อการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ประเมินอาการติดเชื้อของทารกแรกเกิด หากทารกสัมผัสกับเชื้อเริมควรแยกทารกออกจากทารกรายอื่น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
การพยาบาลมารดาหลังคลอดโดยยึดหลัก universal precautionเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเช่นเดียวกับระยะคลอด
แนะนําการเลี้ยงบุตร โดยล้างมือให้สะอาดก่อนจับทารกทุกครั้งและถ้าไม่มีแผลบริเวณหัวนมหรือเต้านมสามารถให้นมมารดาได้
แนะนําและดูแลมารดาหลังคลอดปกติ หรือหลังการผ่าตัดคลอด และเน้นการกลับมาตรวจตามนัดหลังคลอด
ดูแลให้มารดาหลังคลอดและทารกได้รับยาป้องกันการติดเชื้อตามแผนการรักษา
ระยะคลอด
หลีกเลี่ยงการทําหัตถการทางช่องคลอด เช่น การตรวจทางช่องคลอด งระมัดระวังและไม่ทําให้ถุงน้ําคร่ําแตก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ทารก
ทารกแรกเกิดต้องได้รับการป้ายตาด้วย 1% Tetracyclin ointment เพื่อป้องกันภาวะ opthalmia neonatarum ซึ่งการให้ยาจะทําภายหลังจากศีรษะทารกคลอดแล้ว
ดูแลผู้คลอดโดยยึดหลัก universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
หากไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ เตรียมผู้คลอดให้พร้อมสําหรับการผ่าตัดนําทารกออกทางหน้าท้อง
การติดเชื้อเอชไอวีในสตรีตั้งครรภ์ (Human Immunodeficiency Virus [HIV]during pregnancy)
พยาธิสรีรภาพ
การติดเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกาย เชื้อ HIV จะใช้ส่วน GP120 ที่ผิวของเชื้อ HIV จับกับ CD4 receptor ของเซลล์เม็ดเลือดขาว แล้วใช้ enzyme reverse transcriptaseสร้างviral DNA แทรกเข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์เม็ดเลือดขาว เพิ่มจํานวนเม็ดเลือดขาวที่มีเชื้อไวรัส HIV ทําให้ร่างกายมีเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ HIV จํานวนมาก ซึ่งเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ HIV จะแตกสลายง่าย ส่งผลให้เม็ดเลือดขาวในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว ทําให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง เกิดภาวะ seroconversion
อาการและอาการแสดง
ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการระยะนี้ร่างกายจะเป็นปกติเหมือนคนทั่วไป แต่หากตรวจเลือดจะพบเชื้อ HIV และ antibody ต่อเชื้อHIV และสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการจะนาน 5-10 ปี บางรายอาจนานมากกว่า 15 ปี
ระยะติดเชื้อที่มีอาการ มีอุณหภูมิร่างกายสูงมากกว่า 37.80C ท้องเดินเรื้อรัง น้ําหนักลด ต่อมน้ําเหลืองโตมากกว่า 1 แห่ง เป็นงูสวัด และพบเชื้อราในปากหรือฝ้าขาว ในช่องปาก
ระยะเริ่มแรกของการติดเชื้อ HIVร่างกายเริ่มสร้าง antibody กินเวลาประมาณ 1-6 สัปดาห์หลังติดเชื้อ จากนั้นจะเริ่มมีไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นขึ้น อาการจะเป็นอยู่ 1-2 สัปดาห์ แล้วหายไปเอง บางรายอาจไม่มีอาการ
ระยะป่วยเป็นเอดส์จะมีอาการ คือ ไข้ ผอม ต่อมน้ําเหลืองโตหลายแห่ง ซีด พบลิ้นหรือช่องปากเป็นฝ้าขาว แผลเริมเรื้อรัง ผิวหนังเป็นแผลพุพอง ระยะนี้ระบบภูมิคุ้มกันจะเสื่อมเต็มที่ ทําให้เชื้อโรคฉวยโอกาสเข้ามาในร่างกาย ทําให้เกิดวัณโรคปอด ปอดอักเสบและอาจมีความผิดปกติของสมอง (HIV encephalopathy) ทําให้มีความจําไม่ดี หลงลืมง่าย
การแพร่เชื้อจากมารดาสู่ทารก
การติดเชื้อ HIV ระหว่างคลอด สารคัดหลั่งในช่องคลอดของมารดา ทําให้ทารกมีโอกาสที่จะติดเชื้อ HIV จากมารดาได้สูงในระยะคลอด
การติดเชื้อ HIV ระยะหลังคลอด ส่วนใหญ่มักจะติดเชื้อจากน้ํานมมารดา จึงแนะนําให้เลี้ยงทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อด้วยนมผสมแทนนมมารดา
การติดเชื้อ HIV ระหว่างตั้งครรภ์ เชื้อไวรัสสามารถผ่านทางรก โดยผ่านเซลล์ trophoblast และ macrophages เข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดของทารกในครรภ์ ทําให้ทารกในครรภ์ติดเชื้อ HIV
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV และมีปริมาณ CD4 ต่ำ มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่ายขึ้น
ผลกระทบต่อทารก
มีโอกาสที่ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกคลอดก่อนกําหนด ทารกแรกเกิดน้ําหนักตัวน้อย ทารกมีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์ และทารกตายคลอด
การพยาบาล
ระยะหลังคลอด
แนะนําแก่มารดาหลังคลอดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
แนะนําให้ใส่เสื้อชั้นในที่คับเพื่อยับยั้งการสร้างและหลั่งน้ํานม
แนะนําวิธีป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลอื่น
อธิบายให้มารดาหลังคลอดเข้าใจและตระหนักถึงความสําคัญในการดูแลตนเอง
หลีกเลี่ยงเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา เพราะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ทารก
แนะนําการวางแผนครอบครัว โดยสามารถใช้วิธีคุมกําเนิดร่วมกับการใช้ถุงยางอนามัย
อธิบายให้มารดาหลังคลอดเข้าใจแของการนําทารกมาตรวจเลือด เพื่อประเมินการติดเชื้อ HIV และมารับภูมิคุ้มกันโรคตามปกติ
ดูแลมารดาหลังคลอดโดยยึดหลัก universal precaution
ระยะคลอด
ปริมาณ viral load ≤ 50 copies/mL แพทย์อาจพิจารณาเจาะถุงน้ําคร่ำเพื่อชักนําการคลอด ก่อนเจาะ ขณะเจาะ และหลังเจาะถุงน้ําคร่ํา ให้การพยาบาลเช่นเดียวกับผู้คลอดที่ไม่มีการติดเชื้อ
ทําคลอดด้วยวิธีที่ทําให้เกิดการบาดเจ็บต่อผู้คลอดกและทารกน้อยที่สุด และหลีกเลี่ยงการใช้สูติศาสตร์หัตถการที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
ประเมินสัญญาณชีพ และเสียงหัวใจทารกอย่างใกล้ชิด ติดตามความก้าวหน้าของการคลอด สังเกตความผิดปกติ
ดูแลให้ผู้คลอดและทารกได้รับยาต้านไวรัสตามแผนการรักษา เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากมารดาไปสู่ทารก
เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการช่วยเหลือทารกแรกเกิด และรายงานกุมารแพทย์เพื่อเตรียมช่วยเหลือทารกที่มีภาวะแทรกซ้อน เมื่อศีรษะทารกคลอดออกมาควรดูดสิ่งคัดหลั่งออกจากปากและจมูกของทารก
ประเมินอาการเปลี่ยนแปลงและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้แก่ ภาวะตกเลือดหลังคลอด ภาวะติดเชื้อ ภาวะซีด
ดูแลผู้คลอดโดยยึดหลัก universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ระยะตั้งครรภ์
ให้ความรู้แก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและการป้องกันไม่ให้รับเชื้อเพิ่มโดยใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ผลการตรวจ CD4 หากน้อยกว่า 200 copies/mL แสดงถึงความเสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาสสูง พื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกวิธีการคลอดและแนวทางในการดูแลรักษาทารก
แนะนําให้มาฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อประเมินสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ รวมทั้งประเมินอาการของโรคเอดส์
ประเมินภาวะแทรกซ้อนจากการได้รัยยาต้านไวรัส ซึ่งภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาที่พบได้แก่กดไขกระดูก ซีด
ให้ข้อมูลแก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับการดําเนินของโรค ความแตกต่างระหว่างการติดเชื้อ HIV กับการเป็นเอดส์ โอกาสในการแพร่กระจายเชื้อจากมารดาสู่ทารก
แนะนําการปฏิบัติตัวของสตรีตั้งครรภ์
รับประทานยาตามแผนการรักษา
รักษาความสะอาดของร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์
หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับบุคคลที่ติดเชื้อ เนื่องจากหากสตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อจะทําให้ภูมิต้านทานลดลง
หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทําให้ร่างกายอ่อนแอ
แนะนําการมาตรวจตามนัด การสังเกตอาการผิดปกติ
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์และสามีที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อควรได้รับการตรวจหาการติดเชื้อ HIV จํานวน 2 ครั้ง และตรวจซ้ําเมื่ออายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์
.ประเมินระดับความวิตกกังวล ความกลัวของสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV และเปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก
การพยาบาลด้วยท่าทีที่ปราศจากความรังเกียจ ให้กําลังใจ และช่วยเหลือให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวสามารถเผชิญปัญหา
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย หากเป็นระยะที่แสดงอาการอาจพบว่ามีไข้ ไอ ต่อมน้ําเหลืองโต มีแผลในปาก มีฝ้าในปาก ติดเชื้อราในช่องคลอด
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจหา antibody ต่อเชื้อ HIV เป็นวิธีสําหรับการวินิจฉัยการติดเชื้อ HIV หลักการที่ใช้ คือ enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA), agglutination assay,immunochromatography และ dot immune assay ถ้าผลเป็นบวกแสดงว่ามีการติดเชื้อ HIV ในร่างกาย
การตรวจนับเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 lymphocyte และการตรวจวัดปริมาณ viral load เพื่อใช้ในการประเมินความรุนแรงของโรค
การตรวจเชื้อ HIV (HIV viral testing) ด้วยเทคนิค nucleic acid amplification testing (NAT) การตรวจวิธีนี้จะสามารถวินิจฉัยการติดเชื้อในช่วงเวลาที่ไม่สามารถตรวจพบ antibody ต่อเชื้อได้
การซักประวัติเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ ประวัติการใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดํา รวมทั้งซักประวัติอาการและอาการแสดงของโรคเอดส์
การตรวจพิเศษ ตเจาะหลังในรายที่สงสัยจะเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ส่องกล้องตรวจดูทางเดินอาหารในรายที่สงสัยจะมีการติดเชื้อรา